Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะอาเจียนรุนแรงในระยะตั้งครรภ์(Hyperemesis gravidarum) - Coggle Diagram
ภาวะอาเจียนรุนแรงในระยะตั้งครรภ์(Hyperemesis gravidarum)
สาเหตุ
ปัจจัยด้านมารดา
1.1 การตั้งครรภ์ที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) สูง หรือมีระดับ humanchorinoic gonadotropin (hCG) เพิ่มมากกว่าปกติ เช่น การตั้งครรภ์แฝด มีภาวะ hyperthyroidismขณะตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก (hydatidiform moles) เป็นต้น
1.2 มีประวัติการแพ้ท้องอย่างรุนแรงในครรภ์ก่อน หรือเป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรก
1.3 มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่เหมาะสมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ เช่น รับประทานอาหารที่ขณะตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก (hydatidiform moles) เป็นต้น
1.4 มีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร เช่น กระเพาะอาหารหรือลำไส้อักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ ลำไส้อุดตัน การติดเชื้อของระบบทางเดินอาหารโดยเฉพาะจากเชื้อ Helicobacter pylori (H. pylori)
1.5 กระเพาะอาหารมีการเคลื่อนไหวลดลง จากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรน(progesterone) ขณะตั้งครรภ์ ทำให้หลั่งกรดไฮโดรคลอริค (hydrochloric acid: HCI) ลดลง
1.6 สภาพจิตใจ ความเครียด ความวิตกกังวล ที่อาจมีสาเหตุต่าง ๆ
ปััจจัยด้านทารก
ทารกมีความผิดปกติเกี่ยวกับโครโมโซม triploidy, trisomy 21 และ
ทารกบวมน้ำ (hydrops fetalis)
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อมารดา
ทำให้ร่างกายเกิดการขาดน้ำ ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น ชีพจรเบาเร็วและความดันโลหิตต่ำลง มีผลกระทบต่อการทำงานของไต ปัสสาวะออกน้อย มีไข้ผิวหนังแห้ง มีอาการอ่อนเพลีย
เกิดภาวะความเป็นกรดในร่างกาย เกิดภาวะกรดในกระแสเลือด เนื่องจากการสูญเสียด่างในน้ำย่อยไปกับการอาเจียน ทำให้มีผลกระทบต่อระบบสมองส่วนกลาง มีอาการกระสับกระส่าย ไม่รู้สึกตัว หมดสติ
ถ้ามีอาการรุนแรงมาก ร่างกายเสียสมดุลของอิเลคโตรลัยท์เกิดภาวะ hypokalemia,alkalosis กล้ามเนื้ออ่อนแรง
เกิดภาวะขาดสารอาหาร มีผลกระทบต่อตับ ค่า SGOT เพิ่มขึ้น
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
หากสตรีตั้งครรภ์มีน้ำหนักลดลงมาก จะทำให้ทารกในครรภ์เติบโตช้า และน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่าปกติ
หากสตรีตั้งครรภ์อาการรุนแรงมาก เกิดภาวะเป็นกรดในร่างกาย อาจทำให้ทารกมีอาการทางสมอง เกิดภาวะ Wernicke’s encephalopathy
อาจทำให้แท้ง คลอดก่อนกำหนด ทารกอาจตายคลอด และทารกพิการ (Fetalanomalies) จากการขาดสารอาหารได้
การวินิจฉัย
การซักประวัติตรวจร่างกาย ประเมินจากอาการและอาการแสดงของ การอาเจียนรุนแรง การขาดสารน้ำขาดสารอาหาร น้ำหนักตัว และสภาพจิตใจ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
2.1 การตรวจเลือด พบฮีมาโตคริตสูง BUN สูง โซเดียมต่ำ โปแตสเซียมต่ำ คลอไรด์ต่ำ SGOT
2.2 การตรวจปัสสาะ พบว่ามีความถ่วงจำเพาะสูง ไข่ขาวในปัสสาวะเพิ่มขึ้น
การตรวจพิเศษ เพื่อค้นหาสาเหตุของความผิดปกติ ได้แก่ การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
การพยาบาล
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ดูแลให้ยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ตามแผนการรักษา
บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าออกจากร่างกาย
ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ เพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำ
จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด เงียบสงบ เหมาะแก่การพักผ่อน
ดูแลความสะอาดของช่องปากและฟัน ขณะที่ NPO หรือหลังจากอาเจียน
เมื่ออาการดีขึ้น ให้เริ่มรับประทานอาหารมื้อละน้อยแต่บ่อยครั้ง
หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เช่น กลิ่น อาหารมัน อาหารรสจัด
ติดตามชั่งน้ำหนัก เพื่อประเมินว่าได้รับสารน้ำและสารอาหารเพียงพอหรือไม
