Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (Hypertensive disorders of pregnancy) - Coggle…
ภาวะโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (Hypertensive disorders of pregnancy)
ความหมายของภาวะโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ภาวะความดันโลหิตสูง (hypertension)
ภาวะที่ค่าความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัว(systolic BP) อย่างน้อย 140 mmHgหรือค่าความดันโลหิตช่วงหัวใจคลายตัว (diastolic BP) อย่างน้อย 90 mmHg. หรือทั้งสองค่า โดยวัด 2 ครั้งห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ภายหลังการพัก
ภาวะความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์
ภาวะความดันโลหิตสูงที่มีสาเหตุจากการตั้งครรภ์ พบในระยะครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ อาจ
พบร่วมกับการมีโปรตีนในปัสสาวะ
ภาวะความดันโลหิตสูงหลังคลอด
สตรีที่มีความดันโลหิตปกติขณะตั้งครรภ์ แล้วมีความดันโลหิตสูงขึ้นในช่วง 2 สัปดาหหลังคลอด ถึง 6 เดือนหลังคลอด จากนั้นความดันโลหิตกลับสู่ปกติในปลายปีแรก ภาวะนี้พบได้น้อย แต่เป็นภาวะที่ต้องตระหนัก เฝ้าระวัง ติดตาม และเป็นปัจจัยทำนายการเกิดความดันโลหิตสูงเรื้อรังในอนาคต
ชนิดของภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์(gestational hypertension)
ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์(gestational hypertension)
ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง (chronic/ preexisting hypertension)
ครรภ์เป็นพิษ หรือ ภาวะครรภ์เป็นพิษระยะก่อนชัก (preeclampsia)
ครรภ์เป็นพิษซ้อนทับกับความดันโลหิตสูงเรื้อรัง (preeclampsia superimposed on chronic hypertension)
4.2.1 ภาวะครรภ์เป็นพิษก่อนระยะชัก (Preeclampsia)
เกณฑ์การวินิจฉัย preeclampsia
เกณฑ์การวินิจฉัยเกี่ยวกับความดันโลหิตสูง
เกณฑ์การวินิจฉัยเกี่ยวกับโปรตีนในปัสสาวะ
ยกเลิกเกณฑ์การวินิจฉัยภาวะครรภ์เป็นพิษระดับรุนแรง
(severe preeclampsia)
เกณฑ์การประเมินความรุนแรงของภาวะ preeclampsia
ครรภ์เป็นพิษที่มีลักษณะไม่รุนแรง
ไม่มีปวดศรีษะ
ไม่มีอาการทางสายตา
ไม่มีเกล็ดเลือดต่ำ
ไม่มีน้ำท่วมปอด
ครรภ์เป็นพิษที่มีลักษณะรุนแรง
มีอาการทางสายตา
มีเกล็ดเลือดต่ำ
มีปวดศรีษะ
มีน้ำท่วมปอด
4.2.2 ภาวะครรภ์เป็นพิษระยะชัก (eclampsia)
มีลักษณะเป็นการชักเกร็งแบบชักกระตุก อุบัติการณ์ของการชักเกิดขึ้นได้ทุกระยะของการตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะ 48-72 ชั่วโมงหลังคลอดภาวะชักนี้เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงจนถึงอาการรุนแรงมาก คือเกิดได้ทั้งในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงไม่มาก
สาเหตุและพยาธิกำเนิดของภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ระยะที่ 1 ระยะก่อนแสดงอาการ
