Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (Hypertensive disorders of pregnancy) - Coggle…
ภาวะโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
(Hypertensive disorders of pregnancy)
ความหมายของภาวะโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ภาวะความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์ (Pregnancy Induced Hypertension: PIH)
หมายถึง ภาวะความดันโลหิตสูงที่มีสาเหตุจากการตั้งครรภ์ พบในระยะครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ อาจพบร่วมกับการมีโปรตีนในปัสสาวะ และ/หรือมีอาการบวม
ภาวะความดันโลหิตสูงหลังคลอด (postpartum hypertension)
หมายถึง สตรีที่มีความดันโลหิตปกติขณะตั้งครรภ์ แล้วมีความดันโลหิตสูงขึ้นในช่วง 2 สัปดาห์หลังคลอด ถึง 6 เดือนหลังคลอด จากนั้นความดันโลหิตกลับสู่ปกติในปลายปีแรก ภาวะนี้พบได้น้อย
ภาวะความดันโลหิตสูง (hypertension)
หมายถึง ภาวะที่ค่าความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัว อย่างน้อย 140 mmHg.
หรือค่าความดันโลหิตช่วงหัวใจคลายตัว อย่างน้อย 90 mmHg.หรือทั้งสองค่า โดยวัด 2 ครั้งห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ภายหลังการพัก
ชนิดของภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง
(chronic/ preexisting hypertension)
ภาวะความดันโลหิตสูงที่เป็นมาก่อนการตั้งครรภ์ หรือวินิจฉัยได้ก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ โดยที่ความดันโลหิตสูง เกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่ gestational trophoblastic diseases หรือหากวินิจฉัยความดันโลหิตสูงได้ครั้งแรกหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ความดันโลหิตนั้นยังคงสูงอยู่นานกว่า 12 สัปดาห์หลังคลอด
ครรภ์เป็นพิษ หรือ ภาวะครรภ์เป็นพิษระยะก่อนชัก
(preeclampsia)
เกณฑ์การวินิจฉัย preeclampsia
เกณฑ์การวินิจฉัยเกี่ยวกับโปรตีนในปัสสาวะ (proteinuria)
ใช้วิธีตรวจวัดโดยการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมงเป็นหลัก แต่กรณีที่ต้องการผลเร็วให้ใช้การตรวจ urine protein/creatinine ration แทน ส่วนการตรวจด้วย urine dipstick มีความคลาดเคลื่อนสูง จึงควรใช้สองวิธีข้างต้นแทน
ยกเลิกเกณฑ์การวินิจฉัยภาวะครรภ์เป็นพิษระดับรุนแรง (severe preeclampsia)
โดยใช้เกณฑ์ proteinuria มากกว่า 5 กรัมในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง รวมทั้งยกเลิกเกณฑ์ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (fetal growth restriction) ร่วมในการประเมินเพื่อวินิจฉัย
เกณฑ์การวินิจฉัยเกี่ยวกับความดันโลหิตสูง
การพิจารณาค่าความดันโลหิตที่สูง การพบโปรตีนในปัสสาวะ เกล็ดเลือดต่ํา การทํางานของไตผิดปกติ การทํางานของตับผิดปกติ อาการทางสมอง อาการทางตา และภาวะน้ําท่วมปอด
เกณฑ์การประเมินความรุนแรงของภาวะ preeclampsia
รรภ์เป็นพิษที่มีลักษณะไม่รุนแรง
(preeclampsia without severe features)
ครรภ์เป็นพิษที่มีลักษณะรุนแรง
(preeclampsia with severe features)
ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์
(gestational hypertension)
ภาวะความดันโลหิตสูงในระหว่างการตั้งครรภ์หลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ โดยไม่มีโปรตีนในปัสสาวะหรือมีโปรตีนในปัสสาวะน้อยกว่า300 mg. ประมาณร้อยละ 50 จะพัฒนาไปเป็นภาวะครรภ์เป็นพิษ ในกรณีที่ไม่มีการแสดงอาการของภาวะครรภ์เป็นพิษ และความดันโลหิตกลับสูงปกติใน 12 สัปดาห์หลังคลอด อาจถูกจัดกลุ่มเป็นภาวะความดันโลหิตสูงชั่วคราว
ครรภ์เป็นพิษซ้อนทับกับความดันโลหิตสูงเรื้อรัง (preeclampsia superimposed on chronic hypertension)
