Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (Hypertensive disorders of pregnancy) - Coggle…
ภาวะโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
(Hypertensive disorders of pregnancy)
ความหมาย
ภาวะความดันโลหิตสูง (hypertension)
systolic BP อย่างน้อย 140 mmHg.
หรือ diastolic BP อย่างน้อย 90 mmHg.
หรือทั้งสองค่า โดยวัด 2 ครั้ง
วัดห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ภายหลังการพัก
ภาวะความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์
(Pregnancy Induced Hypertension: PIH)
มีสาเหตุจากการตั้งครรภ์ พบในระยะครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ อาจพบร่วมกับการมีโปรตีนในปัสสาวะหรือมีอาการบวม
ภาวะความดันโลหิตสูงหลังคลอด
(postpartum hypertension)
สตรีที่มีความดันโลหิตปกติขณะตั้งครรภ์
แล้วมีความดันโลหิตสูงขึ้น
ในช่วง 2 สัปดาห์หลังคลอด ถึง 6 เดือนหลังคลอด
จากนั้นความดันโลหิตกลับสู่ปกติในปลายปีแรก
ชนิดของภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์
(gestational hypertension)
ภาวะความดันโลหิตสูงที่วินิจฉัยได้ครั้งแรกในระหว่างการตั้งครรภ์หลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์
โดยไม่มีโปรตีนในปัสสาวะ หรือมีโปรตีนในปัสสาวะน้อยกว่า 300 mg. และความดันโลหิต
กลับสู่ระดับปกติภายใน 12 สัปดาห์หลังคลอด
ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง
(chronic/ preexisting hypertension)
ภาวะความดันโลหิตสูงที่เป็นมาก่อนการตั้งครรภ์ หรือวินิจฉัยได้ก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์
โดยที่ความดันโลหิตสูงเกิดจากสาเหตุอื่น
ครรภ์เป็นพิษ หรือ ภาวะครรภ์เป็นพิษระยะก่อนชัก (preeclampsia)
กลุ่มอาการ (syndrome) ของความดันโลหิต
ที่พบครั้งแรกในขณะตั้งครรภ์หลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ร่วมกับมีโปรตีนในปัสสาวะอย่างน้อย 300 มิลลิกรัม
ในปัสสาวะ 24 ชั่วโมงและภาวะความดันโลหิตสูง
คงอยู่ไม่เกิน 12 สัปดาห์หลังคลอด
ครรภ์เป็นพิษระยะชัก (eclampsia)
ภาวะครรภ์เป็นพิษที่มีภาวะชักร่วมด้วย
ครรภ์เป็นพิษซ้อนทับกับความดันโลหิตสูงเรื้อรัง
(preeclampsia superimposed on chronic hypertension)
สตรีที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเรื้อรัง
เมื่อตั้งครรภ์แล้วพบมีภาวะครรภ์เป็นพิษแทรกซ้อน
ภาวะครรภ์เป็นพิษก่อนระยะชัก (Preeclampsia)
เกณฑ์การวินิจฉัย preeclampsia
เกณฑ์การวินิจฉัยเกี่ยวกับความดันโลหิตสูง
การพบโปรตีนในปัสสาวะ
เกล็ดเลือดต่ำ
การทํางานของไตผิดปกติ
การทํางานของตับผิดปกติ
อาการทาง สมอง อาการทางตา และภาวะน้ําท่วมปอด
การพิจารณาค่าความดันโลหิตที่สูง
เกณฑ์การวินิจฉัยเกี่ยวกับโปรตีนในปัสสาวะ (proteinuria)
ตรวจวัดโดยการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
กรณีที่ต้องการผลเร็วให้ใช้การตรวจ
urine protein/creatinine ration
การตรวจโดย urine dipstick
นิยมใช้ในการคัดกรองเบื้องต้นในคลินิกฝากครรภ์
ยกเลิกเกณฑ์การวินิจฉัยภาวะครรภ์เป็นพิษระดับรุนแรง (severe preeclampsia)
ใช้เกณฑ์ proteinuria มากกว่า 5 กรัมในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
เกณฑ์การประเมินความรุนแรงของภาวะ preeclampsia
ครรภ์เป็นพิษที่มีลักษณะไม่รุนแรง
(preeclampsia without severe features)
ครรภ์เป็นพิษที่มีลักษณะรุนแรง
(preeclampsia with severe features)
ภาวะครรภ์เป็นพิษระยะชัก (eclampsia)
ภาวะชักแบบ generalized convulsions
หรือ grandmal seizures ที่มีลักษณะเป็นการชักเกร็ง