มักเกิดขึ้นตั้งแต่ระยะแรกของการตั้งครรภ์โดยการพัฒนาการตามปกติของรกเซลล์ cytotrophoblasts ของทารกจะรุกล้ำเข้าไปใน maternal spiral arteries และมี remodeling of spiral arterioles โดยเซลล์ cytotrophoblasts ส่วนนี้จะมีการปรับเปลี่ยนจากลักษณะเนื้อเยื่อบุผิวไปเป็นลักษณะเนื้อเยื่อบุโพรงหลอดเลือด ซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า psuedovasculogenesis
ระยะที่ 2 ระยะแสดงอาการ
รกที่ขาดออกซิเจนจะมีการหลั่งสารต่าง ๆออกมาในกระแสเลือด ที่สำคัญคือ proinflammatory และ antiangiogenic factors ทำให้เซลล์บโพรงหลอดเลือดบาดเจ็บ และขาดเลือด เกิดความผิดปกติในการทำหน้าที่ของเนื้อเยื่อบุโพรงหลอดเลือด (endothelial dysfunction) กระตุ้นให้เกิดภาวะ oxidative stress ซึ่งภาวะนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการปล่อย placental factors ต่าง ๆ เข้าไปในในระบบไหลเวียนของมารดา
พยาธิสรีรภาพของภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ระบบไต (renal system)
ปริมาณการไหลเวียนที่ไตลดลงประกอบกับมีการทำลายของชั้นเยื่อบุหลอดเลือดในไตเกิด glomerular capillary endotheliosis ทำให้ glomerularinfiltration rate ลดลง ส่งผลให้ปริมาณปัสสาวะลดลง และระดับ serum uric acid และ creatinineเพิ่มขึ้น เกิดการซึมผ่านของโปรตีน albumin และ globulin ออกทางปัสสาวะ เซลล์ร่างกายที่เสียโปรตีนจะมีความดันภายในเซลล์ลดลง
ระบบหัวใจและปอด (cardiopulmonary system)
ในภาวะครรภ์เป็นพิษที่รุนแรงจะมี plasma albumin ลดลงเนื่องมาจากเกิดproteinuria และการรั่วของ capillariesนี้ทำให้ colloidosmotic pressure ลดลง จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมปอด
ระบบเลือดและการแข็งตัวของเลือด (hematologic and coagulation system)
ภาวะเกล็ดเลือดต่ำเฉียบพลัน และมีปัจจัยการแข็งตัวของเลือดชนิดอื่นๆ ลดลงด้วย โดยอาจเกิดจากกลไกทางระบบภูมิคุ้มกัน หรือเกล็ดเลือดไปจับตัวเกาะกลุ่มตามเยื่อบุหลอดเลือดที่ถูกทำลายนอกจากนี้พยาธิสภาพในหลอดเลือดอาจทำให้เกิด intravascular hemolysis
ระบบตับ (hepatic system)
มีอาการปวดใต้ชายโครงขวา หรือจุกแน่นใต้ลิ้นปี่ คลื่นไส้อาเจียน มี blood glucose ลดลง ในรายรุนแรงอาจพบมีตับแตก (hepatic rupture) ได้
ระบบประสาท (neurological system)
การที่เยื่อบุหลอดเลือดถูกทำลาย อาจทำให้เกิดการแตกของหลอดเลือดฝอย มีเลือดออกมาในสมองเป็นจุดเลือดเล็ก ๆ หรือเป็นก้อนใหญ่ และผลจากหลอดเลือดหดเกร็ง ทำให้เกิด cortical brain spasm และเกิด cerebral ischemia ส่งผลให้มีสมองบวม
ระบบการมองเห็น (visual system)
จากการหดรัดตัวของหลอดเลือดที่จอตาทำให้เกิด retinal edema เกิดอาการตาพร่ามัว การมองเห็นผิดปกติ และอาจทำให้เกิดการหลุดของจกตา
รก และมดลูก (placenta and uterus)
จากการหดรัดตัวของหลอดเลือด spiral arteriole ในdecidual ร่วมกับมี acute atherosis ทำให้หลอดเลือดตีบตัน ปริมาณเลือดที่ไหลผ่านระหว่างรกและมดลูกลดลง และมีการแตกทำลายของเม็ดเลือดและการจับตัวของเกล็ดเลือด ทำให้เกิดการตายของเนื้อรกและผนังมดลูก