สตรีที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเรื้อรัง เมื่อตั้งครรภ์แล้วพบมีภาวะครรภ์เป็นพิษแทรกซ้อน การวินิจฉัยภาวะ superimposed preeclampsia ในสตรีความดันโลหิตสูงเรื้อรังที่ไม่เคยมีโปรตีนในปัสสาวะก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์
พยาธิกําเนิดของ
ภาวะความดันโลหิตสูง
พยาธิกําเนิดอยู่ที่รก
แบ่งเป็น 2 ระยะ
ระยะที่ 1 ระยะก่อนแสดงอาการ
(preclinical หรือ asymptomaticstage)
เป็นระยะที่เกิดความผิดปกติที่รก ซึ่งมักเกิดขึ้นตั้งแต่ระยะแรกของการตั้งครรภ์โดยการพัฒนาการตามปกติของรกเซลล์ cytotrophoblasts ของทารกจะรุกล้ำเข้าไปใน maternal spiral arteries และมี remodeling of spiral arterioles โดยเซลล์ cytotrophoblasts ส่วนนี้จะมีการปรับเปลี่ยนจากลักษณะเนื้อเยื่อบุผิวไปเป็นลักษณะเนื้อเยื่อบุโพรงหลอดเลือด (epithelial to endothelial phenotype) ซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า psuedovasculogenesis
ระยะที่ 2 ระยะแสดงอาการ (clinical stage)
รกที่ขาดออกซิเจนจะมีการหลั่งสารต่างๆออกมาในกระแสเลือด ที่สําคัญคือ proinflammatory และ antiangiogenic factors ทําให้เซลล์บุโพรงหลอดเลือดบาดเจ็บ และขาดเลือด เกิดความผิดปกติในการทําหน้าที่ของเนื้อเยื่อบุโพรงหลอดเลือด (endothelial dysfunction) กระตุ้นให้เกิดภาวะ oxidative stress
พยาธิสรีรภาพของภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ระบบตับ
(hepatic system)
ระบบประสาท
(neurological system)
ระบบเลือดและการแข็งตัวของเลือด
(hematologic and coagulation system)
ระบบการมองเห็น (visual system)
ระบบหัวใจและปอด (cardiopulmonary system)
รก และมดลูก
(placenta and uterus)
ระบบไต
(renal system)
สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยง
สาเหตุในการเกิด preeclampsia
ยังไม่ทราบแน่ชัด
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ มีดังนี้
ประวัติครรภ์เป็นพิษในครรภ์ก่อน มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 7 เท่า
ผ่านการคลอดบุตรคนก่อนมาอย่างน้อย 10 ปี มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
สตรีที่ไม่เคยคลอดบุตรมาก่อน (nulliparity)
สตรีอายุมากขึ้นตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ทั้งสตรีที่ไม่เคยผ่านการคลอด และเคยผ่านการคลอดมาแล้ว
ดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 kg/m2ขึ้นไปหรืออ้วน
ประวัติมีความเจ็บป่วยทางอายุรกรรมที่เกี่ยวข้อง
ประวัติพันธุกรรมครรภ์เป็นพิษในครอบครัวของสตรีตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์แฝด ครรภ์แฝดที่มีจํานวนทารกมาก
จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นกว่าครรภ์แฝดสอง
ความผิดปกติทางสูติกรรม เช่น
กลุ่มอาการถุงน้ํารังไข่หลายใบ การทำเด็กหลอดแก้ว
ภาวะโภชนาการบกพร่อง เช่น ขาดวิตามินซี
วิตามินอี ขาดแคลเซียม เป็นต้น
อาการ และ อาการแสดง
ภาวะ preeclampsia
อาการ
เกล็ดเลือดต่ํา มี platelet count < 100,000 ต่อไมโครลิตร
การทํางานของตับผิดปกติ ระดับเอนไซม์ AST และ/หรือ ALT สูงกว่า 70 IU/L หรือมากกว่า 2 เท่าของค่าเดิม
ระบบการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
ภาวะไตวาย serum creatinine ≥1.1 mg/dL. หรือปริมาณปัสสาวะออกน้อยกว่า 500 มิลลิลิตร ใน 24 ชั่วโมงหลังจากได้รับน้ําอย่างเพียงพอ
HELLP syndrome
อาการแสดง
5.ตาบอดจากพยาธิสภาพของครรภ์เป็นพิษในสมอง
4.เลือดออกในสมอง
3.Eclampsia คือ มีอาการชักแบบชักทั้งตัว
2.น้ําท่วมปอด
1.Systolic BP ≥ 160 mmHg. หรือ Diastolic BP ≥ 110 mmHg.