แบบชักกระตุก (tonic-clonic) ที่เกิดขึ้นใน preeclampsia หรือ gestational hypertension
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นภายหลังการชัก
ภาวะขาดออกซิเจน สมองขาดออกซิเจน
(hypoxic encephalopathy)
เลือดเป็นกรด เลือดออกในสมอง
ปอดอักเสบจากการสําลัก (aspirate pneumonia)
การบาดเจ็บจากการชัก
สาเหตุและพยาธิกําเนิดของ
ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ระยะที่ 1 ระยะก่อนแสดงอาการ
(preclinical หรือ asymptomatic stage)
จะเกิดความผิดปกติของการฝังตัวของรก
โดยเกิดความผิดปกติของ endovascular trophoblastic remodeling
เกิดความล้มเหลวของการปรับเปลี่ยนจาก epithelial to endothelial phenotype
คือมี incomplete transformation ของ spiral arteries
ของเซลล์cytotrophoblast ทําให้หลอดเลือดตีบแคบและมีความต้านทานสูง
และเกิดผนังหลอดเลือดตีบแข็งเฉียบพลัน
ส่งผลให้เกิด placental infarction, placental ischemia และ placental hypoxia
การฝังตัวที่มีผิดปกติมาก จะทําให้ความรุนแรงของภาวะครรภ์เป็นพิษมากขึ้นตาม
ระยะที่ 2 ระยะแสดงอาการ (clinical stage)
รกที่ขาดออกซิเจนจะมีการหลั่งสารต่าง ๆ
ออกมาในกระแสเลือด ที่สําคัญคือ proinflammatory
และ antiangiogenic factors
ทําให้เซลล์โพรงหลอดเลือดบาดเจ็บ และขาดเลือด
เกิดความผิดปกติในการทําหน้าที่ของเนื้อเยื่อบุโพรงหลอดเลือด
พยาธิสรีรภาพของภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ระบบไต (renal system)
ปริมาณการไหลเวียนที่ไตลดลง และทําลายของชั้นเยื่อบุหลอดเลือดในไต
เกิด glomerular capillary endotheliosis ทําให้ glomerular infiltration rate ลดลง
ระบบหัวใจและปอด
(cardiopulmonary system)
เกิด proteinuria และการรั่วของ capillaries
ทําให้ colloid osmotic pressure ลดลง
จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ําท่วมปอด
และสารน้ําในระบบไหลเวียนโลหิต
จะรั่วออกไปคั่งตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ
intravascular volume ลดลง เลือดมีความหนืดมากขึ้น (hemoconcentration) มีค่า hematocrit สูงขึ้น
ทําให้เกิดภาวะน้ําท่วมปอดได้ง่าย
จึงส่งผลให้เกิดการทํางาน ของหัวใจล้มเหลว
ระบบเลือดและการแข็งตัวของเลือด
(hematologic and coagulation system)
เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำเฉียบพลัน
และมีปัจจัยการแข็งตัวของเลือดชนิดอื่นๆ ลดลง
โดยอาจเกิดจากกลไกทางระบบภูมิคุ้มกัน
หรือเกล็ดเลือดไปจับตัวเกาะกลุ่ม
ตามเยื่อบุหลอดเลือดที่ถูกทําลาย
ระบบตับ (hepatic system)
เกิด generalized vasoconstriction
ทําให้เกิด hepatic ischemia
และส่งผลให้ระดับเอนไซม์ aspartate aminotransferase (AST) หรือ serum glutamic oxaloacetic transaminase (SGOT) และ alanine aminotransferase (ALT) หรือ serum glutamic pyruvic transaminase (SGPT) สูงขึ้น
ระบบประสาท (neurological system)
เยื่อบุหลอดเลือดถูกทําลาย อาจทําให้เกิด
การแตกของหลอดเลือดฝอย มีเลือดออกในสมองเป็นจุดเลือดเล็ก ๆ หรือเป็นก้อนใหญ่
(petechial hemorrhage)
ผลจากหลอดเลือดหดเกร็ง (vasospasm)
ทําให้เกิด cortical brain spasm
และเกิด cerebral ischemia
ส่งผลให้มีสมองบวม (cerebral edema)
อาจพบอาการปวด ศีรษะ ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง
ระบบการมองเห็น (visual system)
การหดรัดตัวของหลอดเลือดที่จอตา
(retinal arteriolar vasospasm) ทําให้เกิด retinal edema
เกิดอาการตาพร่ามัว (blurred vision) การมองเห็นผิดปกติ
