Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตในระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตในระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต
Hypertensive crisis หมายถึงภาวะความดันโลหิตสูงเฉียบพลัน 180/120 มม.ปรอท และทำให้เกิดดารทำลายของอวัยวะเป้าหมาย (Target organ damage: TOD)
อาการและอาการแสดง
อาการทางสมอง เรียกว่า hypertensive encephalopathy
ปวดศรีษะ
การมองเห็นผิดปกติ
สับสน
คลื่นไส้ อาเจียน
กลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน (Acute cardiovascular syndromes)
กล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial infarction)
เจ็บแน่นหน้าอกแบบเฉียบพลัน/แบบไม่คงที่ (Unstable angina)
น้ำท่วมปอด (Pulmonary edema)
ภาวะเลือดเซาะในผนังหลอดเลือดเอออร์ตา (Aortic dissection)
สาเหตุ
1.การหยุดยาลดความดันโลหิตทันที
Acute or chronic renal disease
Exacerbation of chronic hypertension
การใช้ยาบางชนิดที่มีผลทําให้ความดันโลหิตสูง
การซักประวัติ
สอบถามอาการของอวัยวะที่ถูกผลกระทบจากโรค (TOD)
โรคหลอดเลือดสมอง
ปวดศรีษะ
มองไม่ชัด หรือตามัวชั่วขณะ
ระดับความรู้สึกตัวปกติ
หมดสติ
โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
เจ็บหน้าอก
เหนื่อยง่ายแน่นอกเวลาออกแรง
ไตวายเฉียบพลัน
ปริมาณปัสสาวะลดลง หรือไม่ถ่ายปัสสาวะ
ซักประวัติโรคประจำตัว
โรคความดันโลหิตสูง
ความสม่ำเสมอในการรับประทานยา
ประวัติความดันโลหิตสูงที่เป็นในสมาชิกครอบครัว
การสูบบุหรี่
ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
การรักษา
ผู้ป่วย Hypertensive crisis ต้องให้การรักษาทันทีใน ICUและให้ยาลดความดันโลหิตชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดํา
เป้าหมายเพื่อลดความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ต้องการโดยป้องกันอวัยวะต่างๆไม่ให้ถูกทําลายมากขึ้นและไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา
ลดความดันโลหิตเฉลี่ย (mean arterial pressure)ลงจากระดับเดิม20-30% ภายใน 2 ชั่วโมงแรก และ 160/100 มม.ปรอท ใน 2-6 ชั่วโมง
ยาที่ใช้รักษาในประเทศไทย
Sodium nitroprusside
ไม่แนะนําให้ใช้ในผู้ป่วยที่มีการทํางานของตับและไตบกพร่อง
nicardipine
nitroglycerin
labetalol
Atrial fibrillation (AF)
ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพริ้ว เกิดจากจุดปล่อยกระแสไฟฟ้า (ectopic focus)ใน atrium ส่งกระแสไฟฟsาออกมาถี่และไม่สม่ำเสมอและไม่ประสานกัน ทําให้ atriumบีบตัวแบบสั่นพริ้ว และคลื่นไฟฟ้าไม่สามารถผ่านไปยัง ventricle ได้ทั้งหมด ลักษณะ ECG ไม่สามารถบอก P wave ได้ชัดเจน จังหวะไม่สม่ำเสมอ QRS complexไม่เปลี่ยนแปลง อัตราการเต้นของ atrial มากกว่า 350 ครั้ง/นาที
ประเภทของ AF
1.Paroxysmal AF หมายถึง AF ที่หายได้เองภายใน 7 วันโดยไม่ต้องใช้ยา หรือการช็อคไฟฟ้า(Electrical Cardioversion)
2.Persistent AFหมายถึงAF ที่ไม่หายได้เองภายใน 7 วัน หรือหายได้ด้วยการรักษาด้วยยา หรือการช็อคไฟฟ้า
3.Permanent AFหมายถึง AFที่เป็นนานติดต่อกันกว่า 1 ปีโดยไม่เคยรักษาหรือเคยรักษาแต่ไม่หาย
4.Recurrent AFหมายถึง AFที่เกิดช้ามากกว่า 1 ครั้ง
5.Lone AFหมายถึง AFที่เป็นในผู้ปวยอายุน้อยกว่า 60 ปี ที่ไม่มีความผิดปกติของหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง
สาเหตุ
พบบ่อยในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจรูห์มาติก ภาวะหัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตสูง เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ (open heart surgery), hyperthyrodism
อาการ
ใจสั่น
อ่อนเพลีย
เหนื่อยเวลาออกแรง
คลําชีพจรที่ข้อมือได้เบา
Ventricular fibrillation (VF)
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิดที่ventricle เป็นจุดกําเนิดการเต้นของหัวใจตําแหน่งเดียวหรือหลายตําแหน่ง เต้นรัวไม่เป็นจังหวะ ไม่สม่ำเสมอ
อาการและอาการแสดง
