Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบ ทางเดินหายใจ, image, image, image,…
บทที่ 1 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบ
ทางเดินหายใจ
1.โรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจส่วนบน (URI)
โรคหวัด (Common cold)
ลักษณะอาการทางคลินิก
ระยะฟักตัวของ rhinovirus ประมาณ 1-4 วัน ส่วน
coronavirus ใช้เวลา ประมาณ 2-4 วัน โดยทั่วไปมัก
เกิดอาการภายหลังการสัมผัสเชื้อ 1-3 วัน
เด็กเล็กอาจมีไข้ และน้ำมูกเป็นอาการเด่น เด็กโตมักไม่มีไข้แต่
อาจเริ่มด้วยอาการเจ็บคอหรือ ระคายคอ ต่อมามีน้ำมูกคัดจมูก ไอ
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วย
ทุกอายุคือ rhinovirus รองลงมา ได้แก่coronavirus, parainfluenza virus
โรคหวัดมักพบในฤดูกาลที่มีอากาศเย็น และ
ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ
อาการแสดง
เยื่อบุจมูกบวมแดง อาจพบเยื่อบุตาแดง ต่อม น้ำ
เหลืองที่คอโต มีpost nasal drip ได้
การรักษา
การเช็ดตัว ,ให้ยา เช่น paracetamol
ระมัดระวังการใช้ibuprofen โดยเฉพาะช่วงที่มีโรค
ไข้เลือดออก ระบาด
ไม่แนะนำให้ใช้แอสไพริน เนื่องจากมีรายงานการเกิด
Reye’ssyn-drome ในเด็กที่เป็นไข้หวัดใหญ่หรือสุกใสและ
ได้รับยาแอสไพริน
การพยาบาล
ลดไข้ โดยการการเช็ดตัว กระตุ้นให้ดื่มน้ำ ถ้าไข้ไม่ลดให้ยา
พาราเซตามอลตามแผนการรักษา
ลดอาการไอ กระตุ้นดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำผึ้งผสมมะนาวป้ายลิ้น
สังเกตอาการที่ต้องพาไปพบแพทย์ หายใจหอบ หายใจเสียง
ดัง ชายโครงบุ๋ม ซึม ไม่ดื่มนมหรือน้ำ อาการป่วยมากขึ้น
ไม่พาเด็กไปที่มีคนหนาแน่น
โรคคออักเสบ / ทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน
(Acute pharyngitis/ tonsillitis/ pharyngotonsillitis)
สาเหตุ
ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ที่พบบ่อย ได้แก่adenovirus,
influenza virus,parainfluenzavirus, rhinovirus, respiratory
syncytial virus (RSV)
กลุ่มแบคทีเรีย เชื้อที่พบบ่อยที่สุด คือ group A beta-hemolytic
streptococci (GABHS) พบเป็นสาเหตุประมาณร้อยละ 20 ถึง 40
ลักษณะอาการทางคลินิก
ไข้และเจ็บคอแต่ในเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถบอกอาการ
ได้จะมาพบด้วยอาการน้ำลายไหลผิดปกติหรือไม่รับ
ประทานอาหาร
ถ้าเป็นจากเชื้อไวรัส จะพบอาการนำคล้ายโรคหวัด คือ มีน้ำมูก
คัดจมูก จาม อาจพบตาแดง น้ำตาไหล เสียงแหบ เด็กบางราย
อาจตรวจพบ มีแผลในปากหรือเป็นตุ่มน้ำใส ผื่นตามตัว
ถ้าเป็นจากเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะ GABHS จะมีอาการไข้สูง
เจ็บคอมาก ปวดศีรษะคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง หรือมีประวัติ
สัมผัสผู้ป่วย ที่เป็น streptococcal pharyngitis อาจตรวจพบจุด
เลือดออกที่เพดานอ่อน
อาการ
ทอนซิลอักเสบเป็นหนอง หรือทอนซิลบวมแดงจัด
ต่อมน้ำหลืองบริเวณคอส่วนหน้าบวมและกดเจ็บ
ไข้สูง > 38 องศาเซลเซียส
ไม่มีอาการไอ
อายุ3-14 ปี
การรักษา
