Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติ ของรกน้ำคร่ำ…
บทที่ 6 การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติ
ของรกน้ำคร่ำ และความผิดปกติของทารกในครรภ์
{6.1}ภาวะน้ำคร่ำผิดปกติ
1.ภาวะน้ำคร่ำมากผิดปกติ หรือการตั้งครรภ์แฝดน้ำ (Hydramnios/ polyhydramnios)
1.1)สาเหตุ
ด้านมารดา ได้แก่ มารดาเป็นโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์แฝด
ด้านทารก เช่น ภาวะอุดตันของระบบทางเดินอาหาร, ทารกหัวบาตร , ครรภ์แฝดที่เป็น Twin-twin transfusion syndrome
ไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งมาจากไม่พบความผิดปกติของมารดาและทารกในครรภ์
1.2)อาการและอาการแสดง
1.แน่นอึดอัด หายใจลำบาก เจ็บชายโครง
2.มีอาการบวมบริเวณเท้า ขา และปากช่องคลอด
3.น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
1.3)ผลกระทบต่อมารดา
1.เกิดความไม่สุขสบายจากการกดทับของมดลูกที่มีขนาดใหญ่ เช่น อึดอัด หายใจลำบาก ท้องอืด
2.อาจเกิดการคลอดก่อนกำหนด
3.ช็อคจากความดันในช่องท้องลดลงอย่างรวดเร็ว
4.ตกเลือดหลังคลอด
5.ติดเชื้อหลังคลอด
1.4)ผลกระทบต่อทารก
2.เกิดภาวะ fetal distress
3.ทารกอยู่ท่าผิดปกติและไม่คงที่
1.เสี่ยงต่อการเกิดภาวะพิการ และการคลอดก่อนกำหนด
1.5)การวินิจฉัย
1.ซักประวัติอาการเบื้องต้น ที่อาการแสดงถึงภาวะครรภ์แฝดน้ำ
2.การตรวจร่างกาย
คลำหาส่วนต่างๆของทารกได้ลำบาก เมื่อเคาะบริเวณท้องพบมีคลื่นน้ำกระทบมือ
ฟังเสียง FHS ไม่ได้ยินหรือได้ยินไม่ชัดเจน
ขนาดมดลูกโตกว่าอายุครรภ์ วัดเส้นรอบท้องได้ >100 เซนติเมตร
น้ำหนักตัวมารดาเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว > 1 กิโลกรัม/สัปดาห์
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การวัด AFI ได้ค่า > 24 เซนติเมตรขึ้นไป
1.6)บทบาทการพยาบาล
1.ระยะตั้งครรภ์
1.1)ประเมินการเกิดภาวะตั้งครรภ์แฝดน้ำจากการซักประวัติอาการและอาการแสดง การตรวจร่างกาย
1.2)ดูแลเพื่อบรรเทาอาการอึดอัดแน่นท้อง จากการขยายตัวของมดลูก เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
2.ระยะคลอด
2.1)ให้นอนพักบนเตียง เพื่อป้องกันภาวะน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
2.2)ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
2.3)ฟัง FHS / ในระยะ latent ทุก 30 นาที และในระยะ active ทุก 15 นาที
2.4)ให้ได้รับสารน้ำและอาหารตามแผนการรักษา
2.5)ขณะที่แพทย์กำลังเจาะถุงน้ำ ต้องระมัดระวังให้น้ำคร่ำไหลออกมาอย่างช้าๆ
3.ระยะหลังคลอด
ดูแลการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
2.ภาวะน้ำคร่ำน้อย (oligohydramnios)
2.1)สาเหตุของการเกิด
2.ทารกในครรภ์มีภาวะผิดปกติ ในระบบของไตและระบบทางเดินปัสสาวะ
3.ความผิดปกติของโครโมโซม
4.รกเสื่อมสภาพ
5.การตั้งครรภ์เกินกำหนด
1.ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
6.ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
2.2)ผลกระทบต่อมารดา
มีโอกาสผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้องมากกว่าการตั้งครรภ์ปกติ
2.3)ผลกระทบต่อทารก
1.มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด
2.ภาวะปอดแฟบ (pulmonary hypoplasia)
3.Amniotic band syndrome คือ การเกิดเยื่อพังผืดรัดและดึงรั้งมือและแขนหลายบริเวณ
4.ทารกอยู่ในภาวะคับขัน (fetal distress)
5.ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
2.4)การวินิจฉัย
1.การวัดโพรงน้ำคร่ำที่ลึกที่สุดในแนวดิ่ง
(maximum ventrical pocket, MVP)
2.การวัดดัชนีน้ำคร่ำ amniotic fluid index (AFI) มีค่า > 5 cm.
