Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะอาเจียนรุนแรงในระยะตั้งครรภ์ (Hyperemesis gravidarum) - Coggle Diagram
ภาวะอาเจียนรุนแรงในระยะตั้งครรภ์
(Hyperemesis gravidarum)
อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง
(hyperemesis gravidarum)
ส่งผลให้ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ อันเป็นสาเหตุของการขาดความสมดุลของสารน้ําและสารอาหารในร่างกาย
ภาวะที่สตรีตั้งครรภ์มีอาการคลื่นไส้อย่างรุนแรง และต่อเนื่องเป็นเวลานาน
สาเหตุ
(ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงแต่อาจเกิดจากปัจจัยส่งเสริม)
ปัจจัยด้านมารดา
มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่เหมาะสมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์
กระเพาะอาหารมีการเคลื่อนไหวลดลง จากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรน
มีประวัติการแพ้ท้องอย่างรุนแรงในครรภ์ก่อน หรือเป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรก
สภาพจิตใจ ความเครียด ความวิตกกังวล
การตั้งครรภ์ที่มีระดับฮอร์โมนestrogenสูง หรือมีระดับ hCG เพิ่มมากกว่าปกติ
ปัจจัยด้านทารก
ทารกมีความผิดปกติเกี่ยวกับโครโมโซม และทารกบวมน้ำ (hydrops fetalis)
อาการและอาการแสดง
มีอาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง
หากอาการอาเจียนไม่รุนแรงมากสามารถทํากิจวัตรประจําวันได้ตามปกติน้ำหนักจะลดลงเล็กน้อย
หากอาการอาเจียนรุนแรงมากขึ้นคือมีอาการอาเจียน 5-10 ครั้งต่อวันหรือมากกว่าเป็นเวลาหลายวัน
มีอาการแสดงของภาวะขาดสารน้ำ (dehydration)
ริมฝีปากแห้ง ตาโหลลึก
มีไข้ปัสสาวะออกน้อย
ความดันโลหิตลดลง เวียนศีรษะ
ลมหายใจมีกลิ่นอะซิโตน (acetone) ตรวจพบคีโนในปัสสาวะ (ketonuria)
ขาดสารอาหาร และน้ำหนักลดลงมาก
อาการแสดงทางด้านจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อมารดา
ทําให้ร่างกายเกิดการขาดน้ำ
ชีพจรเบาเร็วและความดันโลหิตต่ำลง
เกิดภาวะกรดในกระแสเลือดเนื่องจากการสูญเสียด่างในน้ำย่อยไปกับการอาเจียน
ร่างกายเสียสมดุลของอิเลคโตรลัยท์
มีเลือดออกตามไรฟันจุดเลือดออกทั่วไปทั่วสมอง อาจเสียชีวิตได้จากภาวะ hepatic coma
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
สตรีตั้งครรภ์อาการรุนแรงมากเกิดภาวะเป็นกรดในร่างกายอาจทําให้ทารกมีอาการทางสมอง
อาจทําให้แท้งคลอดก่อนกําหนด ทารกอาจตายคลอด
และทารกพิการ จากการขาดสารอาหารได้
สตรีตั้งครรภ์มีน้ำหนักลดลงมากจะทําให้ทารกในครรภ์เติบโตช้า
การวินิจฉัย
การซักประวัติตรวจร่างกาย ประเมินจากอาการและอาการแสดง น้ำหนักตัว และสภาพจิตใจ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจเลือดพบ Hctสูง BUNสูง Naต่ำ Kต่ำ Clต่ำ SGOTสูง LFTสูงและโปรตีนในเลือดต่ำ
การตรวจปัสสาวะไข่ขาวในปัสสาวะเพิ่มขึ้นพบคีโตนในปัสสาวะถ้ามีอาการรุนแรงมากอาจพบน้ําดีในปัสสาวะได้
การตรวจพิเศษ การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง และการเจาะตรวจน้ำคร่ำ
แนวทางการรักษา
ควรวินิจฉัยแยกโรคภาวะอาเจียนอย่างรุนแรงจากอาการของโรคอื่นๆ
แนะนําให้รับประทานอาหารที่ช่วยทดแทนเกลือแร่ที่สูญเสียไปกับการอาเจียนได้แก่ น้ำตะไคร้ น้ำใบเตย อาหารที่มีโปแทสเซียมเช่น กล้วย แคนตาลูป
หากอาการรุนแรงมาก ควรงดอาหารและน้ําทางปาก และรีบแก้ไขภาวะขาดน้ํา ความไม่สมดุลของเกลือแร่
การรักษาด้วยยา
ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน
วิตามิน ได้แก่ วิตามินบี 6 (Pyridoxine)
ยาคลายกังวล และยานอนหลับ
เมื่ออาการแพ้ท้องรุนแรงดีขึ้น
ให้รับประทานอาหารอ่อนครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้งทุก 2-3 ชั่วโมง
รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของขิงสามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้
หลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อม และสิ่งกระตุ้นที่ทําให้คลื่นไส้อาเจียน
การพยาบาล
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์เมื่อกลับไปอยู่บ้าน
แนะนําการรับประทานอาหาร โดยปรับเปลี่ยนแบบแผนการรับประทานอาหารครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้ง
แนะนําให้ดื่มน้ำอุ่นทันที่ตื่นนอนประมาณครึ่งแก้ว แล้วนอนต่ออีกประมาณ 15 นาที ก่อนที่จะลุกขึ้นปฏิบัติกิจวัตรประจําวัน
แนะนําการออกกําลังกายหรือกายบริหารเบาๆ อย่างสม่ําเสมอ เพื่อช่วยให้ผ่อนคลาย
แนะนําให้หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เกิดความเครียด ทําจิตใจให้สบาย
แนะนําให้เห็นความสําคัญของการมาตรวจตามนัดอย่างสม่ําเสมอ
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดภาวะอาเจียนรุนแรง
แนะนําวิธีการป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียน
งดอาหารไขมัน เพราะย่อยยาก ทําให้คลื่นไส้
รับประทานอาหารเหลว อาหารน้ำ
หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดและอาหารที่มีกลิ่นแรง
หลังรับประทานอาหารไม่ควรนอนทันที
แนะนําการพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง
แนะนําวิธีการรับประทานยาแก้อาเจียนตามแผนการรักษา
ให้คําปรึกษาในการปรับแบบแผนการรับประทานอาหาร
ช่วยประคับประคองด้านจิตใจ โดยเปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์ได้พูดถึงปัญหา