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
ดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 kg/m2
ขึ้นไป หรืออ้วน
การตั้งครรภ์แฝด ครรภ์แฝดที่มีจำนวนทารกมาก
สตรีอายุมากขึ้นตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป
ประวัติพันธุกรรมครรภ์เป็นพิษในครอบครัวของสตรีตั้งครรภ์
ผ่านการคลอดบุตรคนก่อนมาอย่างน้อย 10 ปี มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
ประวัติมีความเจ็บป่วยทางอายุรกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง
ประวัติครรภ์เป็นพิษในครรภ์ก่อน มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 7 เท่า
ความผิดปกติทางสูติกรรม เช่น กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ
สตรีที่ไม่เคยคลอดบุตรมาก่อน
ภาวะโภชนาการบกพร่อง เช่น ขาดวิตามินซี วิตามินอี ขาดแคลเซียม
อาการและอาการแสดงของ preeclampsia และ eclampsia
ภาวะ preeclampsia
ปวดศีรษะส่วนหน้า การมองเห็นผิดปกติ และปวดใต้ชายโครงขวา หรือจุกแน่นใต้ลิ้นป
อาการแสดง
1.Systolic BP ≥ 160 mmHg. หรือ Diastolic BP ≥ 110 mmHg.
2.น้ำท่วมปอด
3.Eclampsia คือ มีอาการชักแบบชักทั้งตัว
4.เลือดออกในสมอง
5.ตาบอดจากพยาธิสภาพของครรภ์เป็นพิษในสมอง
อาการ
ภาวะไตวาย serum creatinine ≥ 1.1 mg/dL. หรือปริมาณปัสสาวะออกน้อยกว่า500 มิลลิลิตร ใน 24 ชั่วโมงหลังจากได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
การทำงานของตับผิดปกติ ระดับเอนไซม์ AST และ/หรือ ALT สูงกว่า 70 IU/L หรือมากกว่า 2 เท่าของค่าเดิม
เกล็ดเลือดต่ำ มี platelet count < 100,000 ต่อไมโครลิตร
ระบบการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
HELLP syndrome
ภาวะ Eclampsia
2.1 ระยะก่อนชัก (Premonitoring stage)
2.2 ระยะเริ่มแรกของอาการชัก (Stage of invasion)
2.3 ระยะชักเกร็ง (Stage of contraction หรือ tonic stage)
2.4 ระยะชักกระตุก (Stage of convulsion หรือ clonic stage)
2.5 ระยะหมดสติ (coma หรือ unconscious)
ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
รกลอกตัวก่อนกำหนด
เลือดแข็งตัวผิดปกติ(DIC)
หัวใจขาดเลือด
ไตวายเฉียบพลัน เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงไตน้อยลง
อันตรายจากการชัก เช่น สำลักเศษอาหารเข้าหลอดลม กัดลิ้น ข้อเคลื่อน กระดูกหัก เป็นต้น
ผลกระทบต่อทารก
ทารกคลอดก่อนกำหนด
แท้งหรือเสียชีวิตในครรภ์
ขาดออกซิเจน เลือดเป็นกรด
ทารกตายในครรภ์เฉียบพลันหรือตายในระยะแรกเกิด
ทารกโตช้าในครรภ์
การประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัติ
1.1 ซักประวัติเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง
1.2 ประวัติอาการและอาการแสดงของภาวะ preeclampsia
การตรวจร่างกาย
2.1 การประเมินความดันโลหิต
2.2 การประเมินระดับรีเฟล็กซ