3.ในกรณีที่อายุครรภ์ > 10 สัปดาห์ ขนาดของถุงน้ำคร่ำกับขนาดของทารก
ผิดไปจากค่าสัดส่วนตามเกณฑ์ให้ถือว่ามีภาวะน้ำคร่ำน้อย
2.5)บทบาทการพยาบาล
1.อธิบายถึงสาเหตุการเกิดภาวะดังกล่าว และแนวทางการรักษา
2.ดูแลให้ได้รับการใส่สารน้ำเข้าไปในถุงน้ำคร้ำ (amnioinfusion) ตามแผนการรักษาของแพทย์
3.รับฟังปัญหา แสดงความเห็นอกเห็นใจ และกระตุ้นให้ระบายความรู้สึก
{6.2}ภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
1.สาเหตุของการเกิด
1.1)ด้านมารดา
2.ภาวะขาดสารอาหาร น้ำหนักของมารดาไม่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์
3.ภาวะโลหิตจางรุนแรง เช่น โรคธาลัสซีเมีย
4.มารดามีภาวะติดเชื้อ
5.โรคของมารดา เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง
1.มารดามีรูปร่างเล็ก
1.2)ด้านทารก
1.ความพิการแต่กำเนิด ความผิดปกติของโครงสร้าง และอวัยวะของร่างกาย
2.การติดเชื้อในระยะตั้งครรภ์ เช่น cytomegalovirus, rubella, toxoplasma เป็นต้น
3.ความผิดปกติของโครโมโซม เช่น trisomy 21, trisomy 13, trisomy 18
2.การวินิจฉัย
1.การซักประวัติ เพื่อหาสาเหตุและปัจจัยส่งเสริมของการเกิดภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
2.การตรวจร่างกาย โดยขนาดของมดลูกเล็กกว่าอายุครรภ์ 3 cm+
และ การชั่งน้ำหนักของสตรีตั้งครรภ์
3.การตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง (ultrasound)
3.1)วัดเส้นรอบท้อง (Abdominal Circumference = AC)
3.2)วัดขนาดของศีรษะทารก (Biparietal diameter = BPD)
3.3)วัดเส้นรอบศีรษะ (Head circumference = HC)
3.4)วัดความยาวของกระดูกต้นขา (femur length = FL)
3.5)ปริมาณน้ำคร่ำ (amniotic fluid volume)
3.6)เกรดของรก (placenta grading)
3.บทบาทการพยาบาล
3.1)ระยะตั้งครรภ์
2.แนะนำให้มารดาพักผ่อนมาก ๆ โดยเฉพาะการนอนตะแคงซ้าย
3.ติดตามสุขภาพของทารกในครรภ์ โดยแนะนำให้มารดานับลูกดิ้นทุกวัน
1.แนะนำมารดาเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือสารเสพติด
3.2)ระยะคลอด
2.ติดตามประเมินความก้าวหน้าของการคลอด
3.ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกและเสียงหัวใจทารก
ทุก 30 นาที - 1 ชั่วโมง
4.หลีกเลี่ยงการให้ยาแก้ปวด เนื่องจากยาจะกดการหายใจของทารก
1.ควรติดตาม และประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์
5.เตรียมอุปกรณ์ในการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิด
6.ให้กุมารแพทย์ เตรียมอุปกรณ์ในการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิดไว้ให้พร้อม
3.3)ระยะหลังคลอด
ให้การดูแลทารกเพื่อเฝ้าระวัง และป้องกันการเกิดภาวะ hypoglycemia, hypothermia, polycythemia
{6.3}การตั้งครรภ์ที่มีจำนวนทารกมากกว่า 1 คน
(multiple pregnancy)
2.ผลกระทบต่อมารดา
