Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตในระบบหัวใจ และการไหลเวียนโลหิต, นางสาวลลิดาพรรณ…
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตในระบบหัวใจ
และการไหลเวียนโลหิต
ภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต (Hypertensive crisis)
ความดันโลหิตสูง (Hypertension) หมายถึงค่า Systolic 140 mmHg. และ Diastolic 90 mmHg.
Target organ damage (TOD) หมายถึงความผิดปกติที่เกิดแก่อวัยวะในร่างกาย จาก BP สูง
การแข็งตัวของหลอดเลือดแดง
หัวใจห้องล่างซ้ายโต
Cardiovascular disease (CVD) หมายถึงโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด
โรคหลอดเลือดสมอง
โรคของหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่
โรคหัวใจล้มเหลว
Hypertensive urgency คือภาวะ BP สูงรุนแรง แต่ไม่มีอาการของอวัยวะเป้าหมายถูกทำลายไม่จำเป็นต้องรับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก
Hypertensive emergency หมายถึง ภาวะ BP สูงมากกว่า 180/120 mmHg. ร่วมกับ TOD
Hypertensive crisis หมายถึง ภาวะ BP สูงอย่างเฉียบพลัน สูงกว่า 180/120 mmHg. และทำให้เกิด TOD
สาเหตุ
Sudden withdrawal of anthiypertensive medications
Acute or chronic renal disease
Exacerbation of chronic hypertension
การใช้ยาบาลชนิดที่มีผลทำให้ความดันโลหิตสูง เช่น ยาคุมกำเนิด ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
อาการและอาการแสดง
อาการที่พบขึ้นอยู่กับ vascular injury และ end organ damage
ความดันโลหิตสูงขั้นวิกฤตที่ทำให้เเกิดอาการทางสมอง เรียกว่า hypertensive encephalopathy จะมีอาการปวดศีรษะ การมองเห็นผิดปกติ สับสน คลื่นไส้ อาเจียน
การซักประวัติ
ซักประวัติเกี่ยวกับโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง ความสม่ำเสมอในการรับประทานยา ผลข้างเคียงของยาที่ใช้ การสูบบุหรี่ เป็นต้น
การตรวจร่ากาย
วัดV/S โดยเฉพาะ BP เปรียบเทียบกับแขนซ้ายและขวา น้ำหนัก ส่วนสูง ดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว รวมถึงตรวจหาความผิดปกติที่เกิดจาก TOD
การรักษา
ผู้ป่วย Hypertensive crisis ต้องให้การรักษาทันทีใน ICU และให้ยาลดความดันโลหิตชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เป้าหมายเพื่อลดความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ต้องการโดยป้องกันอวัยวะต่าง ๆ ไม่ให้ถูกทำลายมากขึ้น และไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา
การพยาบาล
ในระยะเฉียบพลัน เฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับอาการและอาการแสดงของระบบต่าง ๆ ได้แก่ neurologic, cardiac, and renal systems
ในระหว่างได้รับยา ประเมินและบันทึกการตอบสนองต่อยาโดยติดตามความดันโลหิตอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการลดลงของความดันโลหิตอย่างรวดเร็ว
การรักษาด้วย short-acting intravenous antihypertensive agentd
ช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจกรรม เช่นการจัดท่านอนให้สุขสบาย
ให้ความรู้/ ข้อมูลแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการรักษาเพื่อควบคุมความดันโลหิต
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
เสี่ยงต่อเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนปลายไม่เพียงพอ