ดูแลให้งดอาหารและน้ำทางปาก (Nothing Per Oral: NPO) อย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง
แนะนำให้คู่สมรสหรือบุคคลในครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือสตรีตั้งครรภ์
อย่างใกล้ชิด
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์เมื่อกลับไปอยู่บ้าน
แนะนำการออกกำลังกายหรือกายบริหารเบาๆ อย่างสม่ำเสมอ
แนะนำให้หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เกิดความเครียด ทำจิตใจให้สบาย และใช้เทคนิคการ
ผ่อนคลาย เช่น ดูหนัง ฟังเพลง
แนะนำให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
อธิบายให้คู่สมรสและครอบครัวเข้าใจถึงภาวะที่เกิดขึ้น และควรให้การช่วยเหลือสตรี
ตั้งครรภ์อย่างใกล้ชิด
แนะนำให้ดื่มน้ำอุ่นทันที่ตื่นนอนประมาณครึ่งแก้ว แล้วนอนต่ออีกประมาณ 15 นาที
ก่อนที่จะลุกขึ้นปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
แนะนำให้เห็นความสำคัญของการมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ และสังเกตอาการ
ผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ก่อนวันนัด
แนะนำการรับประทานอาหาร โดยปรับเปลี่ยนแบบแผนการรับประทานอาหารครั้งละ
น้อยแต่บ่อยครั้ง
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก
แนะนำให้จิบเครื่องดื่มอุ่นๆ เช่น น้ำขิง
แนะนำให้รับประทานผลไม้ เช่น ลูกพรุน มะละกอสุก ส้ม กล้วย แคนตาลูป
แนะนำวิธีการป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียน
รับประทานอาหารเหลว อาหารน้ำ หรือดื่มน้ำระหว่างมื้ออาหาร
หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดและอาหารที่มีกลิ่นแรง
2 งดอาหารไขมัน เพราะย่อยยาก ทำให้คลื่นไส้ ควรรับประทานอาหารแข็ง ย่อยง่าย เช่น ขนมปัง
หลังรับประทานอาหารไม่ควรนอนทันที เพื่อป้องกันการไหลท้นกลับของน้ำย่อย
การรับประทานอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง ไม่ควรให้กระเพาะอาหารว่าง
ดูแลความสะอาดของปากและฟัน บ้วนปากบ่อยๆ ไม่ควรให้ปากแห้งแตก
แนะนำการพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง
แนะนำวิธีการรับประทานยาแก้อาเจียนตามแผนการรักษา
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดภาวะอาเจียนรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
ให้คำปรึกษาในการปรับแบบแผนการรับประทานอาหาร
ช่วยประคับประคองด้านจิตใจ โดยเปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์ได้พูดถึงปัญหา ให้การ
ปรึกษาเพื่อการแก้ไข
แนะนำให้มาพบแพทย์เมื่อมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากขึ้น
แนวทางการรักษา
หากอาการรุนแรงมาก ควรงดอาหารและน้ำทางปาก และรีบแก้ไขภาวะขาดน้ำ
การรักษาด้วยยา
4.2 วิตามิน ได้แก่ วิตามินบี 6 (Pyridoxine) 10-25 mg. 1 เม็ด รับประทาน 3-4 ครั้งต่อวัน
4.3 ยาคลายกังวล และยานอนหลับ
4.1 ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน
หากอาการไม่รุนแรงสามารถรับประทานอาหารได้แนะนำให้รับประทานอาหารที่ช่วยทดแทนเกลือแร่ที่สูญเสียไปจากการอาเจียน
ควรวินิจฉัยแยกโรคภาวะอาเจียนอย่างรุนแรงจากอาการของโรคอื่นๆ เช่น โรคตับอักเสบ
เมื่ออาการแพ้ท้องรุนแรงดีขึ้น ให้คำแนะนำ
5.1 ให้รับประทานอาหารอ่อน ครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้งทุก 2-3 ชั่วโมง
5.2 รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของขิงสามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้ เช่น น้ำขิง
หลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อม และสิ่งกระตุ้นที่ทำให้คลื่นไส้อาเจียน เช่น กลิ่น ความร้อน
กรณีที่รักษาด้วยวิธีต่างๆ แล้วอาการไม่ดีขึ้น จะต้องทำการวินิจฉัยเพื่อค้นหาสาเหตุของโรค
อาการและอาการแสดง
มีอาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง เป็นระยะเวลานานอาจตลอดทั้งวัน อาการรุนแรงอาจเพิ่มมากขึ้น จนไม่สามารถยับยั้งได้
หากอาการอาเจียนไม่รุนแรงมาก สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติน้ำหนักจะลดลงเล็กน้อย ไม่มีอาการขาดน้ำและสารอาหาร
หากอาการอาเจียนรุนแรงมากขึ้น คือมีอาการอาเจียน 5-10 ครั้งต่อวัน หรือมากกว่า เป็นเวลาหลายวัน