2.1)ระยะตั้งครรภ์
1.อาการคลื่นไส้อาเจียนมาก
2.เกิดภาวะโลหิตจาง
3.การตกเลือดก่อนคลอด
4.มีความดันโลหิตสูง
5.เกิดความไม่สุขสบายจากอาการปวดหลัง หายใจลำบาก
เส้นเลือดขอด เป็นต้น
6.เสี่ยงต่อการแท้ง หรือคลอดก่อนกำหนด
7.อาจเกิดถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
8.ตั้งครรภ์แฝดน้ำ
9.เป็นเบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์
2.2)ระยะคลอด
1.เกิดกล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวผิดปกติเนื่องจากมีการยืดขยายมากเกินไป
2.รกลอกตัวก่อนกำหนด
2.3)ระยะหลังคลอด
2.การติดเชื้อหลังคลอด
1.ตกเลือดหลังคลอด
3.ทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา มีความยากลำบาก
3.ผลกระทบต่อทารก
1.การแท้ง
2.ทารกตายในครรภ์
3.ภาวะคลอดก่อนกำหนด
4.ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
5.ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ
6.ทารกขาดออกซิเจน (asphyxia)
7.Twin-twin transfusion syndrome (TTTS)
4.บทบาทการพยาบาล
3.1)ระยะการตั้งครรภ์
1.ดูแลให้ได้รับอาหารครบ 5,หมู่ โดยเพิ่มปริมาณอาหารจากปกติ 1,000 kcal/day
2.เฝ้าระวังการเกิดภาวะโลหิตจางอาจให้โฟลิคเสริม
3.เฝ้าระวังการความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์
4.งดมีเพศสัมพันธ์เพื่อลดความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนด
5.ติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ด้วยการทำ อัลตราซาวด์
6.ป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
3.2)ระยะคลอด
1.การพิจารณาวิธีการคลอด ถ้าน้ำหนักทารก > 1,500 g และไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ พิจารณาคลอดทางช่องคลอดได้
2.ตลอดระยะเวลาการเจ็บครรภ์คลอด ให้ติดตั้งเครื่อง EFM
3.ตรวจความเข้มข้นของเลือด และเตรียมเลือดให้เรียบร้อย
4.ให้มารดางดน้ำ งดอาหาร และให้สารน้ำ
5.การให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกควรให้ด้วยความระมัดระวัง
6.การช่วยเหลือการคลอดของแฝดคนที่สอง ให้ตรวจดูท่าและส่วนนำของทารกก่อน
3.3)ระยะหลังคลอด
2.ป้องกันการติดเชื้อโดยดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
3.แนะนำการดูแลบุตรด้วยนมมารดา
1.เฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอด
4.แนะนำวิธีการคุมกำเนิด
1.ชนิดและสาเหตุการตั้งครรภ์แฝด
1.1)แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวหรือแฝดแท้ (monozygotic twins / identical twins) เป็นแฝดที่ เกิดจากการปฏิสนธิจากไข่ 1 ใบ และตัวอสุจิ 1 ตัว
1.2)แฝดที่เกิดจากไข่คนละใบ หรือแฝดเทียม (dizygotic twins/ fratemal) เป็นการตั้งครรภ์แฝด ที่เกิดจากไข่ 2 ใบผสมกับอสุจิ 2 ตัว amnion 2 อัน และ chorion 2 อัน
{6.4}ทารกพิการแต่กำเนิด (congenital anormality)