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac arrhythmias: Sustained AF, VT, VF)
Atrial fibrillation (AF) คือภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพริ้ว
ประเภทของ AF
Paroxysmal AF หมายถึง AF ที่หายได้เองภายใน 7 วัน โดยไม่ต้องใช้ยา หรือการช็อคไฟฟ้า
Persistent AF หมายถึง AF ที่ไม่หายได้เองภายใน 7 วัน หรือหายได้ด้วยการรักษาด้วยยา หรือการช็อคไฟฟ้า
Permanent AF หมายถึง AF ที่เป็นนานติดต่อกันกว่า 1 ปี โดยไม่เคยรักษาหรือเคยรักษาแต่ไม่หาย
Recurrent AF หมายถึง AF ที่เกิดซ้ำมากกว่า 1 ครั้ง
Lone AF หมายถึง AF ที่เป็นในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 60 ปี ที่ไม่มีความผิดปกติของหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง
สาเหตุ
พบบ่อยในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจรูห์มาติก ภาวะหัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตสูง เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ, hyperthyrodism
อาการและอาการแสดง
ใจสั่น อ่อนเพลีย เหนื่อยเวลาออกแรง คลำชีพจรที่ข้อมือได้เบา
การพยาบาล
ประเมินการเปลี่ยนแปลงของ V/S และคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างต่อเนื่อง
สังเกตอาการและอาการแสดงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน สมอง ปอด แขนและขา
ดูแลให้ได้รับยาควบคุมการเต้นของหัวใจ
ดูแลให้ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดตามแผนการรักษาในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ว่ามีลิ่มเลือดเกิดขึ้น
เตรียมผู้ป่วยและอุปกรณ์ในการทำ Cardioversion เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นในจังหวะปกติ
เตรียมผู้ป่วยในการจี้ด้วยคลื่นไฟฟ้าความถี่สูง ((Radiofrequency Ablation) ในผู้ป่วยที่เป็น AF และไม่สามารถควบคุมด้วยยาได้
Ventricular tachycardia (VT)
ประเภทของ VT
Nonsustained VT คือ VT ที่เกิดผลต่อเนื่องกันเป็นเวลาน้อยกว่า 30 วินาที
2.Sustained VT คือ VT ที่เกิดต่อเนื่องกันเป็นเวลานานกว่า 30 วินาที ซึ่งมีผลทำให้ระบบไหลเวียนโลหิจในร่างกายลดลง
Monomorphic VT คือ VT ที่ลักษณะของ QRS complex เป็นรูปแบบเดียว
Polymorphic VT หรือ Torsade คือ VT ที่ลักษณะของ QRS complex เป็นรูปแบบต่างกัน
สาเหตุ
พบบ่อยในผู้ป่วย Myocardial infarction, Rheumatic heart disease, ถูกไฟฟ้าดูด, ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ, Digitalis toxicity และกล้ามเนื้อหัวใจถูกกระตุ้นจากการตรวจสวนหัวใจ
อาการและอาการแสดง
อาการเกิดขึ้นทันที ผู้ป่วยจะรู้สึกใจสั่น BP ต่ำ หน้ามืด หายใจลำบาก หัวใจหยุดเต้น
การพยาบาล
นำเครื่อง Defibrillator มาที่เตียงผู้ป่วยและรายงานแพทย์ทันที และเปิดหลอดเลือดดำ เพื่อให้ยาและสารน้ำ
คลำชีพจร ประเมินสัญญาณชีพ ระดับความรู้สึกตัว เจ็บหน้าอก ภาวะเขียว จำนวนปัสสาวะ เพื่อประเมินภาวะเลือดไปเลี้ยงสมอง และอวัยวะสำคัญลดลง
ร่วมกับแพทย์ในการดูแลให้ได้รับยาและแก้ไขสาเหตุหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ทำ CPR ถ้าหัวใจหยุดเต้น
Ventricular fibrillation (VF)
สาเหตุ
Hypovolemia
Hypoxia
Hydrogen ion (acidosis)
Hypokalemia
Hyperkalemia
Hypothermia
Tension pneumothorax
Cardiac tamponade
Toxins
Pulmonary thrombosis
Coronary thrombosis
อาการและอาการแสดง
