Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพัฒนาตนและเห็นคุณค่าแห่งตน - Coggle Diagram
การพัฒนาตนและเห็นคุณค่าแห่งตน
ความหมาย
ความหมายที่ 1 การพัฒนาตนคือ การที่บุคคลพยายามที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ตนด้วยตนเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม เหมาะสมกว่าเดิม ทำให้สามารถดำเนินกิจกรรม แสดงพฤติกรรม เพื่อสนองความต้องการ แรงจูงใจ หรือเป้าหมายที่ตนตั้งไว้
ความหมายที่ 2 การพัฒนาตนคือ การพัฒนาศักยภาพของตนด้วยตนเองให้ดีขึ้นทั้ง ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เพื่อให้ตนเป็นสมาชิกที่มีประสิทธิภาพของสังคม เป็นประโยชน์ ต่อผู้อื่น ตลอดจนเพื่อการดำรงชีวิตอย่างสันติสุขของตน
ความเชื่อหรือแนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาตนที่ถูกต้อง
1) มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่มีคุณค่าอยู่ในตัวเอง ท าให้สามารถฝึกหัดและ พัฒนาตนได้ในเกือบทุกเรื่อง
2) ไม่มีบุคคลใดที่มีความสมบูรณ์พร้อมทุกด้าน จนไม่จ าเป็นต้องพัฒนาในเรื่อง ใดๆ อีก
3) แม้บุคคลจะเป็นผู้ที่รู้จักตนเองได้ดีที่สุด แต่ก็ไม่สามารถปรับเปลี่ยนตนเองได้ ในบางเรื่อง ยังต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้อื่นในการพัฒนาตน การควบคุมความคิด ความรู้สึก และการกระท าของตนเอง มีความส าคัญเท่ากับการควบคุมสิ่งแวดล้อมภายนอก
4) อุปสรรคส าคัญของการปรับปรุงและพัฒนาตนเอง คือ การที่บุคคลมีความคิด ติดยึด ไม่ยอมปรับเปลี่ยนวิธีคิด และการกระท า จึงไม่ยอมสร้างนิสัยใหม่ หรือฝึกทักษะใหม่ๆ ที่จ าเป็นต่อตนเอง
5) การปรับปรุงและพัฒนาตนเองสามารถด าเนินการได้ทุกเวลาและอย่าง ต่อเนื่อง เมื่อพบปัญหาหรือข้อบกพร่องเกี่ยวกับตนเอง
ความสำคัญของการพัฒนาตน
2.1 ความสำคัญต่อตนเอง
2.1.1 เป็นการเตรียมตนให้พร้อมในด้านต่างๆ เพื่อรับกับสถานการณ์ทั้งหลาย ได้ด้วยความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
2.1.2 เป็นการปรับปรุงสิ่งที่บกพร่อง และพัฒนาพฤติกรรมให้เหมาะสมขจัด คุณลักษณะที่ไม่ต้องการออกจากตัวเอง และเสริมสร้างคุณลักษณะที่สังคมต้องการ
2.1.3 เป็นการวางแนวทางให้ตนเองสามารถพัฒนาไปสู่เป้าหมายในชีวิตได้ อย่างมั่นใจ
2.1.4 ส่งเสริมความรู้สึกในคุณค่าแห่งตนสูงให้ขึ้น มีความเข้าใจตนเอง สามารถท าหน้าที่ตามบทบาทของตนได้เต็มศักยภาพ
2.2 ความส าคัญต่อบุคคลอื่น
การ พัฒนาในบุคคลหนึ่งย่อมส่งผลต่อบุคคลอื่นด้วย การปรับปรุงและพัฒนาตนเองจึงเป็นการเตรียม ตนให้เป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีของผู้อื่น ทั้งบุคคลในครอบครัวและเพื่อนในที่ท างาน เป็นประโยชน์ ร่วมกันทั้งชีวิตส่วนตัวและการท างานและการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในชุมชนความเข้มแข็งและ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2.3 ความส าคัญต่อสังคมโดยรวม
การที่ผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนได้พัฒนาและ ปรับปรุงตนเองให้ทันต่อพัฒนาการของรูปแบบการท างานหรือเทคโนโลยี การพัฒนาเทคนิควิธี หรือวิธีคิดและทักษะใหม่ๆ ที่จ าเป็นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการท างานและคุณภาพของผลผลิต ท าให้หน่วยงานนั้นสามารถแข่งขันในเชิงคุณภาพและประสิทธิภาพกับสังคมอื่นได้สูงขึ้น ส่งผลให้
เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมได้
หลักการพัฒนาตน
3.1 หลักการพัฒนาตนเชิงการแพทย์
เน้นความส าคัญของการรักษาสภาวะแวดล้อมภายในร่างกายให้สมดุลหรือ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสม กับการท าหน้าที่ต่างๆ ของร่างกาย เพราะร่างกายประกอบด้วย ระบบอวัยวะต่างๆ ที่ท างานประสานกัน ถ้าทุกระบบท างานตามปกติจะเป็นสภาวะการเจริญเติบโต และด ารงชีวิตตามปกติ
เทคนิคการพัฒนาตนเองเชิงการแพทย์ที่ส าคัญ