1.สาเหตุของการเกิด
1.1)ปัจจัยด้านพันธุกรรม
ความผิดปกติของยีนเดียว เป็นโรคที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนใดยีนหนึ่ง
ความผิดปกติของยีนหลายตัวร่วมกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
ความผิดปกติของโครโมโซม
1.2)สิ่งแวดล้อม
การใช้ยา
การติดเชื้อ
สภาพของมารดา
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อทารกในครรภ์
2.ความผิดปกติของทารก
2.Disruption หมายถึง ความผิดปกติทางรูปร่างของอวัยวะ เป็นผลมาจากปัจจัยภายนอกมาขัดขวางขบวนการเจริญเติบโตของอวัยวะ
3.Deformation หมายถึง ความผิดปกติของรูปร่างหรือโครงสร้างของอวัยวะของร่างกายเดิมเคยปกติมาก่อน
1.Malformation หมายถึง เป็นความผิดปกติทางรูปร่างของอวัยวะ เป็นผลมาจากการพัฒนาหรือขบวนการเจริญเติบโตของอวัยวะ
4.Dysplasia หมายถึง ความผิดปกติทางรูปร่างของอวัยวะเป็นผลมาจากความผิดปกติของการจัดระเบียบของเซลล์ที่จะเจริญไปเป็นเนื้อเยื่อ
3.ปากแหว่งเพดานโหว่
3.1)อาการและอาการแสดง
2.ทารกที่มีเพดานโหว่มักจะสำลักน้ำนมขึ้นจมูกและเข้าช่องหูชั้นกลาง
3.การได้ยินผิดปกติ
1.ทารกที่มีปากแหว่งเพียงอย่างเดียว จะไม่สามารถอมหัวนมหรือจุกนมได้สนิท
4.มีการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้น
3.2)การพยาบาลทารกแรกเกิด
1.ดูแลด้านจิตใจสำหรับบิดาและมารดา
3.ดูแลการให้นมแม่อย่างถูกวิธี
4.กรณีที่ทารกไม่สามรถดูดนมแม่ได้ให้แนะนำการใช้ขวดนมพิเศษ การใช้ช้อนหรือแก้ว และการใช้ syring เป็นต้น
2.ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลทารกแรกเกิดที่พบปัญหาปากแหว่ง เพดานโหว่
5.ภายหลังการให้นมบุตรต้องไล่ลมเป็นระยะทุก 15-30 นาที และจัดท่านอนหัวสูง เพื่อป้องกันอาการท้องอืด
กรณีทารกไม่สามารถดูดนมแม่ได้
1.ให้ใช้ขวดนมพิเศษที่เป็นพลาสติกอ่อน สามารถช่วยบีบให้น้ํานมไหลออกได้ หรือจุกนมที่ยาวขึ้นมีรูกว้างขึ้น
2.ใช้ช้อนหรือแก้ว เพื่อป้อนนมไหลเข้าคอได้โดยมีการดูดนมน้อยที่สุด
3.ใช้ syringe ต่อกับท่อยางนิ่ม ป้อนบริเวณกระพุ่งแก้มด้านใน
4.จัดท่าทารกให้อยู่ในท่านอนหัวสูงหรือท่านั่ง
3.3)การวินิจฉัย
พบตั้งแต่แรกเกิด การตรวจร่างกายในครรภ์ด้วย อัลตร้า ซาวน์ สามารถตรวจพบได้เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 13-14 สัปดาห์
5.ทารกศีรษะบวมน้ําหรือภาวะน้ําคั่งในโพรงสมอง (Hydrocephalus)
5.1)การวินิจฉัย
1.การซักประวัติ
1.ประวัติการติดเชื้อโรคบางชนิด
2.ประวัติการได้รับยาขณะตั้งครรภ์ ได้แก่ Aminophyrine
หรือ Amethopterin
3.ตรวจพบปริมาณน้ําคร่ำมากผิดปกติ
2.การตรวจร่างกาย
1.จากการตรวจหน้าท้อง ในกรณีที่ส่วนนําเป็นศีรษะ การคลําทางหน้าท้องจะรู้สึกได้ถึง ส่วนของศีรษะที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ
2.ตรวจภายในพบว่าศีรษะ ทารกอยู่สูงรอยต่อต่าง ๆ บนศีรษะขยายกว้าง กระหม่อมกว้างตึง
3.การตรวจพิเศษ เช่น skull X – ray, Ultrasound
5.2)การรักษาขณะตั้งครรภ์
1.รายไม่รุนแรงแนะนําให้ติดตามการเปลี่ยนแปลง
2.อาจพิจารณายุติการตั้งครรภ์กรณีเป็นรุนแรงมาก
3.อาจเลือกยุติการตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อยซึ่งไม่สามารถเลี้ยงรอดได้
4.รักษาด้วยการใส่ shunt ในครรภ์
6.ทารกศีรษะเล็ก (Microcephaly)
6.1)การซักประวัติ
1.มารดามีประวัติเป็น Phenylketonuria
2.มารดาเป็น Rubella, Syphilis
3.พบว่ามีพี่น้องเคยเป็น Microcephaly
4.ได้รับรังสีขณะอยู่ในครรภ์
5.เกิดภาวะ Anoxia ขณะอยู่ในครรภ์
6.มารดาไดรับเชื้อโรคไข้ซิกา
6.2)การรักษา
1.ไม่สามารถรักษาให้ศีรษะมีขนาดศีรษะเท่ากับปกติ
2.ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนท่ีเป็นอันตรายต่อชีวิตเด็ก
3.ติดตามขนาดของศีรษะ พัฒนาการและระดับสติปัญญา
6.3)บทบาทการพยาบาล
1.ให้การพยาบาลทารกแรกเกิดโดยท่ัวไป ได้แก่ การดูแลเก่ียวกับท่านอน
การหายใจ และ การให้ความอบอุ่น
2.ให้การพยาบาลตามอาการและอาการแสดง
3.สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ และอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทของทารก
4.อธิบายให้บิดามารดาเข้าใจเก่ียวกับสภาพของทารก
5.บันทึกอาการแลอาการแสดง
4.ดาวน์ซินโดรม
4.1)สาเหตุของการเกิด
เกิดจากการมีโครโมโซมเกินไป 1 แท่ง คือโครโมโซมคู่ที่ 21 มี 3 แท่ง แทนที่จะมี 2 แท่ง ตามปกติ ความผิดปกตินี้เรียกว่า trisomy 21
4.2)อาการภายนอก
1.ศีรษะและตา มีศีรษะแบนกว้าง และท้ายทอยแบน ตายาวรี
2.จมูกและหู มีจมูกไม่มีสัน ใบหูเล็กอยู่ต่ำกว่าปกติ
3.เพดานปากโค้งนูนช่องปากแคบและลิ้นคับปาก ปากอ้าและลิ้นยื่นออกมา
4.ทรวงอกและหัวใจ มีกระดูกซี่โครงสั้นกว่าปกติ
5.มีหน้าท้องยื่น กล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อนยาน
6.มือและเท้า มีมือกว้างและสั้น
7.กล้ามเนื้อและกระดูก ตัวเตี้ย เหยียดออกมากผิดปกติ
7.เยื่อหุ้มไขสันหลังยื่น (Spina bifida)
7.1)การวินิจฉัย
2.ทารกมีก้อนสีแดง นุ่มตรงบริเวณช่องต่อระหว่างกระดูก
ของกระดูกสันหลังหรือบริเวณสะโพก (Sacrum) และบริเวณบั้นเอว (Lumbar)
1.อาการแสดงโดยตรงพบมกีระดูกสันหลังแยกและพบอาจพบmyelomeningocelesac ยื่นออกจากด้านหลังของกระดูกไขสันหลัง
7.2)บทบาทการพยาบาล
1.ให้การพยาบาลทารกแรกเกิดโดยทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะท่านอนให้นอนในท่าตะแคง หรือ นอนคว่ำ
2.ให้การพยาบาลตามอาการ และการพยาบาลก่อนผ่าตัดในรายที่เป็นน้อย
4.อธิบายให้มารดาเข้าใจเกี่ยวกับสภาพทารก
5.บันทึกอาการและการพยาบาล
6.การให้ folic acid ในสตรีตั้งครรภ์จะช่วยลดอัตราการเกิดโรค
3.สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
