Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (Hypertensive disorders of pregnancy) - Coggle…
ภาวะโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
(Hypertensive disorders of pregnancy)
การประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัติ
ซักประวัติเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
ประวัติอาการและอาการแสดง
ของภาวะ preeclampsia
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
liver function test
renal functiontest
platelet count
cogulation profile
CBC
การตรวจพิเศษเพื่อทำนาย
การเกิด preeclampsia
Isometric exercise
Doppler velocimetry
Roll over test
Specific blood testing
Angiotensin sensitivity test
Mean arterial blood pressure
การตรวจร่างกาย
การประเมินระดับรีเฟล็กซ์
การประเมินอาการบวม
การประเมินความดันโลหิต
ประเมินอาการบวมกดบุ๋ม
อาการและอาการแสดง
ภาวะ preeclampsia
อาการ
เกล็ดเลือดต่ำ มี platelet count < 100,000
ต่อไมโครลิตร
ระบบการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
การทำงานของตับผิดปกติ ระดับเอนไซม์ AST
และ/หรือ ALT สูงกว่า 70 IU/L หรือ
มากกว่า 2 เท่าของค่าเดิม
HELLP syndrome
ภาวะไตวาย serum creatinine ≥ 1.1 mg/dL.
อาการแสดง
Eclampsia คือ มีอาการชักแบบชักทั้งตัว
เลือดออกในสมอง
น้ำท่วมปอด
ตาบอดจากพยาธิสภาพของครรภ์เป็นพิษในสมอง
Systolic BP ≥ 160 mmHg.
หรือ Diastolic BP ≥ 110 mmHg.
ภาวะ Eclampsia
ระยะชักเกร็ง
มีอาการเกร็งกล้ามเนื้อทั่ว
ร่างกาย ลำตัวเหยียด ศีรษะหงายไปด้านหลัง มือกำแน่น แขนงอ ขาบิดเข้าด้านใน และตาถลน ถ้า
กล้ามเนื้อที่ช่วยการหายใจหดรัดตัวมาก อาจมีการหยุดหายใจ หน้าเขียว ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 15-
10 วินาที
ระยะหมดสติ
เกิดภายหลังการชักกระตุก นอนนิ่งไม่
เคลื่อนไหวอยู่ในสภาพหมดแรง อาจมีอาการหยุดหายใจเป็นบางครั้งทำให้คาร์บอนไดออกไซด์คั่งเกิด
ภาวะ repiratory acidosis ร่างกายมีการปรับโดยการหายใจเร็วอาจมีอาการหมดสติ ทำให้
ระยะนี้ใช้เวลาต่างกันไปในแต่ละราย หากไม่ได้รับการรักษาจะมีอาการชักซ้ำได้อีกในเวลาที่ถี่ขึ้น
ระยะก่อนชัก
มีอาการหรืออาการแสดงบอกล่วงหน้า
เช่น กระสับกระส่าย ตามองนิ่งอยู่กับที่
ศีรษะหมุนไปด้านหนึ่งจนตึง
และรูม่านตาขยาย
ระยะชักกระตุก
จะมีการกระตุกของกล้ามเนื้อทั่วร่างกายอย่างแรง มีน้ำลายฟูมปากใบหน้าบวมสีม่วง ตาแต้มเลือด หนังตาจะปิดและเปิดสลับกันอย่างรวดเร็ว อาจทำให้เกิดแรงดีดตัว เกิดกระดูกหักได้ การเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อจะค่อยๆ เบาลงจนหายไป
ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 1-2 นาที
ระยะเริ่มแรกของอาการชัก
มีอาการกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า
และมุมปากกระตุก ริมฝีปากเบี้ยว ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 2-3 วินาที
การพยาบาล
preeclampsia without severe features
เฝ้าระวัง ติดตาม อาการและอาการแสดง
ของ preeclampsia ที่รุนแรงขึ้น
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะ
ความดันโลหิตทุก 4 ชั่วโมง
ดูแลให้รับประทานอาหารธรรมดา บันทึกสารน้ำเข้าและออกจากร่างกาย และชั่งน้ำหนัก