ภาวะ eclampsia
ระยะเริ่มแรกของอาการชัก (Stage of invasion)
มีอาการกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าและมุมปากกระตุก
ริมฝีปากเบี้ยว ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 2-3 วินาที
ระยะชักเกร็ง
(Stage of contraction หรือ tonic stage)
มีอาการเกร็งกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย
ระยะก่อนชัก (Premonitoring stage)
มีอาการหรืออาการแสดงบอกล่วงหน้า เช่น กระสับกระส่าย ตามองนิ่งอยู่กับที่ หมุนไปด้านหนึ่งจนตึง และรูม่านตาขยาย
ระยะชักกระตุก
(Stage of convulsion หรือ clonicstage)
มีการกระตุกของกล้ามเนื้อทั่วร่างกายอย่างแรง
ระยะหมดสติ
(coma หรือ unconscious)
เกิดภายหลังการชักกระตุก นอนนิ่งไม่เคลื่อนไหวอยู่ในสภาพหมดแรง อาจมีอาการหยุดหายใจเป็นบางครั้ง
ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ
สตรีตั้งครรภ์
รกลอกตัวก่อนกําหนด 2. เลือดแข็งตัวผิดปกติ(DIC) 3. หัวใจขาดเลือด 4. หัวใจล้มเหลว
ไตวายเฉียบพลัน เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงไตน้อยลง 6. น้ําท่วมปอด หรือปอดบวมน้ำ
เลือดออกในสมอง 8. เลือดออกในตับจนมีการตายของเซลล์ตับ หรือตับวาย 9. เกล็ดเลือดต่ํา
การหลุดของเรตินา ทําให้ตาบอดชั่วคราวได้ 11. หลอดเลืออุดตัน 12. อันตรายจากการชัก
ทารก
ทารกโตช้าในครรภ์ 2. ขาดออกซิเจน เลือดเป็นกรด3. ทารกคลอดก่อนกําหนด
แท้งหรือเสียชีวิตในครรภ์ 5. ทารกตายในครรภ์เฉียบพลันหรือตายในระยะแรกเกิด
การประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัติ
1.1 ซักประวัติเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
1.2 ประวัติอาการและอาการแสดงของภาวะ preeclampsia
การตรวจร่างกาย
2.1 การประเมินความดันโลหิต
2.2 การประเมินระดับรีเฟล็กซ์
2.3 การประเมินอาการบวม
2.4 ประเมินอาการบวมกดบุ๋ม
2.5 ประเมินการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนัก
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจพิเศษ
4.1 Angiotensin sensitivity test
4.2 Roll over test
4.3 Isometric exercise
4.4Doppler velocimetry
4.5Specific blood testing
4.6Mean arterial blood pressure (MAP)
แนวทางการรักษา
การรักษา preeclampsia without severe features
1.1 ควรรับไว้รักษาในโรงพยาบาล
1.2 ซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด
1.3 ตรวจโปรตีนในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง ควรตรวจอย่างน้อย 3 วัน
1.4ให้นอนพัก
1.5 ประเมินความดันโลหิตทุก 4 ชั่วโมง
1.6 ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
1.7 อายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ มี preterm labor พิจารณาให้ glucocorticoid เพื่อกระตุ้น fetal lungmaturity
1.8 ให้รับประทานอาหารธรรมดา
การรักษา preeclampsia with severe features
2.1 ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลทุกราย
2.2 ให้การพักผ่อนอย่างเต็มที่บนเตียง พักรักษาอยู่บนเตียง
2.3 เริ่มให้ยา magnesium sulfate (MgSO4) ทางหลอดเลือดดําทันที เพื่อป้องกันการชัก