{6.5}ทารกตายในครรภ์ (Fetal demise)
1.สาเหตุของการเกิด
1.1)ด้านมารดา
1.มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน SLE โรคไตชนิดรุนแรง โรคต่อมธัยรอยด์ โรคอ้วน โรคติดเชื้อต่าง ๆ เป็นต้น
2.มารดาอายุมากกว่า 35 ปี
3.ภาวะทางสูติกรรม เช่น คลอดก่อนกําหนด ตั้งครรภ์เลยกําหนดหรือการตั้งครรภ์แฝด
4.ไม่มาฝากครรภ์ หรือมาฝากครรภ์ไม่ครบตามกําหนด
6.ความผิดปกติของสายสะดือ
5.มีภาวะรกลอกตัวก่อนกําหนด รกเกาะต่ำ
7.ได้รับอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บขณะตั้งครรภ์
8.ยาหรือสารเสพติดอื่น ๆ
1.2)ด้านทารก
1.ภาวะพิการแต่กําเนิด เช่น ความผิดปกติของโครโมโซม หรือความพิการอื่น ๆ เช่น spina bifida, gastroschisis, hydrocephalus
2.ทารกมีภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
3.มีการกดทับสายสะดือจากสายสะดือย้อย (prolapsed cord)
1.3)ด้านรก
รกลอกตัวก่อนกําหนด การติดเชื้อในโพรงมดลูก เส้นเลือดอุดกั้นในสายสะดือ สายสะดือ ผิดปกติ
2.การวินิจฉัย
2.1)การตรวจร่างกาย
1.น้ําหนักตัวของมารดาคงที่หรือลดลง เต้านมมีขนาดเล็กลง
2.คลํายอดมดลูกพบว่าไม่สัมพันธ์กับอายุครรภ์ ไม่พบว่าทารกมีการเคลื่อนไหว
3.ฟังเสียงหัวใจทารกไม่ได้
4.พบสิ่งคัดหลั่งสีน้ําตาลไหลออกทางช่องคลอด
2.2)การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
โดยการ ultrasound
1.ทารกไม่มีการเต้นของหัวใจ หรือการเคลื่อนไหวของทารก
2.การเกยกันของกะโหลกศีรษะ (overlapping) เรียกว่า spalding sign ซึ่งจะพบได้ ภายหลังเสียชีวิตแล้ว 5 วัน
3.มีการหักงอของกระดูกสันหลัง เนื่องจากการเปื่อยยุ่ยของเอ็น
4.ตรวจพบแก๊สในหัวใจ เส้นเลือดใหญ่ หรือช่องท้องทารก
เรียกว่า Robert sign
5.ฮอร์โมน Estriol: E3 ในปัสสาวะลดลง
หลังจากทารกเสียชีวิตแล้ว 24-48 ชั่วโมง
6.เอ็นไซม์ Amniotic fluid creatinekinase เพิ่มขึ้น
3.การรักษา
1.ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ขนาดของมดลูกโตไม่เกิน 14 สัปดาห์
2.ช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ เหน็บยา prostaglandin ทางช่องคลอด
3.ไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ ให้ oxytocin ทางหลอดเลือดดํา
4.บทบาทการพยาบาล
1.ให้การประคับประคองทางด้านจิตใจ แสดงความเห็นอกเห็นใจ ใช้คําพูดที่สุภาพ และนุ่มนวล
4.ดูแลให้ได้รับการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ ตามแผนการรักษาของแพทย์
5.ติดตามผลการตรวจเลือดเพื่อหาระยะการแข็งตัวของเลือด clotting time ระดับของ fibrinogen (กรณีที่ทารกตายในครรภ์เกิน 2 สัปดาห์)
6.ให้ได้รับยายับยั้งการหลั่งน้ํานมตามแผนการรักษา
2.แนะนําให้สามีและครอบครัวให้กําลัง เพื่อให้มีกําลังใจและการปรับตัวอย่างเหมาะสม
3.ประเมินความต้องการสัมผัสกับทารกแรกคลอดที่เสียชีวิต