ดูแลและติดตามประเมินผลการตรวจทาง
ห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
ดูแลติดตามการประเมินสุขภาพทารกในครรภ์
ดูแลให้นอนพักบนเตียง ในท่านอนตะแคงซ้าย
ประเมินและให้การประคับประคองสภาวะทางอารมณ์ และจิตใจอย่างเหมาะสม
eclampsia
สังเกตและบันทึกอาการนำของการชัก
บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าและออกจากร่างกาย
ดูแลทารกแรกเกิด ซึ่งอาจมีภาวะขาดออกซิเจน คลอดก่อนกำหนด หรือน้ำหนักแรกเกิดน้อย
ให้งดอาหารและน้ำตามแผนการรักษา
รายงานแพทย์เมื่อมีอาการนำของ
การชักหรือขณะชัก
จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ และลดสิ่ง
กระตุ้นให้เกิดการชัก
สังเกตและบันทึกอาการทางสมอง
ให้การดูแลป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
ดูแลป้องกันการชักซ้ำภายหลังคลอด
เตรียมสตรีตั้งครรภ์เพื่อคลอดตามสถานการณ์
ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจ
ทารกในครรภ์เป็นระยะ
ประเมินสัญญาณชีพเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
อย่างน้อยทุก 1 ชั่วโมง
ดูแลให้ได้รับยาระงับชักตามแผนการรักษา
ให้ออกซิเจนขณะชัก และภายหลังชัก และประเมินความรุนแรงของการขาดออกซิเจน
จัดให้นอนตะแคง ใส่ไม้กั้นเตียง โดยใช้หมอนรองรับรอบด้าน เพื่อป้องกันอันตรายจากการชัก
ใส่ oral airway หรือ mouth gag
เพื่อป้องกันการสำลัก
preeclampsia with severe features
ดูแลให้ยาป้องกันชัก MgSO4 ตามแผนการรักษา และให้การดูแลภายหลังให้ยา
ดูแลให้ยาลดความดันโลหิตตามแผนการรักษา
ประเมินอาการนำก่อนการชัก
ดูแลให้ทารกปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน
บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าและออกในแต่ละวัน
ดูแลให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลงอย่างปลอดภัย
ดูแลให้นอนพักบนเตียงอย่างเต็มที่
ดูแลและส่งเสริมการขับสารน้ำออกจากร่างกาย โดยให้นอนตะแคงซ้าย บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าและออกจากร่างกาย สังเกตอาการบวม ชั่งน้ำหนัก และดูแลการได้รับยาขับปัสสาวะตามแผนการรักษา
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะ
ความดันโลหิตทุก 1 ชั่วโมง
ติดตามประเมินระดับ oxygen saturation
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
ยาที่ใช้ในการรักษาภาวะความดัน
โลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ยาลดความดันโลหิต
Labetalol
ออกฤทธิ์ยับยั้งระบบ
ประสาท syspathetic ส่วนปลาย มีผลลดความต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลายย เป็นยาที่ควบคุมความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ได้ดี
ผลข้างเคียง
ความดันโลหิตต่ำ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ คัดจมูก หายใจลำบากเหนื่อยล้า ปฏิกิริยาภูมิไวเกิน
ภาวะหัวใจล้มเหลว
ข้อควรระวัง
ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ลุกขึ้น ควรนอนพักอย่างน้อย 3 ชั่วโมงหลังได้รับยาเฝ้าระวังและติดตามอัตราการเต้นของหัวใจการหายใจ และเฝ้าระวัง neonatal bradycardia ในทารกแรกเกิด
Hydralazine
ผลข้างเคียง
ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม คลื่นไส้ อาเจียนใจสั่น หัวใจเต้นผิดปกติ จังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ จุกเสียดยอดอกซึ่งอาจทำให้สับสนกับอาการที่เกิดขึ้นจากพยาธิสภาพของ preeclampsia with severe features
