Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะอาเจียนรุนแรงในระยะตั้งครรภ์ (Hyperemesis gravidarum) - Coggle Diagram
ภาวะอาเจียนรุนแรงในระยะตั้งครรภ์
(Hyperemesis gravidarum)
อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง
สาเหตุ
ปัจจัยด้านมารดา
มีประวัติการแพ้ท้องอย่างรุนแรงในครรภ์ก่อน หรือเป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรก
มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่เหมาะสม
มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง หรือมีระดับ human chorinoic gonadotropin (hCG) เพิ่มมากกว่าปกติ
มีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
สภาพจิตใจ ความเครียด ความวิตกกังวล
ปัจจัยด้านทารก
ทารกมีความผิดปกติเกี่ยวกับโครโมโซม
triploidy, trisomy 2
ทารกบวมน้ำ (hydrops fetalis)
อาการและอาการแสดง
มีอาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง เป็นระยะเวลานานอาจตลอดทั้งวัน จนไม่สามารถหยุดได้
สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ น้ำหนักจะลดลงเล็กน้อย ไม่มีอาการขาดน้ำและสารอาหาร
อาการอาเจียน 5-10 ครั้งต่อวัน หรือมากกว่า
เป็นเวลาหลายวัน จะมีอาการ ดังนี้
เกิดภาวะ acidosis และ alkalosis และความไม่สมดุลของเกลือแร่
ลมหายใจมีกลิ่นอะซิโตน ตรวจพบคีโนในปัสสาวะ
อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ หน้ามืด ซึมลง สับสน
มีอาการ Wenicke’s encephalopathy จากการขาดวิตามินบี 1
ขาดสารอาหาร และน้ำหนักลดลงมาก
ความเครียด ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า
ผลกระทบ
ต่อมารดา
ร่างกายเกิดการขาดน้ำ อุณหภูมิสูงขึ้น
ชีพจรเบาเร็วและความดันโลหิตต่ำลง
มีผลกระทบต่อการทำงานของไต ปัสสาวะออกน้อย มีไข้ ผิวหนังแห้ง มีอาการอ่อนเพลีย
เกิดภาวะความเป็นกรดในร่างกาย
เกิดภาวะกรดในกระแสเลือด
ทำให้มีผลกระทบต่อระบบสมองส่วนกลาง
มีอาการกระสับกระส่าย ไม่รู้สึกตัว หมดสติ
เกิดภาวะขาดสารอาหาร มีผลกระทบต่อตับ ค่า SGOT เพิ่มขึ้น
เกิดภาวะ hypokalemia, alkalosis กล้ามเนื้ออ่อนแรง
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
แนวทางการรักษา
ควรวินิจฉัยแยกโรคภาวะอาเจียน
อย่างรุนแรงจากอาการของโรคอื่นๆ
แนะนำให้รับประทานอาหารที่ ช่วยทดแทนเกลือแร่ที่สูญเสียไปกับการอาเจียน
หากอาการรุนแรงมาก ควรงดอาหาร
และน้ำทางปาก และรีบแก้ไขภาวะขาดน้ำ
การรักษาด้วยยา
Promethazine 12.5–25 mg.
วิตามินบี 6 (Pyridoxine) 10-25 mg.
Metoclopramide 5-10 mg.
Diazepam 2 mg.
อาการแพ้ท้องรุนแรงดีขึ้น
รับประทานอาหารอ่อน
รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของขิง
หลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อม และ
สิ่งกระตุ้นที่ทำให้คลื่นไส้อาเจียน
การพยาบาล
รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดภาวะอาเจียนรุนแรง และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
แนะนำวิธีการป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียน
รับประทานอาหารแข็งที่ย่อยง่าย
แนะนำให้รับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว
แนะนำให้จิบเครื่องดื่มอุ่นๆ เช่น น้ำขิง
แนะนำให้รับประทานผลไม้
แนะนำวิธีการรับประทานยาแก้อาเจียนตามแผนการรักษา
สอนวิธีการประเมินโภชนาการ การคำนวณ พลังงานที่ได้รับจากอาหารที่บริโภค และการชั่งน้ำหนัก
ช่วยประคับประคองด้านจิตใจ
เมื่อกลับไปอยู่บ้าน
แนะนำการรับประทานอาหาร โดยปรับเปลี่ยนแบบแผนการรับประทานอาหารครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้ง
แนะนำให้ดื่มน้ำอุ่นทันที่ตื่นนอนประมาณครึ่งแก้ว แล้วนอนต่ออีกประมาณ 15 นาที
แนะนำให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
แนะนำการออกกำลังกายหรือกายบริหารเบาๆ อย่างสม่ำเสมอ
แนะนำให้หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เกิดความเครียด
อธิบายให้คู่สมรสและครอบครัวเข้าใจถึง
ภาวะที่เกิดขึ้น
แนะนำให้เห็นความสำคัญของการมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ และสังเกตอาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ก่อนวันนัด
รับการรักษาแบบผู้ป่วยใน
NPO อย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง
ดูแลความสะอาดของช่องปากและฟัน
ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ
หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด เงียบสงบ
เหมาะแก่การพักผ่อน
ดูแลให้ยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียน
บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าออกจากร่างกาย
ดูแลด้านจิตใจโดยการอยู่เป็นเพื่อน ให้กำลังใจ
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์มีน้ำหนักลดลงมาก จะทำให้ทารกในครรภ์เติบโตช้า และน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่าปกติ
หากสตรีตั้งครรภ์อาการรุนแรงมาก เกิดภาวะเป็นกรดในร่างกายเกิดภาวะ Wernicke’s encephalopathy
อาจทำให้แท้งคลอดก่อนกำหนด
ทารกอาจตายคลอด และทารกพิการ
การวินิจฉัย
การซักประวัติ ตรวจร่างกาย
ประเมินจากอาการและอาการแสดงของ
การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ การตรวจพิเศษ