อาการเกิดทันที คือ หมดสติ ไม่มีชีพจร รูม่านตาขยาย เนื่องจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตออกมาได้ และเสียชีวิต
การพยาบาล
เตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์และยาที่ใช้ในการช่วยฟื้นคืนชีพให้พร้อมและทำ CPR ทันที เนื่องจากรักษา VF และ Pulseless VT สิ่งที่สำคัญคือ การช็อกไฟฟ้าหัวใจทันที และการกดหน้าอก
ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Heart Failure [AHF])
หมายถึงการเกิดอาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างรวดเร็วจากการทำงานผิดปกติของหัวใจบีบตัว หรือคลายตัวของหัวใจ
สาเหตุการเกิด
โรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน
ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ
ภาวะหัวใจวาย
กลไกการไหลเวียนของเลือดผิดปกติเฉียบพลัน
อาการและอาการแสดง
Acute decompensated heart failure หมายถึงกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดขึ้นเฉียบพลันแต่ไม่มีอาการรุนแรงมาก
Hypertensive acute heart failure หมายถึง กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีปอดบวมน้ำ โดยมีความดันโลหิตสูงรุนแรงร่วมด้วย แต่การทำงานของหัวใจห้องล่างซ้ายยุงอยู่ในเกณฑ์ดี
Pulmonary edema หมายถึง ภาวะที่มีอาการแบะอาการแสดงของผอดบวมน้ำร่วมด้วยอย่างชัดเจนสามารถเห็นได้ชัดเจนจากภาพถ่ายรังสีทรวงอก และมีค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ 90 ที่บรรยากาศห้องก่อนการรักษา
Cardiogenic shock หมายถึงภาวะที่ร่างกายมี poor tissue perfusion ถึงแม้จะมีการแก้ไขภาวะขาดน้ำแล้วก็ตาม โดยมีความดับโลหิต Systolic ต่ำกว่า 90 mmHg. หรือ MAP < 60 mmHg. ร่วมกับมีปัสสาวะออกน้อยกว่า 0.5 ml/kg/hr.
Hight output failure หมายถึง ภาวะหัวใจล้มเหลวโดยมีปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อนาทีสูงกว่าปกติ มักมีหัวใจเต้นเร็ว ปลายมือเท้าอุ่น ร่วมกับการมีภาวะน้ำท่วมปอด
Right failure หมายถึง ภาวะที่หัวใจด้านขวาทำงานล้มเหลว มีปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อนาทีลดลง ร่วมกับมีการเพิ่มขึ้นของความดันหลอดเลือดดำที่คอ มีการบวมของตับ ร่วมกับมีภาวะความดันโลหิตต่ำ
อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยที่พบบ่อย
หายใจเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ บวมตามแขนขา BP ต่ำ/สูง ท้องอืดโต แน่นท้อง ปัสสาวะออกน้อย/มาก
การรักษา
ลดการทำงานของหัวใจ (Decrease cardiac workload)
การดึงน้ำและเกลือแร่ที่คั่งออกจากร่างกาย (Negative fluid balance)
การใช้ยา
การรักษาสาเหตุ ได้แก่ การขยายหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี, การเปลี่ยนลิ้นหัวใจในโคโรนารี, การรักษาภาวะติดเชื้อ
การประเมินสภาพ
การซักประวัติ และตรวจร่างกาย เพื่อประเมินอาการทางคลินิกที่เกี่ยวข้อง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจพิเศษ
การพยาบาล
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตทางหัวใจและหลอดเลือดมีเป้าหมายสำคัญ คือ การลดการทำงานของหัวใจ และส่งเสริมการไหลเวียนเลือดไปยังเซลล์ให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
ตัวอย่างข้อวินิจฉัย
เนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากกล้ามเนื้อกัวใจหดรัดตัวไม่เต็มที่