2.3 การประเมินอาการบวม
2.4 ประเมินอาการบวมกดบุ๋ม
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจพิเศษ การตรวจพิเศษเพื่อทำนายการเกิด preeclampsia
4.3 Isometric exercise
4.4 Doppler velocimetry
4.2 Roll over test
4.5 Specific blood testing
4.1 Angiotensin sensitivity test
4.6 Mean arterial blood pressure (MAP)
แนวทางการรักษา
การรักษา preeclampsia without severe features
1.6 ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
1.7 กรณีอายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ และมี preterm labor พิจารณาให้ glucocorticoid
เพื่อกระตุ้น fetal lung maturity
1.5 ประเมินความดันโลหิตทุก 4 ชั่วโมง
1.4 ให้นอนพัก (bed rest) ไม่จำเป็นต้องให้ยากล่อมประสาท
1.3 ตรวจโปรตีนในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง ควรตรวจอย่างน้อย 3 วัน
1.2 ซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด
1.1 ควรรับไว้รักษาในโรงพยาบาล
1.8 ให้รับประทานอาหารธรรมดา บันทึก intake และ output และชั่งน้ำหนักทุก 2 วัน
พิจารณาให้ยุติการตั้งครรภ์ ในกรณีต่อไปนี้
2) ยืนยันด้วย BPP ผลเป็น non-reassuring fetal testing
3) อายุครรภ์ตั้งแต่ 34 สัปดาห์ ร่วมกับอาการเจ็บครรภ์ มีน้ำเดิน
1) โรคมีการเปลี่ยนแปลงเป็น preeclampsia with severe features
4) อายุครรภ์ 37-40 สัปดาห์ ให้พิจารณายุติการตั้งครรภ
การรักษา preeclampsia with severe features
2.1 ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลทุกราย
2.2 ให้การพักผ่อนอย่างเต็มที่บนเตียง พักรักษาอยู่บนเตียง
2.3 เริ่มให้ยา magnesium sulfate (MgSO4) ทางหลอดเลือดดำทันที เพื่อป้องกันการชัก
2.4 ประเมินอาการแสดงของ Mg toxicity เป็นระยะ อย่างน้อยชั่วโมงละครั้ง
2.5 ให้ยาลดความดันโลหิตเมื่อ systolic BP ≥ 160 mmHg. หรือ diastolic
BP ≥ 110 mmHg
2.6 ประเมินความดันโลหิตทุก 15 นาที จนกว่าจะคงที่
2.7 ส่งตรวจ blood testing ดังกล่าวข้างต้น
2.8 หากได้รับการวินิจฉัยว่ามีลักษณะรุนแรงแล้ว ไม่จำเป็นต้องตรวจโปรตีนในปัสสาวะ 24ชั่วโมง
2.9 ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อยืนยันอายุครรภ์ ตรวจแยกโรค หากไม่พบ molarpregnancy และ fetal hydrops ให้ประเมิน fetal growth parameters และ AFI
2.10 กรณีอายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ และมี preterm labor พิจารณาให้glucocorticoid เพื่อช่วยเสริมการสร้างสาร surfactant ของปอดทารก
การรักษา eclampsia
3.1 ควบคุมการชักและป้องกันการชักซ้ำโดยให้ MgSO4 loading dose ตามด้วยmaintenance dose ให้ทางหลอดเลือดดำ
3.2 หากชักในขณะได้ MgSO4 อยู่ ให้เจาะเลือดเพื่อตรวจหา Mg level ทันที ส่วนในรายที่มีการเจ็บครรภ์คลอดแล้ว ให้ load ซ้ำได้อีก 2-4 g. โดยไม่ต้องรอผล Mg level
3.3 ให้ยาลดความดันโลหิตเมื่อ systolic BP ≥ 160 mmHg. หรือ diastolic BP ≥ 110mmHg.
3.4 ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในขณะชักและหลังชัก โดยทำให้ทางเดินหายใจโล่ง
3.5 ติดตามและตรวจสอบอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิดตลอเวลา
3.6 ตรวจสอบภาวะ oliguria หรือ anuria โดยคาสายสวนปัสสาวะ และวัดปริมาณปัสสาวะทุกชั่วโมง
3.7 ไม่ควรใช้ยา diazepam เนื่องจากจะกดระดับความรู้สึก
ยาที่ใช้ในการรักษาภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ยาป้องกันการชัก (anticonvulsant)
Magnesium Sulfate (MgSO4)
การบริหารยา
เริ่มให้ loading dose ด้วย 10% MgSO4 ปริมาณ 4-6 gm. ทางหลอดเลือดดำช้า ๆนาน 15-20 นาทีด้วยอัตราไม่เกิน 1 gm. ต่อนาท
จากนั้น maintenance dose ด้วย 50% MgSO4 ปริมาณ 10-20 gm. ในสารละลาย5% D/W 1,000 ml. หยดทางหลอดเลือดดำในอัตรา 2 gm. ต่อชั่วโมง
ควรให้ยานี้ต่ออย่างน้อย 24-48 ชั่วโมงหลังคลอด หรือจนกระทั่งปัสสาวะออกมากกว่า 100 ml. ต่อ ชั่วโมง
กรณีเกิดการชักซ้ำ ควรให้ MgSO4 ซ้ำทางหลอดเลือดดำ ปริมาณ 2-4 gm. เป็นเวลานาน 5 นาที
ผลข้างเคียง
MgSO4 ออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว จึงทำให้กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวตามธรรมชาติไม่ดีเมื่อเข้าสู่ระยะคลอด
MgSO4 ขับออกทางไต ในกรณีที่หลอดเลือดทั่วร่างกายมีการหดรัดตัวจนปัสสาวะออกน้อยลง อาจทำให้เกิดการสะสมของmagnesium ในกระแสเลือด
ผลข้างเคียงอื่น ๆ ได้แก่ อาการร้อนวูบวาบทั้งตัว เซื่องซึมและง่วงนอน มีเหงื่อออกมาก กล้ามเนื้ออ่อนแรง รีเฟล็กซ์ลดลง
ยาลดความดันโลหิต (antihypertensive dtrugs)
2.1 Hydralazine (Apresoline® หรือ Nepresol®)
การบริหารยา
เริ่มให้ยาครั้งแรกขนาด 5 mg. ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำใน 2 นาที แล้วประเมินความดันโลหิตทุก 5 นาที หลังฉีด
หลังจากนั้น 20 นาที หาก diastolic BP > 110 mmHg ให้ยาซ้ำได้อีก 10 mg. ทุก20 นาที จนกว่าค่า diastolic BP อยู่ระหว่าง 90-100 mmHg
ผลข้างเคียง
ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม คลื่นไส้ อาเจียน
ใจสั่น หัวใจเต้นผิดปกติ จังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ
2.2 Labetalol (Avexor®)
การบริหารยา
เริ่มให้ยาครั้งแรกที่ขนาด 20 mg. เข้าหลอดเลือดดำช้าๆ นาน 2 นาที แล้ววัดความดันโลหิตซ้ำทุก 10 นาที
หากความดันโลหิตยังไม่ลดให้ซ้ำได้ทุก 10-15 นาที ในขนาด 40, 80, 80, และ80 mg. ตามลำดับ แต่ขนาดยารวมกันต้องไม่เกิน 220-300 mg.