ยาออกฤทธิ์โดยตรงที่กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดคลายตัวมีผลทำให้
ความดันโลหิตลดลง cardiac output มากขึ้น และเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงรกดีขึ้น
Nifedipine
ออกฤทธิ์ในการลดความดันโลหิตโดยการป้องกัน
calcium เข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือดทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานน้อยลง อัตราการเต้น
ของหัวใจลดลง และออกฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดส่วนปลายคลายตัว
ผลข้างเคียง
ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ใจสั่น คลื่นไส้ เหงือกอักเสบ
ท้องผูก สิ่งที่ควรระวังมากที่สุดคือการที่ค่าความดันโลหิตลดต่ำลงอย่างรวดเร็วหากใช้ยานี้ร่วมกับ MgSO4 จะ
เสริมฤทธิ์กัน ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยง
ทารกในครรภ์ไม่เพียงพอ
ข้อควรระวัง
ระวังในการใช้ยานี้ในสตรีตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1 และ 2 เนื่องจากยามี teratogenic effectsนอกจากนี้ยายังสามารถผ่านน้ำนมได้ จึงควรพิจารณาอย่างระมัดระวังในมารดาหลังคลอดที่
ต้องการเลี้ยงบุตรด้วยน้ำนมมารดา
ยาป้องกันการชัก
Magnesium Sulfate (MgSO4)
ผลข้างเคียง
ขับออกทางไต มีการหดรัดตัว
จนปัสสาวะออกน้อยลง
อื่นๆ อาการร้อนวูบวาบทั้งตัว เซื่องซึมและง่วงนอน มีเหงื่อออกมาก กล้ามเนื้ออ่อนแรง รีเฟล็กซ์ลดลง อุณหภูมิร่างกายต่ำลง ปัสสาวะออกน้อย คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่ามัว สับสน ท้องผูก ผลข้างเคียงที่เกิดกับทารกแรกเกิด หลังมารดาได้รับยา 2 ชั่วโมง ได้แก่ ซึม ความตึงตัวของกล้ามเนื้อไม่ดี ตัวอ่อนปวกเปียก
ออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว
ยามีฤทธิ์ทำให้เกิดการขยายตัวของ
หลอดเลือด เพิ่มการไหวเวียนเลือดไปเลี้ยง
ที่มดลูกและไต ทำให้ความดันโลหิตลดลง
ได้บ้าง แต่ส่งผลให้ความถี่ และความแรง
ของการหดรัดตัวของมดลูกลดลงด้วย
ผลกระทบ
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
รกลอกตัวก่อนกำหนด เลือดแข็งตัวผิดปกติ
เกล็ดเลือดต่ำ
การหลุดของเรตินา
หัวใจขาดเลือด หัวใจล้มเหลว จากการมี
venous return เพิ่มอย่างรวดเร็ว
หลอดเลืออุดตัน อันตรายจากการชัก
เช่น กัดลิ้น ข้อเคลื่อน กระดูกหัก เป็นต้น
ไตวายเฉียบพลัน เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงไตน้อยลง
น้ำท่วมปอด หรือปอดบวมน้ำ
เลือดออกในสมอง
เลือดออกในตับจนมีการตายของเซลล์ตับ
หรือตับวาย
ผลกระทบต่อทารก
แท้งหรือเสียชีวิตในครรภ์
ทารกตายในครรภ์เฉียบพลัน
หรือตายในระยะแรกเกิด
กรณีที่ได้รับการรักษาด้วย magnesium sulfate
ในระยะคลอด ซึ่งยานี้ผ่านรกไปสู่ทารก
ทารกโตช้าในครรภ์
ขาดออกซิเจน เลือดเป็นกรด
ทารกคลอดก่อนกำหนด
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
สตรีที่ไม่เคยคลอดบุตรมาก่อน
สตรีอายุมากขึ้นตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป
ทั้งสตรีที่ไม่เคยผ่านการคลอด และเคย
ผ่านการคลอดมาแล้ว
ภาวะโภชนาการบกพร่อง เช่น ขาดวิตามินซี
วิตามินอี ขาดแคลเซียม เป็นต้น
ผ่านการคลอดบุตรคนก่อนมาอย่างน้อย 10 ปี
มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
การตั้งครรภ์แฝด ครรภ์แฝดที่มีจำนวนทารกมาก
จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นกว่าครรภ์แฝดสอง
ความผิดปกติทางสูติกรรม
ประวัติพันธุกรรมครรภ์เป็นพิษในครอบครัวของสตรีตั้งครรภ์ โดยเฉพาะมารดา พี่สาว น้องสาว
เพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น
ประวัติมีความเจ็บป่วยทางอายุรกรรมที่เกี่ยวข้อง
ดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 kg/m2
ขึ้นไป หรืออ้วน
สตรีที่ไม่เคยคลอดบุตรมาก่อน ประวัติครรภ์เป็นพิษในครรภ์ก่อน มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 7 เท่า
ชนิดของภาวะความดันโลหิตสูง
ขณะตั้งครรภ์ 4 ชนิด
ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์
ภาวะความดันโลหิตสูงที่วินิจฉัยได้ครั้งแรกในระหว่างการตั้งครรภ์หลังอายุครรภ์20 สัปดาห์
ความดันโลหิตกลับสู่ระดับปกติ
ภายใน 12 สัปดาห์หลังคลอด
ไม่มีโปรตีนในปัสสาวะ หรือมีโปรตีนในปัสสาวะน้อยกว่า 300 mg. ในปัสสาวะในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
ในกรณีที่ไม่มีการแสดงอาการของภาวะครรภ์เป็นพิษและความดันโลหิตกลับสูงปกติใน 12 สัปดาห์หลังคลอด อาจถูกจัดกลุ่มเป็นภาวะความดันโลหิตสูงชั่วคราว
ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง
ภาวะความดันโลหิตสูงที่เป็นมาก่อนการตั้งครรภ์ หรือวินิจฉัยได้ก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์
หากวินิจฉัยความดันโลหิตสูง
ได้ครั้งแรกหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ความดันโลหิตนั้นยังคงสูงอยู่นานกว่า 12 สัปดาห์หลังคลอด
เกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่
gestational trophoblastic diseases
ครรภ์เป็นพิษซ้อนทับกับ
ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง
สำหรับสตรีความดันโลหิตสูงเรื้อรังที่มีโปรตีนในปัสสาวะอยู่เดิม การวินิจฉัยให้ใช้เกณฑ์การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
การวินิจฉัยภาวะ superimposed preeclampsia ในสตรีความดันโลหิตสูงเรื้อรังที่ไม่เคยมีโปรตีนในปัสสาวะก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์
ใช้เกณฑ์การตรวจพบโปรตีน
ในปัสสาวะที่เกิดขึ้นใหม
ภาวะครรภ์เป็นพิษระยะก่อนชัก
พบครั้งแรกในขณะตั้งครรภ์หลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ร่วมกับมีโปรตีนในปัสสาวะอย่างน้อย 300 มิลลิกรัมในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
ภาวะความดันโลหิตสูงคงอยู่ไม่เกิน 12 สัปดาห์หลังคลอด ซึ่งแต่เดิมมักใช้เป็นเกณฑ์ขั้นต่ำ
ในการวินิจฉัยภาวะนี้
ภาวะครรภ์เป็นพิษที่มีภาวะชักร่วมด้วย
โดยหาสาเหตุของการชักไม่ได้
สาเหตุและพยาธิกำเนิดของภาวะ
ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ระยะที่ 1 ระยะก่อนแสดงอาการ
psuedovasculogenesis และมีการพัฒนาต่อไปจนหลอดเลือดขยายและมีแรงต้านทานน้อยทำให้มี placental perfusion เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ โดยกระบวนการนี้เริ่มในระยะท้ายของไตรมาสแรก และเสร็จสิ้นเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 18-20 สัปดาห์
มักเกิดขึ้นตั้งแต่ระยะแรกของการตั้งครรภ์
โดยการพัฒนาการตามปกติของรก
