Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Respiratory Distress Syndrome : RDS, อ้างอิง รัตนา มีหมู่. (2550).…
Respiratory Distress Syndrome : RDS
ความหมาย
ภาวะกลุ่มอาการหายใจลำบาก (Respiratory Distress Syndrome: RDS) คือ กลุ่มอาการหายใจลำบากที่พบบ่อยในทารกคลอดก่อนกำหนดจะปรากฏอาการภายใน 6 ชั่วโมงหลังคลอด และมีความรุนแรงขึ้นตามลำดับ เกิดจากปอดที่ยังทำงานไม่สมบูรณ์ ภาวะนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งตามลักษณะทางพยาธิวิทยาว่า Hyaline Membrane Disease (HMD)
สาเหตุ
สาเหตุที่สำคัญคือ การขาดสารลดแรงตึงผิว Surfactant หรือเกิดจากการสร้างสารลดแรงตึงผิวในปอดได้ช้าหรือไม่สมบูรณ์ และอาจมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีส่วนชักนำให้เกิดโรคนี้เพิ่มขึ้น เช่น มารดาตกเลือดก่อนคลอด มารดาเป็นเบาหวาน หรือมีภาวะขาดออกซิเจนปริกำเนิด (Perinatal Asphyxia) เป็นต้น
พยาธิสภาพ
ภาวะหายใจลำบากในทารกแรกเกิดเกิดจากปอดของทารกคลอดก่อนกำหนดขาดสารลดแรงตึงผิวในถุงลม ซึ่งทำหน้าที่ให้ถุงลมคงรูปและไม่แฟบขณะหายใจออก สารลดแรงตึงผิวสร้างจากเซลล์ Pneumocyte type 1 ได้ตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์ และสร้างมากขึ้นจนอายุครรภ์ 35 สัปดาห์ สารลดแรงตึงผิวเป็นสารที่เกิดจากการผสมกันระหว่างโปรตีนและฟอสโฟไลปิด การขาดสารลดแรงตึงผิวทำให้ความยืดหยุ่นของปอดลดลง ทารกต้องใช้แรงในการหายใจในแต่ละครั้งมากขึ้น ทำให้ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนมากกว่าที่ได้รับจากการหายใจ ต่อมาทารกจะเหนื่อยล้าพร้อมกับการระบายอากาศในถุงลมลดลง ออกซิเจนจึงไม่สามารถผ่านเข้าสู่กระแสโลหิตขณะเดียวกันคาร์บอนไดออกไซด์ไม่สามารถผ่านออกมาได้ ทำให้ทารกมีภาวะเลือดขาดออกซิเจนร่วมกับมีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ และเกิดภาวะกรดตามมาจากการที่หลอดเลือดที่ปอดหดตัว ดังนั้นการกำซาบของอากาศที่ปอดลดลงจึงมีการหายใจแรงมากขึ้น ทำให้หลอดเลือดที่ถุงลมแตก เลือดไปเลี้ยงถุงลมน้อยลง ถุงลมขาดเลือดและเยื่อบุหลอดเลือดฝอยถูกทำลาย เมื่อหลอดเลือดฝอยถูกทำลาย โปรตีนและไฟบรินในพลาสมาจะรั่วออกและเข้าไปฉาบอยู่ด้านในผนังถุงลมเรียกว่า Hyaline Membrane ซึ่งทำให้การระบายอากาศเข้าถุงลมและการแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดลง
อาการและอาการแสดง
หายใจลำบาก เริ่มด้วยอาการหายใจเร็ว หอบเหนื่อย ปีกจมูกบาน อาจเร็วถึง 100 ครั้ง/นาที อกหรือช่องระหว่างซี่โครงบุ๋มขณะหายใจเข้า อาการจะค่อยๆ รุนแรงขึ้นใน 2-3 วันแรก ถ้าเป็นมากอาจหยุดหายใจประมาณ 10 วินาทีเป็นพักๆ สลับกับหายใจเร็ว
เสียงหายใจผิดปกติ มีการกลั้นหายใจขณะหายใจออกหรือมีเสียงคราง (Expiration Grunting) พบในรายที่เป็นมากเสียงเกิดจากการที่ช่องสายเสียงปิดไม่สนิท ขณะหายใจออกเกิดการกักลมไว้บางส่วนให้อยู่ในถุงลมปอด การฟังปอดมีเสียงลมเข้าปอดน้อยกว่าปกติ มักได้ยินเสียงหายใจหยาบ (Harst Breath Sound) หรือเสียงกรอบแกรบ (Fine Crepitation)
อาการตัวเขียว พบได้บ่อยในรายที่เลือดลัดวงจรจากขวาไปซ้าย
ความดันโลหิตต่ำ ทารกอาจดูซีดหรือคล้ำ โดยที่ระดับฮีมาโทคริตไม่ต่ำ เนื่องจากระบบไหลเวียนโลหิตส่วนปลายไม่ดี
การรักษา
การรักษาแบบประคับประคอง โดยดูแลให้ทารกได้รับความอบอุ่น ได้รับอาหารที่เหมาะสม และป้องกันการติดเชื้อ
การรักษาด้วยสารลดแรงตึงผิว (surfactant)
ให้ออกซิเจนที่มีความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสม สำหรับทารกที่มีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นต้องได้รับ CPAP หรือเครื่องช่วยหายใจ การให้ออกซิเจนต้องระมัดระวังและดูแลภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะ ROP เชื่อกันว่าเป็นผลมาจากการให้ออกซิเจนความเข้มข้นสูงเป็นเวลานาน ทำให้เกิด fibrous tissue ที่ด้านหลังของตารบกวนการไหลเวียนของโลหิต ทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงที่จอตา อาจให้ตาบอดได้
การรักษาด้วยยา ได้แก่ Ampicillin, Gentamicin
ความรู้เกี่ยวกับยาที่ทารกได้รับ
Ampicillin
