Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่4 การพยาบาลมารดาและทารกที่มีภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมขณะตั้งครรภ์ -…
บทที่4 การพยาบาลมารดาและทารกที่มีภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมขณะตั้งครรภ์
ภาวะอาเจียนรุนแรงในระยะตั้งครรภ์ (Hyperemesis gravidarum)
เป็นภาวะที่สตรีตั้งครรภ์มีอาการคลื่นไส้อย่างรุนแรง และต่อเนื่องเป็นเวลานาน
อาจพบตั้งแต่ไตรมาสแรก และต่อเนื่องไปตลอดการตั้งครรภ์
ส่งผลให้ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ
เป็นสาเหตุของการขาดความสมดุลของสารน้ำและสารอาหารในร่างกาย
อุบัติการณ์ของการแพ้ท้องอย่างรุนแรงพบได้ประมาณร้อยละ 2 ของการตั้งครรภ์
สาเหตุ
ปัจจัยด้านมารดา
มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่เหมาะสมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ : อาหารที่มีไขมันสูง ขาดวิตามินบางชนิดโดยเฉพาะวิตามินบี 6
มีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร : กระเพาะอาหารหรือลำไส้อักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ ลำไส้อุดตัน การติดเชื้อของระบบทางเดินอาหารโดยเฉพาะจากเชื้อ Helicobacter pylori (H. pylori)
มีประวัติการแพ้ท้องอย่างรุนแรงในครรภ์ก่อน/เป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรก
ระดับ Estrogen หรือ มีระดับ hCG เพิ่มมากกว่าปกติ : Multiple pregnancy, hyperthyroidism, hydatidiform moles
progesterone ขณะตั้งครรภ์ กระเพาะอาหารมีการเคลื่อนไหวลดลง ทำให้หลั่ง hydrochloric acid: HCI ลดลง
สภาพจิตใจ ความเครียด ความวิตกกังวล ทำให้เกิดการกระตุ้น cerebral cortex และ limbic system ส่งกระแสประสาทความรู้สึกไปยังศูนย์ควบคุมการอาเจียน
ปัจจัยด้านทารก
ทารกมีความผิดปกติเกี่ยวกับโครโมโซม triploidy, trisomy 21
ทารกบวมน้ำ (hydrops fetalis)
อาการและอาการแสดง
มีอาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง เป็นระยะเวลานาน อาจตลอดทั้งวัน อาการรุนแรงอาจเพิ่มมากขึ้น จนไม่สามารถยับยั้งได้
อาการอาเจียนไม่รุนแรงมาก สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ Body weight (BW) ลดลงเล็กน้อย ไม่มีอาการ dehydration
อาการอาเจียนรุนแรงมากขึ้น คือมีอาการอาเจียน 5-10 ครั้งต่อวัน หรือมากกว่า เป็นเวลาหลายวัน :
Malnutrition + BW loss มาก
Dehydration: อ่อนเพลีย ทำกิจวัตรประจำวันไม่ได้ ริมฝีปากแห้ง ตาโหลลึก ผิวหนังแห้งขาดความชุ่มชื้น มีไข้ ปัสสาวะออกน้อย ความดันโลหิตลดลง เวียนศีรษะ หน้ามืด ซึมลง สับสน สูญเสียการรับรู้เรื่องบุคคล เวลา และสถานที่ (disorientation)
เกิดความไม่สมดุลของร่างกาย เกิดภาวะ acidosis และ alkalosis และ electrolyte imbalance:
ปากคอแห้ง กระหายน้ำ กล้ามเนื้อกระตุกหรืออ่อนแรง ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง
มีอาการแสดงทางด้านจิตใจ : ความเครียด ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า
ลมหายใจมีกลิ่น acetone ตรวจพบ ketonuria
มีอาการแสดงของกลุ่มอาการ Wenicke’s encephalopathy จากการขาดวิตามินบี 1 : มองเห็นภาพซ้อน (ophthalmoplegia) เซ (gait ataxia) และสับสน (confusion)
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
Dehydration: Body temp. สูง, BP ต่ำม PR เบาเร็ว, มีผลกระทบต่อการทำงานของไต ปัสสาวะออกน้อย มีไข้ ผิวหนังแห้ง มีอาการอ่อนเพลีย
เกิดภาวะ acidosis , metabolic acidosis เนื่องจากการสูญเสียด่างในน้ำย่อยไปกับการอาเจียน ทำให้มีผลกระทบต่อระบบสมองส่วนกลาง มีอาการกระสับกระส่าย ไม่รู้สึกตัว หมดสติ
ถ้ามีอาการรุนแรงมาก เกิด electrolyte imbalance, hypokalemia, alkalosis กล้ามเนื้ออ่อนแรง
Malnutrition: กระทบต่อตับ, SGOT เพิ่มขึ้น, มีอาการของการขาดวิตามิน; ชาปลายมือปลายเท้าจากการขาดวิตามิน B1 ขาดวิตามินซี และวิตามินบีรวม การแข็งตัวของเลือดเสีย มีเลือดออกตามไรฟัน จุดเลือดออกทั่วไปทั่วสมอง ทำให้ซึมและหมดสติ และอาจเสียชีวิตจากภาวะ hepatic coma
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
BW loss มาก
IUGR
Low birth weight
แม่มีอาการรุนแรงมาก
ทารกมีอาการทางสมอง เกิดภาวะ Wernicke’s encephalopathy
Abortion
Preterm labor
Still birth
Fetal anomalies
การวินิจฉัย
HX., PE, signs & symptoms : การอาเจียนรุนแรง, dehydration, BW, สภาพจิตใจ
LAB
Blood:
Hct. สูง, BUN สูง, SGOT สูง, LFT สูง
Na ต่ำ, K ต่ำ, Cl. ต่ำ , Protein ต่ำ
Urine : ความถ่วงจำเพาะสูง, albumin เพิ่มขึ้น, ketonuria, ถ้าอาการรุนแรงมาก อาจพบน้ำดีในปัสสาวะได้
การตรวจพิเศษ : U/S, amniocentesis
Twin pregnancy, molar pregnancy, trisomy21, hydrops fetalis
แนวทางการรักษา
วินิจฉัยแยกจากอาการอื่น: hepatitis, PU, enteritis, appendicitis, molar pregnancy