ระยะที่ 2 ระยะแสดงอาการ
เกิดความผิดปกติในการทำหน้าที่ของ
เนื้อเยื่อบุโพรงหลอดเลือด
กระตุ้นให้เกิดภาวะ oxidative stress
อาการแสดงทางคลินิกที่สำคัญ ได้แก่
ความดันโลหิตสูงภาวะมีโปรตีนในปัสสาวะ
และอาการตามระบบต่าง ๆของร่างกาย
ซึ่งเกิดในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์
ภาวะครรภ์เป็นพิษระยะชัก (eclampsia)
ความหมาย
ภาวะชักนี้เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ที่มีอาการ
ไม่รุนแรงจนถึงอาการรุนแรงมาก การชักอาจเกิดได้ในขณะหลับและไม่มีสิ่งกระตุ้น และ
เกิดการชักซ้ำได้หากไม่ได้รับการรักษา
อุบัติการณ์ของการชักเกิดขึ้นได้ทุกระยะ
ของการตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะ
48-72 ชั่วโมงหลังคลอด
ภาวะชักแบบ generalized convulsions
หรือ grandmal seizures ที่มีลักษณะ
เป็นการชักเกร็งแบบชักกระตุก
สาเหตุ
hypertensive
encephalopathy
utero-placental ischemia
cerebral vasospasm
พยาธิสรีรภาพของภาวะความดัน
โลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ระบบหัวใจและปอด
มีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมปอด และสารน้ำในระบบไหลเวียนโลหิตจะรั่วออกไปคั่งตามเนื้อเยื่อต่างๆ สตรีที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษที่มีการเสียเลือดจะเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำได้เร็ว และการได้รับสารน้ำประมาณมากอย่างรวดเร็วจะทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมปอดได้ง่าย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่างๆนี้
จะส่งผลให้เกิดการทำงานของหัวใจล้มเหลวได้
ระบบตับ
การเกิด generalized vasoconstriction ทำให้เกิด hepaticischemia และส่งผลให้ ระดับเอนไซม์ aspartate aminotransferase (AST) หรือserum glutamicoxaloacetic transaminase (SGOT)
และ alanine aminotransferase (ALT) หรือserumglutamic pyruvic transaminase (SGPT) สูงขึ้น
น ในบางรายอาจมีภาวะเลือดแข็งตัวผิดปกติ
(disseminated intravascular coagulopathy: DIC) ร่วมด้วยบางรายพบperiportal
hemorrhagic necrosis หรือ subcapsular hepatic necrosis หรือ hematoma
ดังนั้นบางรายจึงมีอาการปวดใต้ชายโครงขวา
หรือจุกแน่นใต้ลิ้นปี่ คลื่นไส้อาเจียน มี blood glucose ลดลง ในรายรุนแรงอาจพบ
มีตับแตก (hepatic rupture) ได้
รก และมดลูก
การทำหน้าที่ของรกเสื่อมลง
เกิดภาวะuteroplacental insufficiency
มีผลให้เกิดภาวะทารกโตช้าในครรภ์A ในกรณีที่ทารกได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอจะชักนำให้เกิด fetal acidosis, mental retardationหรือ death
ได้ ในบางรายอาจเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดเนื่องจากplacentalischemia และ infarction
ระบบไต
ปริมาณการไหลเวียนที่ไตลดลง ประกอบกับมีการ
ทำลายของชั้นเยื่อบุหลอดเลือดในไตห้เกิดการคั่งของน้ำในเนื้อเยื่อinterstitial space และเกิดอาการบวมน้ำของอวัยวะต่างๆภาวะนี้เพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือดทั้งก่อนคลอดและหลังคลอดหากเกิดภาวะ hypovolemic shock และได้รับสารน้ำหรือเลือด
ทดแทนไม่ทันจะทำให้เกิดไตวายเฉียบพลันได้ง่าย
ระบบประสาท
ทำให้เกิดการแตกของหลอดเลือดฝอย มีเลือด
