Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
3.2 การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตในระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต - Coggle Diagram
3.2 การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตในระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต
ภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต (Hypertensive crisis)
หมายถึง ภาวะความดันโลหิตสูงอย่างเฉียบพลันสูงกว่า 180/120 มม.ปรอท และทำให้เกิดการทำลายของอวัยวะเป้าหมาย
อาการและอาการแสดง
hypertensive encephalopathy
ปวดศรีษะ การมองเห็นผิดปกติ
สับสน คลื่นไส้ อาเจียน
โรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน (Acute cardiovascular syndromes)
กล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial infarction)
เจ็บแน่นหน้าอกแบบเฉียบพลันแบบไม่คงที่ (Unstable angina)
น้ำท่วมปอด (Pulmonary edema)
ภาวะเลือดเซาะในผนังหลอดเลือดเอออร์ต้า (Aortic dissection)
สาเหตุ
การหยุดยาลดความดันโลหิตทันที
(Sudden withdrawal of antihypertensive medications)
Acute or chronic renal disease
Exacerbation of chronic hypertension
การใช้ยาบางชนิดที่มีผลทำให้ความดันโลหิตสูง
ยาคุมกำเนิด
ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใชสเตียรอยด์
การซักประวัติ
โรคความดันโลหิตสูง ความสม่ำเสมอในการรับประทานยา
สอบถามอาการของอวัยวะที่ถูกผลกระทบจากโรคความดันโลหิตสูง
การตรวจร่างกาย
วัดสัญญาณชีพ
ความดันโลหิตเปรียบเทียบกันจากแขนซ้ายและขวา
ภาวะเลือดเซาะในผนังหลอดเลือดเอออร์ต้า (Aortic dissection) pseudohypotension ของแขนข้างที่มี intimal flap
น้ำหนัก ส่วนสูง ดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว
ตรวจหาความผิดปกติ
โรคหลอดเลือดสมอง
-แขนขาชาหรืออ่อนแรงครึ่งซีก
-มองเห็นไม่ชัดหรือตามัวชั่วขณะ (blurred vision)
-ระดับความรู้สึกตัวผิดปกติ (change in level of consciousness)
-หมดสติ (Coma)
-ตรวจจอประสาทตา
Chest pain
-acute coronary syndrome or aortic dissection
-อาการของ oliguria or azotemia (excess urea in the blood) แสดงถึงภาวะไตถูกทำลาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจ CBC
ประเมินภาวะ microangiopathic hemolytic anemia (MAHA)
ตรวจการทำงานของไตจากค่า
Creatinine และ Glomerular filtration rate (eGFR), ค่าอัลบูมินในปัสสาวะ
ประเมินหาความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (12-lead ECG) และ chest X-ray
ความผิดปกติของสมอง
ตรวจเอ๊กซเรย์คอมพิวเตอร์, คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง
การรักษา
ต้องให้การรักษาทันทีใน ICU และให้ยาลดความดันโลหิตชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
ลดความดันโลหิตเฉลี่ย (mean arterial pressure) ลงจาก ระดับเดิม 20-30% ภายใน 2 ชั่วโมงแรก และ 160/100 มม.ปรอท ใน 2-6 ชั่วโมง
การพยาบาล
ในระยะเฉียบพลัน
เฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับอาการและอาการแสดง
neurologic, cardiac, and renal systems, Neurologic symptoms, Acute kidney failure
ระหว่างได้รับยา
ประเมินและบันทึกการตอบสนองต่อยาโดยติดตามความดนโลหิตอย่างใกล้ชิด
ป้องกันการลดลงของความดันโลหิตอย่างรวดเร็ว
สมองขาดเลือดร่วมกับความดันโลหิตสูงวิกฤต
ควรควบคุมความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 180/105 มม.ปรอทใน 24 ชั่วโมงแรก
สังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองลดลง
ประเมินการไหลเวียนโลหิตมาเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนปลาย
ประเมินการไหลเวียนโลหิตมาเลี้ยงไต
การรักษาด้วย short-acting intravenous antihypertensive agents
sodium nitroprusside แพททย์จะเริ่มให้ ขนาด 0.3-0.5 mcg/kg/min และเพิ่มครั้งละ 0.5 mcg/kg/minทุก 2-3 นาที
