Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Bronchiolitis, อ้างอิง
นวลจันทร์ ปราบพาล.บรองคิโอลอักเสบเฉียบพลันในโรงพยา…
Bronchiolitis
การรักษา
-
การให้สารน้ำ
การให้สารน้ำเพื่อแก้ ไขภาวะขาดน้ำมีความสำคัญเบื้องต้นแนะนำให้สารน้ำทางปาก แต่ในผู้ป่วยที่มีอัตราการหายใจ > 60 ครั้ง/นาที และมีน้ำมูกมาก ต้องระวังการสำลัก อาจพิจารณาให้ทาง nasogastric
หรือให้ทางเส้นเลือด ไม่ควรให้สารน้ำในปริมาณมากเกินไป
การให้ยาพ่น
ในกรณีที่ไม่สามารถวินิจฉัยแยกโรคจากโรคหืด อาจทดลองให้ ยาขยายหลอดลม และติดตามอาการอย่างใกล้ชิดและบันทึกผลของการรักษาโดยให้ salbutamol 0.05-0.15 มก./กก./ครั้ง ซึ่งเป็นขนาดเดียวกับที่ใช้ในการรักษาการจับหืดเฉียบพลันโดยแนะนำให้ติดตามอาการและผลแทรกซ้อนของการรักษาอย่างใกล้ชิดภายหลังพ่นยา 1-2 ครั้ง โดยถ้าอาการหอบและเสียงหวีดหายไปหรือดีขึ้น แสดงว่าผู้ป่วยมีภาวะหลอดลมหดเกร็ง
ร่วมด้วย ควรให้การรักษาด้วยยาชนิดดังกล่าวต่อไป ถ้าอาการไม่ดีขึ้นอย่างชัดเจนก็ไม่จำเป็นต้องให้ยาต่อเนื่องจากปัจจุบันมีการศึกษาถึงการใช้ยา salbutamolในผู้ป่วยหลอดลมฝอยอักเสบบางราย พบว่าไม่ช่วยให้ การให้ออกซิเจน ดีขึ้นไม่ลดระยะเวลาการรักษาในโรงพยาบาล ไม่ช่วยลดความรุนแรงของโรค
สาเหตุ
จากการติดเชื้อ ส่วนมากกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกับที่ก่อให้เกิดไข้หวัดใหญ่ และติดต่อแบบเดียวกับไข้หวัดบางครั้งอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนมักพบได้บ่อยในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่ภูมิต้านทานโรคต่ำ ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือมีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง
จากการถูกสิ่งระคายเคือง ที่พบบ่อยคือการสูบบุรี่ซึ้งทำให้ขนอ่อน ที่เยื่อบุหลอดลมเคลื่อนไหว ( โบกพัดเพื่อปกป้องผิวหลอดลม )น้อยลง เยื่อบุหลอดลมถูกระคายเคือง ทำให้ต่อมเมือกโตขึ้น มีเสมหะมากขึ้น
การตรวจวินิจฉัย
- ประวัติการเจ็บป่วย และข้อมูลระบาดวิทยาของท้องถิ่นนั้น ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการวินิจฉัยเชื้อที่เป็นสาเหตุ
- อาการและอาการแสดง ผู้ป่วยที่มาด้วย ไข้ ไอ และหอบนั้น ต้องพยายามแยกจากโรคอื่นที่อาจมาด้วยอาการแบบเดียวกัน แต่อาการแสดงบางอย่างที่แตกต่างไปจะช่วยแยกได้ ได้แก่
2.1 หลอดลมฝอยอักเสบ โรคนี้จะพบในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี ผู้ป่วยจะมีอาการหวัด ไอ นามาก่อน 2-3 วัน และต่อมาจะมีไข้สูง ไอ หายใจเร็ว ถ้าเป็นมากจะมีหายใจหอบจะได้ยิน wheezing ทั่วไป
-
อาการ
อาการไอบ่อย ระยะแรกจะไอแห้งๆแล้วไอมีเสมหะเล็กน้อยเป็นสีขาวใน 2-3 ชั่วโมงหรือ 2-3 วันต่อมาเสมหะจะมีปริมาณมากขึ้น อาจมีลักษณะเป็นสีขาว (ถ้าเกิดจากไวรัสหรือการระคายเคืองล้วนๆ )หรือกลายเป็นเสมหะข้นสีเขียวหรือเหลือ ( ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย ) ผู้ป่วยอาจไม่มีไข้หรือมีไข้ต่ำๆ อยู่นาน 3-5 วัน
ผู้ป่วยมักมีอาการเป็นไข้หวัด เจ็บคอ นำมาก่อนที่จะเกิดอาการไอ บางรายอาจไม่มีอาการเหล่านี่อาการไอมักเป็นอยู่นาน 1-3 สัปดาห์ แต่บางรายอาจไอนานกว่านี้อาจไอมากกตอนกลางคืน ( จนนอนไม่พอ )หรือหลังตื่นนอนตอนเช้า บางอาจมีอาการเสียงแหบ เจ็บคอหรือเจ็บหน้าอกเวลาไอ ในเด็กเล็กอาจไอจนอาเจียน บางรายอาจมีอาการแน่นหน้าอก หรือหายใจหอบเหนื่อยร่วมด้วย
พยาธิสภาพ
เชื้อไวรัสและแบคทีเรีย หรือเชื้อก่อโรคสามารถเข้าสู่ทางเดินหายใจทางการสัมผัส เชื้ออาจฝังตัวที่ปอดโดยตรง หรือแพร่กระจายตัวลงมาจากทางเดินหายใจส่วนบน หลอดลมฝอยขนาดเล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 75 – 300 ไมครอน จะเป็นตำแหน่งที่เริ่มเกิดพยาธิสภาพ ซึ่งก่อนที่เชื้อไวรัสจะก่อโรคนั้นเยื่อเมือกและเยื่อบุทางเดินหายใจ โดยเชื้อไวรัสจะทำลาย ciliated respiratory epithelium ทำให้เกิดการหลุดออกของ เศษเนื้อตายสะสมในหลอดลม ทำให้เกิดการอักเสบ ในระยะแรกจะเริ่มมีของเหลวคั่ง บวม และมีเม็ดเลือดขาวมากขึ้น โดยมี mononuclear cell และ submucosa ทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ มีเสมหะจำนวนมากในถุงลมและทางเดินหายใจ เลือดที่ไหลผ่านปอดส่วนนั้นจะไม่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซซึ่งกันและกันกับถุงลมปอด ซึ่งก็จะทำให้เด็กได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
ความหมาย
หลอดลมฝอยอักเสบ เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ ทำให้มีการอักเสบของหลอดลมฝอย เกิดการบวมและหลุดลอกของเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจ ส่งผลให้การระบายเสมหะไม่มีประสิทธิภาพ ร่วมกับมีการสร้างเสมหะเพิ่มมากขึ้น เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนล่าง มักเกิดในช่วงอายุ 1-2 ปีแรก พบบ่อยในเพศชาย มีความชุกในฤดูฝนและหนาว
อ้างอิง
นวลจันทร์ ปราบพาล.บรองคิโอลอักเสบเฉียบพลันในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ : คณะแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อลิษา ขุนแก้ว .บทบาทพยาบาลกับการดูแลเล็กที่ติดเชื้อไวรัส RSV : คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี