Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตในระบบหัวใจ และการไหลเวียนโลหิต, จัดทำโดย…
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตในระบบหัวใจ
และการไหลเวียนโลหิต
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
(Cardiac arrhythmias: Sustained AF VT VF)
2. Ventricular tachycardia (VT)
สาเหตุ
พบบ่อยในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายบริเวณกว้าง โรคหัวใจรูห์มาติก ถูกไฟฟ้าดูด ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ พิษจากยาดิจิทัลลิส และ กล้ามเนื้อหัวใจถูกกระตุ้นจากการตรวจสวนหัวใจ
อาการและอาการแสดง
อาการเกิดทันที ผู้ป่วยจะรู้สึกใจสั่น ความดันโลหิตต่ำ หน้ามืด เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก หัวใจหยุดเต้น
ประเภทของ VT
Sustained VT คือ VT ที่เกิดต่อเนื่องกันเป็นเวลานานกว่า 30วินาที ซึ่งมีผลทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายลดลง
Monomorphic VT คือ VT ที่ลักษณะของ QRS complex เป็นรูปแบบเดียว
Nonsustained VT คือ VT ที่เกิดต่อเนื่องกันเป็นเวลาน้อยกว่า 30วินาที
Polymorphic VT หรือ Torsade คือ VT ที่ลักษณะของ QRS complex เป็นรูปแบบเดียว
การพยาบาล
ดูแลให้ได้รับยาและแก้ไขสาเหตุหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ในผู้ป่วยที่เกิด VT และคลำชีพจรได้ร่วมกับมีอาการของการไหลเวียนโลหิตในร่างกายลดลง ให้เตรียมผู้ป่วยในการทำ synchronized cardioversion
คลำชีพจร ประเมินสัญญาณชีพ ระดับความรู้สึกตัว เจ็บหน้าอก ภาวะเขียว จำนวนปัสสาวะ เพื่อประเมินภาวะเลือดไปเลี้ยงสมอง และอวัยวะสำคัญลดลง
ในผู้ป่วยที่เกิด VT และคลำชีพจรไม่ได้ (Pulseless VT) ให้เตรียมเครื่อง Defibrillator
นำเครื่อง Defibrillator มาที่เตียงผู้ป่วยและรายงานแพทย์ทันที และเปิดหลอดเลือดดำเพื่อให้ยาและสารน้ำ
ทำ CPR ถ้าหัวใจหยุดเต้น
ความหมาย
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิดที่ ventricle เป็นจุดกำเนิด
การเต้นของหัวใจ ในอัตราที่เร็วมากแต่สม่ำเสมอ 150-250 ครั้ง/นาที
3. Ventricular fibrillation (VF)
อาการและอาการแสดง
อาการเกิดทันที คือ หมดสติ ไม่มีชีพจร รูม่านตาขยาย เนื่องจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตออกมาได้ และเสียชีวิต
สาเหตุ
Hypovolemia, Hypoxia, Hydrogen ion, Hypokalemia, Hyperkalemia, Hypothermia, Tension pneumothorax, Cardiac tamponade, Toxins, Pulmonary thrombosis, Coronary thrombosis
การพยาบาล
เตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์และยาที่ใช้ในการช่วยฟื้นคืนชีพให้พร้อมและทำ CPR ทันที เนื่องจากการรักษา VF และ Pulseless VT สิ่งที่สำคัญคือ การช็อกไฟฟ้าหัวใจทันที และการกดหน้าอก
ความหมาย
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิดที่ ventricle เป็นจุดกำเนิดการเต้นของหัวใจตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่ง เต่นรัวไม่เป็นจังหวะ ไม่สม่ำเสมอ
1. Atrial fibrillation (AF)
สาเหตุ
พบบ่อยในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจรูห์มาติก ภาวะหัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตสูง เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ (open heart surgery), hyperthyrodism
อาการและอาการแสดง
ใจสั่น อ่อนเพลีย เหนื่อยเวลาออกแรง คลำชีพจรที่ข้อมือได้เบา
ประเภทของ AF
Persistent AF หมายถึง AF ที่ไม่หายได้เองภายใน 7 วัน หรือหาย
ได้ดัวยการรักษาด้วยยา
Permanent AF หมายถึง AF ที่เป็นนานติดต่อกันกว่า 1 ปีโดย
ไม่เคยรักษาหรือเคยรักษาแต่ไม่หาย
Paroxysmal AF หมายถึง AF ที่หายได้เองภายใน 7 วันโดยไม่ต้อง
ใช้ยา หรือการช็อคไฟฟ้า
Recurrent AF หมายถึง AF ที่เกิดซ้ำมากกว่า 1 ครั้ง
Lone AF หมายถึง AFที่เปaนในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 60 ปี ที่ไม่มี
ความผิดปกติของหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง
การพยาบาลที่สำคัญ
เป้าหมายในการรักษาคือ ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ (rate control) และจังหวะ (rhythm control) ให้กลับไปสู่ sinus rhythm และให้ยา Anticoagulation เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด (thromboembolism)
ความหมาย
ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพริ้ว เกิดจากจุดปล่อยกระแสไฟฟ้า (ectopic
focus) ใน atrium ส่งกระแสไฟฟ้าออกมาถี่และไม่สม่ำเสมอและไม่ประสานกัน ทำให้ atrium บีบตัวแบบสั่นพริ้ว ventricle 60-100 ครั้ง/นาที เรียกว่า controlled response ถ้าอัตราการเต้นของ ventricle
มากกว่า100 ครั้ง/นาที เรียกว่า rapid ventricular response
ภาวะช็อก (Shock)
การรักษา
การแก้ไขภาวะพร่องออกซิเจนของเนื้อเยื่อและการลดการใช้ออกซิเจน
การรักษาที่เฉพาะเจาะจงตามสาเหตุของภาวะช็อก เช่น การให้ยาปฏิชีวนะ
การแก้ไขระบบไหลเวียนโลหิตให้ได้ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อนาทีเพียงพอ โดยกำหนดเป้าหมายให้ค่าความดันโลหิตเฉลี่ย (MAP) มากกว่าหรือเท่ากับ 65 mmHg เช่นการให้สารน้ำ
การแก้ไขความผิดปกติของภาวะกรดด่าง
อาการและอาการแสดง
มักแสดงถึงการบกพร่องของการไหลเวียนโลหิต เนื้อเยื่อต่างๆได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ร่วมกับมีภาวะความดันโลหิตต่ำ ร่วมกับอาการที่แสดงถึงประเภทและสาเหตุของภาวะช็อก
ประเภทของช็อก
3. ภาวะช็อกจากหลอดเลือดมีการขยายตัว
3.2 ภาวะช็อกจากการแพ้ (Anaphylactic shock)
เป็นภาวะช็อกที่เกิดในภาวะ anaphylaxis เกิดจากปฏิกิริยาของผู้ป่วยที่ได้รับ antigen กับ antibody ของร่างกาย
3.3 ภาวะช็อกจากการทำงานผิดปกติของต่อมหมวกไต (Hypoadrenal / adrenocortical shock)
เป็นภาวะช็อกที่ร่างกายไม่สามารถผลิต cortisol ในปริมาณมากพอกับความต้องการในการประคับประคองความดันโลหิตในขณะที่ร่างกายเกิดความเครียด
3.1 ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ (Septic shock)
กลไกการเกิดจากการติดเชื้อ (pathogen) ซึ่งเชื้อโรคจะมีการหลั่งชีวพิษในตัว (endotoxin) ร่างกายจึงมีการตอบสนองโดยการหลั่งสารcytokines ทำให้ความต้านทานของหลอดเลือดลดลง เกิดการคั่งของเลือดในระบบหลอดเลือดฝอย ส่งผลให้ปริมาตรเลือดที่ไหลกลับสู่หัวใจลดลง
2. ภาวะช็อกจากภาวะหัวใจล้มเหลว (Cardiogenic shock)
เป็นภาวะช็อกที่เกิดจากหัวใจไม่สามารถส่งจ่ายเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย โดยที่มีปริมาตรเลือดในระบบไหลเวียนโลหิตอย่างเพียงพอ
4. ภาวะช็อกจากการอุดกั้นการไหลเวียนของเลือดเข้าสู่หัวใจ (Obstructive shock)
เกิดจากการอุดกั้นการไหลเวียนของโลหิตไปสู่หัวใจห้องซ้ายจากสาเหตุภายนอกหัวใจ ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจลดลง
1. ภาวะช็อกจากการขาดสารน้ำ (Hypovolemic shock)
เกิดจากการลดลงของปริมาณของเลือดหรือสารน้ำในร่างกาย (การสูญเสียมากกว่า 30-40% ของปริมาตรเลือด) ทำให้ปริมาณเลือดที่กลับเข้าสู่หัวใจ (Venous return หรือ preload) ลดลง
5. ภาวะช็อกจากความผิดปกติของระบบประสาท (Neurogenic shock)
จากความบกพร่องในการควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติ ที่ควบคุมการขยายตัวและการหดตัวของหลอดเลือด เป็นผลให้มีการขยายตัวของหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงขึ้นทันใด ส่งผลให้เลือดมีการกระจายตัวไปยังหลอดเลือดส่วนปลายมากขึ้นหัวใจมีการเต้นช้าลง
ระยะของการช็อก
ภาวะช็อกที่สามารถชดเชยได้ในระยะท้าย (Decompensated shock) คือ ภาวะช็อกที่ได้รับการวินิจฉัยล่าช้า เซลล์ในร่างกายเริ่มตาย
ภาวะช็อกที่ไม่สามารถชดเชยได้ (Irreversible shock) คือ ภาวะช็อกที่ได้รับการวินิจฉัยช้าเกินไป จนทำให้เซลล์หรืออวัยวะต่างๆในร่างกายได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก
ภาวะช็อกที่สามารถชดเชยได้ในระยะแรก (Compensated shock) คือ ภาวะช็อกที่ได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่เริ่มต้น
ความหมาย
ภาวะช็อกเป็นภาวะที่ร่างกายเกิดความผิดปกติจากกลุ่มอาการต่างๆ หรือความผิดปกติจากทางสรีรวิทยาเป็นผลให้เกิดการไหลเวียนโลหิตไปยังอวัยวะต่างๆไม่เพียงพอ ทำให้ปริมาณออกซิเจนที่สูงไปเลี้ยงเนื้อเยื่อไม่เพียงพอ เสียสมดุลของการเผาผลาญระดับเซลล์อวัยวะต่างๆขาดออกซิเจน และสูญเสียหน้าที
การประเมินสภาพ
การตรวจร่างกาย ได้แก่ การประเมินทางเดินหายใจ การประเมินลักษณะและอัตราการหายใจ การประเมินการไหลเวียนโลหิตและการทำงานของหัวใจ และ การประเมินระดับความรู้สึกตัว
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น CBC, BUN, Cr, electrolyte, lactic acid, arterial blood gas, coagulation, specimens culture
การซักประวัติ เพื่อหาสาเหตุของภาวะช็อกที่เกิดจากการเจ็บป่วย ได้แก่ ประวัติโรคหัวใจ การสูญเสียสารน้ำ การติดเชื้อ การได้รับการบาดเจ็บ การใช้แบบประเมิน (SOFA) score หรือ quick SOFA (qSOFA)
การตรวจพิเศษ เช่น x-ray, CT, echocardiogram, ultrasound
ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
(Acute Heart Failure:AHF)
การรักษา
การลดการทำงานของหัวใจ (Decrease cardiac workload) ได้แก่ Intra-aortic balloon pump, การให้ออกซิเจน
การดึงน้ำและเกลือแร่ที่คั่งออกจากร่างกาย (Negative fluid balance) ได้แก่ การให้ยาขับปัสสาวะ, การจำกัดสารน้ำและเกลือโซเดียม การเจาะระบายน้ำ
การใช้ยา
การประเมินสภาพ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ CBC, biochemical cardiac markers, ABG
การตรวจพิเศษ ได้แก่ CXR, echocardiogram, CT, coronary artery angiography (CAG)
การซักประวัติและตรวจร่างกายเพื่อประเมินอาการทางคลินิกที่เกี่ยวข้อง
อาการและอาการแสดง
หายใจเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ อ่อนเพลีย บวมตามแขนขา ความดันโลหิตปกติหรือ ต่ำ/สูง ท้องอืดโต แน่นท้อง ปัสสาวะออกน้อยมาก หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เส้นเลือดดำที่คอโป่งพอง
การพยาบาล
การลดการทำงานของหัวใจ และส่งเสริมการไหลเวียนเลือดไปยังเซลล์ให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ การคงไว้ซึ่งความสมดุล
ของน้ำและเกลือแร่ในร่างกายและความผิดปกติทางด้านจิตใจ
สาเหตุ
ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ภาวะหัวใจวาย
ความหมาย
การเกิดอาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างรวดเร็วจากการทำงานผิดปกติของหัวใจทั้งการบีบตัวหรือการคลายตัวของหัวใจ การเต้นของหัวใจผิดจังหวะ หรือการเสียสมดุลของ preload และ afterload โดยอาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจเดิม
ภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต (Hypertensive crisis)
การตรวจร่างกาย
วัดสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิตเปรียบเทียบกันจากแขนซ้ายและขวา น้ำหนัก ส่วนสูง ดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว รวมถึงตรวจหาความผิดปกติที่เกิดจาก TOD คืออากรของโรคหลอดเลือดสมองเช่นแขนขาชาหรืออ่อนแรงครึ่งซีก มองเห็นไม่ชัดหรือตามัวชั่วขณะ ระดับความรู้สึกตัวผิดปกติ หมดสติเป็นต้น
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
ตรวจ CBC ประเมินภาวะ (MAHA) ตรวจการทำงานของไตจากค่า Creatinine และ Glomerular filtration rate (eGFR)
และค่าอัลบูมินในปnสสาวะ (12-lead ECG) และ chest X-ray
การซักประวัติ
ซักประวัติการเป็นโรคประจำตัว ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง ความสม่ำเสมอในการรับประทานยา ผลข้างเคียงของยาที่ใช้ การสูบบุหรี ประวัติความดันโลหิตสูงที่เป็นในสมาชิกครอบครัว ความดันโลหิตสูงขณะ
ตั้งครรภ์ โรคอื่นๆที่เป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูง
การรักษา
เป้าหมายเพื่อลดความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ต้องการโดยป้องกันอวัยวะต่างๆไม่ให้ถูกทำลายมากขึ้นและไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา
ยาลดความดันโลหิต เช่น sodium nitroprusside, nicardipine, nitroglycerin, labetalol
อาการและอาการแสดง
ความดันโลหิตสูงขั้นวิกฤตที่ทำให้เกิดอาการทางสมอง เรียกว่า hypertensive encephalopathy จะมีอาการ ปวดศรีษะ การมองเห็นผิดปกติ สับสน คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
เสี่ยงต่อเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนปลายไม่เพียงพอ
วิตกกังวล
พร่องความรู้
สาเหตุ
Acute or chronic renal disease
Exacerbation of chronic hypertension
การหยุดยาลดความดันโลหิตทันที
การใช้ยาบางชนิดที่มีผลทำให้ความดันโลหิตสูง
การพยาบาล
ช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจกรรมเช่น จัดท่านอน
ให้ความรู้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการรักษา
การรักษาด้วย sodium nitroprusside
ในระหว่างได้รับยา ประเมินและบันทึกการตอบสนองต่อยา โดยติดตามความดันโลหิตอย่างใกล้ชิด
ในระยะเฉียบพลัน เฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับอาการแสดงของระบบต่างๆ ได้แก่ neurologic, cardiac, and renal systems
ความหมาย
Hypertensive emergency หมายถึง ภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่า 180/120 มม.ปรอท ร่วมกับมีการทำลายของอวัยวะเป้าหมาย อาจมีอาการของ Acute MI, Stroke, และ Kidney failure อาจเกิดในผู้ป่วยที่ไม่มีประวัติเป็นความดันโลหิตสูงมาก่อน
จัดทำโดย นางสาววัลย์ชาญา พนาวาส 6101211078 SECTION B