จนสามารถคุมความดันโลหิตได้ ขนาดยาสูงสุดให้ไม่เกิน 10 mcg/kg/min ผสมยาใน D5W และ NSS
ติดตามอาการไม่พึงประสงค์
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac arrhythmias: Sustained AF, VT, VF)
ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพริ้ว เกิดจากจุดปล่อยกระแสไฟฟ้า (ectopic focus) ใน atrium ส่งกระแสไฟฟ้าออกมาถี่และไม่สม่ำเสมอและไม่ประสานกัน ทำให้ atrium บีบตัวแบบสั่นพริ้ว และคลื่นไฟฟ้าไม่สามารถผ่านไปยัง ventricle ได้ทั้งหมด
ประเภทของ AF
Paroxysmal AF
Persistent AF
Permanent AF
Recurrent AF
Lone AF
สาเหตุ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจรูห์มาติก ภาวะหัวใจล้มเหลว
ความดันโลหิตสูง
เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ผู้ป่วยหลังopen heart surgery, hyperthyrodism
อาการและอาการแสดง
ใจสั่น อ่อนเพลีย เหนื่อยเวลาออกแรง คลำชีพจรที่ข้อมือได้เบา
การพยาบาล
ประเมินการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพและคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างต่อเนื่อง
สังเกตอาการและอาการแสดงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน สมอง ปอด แขนและขา
ดูแลให้ได้รับยาควบคุมการเต้นของหัวใจ digoxin, beta-blocker, calcium channel blockers,
ดูแลให้ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดตามแผนการรักษา
ทำ Cardioversion เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นในจังหวะปกติ
เตรียมผู้ป่วยในการจี้ด้วยคลื่นไฟฟ้าความถี่สูง (Radiofrequency Ablation)
Ventricular tachycardia (VT)
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิดที่ ventricle เป็นจุดกำเนิด การเต้นของหัวใจ ในอัตราที่เร็วมากแต่สม่ำเสมอ 150-250 ครั้ง/นาที
ประเภทของ VT
Nonsustained VT
Sustained VT
Monomorphic VT
Polymorphic VT
สาเหตุ
ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายบริเวณกว้าง (Myocardial infarction)
ถูกไฟฟ้าดูด ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ
โรคหัวใจรูห์มาติก (Rheumatic heart disease)
พิษจากยาดิจิทัลลิส (Digitalis toxicity)
กล้ามเนื้อหัวใจถูกกระตุ้นจากการตรวจสวนหัวใจ
การพยาบาล
เปิดหลอดเลือดดำเพื่อให้ยา สารน้ำ
คลำชีพจร ประเมินสัญญาณชีพ ระดับความรู้สึกตัว
ร่วมกับแพทย์ในการดูแลให้ได้รับยา
ในผู้ป่วยที่เกิด VT และคลำชีพจรได้ร่วมกับมีอาการของการไหลเวียนโลหิตในร่างกายลดลง ทำ synchronized cardioversion
ในผู้ป่วยที่เกิด VT และคลำชีพจรไม่ได้ (Pulseless VT) เตรียม Defibrillator เพื่อให้แพทย์ทำการช็อกไฟฟ้าหัวใจ
ทำ CPR ถ้าหัวใจหยุดเต้น
อาการและอาการแสดง
ใจสั่น, ความดันโลหิตต่ำ, หน้ามืด, เจ็บหน้าอก, หายใจลำบาก, หัวใจหยุดเต้น
Ventricular fibrillation (VF) ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิดที่ ventricle เป็นจุดกำเนิดการ เต้นของหัวใจตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่ง เต้นรัวไม่เป็นจังหวะ ไม่สม่ำเสมอ
อาการและอาการแสดง
หมดสติ ไม่มีชีพจร รูม่านตาขยาย เนื่องจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตออกมาได้ และเสียชีวิต
สาเหตุที่ทำให้เกิด VF
Pulseless VT
Hypovolemia
Hypoxia
Hydrogen ion (acidosis)
Hypokalemia, Hyperkalemia
Tension pneumothorax
Cardiac tamponade
Hypothermia
Toxins
Pulmonary thrombosis,
Coronary thrombosis
การพยาบาล
ป้องกันภาวะ tissue hypoxia โดยให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา
ติดตามค่าเกลือแร่ในเลือด
ติดตามผลข้างเคียงของยาที่ใช้ในการรักษา
ติดตามและบันทึกอาการแสดงของภาวะอวัยวะและเนื้อเยื่อได้รับเลือดไปเลี้ยง (Tissue perfusion) ลดลง
ติดตามและบันทึกการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST segment
ให้ยา antidysrhythmia ตามแผนการรักษาและทำ synchronized cardioversion