และอาจทําให้เกิดการหลุดของจกตา (retinal detachment)
รก และมดลูก (placenta and uterus)
จากการหดรัดตัวของหลอดเลือด spiral arteriole
ใน decidual ร่วมกับมี acute atherosis
ทําให้หลอดเลือดตีบตัน ปริมาณเลือดที่ไหลผ่านระหว่างรกและ มดลูก (uteroplacental perfusion) ลดลง
มีการแตกทําลายของเม็ดเลือดและการจับตัว
ของเกล็ดเลือด ทําให้เกิดการตายของเนื้อรก
และผนังมดลูก การทําหน้าที่ของรกเสื่อมลง
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
สตรีที่ไม่เคยคลอดบุตรมาก่อน (nulliparity)
มีประวัติครรภ์เป็นพิษในครรภ์ก่อน
ผ่านการคลอดบุตรคนก่อนมาอย่างน้อย 10 ปี
สตรีอายุมากขึ้นตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป
ดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 kg/m2 ขึ้นไป หรืออ้วน
ตั้งครรภ์แฝด
มีประวัติพันธุกรรมครรภ์เป็นพิษ
ในครอบครัวของสตรีตั้งครรภ์
มีประวัติมีความเจ็บป่วยทางอายุรกรรมที่เกี่ยวข้อง
ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง
โรคไตเรื้อรัง
โรคเบาหวาน (type I หรือ type II)
ภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือด (thrombophilia)
ความผิดปกติทางสูติกรรม
กลุ่มอาการถุงน้ํารังไข่หลายใบ
(polycystic ovarian syndrome: PCOS)
รกใหญ่กว่าปกติ
ภาวะโภชนาการบกพร่อง
ขาดวิตามินซี วิตามินอี
ขาดแคลเซียม
อาการและอาการแสดง
ภาวะ preeclampsia
ภาวะครรภ์เป็นพิษที่มีลักษณะรุนแรง
ปวดศีรษะส่วนหน้า
การมองเห็นผิดปกติ
ปวดใต้ชายโครงขวา หรือจุกแน่นใต้ลิ้นปี่
อาการ
ภาวะไตวาย หรือปริมาณปัสสาวะออก
น้อยกว่า 500 มิลลิลิตร
เกล็ดเลือดต่ำ
การทํางานของตับผิดปกติ
ระบบการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
HELLP syndrome
Hemolysis (H)
การแตกหรือสลายของเม็ดเลือดแดง
Elevated liver enzymes (EL)
การเพิ่มของเอนไซม์ตับ
Low platelet (LP)
เกล็ดเลือดต่ำ
ภาวะ Eclampsia
ภาวะครรภ์เป็นพิษระยะชัก
ระยะก่อนชัก (Premonitoring stage)
กระสับกระส่าย ตามองนิ่งอยู่กับที่
ศีรษะหมุนไปด้านหนึ่งจนตึง และรูม่านตาขยาย
ระยะเริ่มแรกของอาการชัก (Stage of invasion)
กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า และมุมปากกระตุก ริมฝีปากเบี้ยว
ระยะชักเกร็ง (Stage of contraction หรือ tonic stage)
มีอาการเกร็งกล้ามเนื้อทั่ว ร่างกาย ลําตัวเหยียด
ศีรษะหงายไปด้านหลัง มือกําแน่น
ถ้ากล้ามเนื้อที่ช่วยการหายใจหดรัดตัวมาก
อาจมีการหยุดหายใจ หน้าเขียว
ระยะชักกระตุก (Stage of convulsion หรือ clonic stage)
มีการกระตุกของ กล้ามเนื้อทั่วร่างกายอย่างแรง
มีการกระตุกของขากรรไกร อาจกัดลิ้นบาดเจ็บ
การที่ร่างกายเกร็งกระตุกอย่างแรง
อาจทําให้เกิดกระดูกหักได้
ระยะหมดสติ (coma หรือ unconscious)
เกิดภายหลังการชักกระตุก
อาจมีอาการหยุดหายใจเป็นบางครั้ง
ทําให้คาร์บอนไดออกไซด์คั่งเกิด ภาวะ repiratory acidosis
ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
รกลอกตัวก่อนกําหนด
เลือดแข็งตัวผิดปกติ (DIC)
หัวใจขาดเลือด
หัวใจล้มเหลว จากการมี venous return เพิ่มอย่างรวดเร็ว
ไตวายเฉียบพลัน
น้ำท่วมปอด
เลือดออกในสมอง
เกล็ดเลือดต่ำ
เลือดออกในตับจนมีการตายของเซลล์ตับ
การหลุดของเรตินา
ตาบอดชั่วคราว
หลอดเลือดอุดตัน
อันตรายจากการชัก
สําลักเศษอาหารเข้าหลอดลม
ข้อเคลื่อน
กัดลิ้น
ผลกระทบต่อทารก
ขาดออกซิเจน เลือดเป็นกรด
ทารกโตช้าในครรภ
แท้ง หรือเสียชีวิตในครรภ์
ทารกคลอดก่อนกําหนด
กรณีที่ได้รับการรักษาด้วย magnesium sulfate
ในระยะคลอด
ยาจะผ่านรกไปสู่ทารก ทำให้ทารกแรกเกิด
มีรีเฟล็กซ์ และการหายใจไม่ดี