ผลข้างเคียง
ความดันโลหิตต่ำ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ คัดจมูก หายใจลำบาก
เหนื่อยล้า ปฏิกิริยาภูมิไวเกิน ภาวะหัวใจล้มเหลว
ข้อควรระวัง
ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ลุกขึ้น ควรนอนพักอย่างน้อย 3 ชั่วโมงหลังได้รับยา
2.3 Nifedipine (Adalat®)
การบริหารยา
ให้ในรูปแบบยารับประทานเท่านั้น นิยมให้ยาขนาด 10-20 mg. และให้ยาซ้ำได้ทุก15-30 นาที โดยขนาดยามากที่สุดที่รับได้ต้องไม่เกิน 50 mg
ไม่ควรให้ยาแบบอมใต้ลิ้น
หากระดับความดันโลหิตยังที่วัดซ้ำยังอยู่ที่ระดับ 140/100 mmHg. ระดับยาที่ได้รับไม่ควรเกิน 120 mg/24 hr
ผลข้างเคียง
ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ใจสั่น คลื่นไส้ เหงือกอักเสบ
ข้อควรระวัง
การใช้ยานี้ในสตรีตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1 และ 2 เนื่องจากยามี teratogenic
effects นอกจากนี้ยายังสามารถผ่านน้ำนมได้ จึงควรพิจารณาอย่างระมัดระวังในมารดาหลังคลอดที่ต้องการเลี้ยงบุตรด้วยน้ำนมมารดา
การพยาบาลสตรีที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
การพยาบาลสตรีที่มีภาวะ preeclampsia without severe features
1.1 ดูแลให้นอนพักบนเตียง (bed rest) ในท่านอนตะแคงซ้าย
1.2 ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิตทุก 4 ชั่วโมง
1.3 ดูแลและติดตามประเมินผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
1.4 เฝ้าระวัง ติดตาม อาการและอาการแสดงของ preeclampsia ที่รุนแรงขึ้น
1.5 ดูแลให้รับประทานอาหารธรรมดา บันทึกสารน้ำเข้าและออกจากร่างกาย และชั่งน้ำหนัก
1.6 ดูแลติดตามการประเมินสุขภาพทารกในครรภ์
1.7 ประเมินและให้การประคับประคองสภาวะทางอารมณ์ และจิตใจอย่างเหมาะสม
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะ preeclampsia with severe features
2.1 ดูแลให้นอนพักบนเตียงอย่างเต็มที
2.2 ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิตทุก 1 ชั่วโมง
2.3 บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าและออกในแต่ละวัน
2.4 ประเมินอาการนำก่อนการชัก
2.5 ดูแลให้ยาป้องกันชัก MgSO4 ตามแผนการรักษา และให้การดูแลภายหลังให้ยา
2.6 ดูแลให้ยาลดความดันโลหิตตามแผนการรักษา เช่น hydralazine
2.7 ดูแลและส่งเสริมการขับสารน้ำออกจากร่างกาย
2.8 ติดตามประเมินระดับ oxygen saturation ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
2.9 ดูแลให้ทารกปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน
2.10 ดูแลให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลงอย่างปลอดภัย
2.11 ประคับประคองด้านจิตใจ
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะ eclampsia
3.1 ใส่ oral airway หรือ mouth gag
3.2 จัดให้นอนตะแคง ใส่ไม้กั้นเตียง โดยใช้หมอนรองรับรอบด้าน เพื่อป้องกันอันตรายจากการชัก
3.3 ให้ออกซิเจนขณะชัก และภายหลังชัก
3.4 ดูแลให้ได้รับยาระงับชักตามแผนการรักษา
3.5 ประเมินสัญญาณชีพเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยทุก 1ชั่วโมง
3.6 บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าและออกจากร่างกาย
3.7 สังเกตและบันทึกอาการทางสมอง
3.8 สังเกตและบันทึกอาการนำของการชัก ระยะเวลาของการชัก ระยะเวลาที่หยุดหายใจระดับความรู้สึกตัว และพฤติกรรมของสตรีตั้งครรภ์หลังอาการชัก
3.9 รายงานแพทย์เมื่อมีอาการนำของการชักหรือขณะชัก
3.10 ให้งดอาหารและน้ำตามแผนการรักษา
3.11 จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ และลดสิ่งกระตุ้นให้เกิดการชัก
3.12 ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์เป็นระยะ
3.13 เตรียมสตรีตั้งครรภ์เพื่อคลอดตามสถานการณ
3.14 ดูแลป้องกันการชักซ้ำภายหลังคลอด
3.15 ให้การดูแลป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
3.16 ดูแลทารกแรกเกิด ซึ่งอาจมีภาวะขาดออกซิเจน คลอดก่อนกำหนด หรือน้ำหนักแรกเกิดน้อย