ออกมาในสมองเป็นจุดเลือดเล็ก ๆ หรือเป็นก้อนใหญ่ และผลจากหลอดเลือดหดเกร็งทำให้เกิด cortical brainspasm และเกิด cerebral
ischemia ส่งผลให้มีสมองบวม
ระบบการมองเห็น
อาการหดรัดตัวของหลอดเลือดที่จอตาทำให้เกิด retinal edema เกิดอาการตาพร่ามัวการมองเห็นผิดปกติ และอาจทำให้เกิดการหลุดของจกตาในบางรายที่มีพยาธิสภาพของสมองส่วนท้าย occipital lobe อาจทำให้เกิดอาการตาบอดได้
ระบบเลือดและการแข็งตัวของเลือด
ทำให้เกิด intravascular hemolysis คือ
มีการแตกและการทำลายเม็ดเลือดแดง
เนื่องจากเม็ดเลือดแดงเคลื่อนผ่านหลอดเลือด
ที่มีการหดเกร็งและมีขนาดเล็กลงซึ่งนำไปสู่ภาวะ hemoglobulonemia และhyperbillirubinemia
ภาวะโลหิตสูง
ความหมาย
ภาวะที่ค่าความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัว
อย่างน้อย 140 mmHg.หรือค่าความดันโลหิตช่วงหัวใจคลายตัว อย่างน้อย 90 mmHg. หรือทั้งสองค่าโดยวัด 2 ครั้งห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
ภายหลังการพัก
ภาวะความดันโลหิตสูง
เนื่องจากการตั้งครรภ์
ภาวะความดันโลหิตสูงที่มีสาเหตุจากการตั้งครรภ์ พบในระยะครึ่งหลังของการตั้งครรภ์
อาจพบร่วมกับการมีโปรตีนในปัสสาวะและ/หรือมีอาการบวม โดยรวมแล้วหมายถึงภาวะ gestational
hypertension, preeclampsia และ eclampsia
ภาวะความดันโลหิตสูงหลังคลอด
มีความดันโลหิตสูงขึ้นในช่วง 2 สัปดาห์
หลังคลอด ถึง 6 เดือนหลังคลอด จากนั้นความดันโลหิตกลับสู่ปกติในปลายปีแรกภาวะนี้พบได้น้อย
แต่เป็นภาวะที่ต้องตระหนัก เฝ้าระวัง ติดตาม
ภาวะครรภ์เป็นพิษก่อนระยะชัก
(Preeclampsia)
เกณฑ์การวินิจฉัย
เกณฑ์การวินิจฉัยเกี่ยวกับความดันโลหิตสูง
เกล็ดเลือดต่ำ
การทำงานของไตผิดปกติ
โปรตีนในปัสสาวะ
การทำงานของตับผิดปกติ
อาการทางสมอง อาการทางตา
ภาวะน้ำท่วมปอด
เกณฑ์การวินิจฉัยเกี่ยวกับโปรตีนในปัสสาวะ
ใช้วิธีตรวจวัดโดยการเก็บ
ปัสสาวะ 24 ชั่วโมงเป็นหลัก
การตรวจโดย urine dipstick นิยมใช้ในการคัดกรองเบื้องต้นในคลินิกฝากครรภ์ทุกครั้งที่สตรีตั้งครรภ์มาตรวจครรภ์
กรณีที่ต้องการผลเร็วให้ใช้การตรวจ urine protein/creatinineration แทน
ยกเลิกเกณฑ์การวินิจฉัยภาวะครรภ์
เป็นพิษระดับรุนแรง
ใช้เกณฑ์ proteinuria มากกว่า 5 กรัมในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง รวมทั้งยกเลิกเกณฑ์ทารกเจริญเติบโตช้า
ในครรภ์ ร่วมในการประเมินเพื่อวินิจฉัย
เกณฑ์การประเมินความรุนแรงของภาวะ preeclampsia
ภาวะ severe feature
ของpreeclampsia
ปวดศีรษะ อาการทางสายตา
โปรตีนในปัสสาวะ ปัสสาวะออกน้อย
ปวดใต้ลิ้นปี่และชายโครงขวา
ระดับความดันโลหิต
เกล็ดเลือดต่ำ การทำงานของตับผิดปกติ
น้ำท่วมปอด
ชัก การทำงานของไตผิดปกติ
ทารกเจริญเติบโตช้า
และอาการที่เกิดพบเมื่ออายุครรภ์
แนวทางการรักษา
preeclampsia without severe features
การนอนพัก ดูแลควบคุมไม่ให้อาการรุนแรงขึ้น เฝ้าระวังการเกิด sever features และทำให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไปจนครบกำหนดคลอด
preeclampsia with severe features
การป้องกันการชัก ควบคุมความดันโลหิต
และยุติการตั้งครรภ์
eclampsia
ควบคุมการชัก แก้ไขภาวะพร่องออกซิเจนและความเป็นกรดในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต และยุติการตั้งครรภ์เมื่อควบคุมอาการชักได้แล้ว