หมดสติ ไม่มีชีพจร รูม่านตาขยาย เนื่องจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตออกมาได้ และเสียชีวิต
สาเหตุ
Hypovolemia
Hypoxia
Hydrogen ion (acidosis)
Hypokalemia
Hyperkalemia
Hypothermia
Tension pneumothorax
Cardiac tamponade
Toxins
Pulmonary thrombosis
Coronary thrombosis
Ventricular tachycardia (VT)
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิดที่ventricle เป็นจุดกําเนิดการเต้นของหัวใจ ในอัตราที่เร็วมากแต่สม่ำเสมอ 150-250 ครั้ง/นาที
ประเภทของ VT
1.Nonsustained VT คือ VTที่เกิดต่อเนื่องกันเป็นเวลาน้อยกว่า 30วินาที
2.Sustained VT คือ VTที่เกิดต่อเนื่องกันเป็นเวลานานกว่า 30วินาที ซึ่งมีผลทําให้ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายลดลง
3.Monomorphic VT คือ VT ที่ลักษณะของ QRS complexเป็นรูปแบบเดียว
4.Polymorphic VT หรือ Torsade คือ VT ที่ลักษณะของ QRS complexเป็นรูปแบบเดียว
สาเหตุ
กล้ามเนื้อหัวใจตายบริเวณกว้าง (Myocardial infarction)
โรคหัวใจรูห์มาติก (Rheumatic heart disease)
ถูกไฟฟ้าดู
ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ
พิษจากยาดิจิทัลลิส (Digitalis toxicity)
อาการและอาการแสดง
อาการเกิดทันที ผู้ป่วยจะรู้สึกใจสั่น ความดันโลหิตต่ำ หน้ามืด เจ็บหน้าอก หายใจลําบาก หัวใจหยุดเต้น
การตรวจร่างกาย
วัดสัญญาณชีพ
โดยเฉพาะความดันโลหิตเปรียบเทียบกันจากแขนซ้ายและขวา
น้ำหนัก ส่วนสูง ดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว
ตรวจความผิดปกติที่เกิดจาก TOD
โรคหลอดเลือดสมอง จะมีอาการ แขนขาชาหรืออ่อนแรงครึ่งซีก มองเห็นไม่ชัดหรือตามัวชั่วขณะ(blurred vision) ระดับความรู้สึกตัวผิดปกติ (change in level of consciousness) หมดสติ (Coma)
ตรวจจอประสาทตา
ถ้าพบ Papilledema ช่วยประเมินภาวะ increased intracranial pressure ตรวจ retina
ถ้าพบ cotton-wool spots and hemorrhages แสดงว่า มีการแตกของ retina blood vessels และ retina nerves ถูกทําลาย
Chest pain บอกอาการของ acute coronary syndrome or aortic dissection
อาการของ oliguria or azotemia (excess urea in the blood)แสดงถึงภาวะไตถูกทําลาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
CBC
Creatinine และ Glomerular filtration rate (eGFR)
อัลบูมินในปัสสาวะ
(12-lead ECG) และ chest X-ray
ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Heart Failure [AHF])
การเกิดอาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างรวดเร็วจากการทํางานผิดปกติของหัวใจทั้งการบีบตัวหรือการคลายตัวของหัวใจ การเต้นของหัวใจผิดจังหวะ หรือการเสียสมดุลของpreload และafterload
สาเหตุ
โรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ภาวะหัวใจวาย
ปัจจัยกระตุ้น
ความผิดปกติทางหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่พอ
ความผิดปกตินอกระบบหัวใจและหลอดเลือด
การใช้ยาไม่สม่ำเสมอ
การควบคุมปริมาณเกลือในอาหารไม่เพียงพอ
ภาวะน้ำเกิน
หลอดเลือดปอดอุดตัน
โรคติดเชื้อ
ภาวะโลหิตจาง
โรคปอดเรื้อรัง
ยาแก้ปวดกลุ่มNSAIDs
ยาที่ออกฤทธิ์ต่อหัวใจ
ทุพโภชนาการ
สารออกฤทธิ์เป็นพิษต่อหัวใจ
อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยที่พบบ่อย
หายใจเหนื่อยหอบ
อ่อนเพลีย
บวมตามแขนขา
ความดันโลหิตปกติหรือ ต่ำ/สูง
ท้องอืดโต แน่นท้อง
ปัสสาวะออกน้อย/มาก
หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว
ฟังได้ยินเสียงปอดผิดปกติ(Lung crepitation)
การรักษา
1.การลดการทํางานของหัวใจ(Decrease cardiac workload)ได้แก่ Intra-aortic balloon pump, การให้ออกซิเจน, การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Cardiac pacemaker), การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Percutaneous coronary intervention)
2.การดึงน้ําและเกลือแร่ที่คั่งออกจากร่างกาย (Negative fluid balance)ได้แก่ การให้ยาขับปัสสาวะ, การจํากัดสารน้ำและเกลือโซเดียม การเจาะระบายน้ำ
3.การใช้ยา
ยาเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ เช่น digitalis (digoxin)
ยารักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น amiodarone
ยาที่ใช้ในช็อค เช่น adrenaline, dopamine, dobutamine, norepinephrine (levophed)
ยาขยายหลอดเลือดหัวใจ เช่น nitroglycerine/isodril (NTG)
ยาขยายหลอดเลือด เช่น sodium nitroprusside (NTP)
ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด เช่น aspirin, plavix, clopidogrel
การพยาบาล
การลดการทํางานของหัวใจ และส่งเสริมการไหลเวียนเลือดไปยังเซลล์ให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ การคงไว้ซึ่งความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกายและความผิดปกติทางด้านจิตใจ
ภาวะช็อก (Shock)
ภาวะช็อกเป็นภาวะที่ร่างกายเกิดความผิดปกติจากกลุ่มอาการต่างๆ หรือความผิดปกติจากทางสรีรวิทยาเป็นผลให้เกิดการไหลเวียนโลหิตไปยังอวัยวะต่างๆไม่เพียงพอทําให้ปริมาณออกซิเจนที่ส่งไปเลี้ยงเนื้อเยื่อไม่เพียงพอ (poor tissue perfusion) เสียสมดุลของการเผาผลาญระดับเซลล์อวัยวะต่างๆขาดออกซิเจนและสูญเสียหน้าที่(Organ dysfunction)
ประเภทของช็อก
1.ภาวะช็อกจากการขาดสารน้ำ(Hypovolemic shock)
เกิดจากการลดลงของปริมาณของเลือดหรือสารน้ำในร่างกาย (การสูญเสียมากกว่า 30-40% ของปริมาตรเลือด) ทําให้ปริมาณเลือดที่กลับเข้าสู่หัวใจ(Venous return หรือ preload)ลดลง
เสียน้ำ
เสียเลือด
2.ภาวะช็อกจากภาวะหัวใจล้มเหลว(Cardiogenic shock)
เป็นภาวะช็อกที่เกิดจากหัวใจไม่สามารถส่งจ่ายเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย โดยที่มีปริมาตรเลือดในระบบไหลเวียนโลหิตอย่างเพียงพอ
ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ
ความผิดปกติของลิ้นหัวใจและผนังหัวใจ
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
3.ภาวะช็อกจากหลอดเลือดมีการขยายตัว(Distributive shock, vasogenic / vasodilatory shock, Inflammatory shock)
ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ(Septic shock)
ภาวะช็อกจากการแพ้ (Anaphylactic shock)
เช่น แพ้ยา
ภาวะช็อกจากการทํางานผิดปกติของต่อมหมวกไต(Hypoadrenal /adrenocortical shock)
ภาวะช็อกจากการอุดกั้นการไหลเวียนของเลือดเข้าสู่หัวใจ(Obstructive shock)
ภาวะช็อกจากความผิดปกติของระบบประสาท(Neurogenic shock)
จาก Head trauma, Spinal cord injury
ระยะของช็อก
1.ภาวะช็อกที่สามารถชดเชยได้ในระยะแรก (Compensated shock)คือ ภาวะช็อกที่ได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่เริ่มต้น ได้รับการรักษาทั้งการให้สารน้ำและยาที่เหมาะสม ผลการรักษาจะดีและมีภาวะแทรกซ้อนเพียงเล็กน้อย
2.ภาวะช็อกที่สามารถชดเชยได้ในระยะท้าย (Decompensated shock)คือ ภาวะช็อกที่ได้รับการวินิจฉัยล่าช้า เซลล์ในร่างกายเริ่มตาย การทํางานของอวัยวะต่างๆลดลง ก่อนได้รับการรักษาที่เหมาะสม การรักษาจะใช้เวลามากขึ้นและมีภาวะแทรกซ้อนจากอวัยวะล้มเหลว
3.ภาวะช็อกที่ไม่สามารถชดเชยได้ (Irreversible shock)คือ ภาวะช็อกที่ได้รับการวินิจฉัยช้าเกินไป จนทําให้เซลล์หรืออวัยวะต่างๆในร่างกายได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก การรักษาในระยะนี้มักจะไม่ได้ผล ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตสูง
อาการและอาการแสดง
ประสาทส่วนกลาง
กระสับกระส่าย
ซึม หมดสติ
เซลล์สมองตาย
หัวใจและหลอดเลือด
ชีพจรเบาเร็ว
หัวใจเต้นผิดจังหวะ
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
หลอดเลือดส่วนปลายหดตัว
ผิวหนังเย็นซีด
ไตและการขับปัสสาวะ
ปัสสาวะออกน้อย
หายใจ
หายใจเร็วลึก
ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ
ระบบหายใจล้มเหลว
ทางเดินอาหาร
กระเพาะอาหารและลําไส้ขาดเลือด
ตับอ่อนอักเสบ
ดีซ่าน
การย่อยและดูดซึมอาหารผิดปกติ
ต่อมไร้ท่อ
น้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ
ภาวะร่างกายเป็นกรด
เลือดและภูมิคุ้มกัน
การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
ภาวะลิ่มเลือดกระจายทั่วร่างกาย
เม็ดเลือดขาวทํางานบกพร่อง