ข้อบ่งใช้ : เป็นยาฆ่าเชื้อที่ครอบคลุมเชื้อได้กว้างใช้ต้าน group B streptococcus, listeria monocytogenes และ E.coli บางสปีชีส์
เภสัชวิทยา : ยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ของเชื้อแบคทีเรีย ขับถ่ายยาออกทางไต และการขับออกจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น
ขนาดยาและวิธีการใช้ : 25-100 มก./กก./ครั้ง ฉีดเข้าเส้นเลือดดำช้าๆ
ผลข้างเคียงและข้อควรระวัง : อาจเกิดภาวะ hypersensitivity อาการแสดง คือ ผื่น maculopapular ผื่นลมพิษ หรือมีไข้ ปฏิกิริยาเหล่านี้พบได้ไม่บ่อยในทารกขนาดยาสูงมากๆ อาจกระตุ้นประสาทส่วนกลางทำให้ชักได้
Gentamicin
ข้อบ่งใช้ : รักษาการติดเชื้อแกรมลบรูปแท่ง ชนิดพึ่งพาออกซิเจน ได้แก่ pseudomonas, klebsiella, E. coli
เภสัชวิทยา : เป็นยาที่ทำลายเชื้อแบคทีเรีย โดยออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างโปรตีนภายในเซลล์ มีความเข้มข้นของยาในไตสูง
ขนาดยาและวิธีการใช้ : ให้ยาโดยหยดเข้าเส้นเลือดดำช้าๆ นานกว่า 30 นาที บริหารยาโดยแยกกับสารประกอบที่มี penicillin
ผลข้างเคียงและข้อควรระวัง : พิษต่อหูทั้งระบบการทรงตัวและการได้ยิน เป็นพิษต่อไตที่ตำแหน่งท่อไตส่วนต้น หากได้ยาอื่นที่มีพิษต่อไต และหรือต่อหูร่วมด้วย จะพบผลข้างเคียงเพิ่มขึ้น furosemide, Vancomycin
การพยาบาล
ทารกมีภาวะเนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากถุงลมปอดทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์
วัตถุประสงค์ : ทารกได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ และแลกเปลี่ยนก๊าซอย่างมีประสิทธิภาพ
การพยาบาล
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง โดยจัดให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง 30 องศา
ฟังเสียงปอดก่อนและหลังดูดเสมหะ สังเกตลักษณะการเคลื่อนไหว และการขยายของทรวงอกทั้งสองข้าง
บันทึกสัญญาณชีพและค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนทุก 1 ชั่วโมง เพื่อประเมินภาวะขาดออกซิเจน
ดูแลท่อช่วยหายใจให้อยู่ในตำแหน่งตลอดเวลาดูแลเครื่องช่วยหายใจให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ให้สารน้ำตามแผนการรักษา และติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ทารกมีโอกาสเกิดภาวะอุณหภูมิกายเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เนื่องจากระบบควบคุมอุณหภูมิยังเจริญไม่สมบูรณ์
วัตถุประสงค์ : อุณหภูมิร่างกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ
การพยาบาล
ตั้งอุณหภูมิตู้อบ 35.5 องศาเซลเซียส และตรวจสอบการทำงานของตู้อบให้ทำงานได้ตามปกติ
วัดอุณหภูมิทุก 4 ชั่วโมง
จัดให้นอนในที่นอนที่ทำด้วยผ้าลักษณะคล้ายรังนก (nest)
เปลี่ยนผ้าอ้อม ผ้าปูที่นอนให้ทารกทุกครั้งที่เปียกชื้นจากอุจจาระหรือปัสสาวะ
ทารกมีการติดเชื้อในร่างกาย เนื่องจากทารกเกิดก่อนกำหนดระบบภูมิคุ้มกันยังไม่สมบูรณ์
วัตถุประสงค์ : ทารกไม่เกิดการติดเชื้อในร่างกาย
การพยาบาล
ล้างมือก่อนและหลังให้การพยาบาลทุกครั้ง
ดูแลความสะอาดสิ่งแวดล้อม
บันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง พร้อมทั้งสังเกตอาการและอาการแสดงต่างๆ ที่ผิดปกติ เช่น ซึม มีไข้ หยุดหายใจ
ดูแลให้ยา Ampicillin และ Gentamicin ตามแผนการรักษา
ทารกมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับเครื่องช่วยหายใจ
วัตถุประสงค์ : ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับออกซิเจนและเครื่องช่วยหายใจ
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดทุก 1 ชั่วโมง
สังเกตและประเมินการเคลื่อนไหวของผนังทรวงอก และฟังเสียงลมเข้าปอด
ประเมินและตรวจสอบปริมาณออกซิเจนที่ให้
ส่งตรวจตา สังเกตและบันทึกอาการ อาการแสดงของระบบประสาท
ติดตามภาพถ่ายรังสีทรวงอก เพื่อประเมินปอด
อ้างอิง
รัตนา มีหมู่. (2550). การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะกลุ่มอาการหายใจลำบาก. ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลกลาง. สืบค้นจาก
http://www.msdbangkok.go.th/dowload%20file/Personal/Succeed/RN/1151_Rattana.pdf