การลดไข้ในกรณีมีไข้ให้ยาลดไข้และเช็ดตัวลดไข้
การบรรเทาอาการเจ็บคออาจให้เป็นน้ำอุ่นผสมน้ำผึ้งมะนาว
การให้ยาต้านจุลชีพ
ภาวะแทรกซ้อน
เกิดจากการลุกลามของเชื้อไปยังบริเวณใกล้เคียง ได้แก่
หูชั้นกลางอักเสบ, peritonsillar abscess(Quinsy)
,para/retropharyngealabscess
เกิดปฏิกิริยาทางระบบอิมมูนทำให้ เกิดการอักเสบของอวัยวะอื่นๆ
ได้แก่ acute glomerulonephritis, rheumatic fever และ
rheumatic heart disease
ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน (Acute rhinosinusitis)
สาเหตุ
การอักเสบของ maxillarysinus และ ethmoidsinus
เกิดได้ตั้งแต่วัยทารก
frontal sinus พบการอักเสบได้ในช่วงวัยเรียน
หากมีการอักเสบของ sphenoid sinus มักไม่พบเพียง
แห่งเดียวแต่จะพบการอักเสบของไซนัสอื่นๆ ร่วมด้วยเป็น
pansinusitis
ลักษณะอาการทางคลินิก
อาการของโรคหวัดที่เป็นแบบต่อเนื่อง มีน้ำมูกและไอที่ไม่ดีขึ้นติดต่อกันนาน
กว่า 10 วัน5 โดยน้ำมูกมักข้นเหลืองแต่อาจมีสีขาวหรือใสก็ได้4,12-14 หรือ
อาการแย่ลงหลังจาก เป็นไข้หวัดมาแล้ว 5-7 วันร่วมกับมีอาการไอแห้งหรือมี
เสมหะจากน้ำมูกไหล ลงคอในเวลากลางวัน13 ผู้ป่วยอาจไอมากขึ้นในเวลา
กลางคืน แต่การไอเวลา กลางวันมีความจำเพาะต่อโรคไซนัสอักเสบมากกว่า
อาการของโรคหวัดที่เป็นแบบรุนแรง มีไข้สูงกว่า39 องศาเซลเซียส และ
น้ำมูกข้นเป็นหนองโดยเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน และเป็นติดต่อกัน 3-4 วัน
มีการบวมบริเวณรอบตาหรือกดเจ็บบนใบหน้า14 หรือ ปวดศีรษะมาก
การตรวจร่างกาย
พบน้ำมูกเขียว แต่ในเด็กเล็กอาจพบว่ามีน้ำมูกใส
ตรวจพบเสมหะขุ่นหรือลักษณะเป็นหนองที่ด้านหลังคอ
อาจมีไข้ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต คอแดง
ในเด็กโตอาจกดเจ็บบริเวณไซนัสหรือ เคาะเจ็บที่บริเวณฟัน
กรามบน และอาจพบมีการบวมรอบตา
การรักษา
Antihistamine พิจารณาให้เฉพาะในกรณีที่มีภูมิแพ้ร่วมด้วย
Decongestant ช่วยลดการบวมของเยื่อบุจมูก
Intranasal corticosteroids มีฤทธิ์ลดการอักเสบและการบวม
ของเยื่อบุจมูก
Nasal saline irrigation ยังไม่แนะนำในกรณีเป็นไซนัส
อักเสบ เฉียบพลัน แต่การใช้น้ำเกลือนอร์มัลฉีดล้างในช่อง
จมูกวันละ 2 ครั้ง
ภาวะแทรกซ้อน
periorbitalcellulitis ทำ ให้มีอาการไข้รอบตาบวม
การติดเชื้อในเบ้าตา มีอาการตาบวม ตาโปน ไม่
สามารถกลอกตาได้ตามปกติมีฝีหนองภายใน
กะโหลกศีรษะ ทำให้มีความดันในกะโหลกศีรษะสูง
แนวทางการป้องกันไซนัสอักเสบ
การป้องกันโดยการดูแลไม่ให้ติดหวัด
เลี่ยงควันบุหรี่ มลพิษ และสารที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้
เน้นให้ล้างมือเมื่อกลับจากโรงเรียน
การพยาบาล
ดูแลเด็กพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ
5 หมู่ และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ที่ป่วยเป็นไข้หวัด
รับประทานยาปฎิชีวนะ 6 - 8 สัปดาห์
รับประทานยาลดบวมของเยื่อบุจมูก
รับประทานยาละลายเสมหะเพื่อลดความเหนียวของ
น้ำมูก
โรคหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน (Acute otitis media)
