Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะอาเจียนรุนแรงในระยะตั้งครรภ์ (Hyperemesis gravidarum) - Coggle Diagram
ภาวะอาเจียนรุนแรงในระยะตั้งครรภ์ (Hyperemesis gravidarum)
สาเหตุ
ปัจจัยด้านมารดา
การตั้งครรภ์ที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) สูง หรือมีระดับ human chorinoic gonadotropin (hCG) เพิ่มมากกว่าปกติ
มีประวัติการแพ้ท้องอย่างรุนแรงในครรภ์ก่อน
มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่เหมาะสมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์
มีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
กระเพาะอาหารมีการเคลื่อนไหวลดลง
สภาพจิตใจ ความเครียด ความวิตกกังวล
ปัจจัยด้านทารก
ทารกมีความผิดปกติเกี่ยวกับโครโมโซม triploidy, trisomy 21 และ
ทารกบวมน้ํา (hydrops fetalis)
อาการและอาการแสดง
มีอาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง
เป็นระยะเวลานานอาจตลอดทั้งวัน
หากอาการอาเจียนไม่รุนแรงมาก สามารถทํากิจวัตรประจําวันได้ตามปกติ น้ำไนักจะลดลงเล็กน้อย
หากอาการอาเจียนรุนแรงมากขึ้น จะมีอาการ ดังนี้
ขาดสารอาหาร และน้ําหนักลดลงมาก
มีอาการแสดงของภาวะขาดสารน้ํา ได้แก่ อ่อนเพลีย ทำกิจวัตรประจำวันไม่ได้ หน้ามืด สับสน
เกิดความไม่สมดุลของร่างกาย เช่น ปากคอแห้ง
ลมหายใจมีกลิ่นอะซิโตน ตรวจพบคีโตในปัสสาวะ
มีอาการแสดงของกลุ่มอาการ Wenicke’s encephalopathy
มีอาการทางด้านจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อมารดา
ทำให้ร่างกายขาดน้ำ อุณหภูมิสูงขึ้น
เกิดภาวะความเป็นกรดในร่างกาย
ถ้ามีอาการรุนแรงมาก อาจเกิดภาวะ hypokalemia,alkalosis
เกิดภาวะขาดสารอาหาร มีผลกระทบต่อตับ ค่าSGOTเพิ่มขึ้น มีอาการของการขาดวิตามิน เช่น
ชาปลายมือปลายเท้าจากการขาดวิตามิน B1 ขาดวิตามินซี
และวิตามินบีรวม
มีเลือดออกตามไรฟัน
จุดเลือดออกทั่วไปทั่วสมอง ทําให้ซึมและหมดสติและอาจ เสียชีวิตได้จากภาวะ hepatic coma
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
หากสตรีตั้งครรภ์มีน้ําหนักลดลงมาก จะทําให้ทารกในครรภ์เติบโตช้า
หากสตรีตั้งครรภ์อาการรุนแรงมาก เกิดภาวะเป็นกรดในร่างกาย อาจทําให้ทารกมีอาการ ทางสมอง เกิดภาวะ Wernicke’s encephalopathy
อาจทําให้แท้ง คลอดก่อนกําหนด ทารกอาจตายคลอด
การวินิจฉัย
การซักประวัติ ตรวจร่างกาย ประเมินจากอาการและ
อาการแสดงของ การอาเจียนรุนแรง
การขาดสารน้ําขาดสารอาหาร
น้ําหนักตัว และสภาพจิตใจ
การตรวจทางห้องปฎิบัติการ
การตรวจเลือด พบฮีมาโตคริตสูง BUN สูง โซเดียมต่ำ โปแตสเซียมต่ำ คลอไรด์ต่ำ SGOT
สูง LFT สูง และโปรตีนในเลือดต่ำ
การตรวจปัสสาะ พบว่ามีความถ่วงจําเพาะสูง
ไข่ขาวในปัสสาวะเพิ่มขึ้น พบคีโตนใน
ปัสสาวะ
การตรวจพิเศษ เพื่อค้นหาสาเหตุของความผิดปกติ ได้แก่ การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
และการเจาะตรวจน้ําคร่ำ
แนวทางการรักษา
หากอาการไม่รุนแรงสามารถรับประทานอาหารได้ แนะนําให้รับประทานอาหารที่ช่วยทดแทน เกลือแร่ที่สูญเสียไปกับการอาเจียน
น้ำตะไคร้
น้ำใบเตย
น้ำกระเจี๊ยบ
ควรวินิจฉัยแยกโรคภาวะอาเจียนอย่างรุนแรง
จากอาการของโรคอื่นๆ เช่น
โรคตับอักเสบ
โรคกระเพาะอาหาร
ลำไส้อักเสบ
ไส้ติ่อักเสบ
หากอาการรุนแรงมาก ควรงดอาหารและน้ําทางปาก
และรีบแก้ไขภาวะขาดน้ํา ความไม่สมดุล ของเกลือแร่