1) ตรวจร่างกายโดยทั่วไปทั้งระบบภายในและภายนอก ด้วยการสังเกตตนเอง อย่างสม่ าเสมอ และรับการตรวจจากแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง
2) ปรึกษาผู้ช านาญการเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันตนเองจากโรคภัยต่างๆ ตามที่ สมควรเหมาะสมกับเพศและวัย
3) ส่งเสริมความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ฝึกนิสัย การกินที่ดี รักษาสุขภาพให้แข็งแรงโดยวิธีธรรมชาติ ไม่รอพึ่งยาเฉพาะเมื่อเวลาเจ็บป่วยเท่านั้น
4) หมั่นออกก าลังกายในที่อากาศบริสุทธิ์เพื่อบริหารทุกส่วนของร่างกายอย่าง สม่ าเสมอ
5) มองโลกในแง่ดี ท าอารมณ์และจิตใจให้แจ่มใส
6) ศึกษาหาความรู้เรื่องการผ่อนคลายความเครียดและการลดความวิตกกังวล ด้วยตนเอง
3.2 หลักการพัฒนาตนเองเชิงจิตวิทยา
3.2.1 หลักการจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม
มีความเชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าพฤติกรรมที่เป็นปัญหา หรือพฤติกรรมที่ต้องการพัฒนาล้วนเกิดจากการเรียนรู้ คือ เป็นผล ของการที่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
3.2.2 หลักการจิตวิทยาปัญญานิยม
มีแนวความเชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์ ไม่ได้เกิดขึ้น และเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากปัจจัยทางสภาพแวดล้อมแต่เพียงอย่างเดียว แต่จะ เกี่ยวข้องกับ 3 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่
ปัจจัยส่วนบุคคล
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม
ปัจจัยด้านพฤติกรรม
3.2.3 การพัฒนาตนเชิงพุทธศาสตร์
ตามแนวคิดทางพุทธศาสตร์ การ พัฒนาตนเป็นการเรียนรู้และการปฏิบัติเพื่อไปสู่ความพอดีหรือการมีดุลยภาพของชีวิต มี ความสัมพันธ์อันกลมกลืนระหว่างการดำเนินชีวิตของบุคคลกับสภาพแวดล้อมและมุ่งการกระทำ ตนให้มีความสุขด้วยตนเอง
ทมะ คือ การฝึกนิสัยดั้งเดิมที่ยังไม่ได้ขัดเกลาให้เหมาะสม
สิกขา คือ การศึกษา เพื่อให้รู้แจ้ง รู้จักประโยชน์ มองทุกอย่างเป็นการ
เรียนรู้เพื่อปรับปรุงและพัฒนาตัวเอง เ
ภาวนา คำนี้ตรงกับคำว่าพัฒนา ซึ่งประกอบด้วย กายภาวนา ศีล
ภาวนา และปัญญาภาวนา เทียบได้กับการพัฒนาทางกาย พัฒนาทางสังคม พัฒนาอารมณ์ และ พัฒนาสติปัญญ
เทคนิคการพัฒนาตน
4.1 การควบคุมตนเอง (Self-control)
1) ใช้วิธีการยับยั้งทางร่างกาย เช่น การกัดริมฝีปากตัวเองเพื่อไม่ให้
หัวเราะ ปิดตาตัวเองเพื่อไม่ให้เห็นบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ชอบ
2) เปลี่ยนเงื่อนไขของสิ่งเร้าหรือสัญญาณที่เกี่ยวกับพฤติกรรมที่จะหลีก
หนี เช่น ไปตากอากาศที่ชายทะเลเพื่อหลีกหนีสัญญาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
3) หยุดการกระทำบางอย่าง เช่น การงดอาหารกลางวันเพื่อจะ
รับประทานมื้อค่่ำที่จัดเป็นพิเศษ
4) เปลี่ยนแปลงการตอบสนองทางอารมณ์ บางครั้งจ าเป็นต้องแสดง
พฤติกรรมขัดกับความรู้สึกที่แท้จริง เพื่อหลีกเลี่ยงผลกรรมที่ไม่พึงพอใจ
5) ใช้เหตุการณ์บางอย่างเพื่อควบคุมพฤติกรรมตนเอง
6) ใช้ยาหรือสิ่งกระตุ้นต่างๆ ควบคุมการกระท าของตนเอง
7) เสริมแรงหรือลงโทษตัวเอง โดยสัญญากับตนเองว่าถ้าสอบได้ B หรือ
A จะซื้อของราคา 500 บาท ให้ตัวเองชิ้นหนึ่ง
8) ท าสิ่งอื่นแทนสิ่งที่ก าลังท าอยู่ เช่น ออกก าลังกายแทนการนอนอยู่
เฉย
4.2 วิธีการปรับความคิดและความรู้สึก
4.2.1 ความรู้ความเข้าใจมีผลต่อพฤติกรรม
4.2.2 ความรู้ความเข้าใจสามารถสร้างให้มีหรือเปลี่ยนแปลงได้
4.2.3 พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงในความรู้ความ เข้าใจ
4.3 วิธีเจริญสมาธิเบื้องต้น
4.3.1 การนั่ง ควรนั่งหลับตาตามสบายบนพื้น บนเก้าอี้ ควรเป็นที่สะดวก ไม่ กระด้าง ผู้ชายนั่งขัดสมาธิ ผู้หญิงนั่งพับเพียบตามถนัด เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย วาง ลงบนหน้าตัก นั่งตัวตรง
4.3.2 การกำหนดลมหายใจ