สาเหตุ
เชื้อไวรัส ที่พบบ่อย ได้แก่ respiratorysyncytialvirus(RSV),
influenzavirus, adenovirus, rhinovirus, coronavirus, enterovirus,
parainfluenzavirus type 1-3, human metapneumovirus
เชื้อแบคทีเรีย ที่พบบ่อย ได้แก่ S. pneumoniae, H. influenzae,
S. pyogenes, M. catarrhalis
ปัจจัยเสี่ยง
ได้แก่ ประวัติมีการเจ็บป่วย ทางระบบหายใจ มีประวัติครอบครัวป่วยเป็น
หูชั้นกลางอักเสบ การเลี้ยงดูใน สถานเลี้ยงเด็กอ่อน กลุ่มที่มีภาวะกรดไหล
ย้อน ปากแหว่งเพดานโหว่ กลุ่มอาการ ดาวน์การใช้จุกนมปลอม รวมถึง
การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีควันบุหรี่
ลักษณะอาการทางคลินิก
คล้ายกับโรคหวัด ได้แก่ ไข้ไอ น้ำมูกไหล อาเจียน
อาการที่สำคัญ คือ การปวดหูในเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถพูดได้
อาจมีดึงหู ทุบหูร่วมกับ ร้องกวน งอแงผิดปกติหรือไม่ยอมนอน
เด็กโตอาจมาด้วย อาการปวดหูเฉียบพลัน กินได้น้อย หรือปวดศีรษะ
การรักษา
การรักษาตามอาการ อาการที่สำคัญ คือ อาการปวดหูโดย
เฉพาะในระยะเวลา 24 ชั่วโมง แรก แนะนำ ให้บรรเทาอาการ
ปวดด้วยการใช้ยาแก้ปวด โดยจะเลือกใช้paracetamol หรือ
ibuprofen ก็ได้
AOM ในเด็กนั้น ส่วนหนึ่งเกิด จากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งหาย
ได้เองโดยไม่ต้องใช้ยาต้านจุลชีพ
การพยาบาล
เมื่อเด็กมีอาการปวดหู หูอื้อ และมีไข้ ให้รับประทานยาพาราเซตามอล แล้วจึงรีบไปพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง
ในขณะที่มีหูน้ำหนวกไหลหรือเป็นโรคหูน้ำหนวกเรื้อรัง
ควรไปพบแพทย์ หมั่นใช้ไม้พันสำลีเช็ดทำความสะอาดหูให้แห้ง
และระวังอย่าให้น้ำเข้าหู
ป้องกันเด็กไม่ให้เป็นหวัดหรือโรคของทางเดินหายใจส่วนต้น
รวมถึงหลีกเลี่ยงการไอแบบปิดปากแน่นหรือสั่งน้ำมูกแรง ๆ
ไม่ซื้อยาหยอดหูใด ๆ มาใช้เอง
วิธีป้องกันหูชั้นกลางอักเสบ
ควรให้ทารกกินนมมารดาอย่างน้อย 6 เดือน
หลีกเลี่ยงการใช้จุกนมปลอม
หลีกเลี่ยงการส่งเด็กไปเลี้ยงที่ศูนย์เลี้ยงเด็ก
ระมัดระวังอย่าให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดิน
หายใจเฉียบพลัน
หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีควันบุหรี่ และให้งดการสูบ
บุหรี่ในครอบครัว
ระมัดระวังอย่าให้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุกับหู
การให้วัคซีนบางชนิดสามารถลดการเกิดหูชั้นกลาง
อักเสบได้ โดยวัคซีนที่นิยมให้ คือ วัคซีนป้องกันเชื้อ
ปอดอักเสบ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และการให้
ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส RSV-IGIV
โรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจส่วนล่าง (LRI)
กล่องเสียงและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน
(Acute laryngotracheobronchitis, viral croup)
สาเหตุ
พบบ่อยในเด็กอายุระหว่าง 6 เดือน-3 ปี เด็กชายพบได้มากกว่า
เด็กหญิงในอัตราส่วน 1.4:11
ระยะฟักตัวของโรคประมาณ 2-6 วันผู้ป่วย
เชื้อที่พบเป็นสาเหตุส่วนใหญ่คือไวรัสที่พบบ่อยที่สุด