2.4 ประเมินอาการแสดงของ Mg toxicity เป็นระยะ
2.5 ให้ยาลดความดันโลหิต
2.6 ประเมินความดันโลหิตทุก 15 นาที จนกว่าจะคงที่
2.7 ส่งตรวจblood testing
การรักษา eclampsia
3.1 ควบคุมการชักและป้องกันการชักซ้ำ
3.2 หากชักในขณะได้ MgSO4 อยู่ ให้เจาะเลือดเพื่อตรวจหา Mg level ทันที
3.3 ให้ยาลดความดันโลหิต เมื่อความดันโลหิตสูง
3.4 ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในขณะชักและหลังชัก
3.5 ติดตามและตรวจสอบอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา 3.6 ตรวจสอบภาวะ oliguria หรือ anuria โดยคาสายสวนปัสสาวะ และวัดปริมาณปัสสาวะทุกชั่วโมง
3.7 ไม่ควรใช้ยา diazepam เนื่องจากจะกดระดับความรู้สึก
3.8 Eclampsia ที่มีการเจ็บครรภ์คลอด ห้ามใช้ยา tocolytic drug ในทุกกลุ่มอายุ
3.9 เริ่มกระบวนการ augmentation of labor พิจารณาช่วยคลอดด้วยคีมหรือเครื่องดูดสุญญากาศ
3.10 เฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอด
3.11 ให้ magnesium sulfate ต่อไปจนครบ 24 ชั่วโมงหลังคลอด
ยาที่ใช้ในการรักษาภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ยาป้องกันการชัก (anticonvulsant)
Magnesium Sulfate(MgSO4)
การบริหารยา
เริ่มให้ loading dose ด้วย 10% MgSO4 ปริมาณ 4-6 gm. ทางหลอดเลือดดําช้าๆ นาน 15-20 นาทีด้วยอัตราไม่เกิน 1 gm. ต่อนาที
จากนั้น maintenancedose ด้วย 50% MgSO4 ปริมาณ 10-20 gm. ในสารละลาย 5% D/W 1,000 ml. หยดทางหลอดเลือดดําในอัตรา 2 gm. ต่อชั่วโมง
ควรให้ยานี้ต่ออย่างน้อย 24-48 ชั่วโมงหลังคลอด หรือจนกระทั่งปัสสาวะออกมากกว่า 100 ml. ต่อ ชั่วโมง
กรณีเกิดการชักซ้ํา ควรให้ MgSO4 ซ้ําทางหลอดเลือดดํา ปริมาณ 2-4 gm. เป็นเวลานาน 5 นาที
ผลข้างเคียง
1.ออกฤทธิ์ทําให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว จึงทําให้กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวตามธรรมชาติไม่ดีเมื่อเข้าสู่ระยะคลอด
2.ขับออกทางไต ในกรณีที่หลอดเลือดทั่วร่างกายมีการหดรัดตัวจนปัสสาวะออกน้อยลง อาจทําให้เกิดการสะสมของ magnesium ในกระแสเลือด
ผลข้างเคียงอื่นๆ ได้แก่ อาการร้อนวูบวาบทั้งตัว เซื่องซึมและง่วงนอน มีเหงื่อออกมาก กล้ามเนื้ออ่อนแรง รีเฟล็กซ์ลดลง อุณหภูมิร่างกายต่ําลง ปัสสาวะออกน้อย คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่ามัว สับสน ท้องผูก
ยาลดความดันโลหิต (antihypertensive dtrugs)
Labetalol (Avexor®)
การบริหารยา
เริ่มให้ยาครั้งแรกที่ขนาด 20 mg. เข้าหลอดเลือดดําช้าๆ นาน 2 นาที แล้ววัดความดันโลหิตซ้ําทุก 10 นาที
หากความดันโลหิตยังไม่ลดให้ซ้ําได้ทุก 10-15 นาที
ผลข้างเคียง
ความดันโลหิตต่ํา เวียนศีรษะ คลื่นไส้ คัดจมูก หายใจลําบาก เหนื่อยล้า ปฏิกิริยาภูมิไวเกิน ภาวะหัวใจล้มเหลว
Nifedipine (Adalat®)
การบริหารยา
ให้ในรูปแบบยารับประทานเท่านั้น
ไม่ควรให้ยาแบบอมใต้ลิ้น เนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตต่ําจนเกิดอันตรายได้
หากระดับความดันโลหิตยังที่วัดซ้ํายังอยู่ที่ระดับ 140/100 mmHg. ระดับยาที่ได้รับไม่ควรเกิน 120 mg/24 hr.