อาการไม่รุนแรงสามารถรับประทานอาหารได้ แนะนำให้ได้รับอาหารทดแทนการสูญเสียเกลือแร่ อาหารที่มี K และ Mg
หากอาการรุนแรงมาก
NPO
แก้ไขภาวะขาดน้ำ ความไม่สมดุลของเกลือแร่ และความเป็นกรด-ด่างของเลือด
5% D/NSS 1,000 ml. IV
parenteral nutrition therapy ให้ได้แคลอรี่มากกว่า 2,000 แคลอรี่/วัน ซึ่งต้องมีกรดอะมิโน ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่ ทาง central venous access หรือ subclavian vein
การให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ subclavian
แนวทางการรักษา
vitamin
ยาคลายกังวล ยานอนหลับ
ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน
แนวทางการรักษา
. เมื่ออาการแพ้ท้องรุนแรงดีขึ้น
ให้รับประทานอาหารอ่อน ครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้งทุก 2-3 ชั่วโมง
รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ขนมปังกรอบ หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด อาหารมัน
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นทำให้คลื่นไส้อาเจียน
รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของขิงสามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้ : น้ำขิง ลูกอมรสขิง ขิงแคปซูล 1-15 กรัมต่อวัน (แคปซูลละ 250 mg. รับประทานวันละ 4 ครั้ง)
หลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อม และสิ่งกระตุ้นที่ทำให้คลื่นไส้อาเจียน : กลิ่น ความร้อน ความชื้น เสียงดัง แสงไฟ
กรณีที่รักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ต้องทำการวินิจฉัยเพื่อค้นหาสาเหตุของโรค เพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสม
การพยาบาลที่ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ OPD case
อธิบายสาเหตุของการเกิดภาวะอาเจียนรุนแรง และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
แนะนำวิธีการป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียน
รับประทานอาหารครั้งละน้อย แต่บ่อยครั้ง ไม่ควรให้กระเพาะอาหารว่าง เพราะอาจทำให้กระเพาะบีบรัดตัวมาก ทำให้คลื่นไส้อาเจียน
งดอาหารไขมัน เพราะย่อยยาก ทำให้คลื่นไส้
ควรรับประทานอาหารแข็ง ย่อยง่าย : ขนมปังปิ้ง เพื่อลดการอาเจียน นอกจากนั้นกระเพาะอาหารจะเก็บอาหารแข็งได้ดีกว่าอาหารเหลว
รับประทานอาหารเหลว อาหารน้ำ หรือดื่มน้ำระหว่างมื้ออาหาร แทนการดื่มพร้อมรับประทานอาหาร เพราะจะทำให้กระเพาะอาหารยืดขยายมาก และกระตุ้นการอาเจียน
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการรักษาแบบ OPD case
หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดและอาหารที่มีกลิ่นแรง
หลังรับประทานอาหารไม่ควรนอนทันที เพื่อป้องกันการไหลท้นกลับของน้ำย่อย
ดูแลความสะอาดของปากและฟัน บ้วนปากบ่อย ๆ ไม่ควรให้ปากแห้งแตกและสกปรก เพราะจะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน และไม่อยากรับประทานอาหาร ไม่ควรแปรงฟันทันทีหลังอาหาร
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่ Admission
NPO อย่างน้อย 24-48 hr. เพราะเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน : กลิ่น อาหารมัน อาหารรสจัด เสียงดัง แสง
ดูแลความสะอาดของช่องปากและฟัน
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่ Admission
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และรายงานแพทย์ให้ทราบทันที
แนะนำให้คู่สมรสหรือบุคคลในครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือสตรีตั้งครรภ์อย่างใกล้ชิด
ดูแลด้านจิตใจโดยการอยู่เป็นเพื่อน ให้กำลังใจ เปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย รับฟังด้วยความสนใจ เอาใจใส่ แนะนำให้ทำจิตใจให้สบาย และหลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจก่อให้เกิดความเครียด
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์เมื่อกลับไปอยู่บ้าน
แนะนำการรับประทานอาหาร ครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้ง อาหารย่อยง่าย หรือมีโปรตีนสูง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันมาก รสเผ็ด หรือมีกลิ่นแรง
ควรนั่งพักประมาณ 45 นาที ไม่ควรนอนทันที หลังจากรับประทานอาหาร
แนะนำให้ดื่มน้ำอุ่นทันที่ตื่นนอนประมาณครึ่งแก้ว แล้วนอนต่ออีกประมาณ 15 นาที ก่อนที่จะลุกขึ้นปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เพื่อไม่ให้ท้องว่างซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
ควรดื่มน้ำ หรือเครื่องดื่มระหว่างมื้ออาหาร เพื่อป้องกันภาวะสูญเสียน้ำ
อธิบายให้คู่สมรสและครอบครัวเข้าใจถึงภาวะที่เกิดขึ้น และควรให้การช่วยเหลือสตรีตั้งครรภ์อย่างใกล้ชิด
แนะนำให้เห็นความสำคัญของการมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ และสังเกตอาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ก่อนวันนัด