คือ parainfluenza viruses
เชื้อแบคทีเรียอาจเป็นสาเหตุของ croup ได้แต่พบน้อย
ได้แก่ Mycoplasma pneumoniae
ลักษณะทางคลินิก
ผู้ป่วยมีอาการของโรคหวัด เช่น น้ำมูก ไอเล็กน้อย และไข้ต่ำๆ
นำมาก่อนประมาณ 12-48 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะมีอาการ ไอเสียงก้อง
เสียงแหบ และหายใจได้ยินเสียง stridor ซึ่งมักเกิดในช่วงหายใจเข้า
อาการมักเป็นมากขึ้นในเวลากลางคืน ขณะกระสับกระส่ายหรือร้องไห้มาก
ในรายที่มีอาการรุนแรงมากจะมีอาการหายใจลำบากและตรวจ พบอาการ
แสดงต่อไปนี้ ได้แก่ หายใจเร็ว, หัวใจเต้นเร็ว, จมูกบาน , อกบุ๋ม , ได้ยินเสียง
stridor ทั้งในช่วงหายใจเข้าและออก , กระสับกระส่าย และมีอาการเขียวได้
ระดับความรุนแรงของโรคตาม croup score ออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
croup score < 4 ระดับความรุนแรงน้อย (mild croup)
croup score 4-7 ระดับความรุนแรงปานกลาง (moderate croup)
croup score > 7 ระดับความรุนแรงมาก (severe croup)
Downes score
อาการ : ไอ ,คะเเนน : 0 = ไม่มี , 1 = ร้องเสียงเเหบ , 2 = ไอเสียงก้อง
อาการ : เสียง stridor , คะเเนน : 0 = ไม่มี , 1 = มีขณะหายใจเข้า ,
2 = มีขณะหายใจเข้าเเละออก
อาการ : เสียงหายใจเข้า , คะเเนน : 0 = ไม่มี , 1 = harsh breath
sound rhonchi , 2 = ช้าเเละเข้ายาก
อาการ : chest retractionเเละnasal flaring , 0 = ไม่มี , 1 = nasal
flaring & suprasternal retraction , 2 = เหมือน 1 ร่วมกับ subcostal &
intercostal retraction
อาการ : เขียว , คะเเนน : 0 = ไม่มี , 1 = เขียวขณะไม่ได้ออกซิเจน , 2 =
เขียวขณะให้ออกซิเจน 40 %
การรักษา
รักษาทั่วไปและการใช้ยาเพื่อลดการบวมของทางเดิน
หายใจ ได้แก่ corticosteroids และ nebulized epinephrine
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะพร่องออกซิเจน, ภาวะหายใจล้ม เหลว, ภาวะขาดน้ำ, bacterial
tracheitis, ปอดบวมน้ำ (pulmonary edema), มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด,
หัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิต
การป้องกัน
หลีก เลี่ยงไม่ให้เด็กเล็กอยู่ในที่แออัด หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือ
ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มี อาการหวัดหรือติดเชื้อในระบบหายใจ
ผู้ป่วย croup ทุกรายที่รับไว้ในโรงพยาบาล นอกจาก standard
precaution แล้วต้องใช้ contact precaution ร่วมด้วย โดยเฝ้าระวัง
การปนเปื้อน สารคัดหลั่งจากระบบหายใจ รวมทั้งให้ความสำคัญกับ
การล้างมือทุกครั้งที่สัมผัส ผู้ป่วย
การพยาบาล
เมื่อทราบว่าเด็กเป็น โรคครูป ให้เฝ้าดูอาการ 1-2 วันแรก
อย่างใกล้ชิด
ให้เด็กดื่มน้ำมากๆ น้ำอะไรก็ได้ เช่น น้ำเปล่า น้ำส้ม นม
เป็นน้ำเย็นเล็กน้อย
ใช้ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก หรือแอนติฮีสตามีน โดยศึกษา การใช้ยา
ในเด็กใช้อย่างไรให้ปลอดภัยตามวัย เพื่อลดอาการบวมของกล่อง
เสียง หรือใช้ น้ำอุ่นผสมมะนาวลดไข้
เมื่อเด็กมีไข้สูง กระสับกระส่าย หายใจเร็ว หายใจแรง หายใจ