ทำ CPR ร่วมกับทีมรักษาผู้ป่วย ในกรณีเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรง (lethal dysrhythmias)
ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Heart Failure [AHF])
หมายถึง การเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างรวดเร็วจากการทำงานผิดปกติของหัวใจทั้งการบีบตัวหรือการคลายตัวของหัวใจ การเต้นของหัวใจผิดจังหวะหรือการเสียสมดุลของ preload และ afterload
สาเหตุ
หลอดเลือดปอดอุดตันเฉียบพลัน
ภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต
กลไกการไหลเวียนของเลือดผิดปกติเฉียบพลัน
โรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ
ภาวะหัวใจวาย
การรักษา
การใช้ยา
ยาเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ digitalis (digoxin)
ยารักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ amiodarone
ยาขยายหลอดเลือดหัวใจ nitroglycerine
ยาขยายหลอดเลือด sodium nitroprusside
ยาละลายลิ่มเลือด coumadin
ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด aspirin, plavix, clopidogrel
การดึงน้ำและเกลือแร่ที่คั่งออกจากร่างกาย (Negative fluid balance)
การให้ยาขับปัสสาวะ, การจำกัดสารน้ำและเกลือโซเดียม, การเจาะระบายน้ำ
การลดการทำงานของหัวใจ
(Decrease cardiac workload)
Intra-aortic balloon pump, การให้ออกซิเจน, การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ, การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน
อาการและอาการแสดง
Acute decompensated heart failure
Hypertensive acute heart failure
High output failure
Right heart failure
Cardiogenic shock
Pulmonary edema
การประเมินสภาพ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
CBC, biochemical cardiac markers, ABG
การตรวจพิเศษ
CXR, echocardiogram, CT,
coronary artery angiography (CAG)
การซักประวัติและตรวจร่างกาย
อาการเจ็บหน้าอก อาการหอบเหนื่อย
ภาวะบวม การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การพยาบาล
การลดการทำงานของหัวใจ และส่งเสริมการไหลเวียนเลือด
ไปยังเซลล์ให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
การคงความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
ภาวะช็อก (Shock)
ความหมาย
เป็นภาวะที่เกิดความผิดปกติทางสรีรวิทยส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนที่ส่งไปเลี้ยงเนื้อเยื่อทั่ว
ร่างกายลดต่ำลงกว่าความต้องการใช้ออกซิเจนของเนื้อเยื่อและอวัยวะ
นำไปสู่ความผิดปกติของการทำงานของ อวัยวะต่างๆ
จากการขาดออกซิเจนในระดับเซลล์ (Cellular dysoxia)
ระยะของช็อก
ภาวะช็อกที่สามารถชดเชยได้ในระยะท้าย (Decompensated shock)
ได้รับการวินิจฉัยล่าช้า
มีภาวะแทรกซ้อนจากอวัยวะล้มเหลว
ภาวะช็อกที่ไม่สามารถชดเชยได้ (Irreversible shock)
ได้รับการวินิจฉัยล่าช้าเกินไป การรักษามักจะไม่ได้ผล มีโอกาสเสียชีวิตสูง
ภาวะช็อกที่สามารถชดเชยได้ในระยะแรก (Compensated shock)
ได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่เริ่มต้น ได้รับสารน้ำและยาผลการรักษาจะดี มีภาวะแทรกซ้อนเล็กน้อย
ประเภทของช็อก
ภาวะช็อกจากภาวะหัวใจล้มเหลว (Cardiogenic shock)
เกิดจากหัวใจไม่สามารถส่งจ่ายเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกายเพียงพอ
สาเหตุ
ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจและผนังหัวใจ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
ภาวะช็อกจากหลอดเลือดมีการขยายตัว (Distributive shock, vasogenic / vasodilatory shock, Inflammatory shock)
สาเหตุ
หลอดเลือดส่วนปลายขยายตัว
การไหลเวียนเลือดในระบบลดลง
ภาวะช็อกจากการขาดสารน้ำ (Hypovolemic shock)
เกิดจากการลดลงของปริมาณของเลือดหรือสารน้ำในร่างกาย
(สูญเสีย>30-40%) ทำให้ปริมาณเลือดที่กลับเข้าสู่หัวใจลดลง
สาเหตุ
การสูญเสียเลือด สูญเสียสารน้ำ