ภาวะเนื้อเยื่องพร่องออกซิเจน เนื่องจากปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อนาทีลดลง
มีความต้องการพลังงานมากขึ้น เนื่องจากมีภาวะเจ็บป่วยวิกฤต
ภาวะช็อก (Shock)
ความหมาย เป็นภาวะที่เกิดความผิดปกติทางสรีรวิทยาส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนที่ส่งไปเลี้ยงเนื้อเยื่อทั่วร่างกายต่ำลงกว่าความต้องการใช้อกซิเจนของเนื้อเยื่อและอวัยวะ นำไปสู่ความผิดปกติของการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ จากการขาดออกซิเจนในระดับเซลล์ (Cellular dysoxia)
ระยะของช็อก
ภาวะช็อกที่สามารถชดเชยได้ในระยะแรก (Compensated shock) คือ ภาวะช็อกที่ได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่เริ่มต้น ได้รับการรักษาทั้งการให้สารน้ำและยาที่เหมาะสม ผลการรักษาจะดีและมีภาสะแทรกซ้อนเพียงเล็กน้อย
ภาวะช็อกที่สามารถชดเชยได้ในระยะท้าย (Decompensated shock) คือ ภาวะช็อกที่ได้รับการวินิจฉัยล่าช้า เซลล์ในร่างกายเริ่มตาย การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ลดลง ก่อนได้รับการรักษาที่เหมาะสม การรักษาจะใช้เวลามากขึ้น และมีภาวะแทรกซ้อนจากอวัยวะล้มเหลว
ภาวะช็อกที่ไม่สามารถชดเชยได้ (lrreversible shock) คือภาวะช็อกที่ได้รับการวินิจฉัยช้าเกินไป จนทำให้เซลล์หรืออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก การรักษาในระยะนี้มักจะไม่ได้ผลผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตสูง
ประเภทของช็อก
ภาวะช็อกจากการขาดสารน้ำ (Hypovolemic shock)
สาเหตุ
การสูญเสียเลือดจากอุบัติเหตุ
การสูญเสียสารน้ำจาก Dehydration
ภาวะช็อกจากภาวะหัวใจล้มเหลว (Cardiogenic shock)
ภาวะช็อกจากหลอดเลือดมีการขยายตัว (Distributive shock)
3.1 ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ (Septic shock)
3.2 ภาวะช็อกจากการแพ้ (Anaphylactic shock)
3.3 ภาวะช็อกจากการทำงานผิดปกติของต่อมหมวกไต (Hypoadrenal)
ภาวะช็อกจากการอุดกั้นการไหลเวียนของเลอดเข้าสู่หัวใจ (Obstructive shock)
สาเหตุ
Cardiac tampoonade
Tension pneumothorax
Pulmonary embolism
ภาวะช็อกจากความผิดปกติของระบบประสาท (Neurogenic shock)
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกมักแสดงถึงการบกพร่องของการไหลเเวียนโลหิต เนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ร่วมกับการมีภาวะความดันโลหิตต่ำ
การรักษา
แก้ไขระบบไหลเวียนโลหิตได้ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อนาทีเพียงพอ โดยกำหนดเป้าหมายให้ค่าความดันโลหิตเฉลี่ย (MAP) มากกว่าหรือเท่ากับ 65 mmHg.
การแก้ไขภาวะพร่องออกซิเจนของเนื้อเยื่อ และลดการใช้ออกซิเจน
การรักษาที่เฉพาะเจาะจงตามสาเหตุของภาวะช็อก เช่น การให้ยาปฏิชีวนะ
การแก้ไขความผิดปกติของภาวะกรดด่าง
การประเมินสภาพ
การซักประวัติ เพื่อหาสาเหตุของภาวะช็อกที่เกิดการเจ็บป่วย
การตรวจร่างกาย ได้แก่ การประเมินการหายใจ การประเมินลักษณะและอัตราการหายใจ การประเมินการไหลเวียนโลหิตและการทำงานของหัวใจ และการประเมินระดับความรู้สึก
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจพิเศษ
การพยาบาล
เนื่องจากภาวะช็อกเป็นแบบแผนการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน มีผลกระทบหลายระบบ การพยาบาลจึงมุ่งเน้นให้ความสำคัญตามหลักการแก้ไขภาวะช็อกที่สำคัญ
นางสาวลลิดาพรรณ จายสัก 6101210064 Sec.A เลขที่ 2