ลำบาก นอนไม่ได้ ต้องนั่งอยู่ตลอดเวลา ให้รีบมาพบเเพทย์
ตัวแดงเพราะพิษไข้ จนตัวเขียว มีท่าทางเหมือนหายใจหาอากาศ ถ้าไม่แน่ใจรีบพาไปหาหมอทันที
ตัวแดงเพราะพิษไข้ จนตัวเขียว มีท่าทางเหมือนหายใจหาอากาศ
ถ้าไม่แน่ใจรีบพาไปหาหมอทันที
ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบเฉียบพลัน (Acute epiglottitis)
สาเหตุ
ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ Haemophilus influenzae type b
โดยร้อยละ 80 พบอายุน้อยกว่า 5 ปี หลังจากมีการใช้
วัคซีนป้องกันเชื้อ Hib
ลักษณะทางคลินิก
มีไข้สูงเฉียบพลัน เจ็บคอมาก กลืนลำบาก
น้ำลายไหล พูดไม่ชัด กระสับกระส่าย
อาการหายใจ เสียงดัง (stridor) มักพบในระยะที่
ผู้ป่วยเริ่มมีอาการรุนแรง
ผู้ป่วยมักอยู่ในท่านั่งเอนตัวไปข้างหน้าใช้แขน 2 ข้าง
ยันพื้น เงยคอ ยื่นคางและอ้าปาก (tripod position)
เพื่อช่วยให้การหายใจดีขึ้น
การรักษา
ให้ออกซิเจนที่มีความชื้น
งดให้อาหารทางปากและพิจารณาให้สารน้ำ
ทางหลอดเลือดดำ
รบกวนผู้ป่วยให้น้อยที่สุด
เตรียมท่อช่วยหายใจให้พร้อม โดยเตรียมขนาด
เล็กกว่าปกติ 0.5-1 มม.
การให้ยาต้านจุลชีพ ยากลุ่ม cephalosporin
เช่น cefuroxime
ผู้ป่วยอาการดีขึ้น ไม่มีไข้ หลังจากนั้น 48 ชั่วโมง
จึงเปลี่ยนเป็นยาต้านจุลชีพชนิดกินต่อเนื่องจน
ครบ 7-10 วัน
ภาวะแทรกซ้อน
ปอดอักเสบ, ปอดแฟบ, pulmonary edema, ทอนซิล
อักเสบเฉียบพลัน ในรายที่อาการรุนแรงต้องใส่ ท่อช่วย
หายใจอาจพบภาวะ laryngeal edema หรือ subglottic
granulation หลังถอดท่อช่วยหายใจ
หลอดลมคอติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial tracheitis)
สาเหตุ
พบได้น้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นในเด็กอายุ 1-7 ปี
ติดเชื้อไวรัสในระบบหาใจมาก่อน โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่ง croup และไข้หวัดใหญ่
พบตามหลังการสูดสำลักเชื้อหลังจากเป็นไซนัส
อักเสบ คออักเสบ หรือหลังผ่าตัดทอนซิล การติด
เชื้อแบคทีเรียเฉียบพลันที่หลอดคออาจรุนแรงถึง
เสียชีวิตได้
เชื้อก่อโรคที่พบบ่อยที่สุด คือ Staphylococcus aureus
1-5 ทั้งที่ดื้อและ ไม่ดื้อต่อ methicillin (MRSA)
ลักษณะทางคลินิก
เริ่มด้วยอาการ croup ไอเสียงก้อง เสียงแหบ ต่อมา
มีไข้สูง ไอ มีเสมหะจำนวนมากหายใจลำบาก ตรวจพบ
stridor ช่วงหายใจเข้า หรือทั้งเข้า
การรักษา
การดูแลทางเดิน หายใจให้เปิดโล่ง
ผู้ป่วยร้อยละ 50-90 จำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจ
หรือเจาะคอ
ควรให้ออกซิเจนและสารน้ำให้เพียงพอ ติดตาม อาการใกล้ชิด
ไม่ควรให้ nebulized epinephrine และ steroids เนื่องจาก
ไม่ได้ผลในการรักษา
การเลือกใช้ยาต้านจุลชีพขึ้นกับเชื้อที่สงสัย ได้แก่ cloxacillin,
vancomycin หรือ clindamycin ร่วมกับ third-generation
cephalosporin
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ดีขึ้นภายใน 2-3 วันหลังได้รับยา พิจารณาเปลี่ยนยา
ถ้าไม่ดีขึ้นในระยะเวลาดังกล่าว ควรให้ยา นานอย่างน้อย 10 วัน
หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchitis)
สาเหตุ
เชื้อไวรัส respiratory syncytial virus (RSV) และ parainfluenza
virus type เป็นสาเหตุที่พบบ่อย โดย RSV มัก พบในเด็กเล็ก,
influenza A และ B มักพบในเด็กโต, adenovirus type และ
มักพบในกลุ่มทหารเกณฑ์และวัยรุ่น และ Mycoplasma pneumoniae
มัก พบในเด็กวัยเรียน
สาเหตุส่วนใหญ่ (ร้อยละ 90) เกิดจากไวรัส ได้แก่ influenza A, influenza B, parainfluenza virus, RSV, coronavirus,
adenovirus, rhinovirus และhuman metapneumovirus (hMPV)
พยาธิกำเนิด
มักเริ่มจากมีการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบนนำมาก่อน
และมีการแพร่ กระจายของเชื้อที่เป็นสาเหตุจากด้านบนลงมาด้านล่าง
ทำให้เกิดการอักเสบ ร่วมกับมีการทำลายเยื่อบุทางเดินหายใจ
ลักษณะทางคลินิก
มีอาการคล้ายหวัด ได้แก่ มีไข้ หรืออาจไม่มีไข้ก็ได้ มีน้ำมูก คัดจมูก
นำมาก่อนในช่วง 3-5 วัน
ตามมาด้วยอาการของหลอดลม โดยมีอาการ ไอเป็นอาการที่
สำคัญที่สุด
อาการระยะแรกจะไอแห้งๆ มีไอเสียงก้อง โดยเสมหะมีลักษณะสีขาว
หรือใสเหนียว แล้ว เปลี่ยนเป็นสีเหลืองขุ่น
ในเด็กเล็กที่มีการกลืนเสมหะอาจมาด้วยอาการไอจนอาเจียน
เด็กโต สามารถไอขับเสมหะได้แต่อาจไอมากจนมีอาการเจ็บหน้าอก
ระยะนี้นานประมาณ 1-2 สัปดาห์และมักมีอาการไม่เกิน 3 สัปดาห์
การรักษา
การดื่มน้ำมากๆ อาจให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว
เพื่อทำให้ชุ่มคอและ บรรเทาอาการไอ
ไม่แนะนำให้ใช้ยากด อาการไอในผู้ป่วยเด็ก
การให้ยากลุ่ม antihistamine, decongestant และ beta-2
agonist พิจารณาให้ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น
allergic rhinitis, reactive airway disease เป็นต้น
การทำกายภาพบำบัดทรวงอกเพื่อระบายเสมหะแนะนำให้ทำใน
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถไอเอาเสมหะออกมาได้
การให้ยาต้านจุลชีพจึงไม่มีประโยชน์ ยกเว้น ในรายที่มีลักษณะ
บ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย ควรให้ยาต้าน จุลชีพที่ครอบคลุม
เชื้อที่น่าจะเป็นสาเหตุ
ภาวะแทรกซ้อน
ปอดแฟบ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง หรือโรคปอดเรื้อรัง
การป้องกัน
ป้องกันเชื้อโรคที่ติดต่อโดยการสัมผัสทั้งทาง ตรงและทางอ้อม
การได้รับวัคซีนที่จำเพาะเจาะจงกับเชื้อ ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่
(influenza) และไอกรน (pertussis)
การพยาบาล
พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำอุ่นบ่อยๆ เพราะน้ำเป็นยา
ละลายเสมหะที่ดีที่สุด
หลีกเลี่ยง ควัน, กลิ่นฉุน, ควันบุหรี่, สารเคมี, ฝุ่น,
สารระคายเคืองต่างๆ
ควรพยายามหลีกเลี่ยงอากาศเย็น และแห้ง ซึ่งจะทำให้ไอมาก
ขึ้น โดยเฉพาะแอร์ พัดลมเป่า การดื่มหรืออาบน้ำเย็น
ควรให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายขณะนอนให้เพียงพอ
ดูแลรักษาตามอาการ เช่น ถ้ามีไข้ อาจรับประทานยาลดไข้
paracetamol
ถ้ามีอาการไอมาก จนรบกวนการนอน อาจรับประทานยาลด
หรือระงับอาการไอ หรือยาขยายหลอดลม