ภาวะช็อกจากการแพ้
(Anaphylactic shock)
เกิดในภาวะ anaphylaxis จากปฏิกิริยาของผู้ป่วยที่ได้รับ antigen กับ antibody ของร่างกาย
ทำให้เกิด hypersensitivity type I ซึ่ง IgE จะไป กระตุ้น mast cell และ basophil แตกตัว
มีการปล่อย mediator เกิดการขยายตัวของหลอดเลือด
ภาวะช็อกจากการทำงานผิดปกติของต่อมหมวกไต (Hypoadrenal / adrenocortical shock)
ซึ่งสารนี้มีผลต่อ vascular smooth muscle ที่หัวใจและหลอดเลือด
เมื่อร่างกายเผชิญกับความเครียด จะมีการกระตุ้น adrenal gland ให้หลั่งสาร cortisol เพิ่มขึ้น
ร่างกายไม่สามารถผลิต cortisol ในปริมาณมากพอกับความต้องการ
ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ
(Septic shock)
กลไกการเกิดจากการติดเชื้อ (pathogen)
ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายซึ่งจะออกฤทธิ์ให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด
ปริมาตรเลือดที่ไหลกลับสู่หัวใจลดลง
ซึ่งเชื้อโรคจะมีการหลั่งชีวพิษในตัว (endotoxin)
ภาวะช็อกจากการอุดกั้นการไหลเวียนของเลือดเข้าสู่หัวใจ
(Obstructive shock)
Cardiac tamponade, tension pneumothorax, pulmonary embolism
ภาวะช็อกจากความผิดปกติของระบบประสาท
(Neurogenic shock)
ควบคุมการขยายตัวและการหดตัวของหลอดเลือด (Vasomotor tone)
ให้มีการขยายตัวของหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงขึ้นทันใด
จากความบกพร่องในการควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติ
อาการและอาการแสดง
หัวใจและหลอดเลือด
ชีพจรเบาเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดส่วน ปลายหดตัว ผิวหนังเย็นซีด
ทางเดินอาหาร
กระเพาะอาหารและลำไส้ขาดเลือด ตับอ่อนอักเสบ ดีซ่าน การย่อยและดูดซึมผิดปกติ ตับวาย
เลือดและภูมิคุ้มกัน
น้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ ภาวะร่างกายเป็นกรด
ประสาทส่วนกลาง
กระสับกระส่าย ซึม หมดสติ เซลล์สมองตาย
ต่อมไร้ท่อ
การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ภาวะลิ่มเลือดกระจาย
เม็ดเลือดขาวทำงานบกพร่อง
หายใจ
หายใจเร็วลึก ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ ระบบหายใจล้มเหลว
ไตและการขับปัสสาวะออกน้อย
การรักษา
การให้สารน้ำ
Crystalloid solution เพื่อเพิ่มปริมาตรของสารน้ำในหลอดเลือด เช่น Ringer's lactate solution (RLS), 0.9% NSS
การให้ยาที่มีผลต่อการบีบตัวของหัวใจ (Inotropic agent)
และการหดตัวของหลอดเลือด (Vasopressor agent)
Dopamine, Dobutamine, Epinephrine Norepinephrine
การแก้ไขภาวะพร่องออกซิเจนของเนื้อเยื่อ ลดการใช้ออกซิเจน
การให้ยาปฏิชีวนะ
การแก้ไขความผิดปกติของภาวะกรดด่าง
การประเมินสภาพ
การซักประวัติ
ประวัติโรคหัวใจ การสูญเสีย สารน้ำ การติดเชื้อ อุบัติเหตุ ประวัติการแพ้
การตรวจร่างกาย
ประเมินการไหลเวียนโลหิตและการทำงานของหัวใจ
การประเมินระดับความรู้สึกตัว
การประเมินทางเดินหายใจ ลักษณะอัตราการหายใจ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
CBC, BUN, Cr, electrolyte, lactic acid, arterial blood gas, coagulation, specimens culture
การตรวจพิเศษ
x-ray, CT, echocardiogram, ultrasound
กิจกรรมการพยาบาล
ติดตามค่า CVP (ปกติ 8-12 cmH2O)
บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าออก (keep urine output >= 0.5 ml/kg/hr.)
ประเมินสัญญาณชีพ
ติดตามการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกตัว
จัดท่านอนหงายราบ ยกปลายเท้าสูง 20-30 องศา
ดูแลเตรียมให้ได้รับการตรวจเพื่อหาสาเหตุ ทำ gastric lavage, EGD
ดูแลให้ยา (Dopamine, Dobutamine, Epinephrine Norepinephrine
ดูแลให้ยาละลายลิ่มเลือดตามแผนการรักษาแก้ไขภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย
ดูแลให้สารน้ำและอิเล็กโตรไลท์ทดแทนตามแผนการรักษา
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้ระบายความรู้สึก วิตกกังวล และซักถามข้อข้องใจ