ผลข้างเคียง
ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ใจสั่น คลื่นไส้ เหงือกอักเสบ ท้องผูก สิ่งที่ควรระวังมากที่สุดคือการที่ค่าความดันโลหิตลดต่ําลงอย่างรวดเร็ว
Hydralazine (Apresoline®หรือ Nepresol®)
การบริหารยา
เริ่มให้ยาครั้งแรกขนาด 5 mg. ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดําใน 2 นาที แล้วประเมินความดันโลหิตทุก 5 นาที หลังฉีด
หลังจากนั้น 20 นาที หาก diastolic BP >110 mmHgให้ยาซ้ําได้อีก 10 mg. ทุก 20 นาที
ผลข้างเคียง
ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น หัวใจเต้นผิดปกติ จังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ําเสมอ
การพยาบาลสตรีที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
การพยาบาลสตรีที่มีภาวะ preeclampsia without severe features
1.1 ดูแลให้นอนพักบนเตียง (bed rest) ในท่านอนตะแคงซ้าย
1.2 ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิตทุก 4 ชั่วโมง
1.3 ดูแลและติดตามประเมินผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
1.4 เฝ้าระวัง ติดตาม อาการและอาการแสดงของ preeclampsia ที่รุนแรงขึ้น
1.5 ดูแลให้รับประทานอาหารธรรมดา บันทึกสารน้ําเข้าและออกจากร่างกาย และชั่งน้ําหนัก
1.6 ดูแลติดตามการประเมินสุขภาพทารกในครรภ์
1.7ประเมินและให้การประคับประคองสภาวะทางอารมณ์ และจิตใจอย่างเหมาะสม
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะ preeclampsia with severe features
2.1 ดูแลให้นอนพักบนเตียงอย่างเต็มที่จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ ลดการกระตุ้นจากภายนอก
2.2 ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิตทุก 1 ชั่วโมง
2.3 บันทึกปริมาณสารน้ําเข้าและออกในแต่ละวัน
2.4 ประเมินอาการนําก่อนการชัก
2.5 ดูแลให้ยาป้องกันชัก MgSO4ตามแผนการรักษา และให้การดูแลภายหลังให้ยา
2.6 ดูแลให้ยาลดความดันโลหิตตามแผนการรักษา
2.7 ดูแลและส่งเสริมการขับสารน้ําออกจากร่างกาย โดยให้นอนตะแคงซ้าย บันทึกปริมาณสาน้ําเข้าและออกจากร่างกาย สังเกตอาการบวม
2.8 ติดตามประเมินระดับ oxygen saturation ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
2.9 ดูแลให้ทารกปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน
2.10 ดูแลให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลงอย่างปลอดภัย
2.11 ประคับประคองด้านจิตใจ
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะ eclampsia
3.1 ใส่ oral airway หรือ mouth gag เพื่อป้องกันไม่ให้กัดลิ้นและความสะดวกในการดูดเสมหะและน้ำลาย เพื่อป้องกันการสําลัก
3.2 จัดให้นอนตะแคง ใส่ไม้กั้นเตียง โดยใช้หมอนรองรับรอบด้าน เพื่อป้องกันอันตรายจากการชัก
3.3 ให้ออกซิเจนขณะชัก และภายหลังชัก และประเมินความรุนแรงของการขาดออกซิเจน
3.4 ดูแลให้ได้รับยาระงับชักตามแผนการรักษา
3.5 ประเมินสัญญาณชีพเป็นระยะอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยทุก 1 ชั่วโมง
3.6 บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าและออกจากร่างกาย
3.7 สังเกตและบันทึกอาการทางสมอง
3.8 สังเกตและบันทึกอาการนําของการชัก ระยะเวลาของการชัก ระยะเวลาที่หยุดหายใจ ระดับความรู้สึกตัว และพฤติกรรมของสตรีตั้งครรภ์หลังอาการชัก
3.9 รายงานแพทย์เมื่อมีอาการนําของการชักหรือขณะชัก และดูแลให้ได้รับยาระงับการชักตามแผนการรักษา
3.10ให้งดอาหารและน้ำตามแผนการรักษา
3.11 จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ และลดสิ่งกระตุ้นให้เกิดการชัก
3.12ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์เป็นระยะ
3.13 เตรียมสตรีตั้งครรภ์เพื่อคลอดตามสถานการณ์
3.14 ดูแลป้องกันการชักซ้ำภายหลังคลอด
3.15 ให้การดูแลป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
3.16 ดูแลทารกแรกเกิด ซึ่งอาจมีภาวะขาดออกซิเจน คลอดก่อนกําหนด หรือน้ำหนักแรกเกิดน้อย