และความเป็นกรด-ด่างของเลือด
การรักษาด้วยยา
ยาแก้คลื่นอาเจียน
วิตามิน
ยาคลายกังวลและยานอนหลับ
เมื่ออาการแพ้ท้องรุนแรงดีขึ้น ให้คำแนะนำดังนี้
รับประทานอาหารอ่อน
รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของขิงสามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้
หลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อม และสิ่งกระตุ้นที่ทําให้คลื่นไส้อาเจียน
กลิ่น
ความร้อน
ความชื้น
กรณีที่รักษาด้วยวิธีต่างๆ แล้วอาการไม่ดีขึ้น จะต้องทําการวินิจฉัยเพื่อค้นหาสาเหตุของโรคที่ แท้จริง เพื่อทําการรักษาอย่างเหมาะสม
การพยาบาล
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดภาวะอาเจียนรุนแรง และ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
แนะนําวิธีการป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียน ได้แก่
การรับประทานอาหารครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้ง
งดอาหารไขมัน
รับประทานอาหารเหลว
หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด
หลังรับประทานอาหารไม่ควรนอนทันที
ดูแลความสะอาดของปากและฟัน
แนะนำการพักผ่อนวันละ 6-8 ชั่วโมง
แนะนำดื่มเครื่องดื่มอุ่นๆ
รับประทานอาหารย่อยง่าย
แนะนำรับประทานผลไม้
แนะนำวิธีการรับประทานยาแก้อาเจียนตามแผนการรักษา
แนะนําให้มาพบแพทย์เมื่อมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากขึ้น หรือไม่ทุเลาลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหากมีอาการ abdominal pain, dehydration หรือน้ําหนักลดลงอย่างมาก
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ดูแลให้งดน้ำงดอาหารทางปาก
ดูแลความสะอาดของช่องปากและฟัน
ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ดูแลให้ยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียนตามแผนการรักษา
บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าออกจากร่างกาย โดยเฉพาะ urine output ไม่ควรน้อยกว่า 1,000 ml. ต่อวัน
จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด เงียบสงบ
ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก จําเป็นต้องให้อาหารทางสายยาง หรือให้สารอาหารทดแทน ทางหลอดเลือดดํา
ติดตามชั่งน้ําหนัก เพื่อประเมินว่าได้รับสารน้ําและสารอาหารเพียงพอหรือไม
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และรายงานแพทย์ให้ทราบทันท
ดูแลด้านจิตใจโดยการอยู่เป็นเพื่อน ให้กําลังใจ เปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย
ปรึกษาและส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คําปรึกษา เพื่อแก้ไขปัญหาด้านจิตใจที่ อาจส่งผลให้เกิดอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์เมื่อกลับไปอยู่บ้าน
แนะนำให้รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย มีโปรตีนสูง
แนะนำดื่มน้ำอุ่นทันทีที่ตื่นนอนประมาณครึ่งแก้ว
แนะนำให้พักผ่อนเพียงพอ
แนะนําการออกกําลังกายหรือกายบริหารเบาๆ อย่างสม่ําเสมอ เ
แนะนําให้หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เกิดความเครียด ทําจิตใจให้สบาย
อธิบายให้คู่สมรสและครอบครัวเข้าใจถึงภาวะที่เกิดขึ้น และควรให้การช่วยเหลือสตรี ตั้งครรภ์อย่างใกล้ชิด
แนะนําให้เห็นความสําคัญของการมาตรวจตามนัดอย่างสม่ําเสมอ