Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วันรุ่น, นางสาวสุปรีญา บุญประดิษฐ เลขที่ 127 รหัสนักศึกษา 63103301127 -…
วันรุ่น
พัฒนาการทางจริยธรรม
การส่งเสริมพัฒนาการ
เด็กเริ่มมีความเป็นตัวของตัวเอง มีความคิดที่อิสระมากขึ้น เด็กเริ่มเป็นผู้ตัดสินว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิดด้วยตนเอง ในช่วงวัยนี้ครูควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ศึกษาจากกรณีศึกษาต่างๆ ให้เด็กได้คิดวิเคราะห์และร่วมอภิปราย แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์นั้นๆ โดยมีผู้ใหญ่เป็นผู้ชี้แนะไปในทางที่ถูกต้อง
เด็กจะแสดงพฤติกรรมตามเกณฑ์ของสังคมที่ตนอยู่ ทำตามความคาดหวังของพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง เด็กจะไม่คำนึงถึงผลตามมาที่จะเกิดแก่ตนเอง แต่คำนึงถึงจิตใจของผู้อื่น ยึดถือความซื่อสัตย์ และความจงรักภักดีเป็นสำคัญ
พัฒนาการด้านร่างกาย
ร่างกายส่วนต่างๆ จะมีการเจริญเติบโตในเกือบทุกๆระบบทั้งหญิงและชาย เช่น ความสูงและน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเร็ว แขนขายาวขึ้น ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อกระตุ้นการเติบโตของอวัยวะระบบสืบพันธุ์ทั้งภายในและภายนอกมีการเจริญของร่างกายในส่วนที่เป็นลักษณะประจำเพศ (secondary sex characteristics) เช่น เด็กชายมีเสียงห้าวขึ้น มีหนวดขึ้น ในเด็กหญิงมีการเจริญเติบโตของเต้านมเกิดขึ้น ในเด็กหญิงก็จะมีประจำเดือนเกิดขึ้นการเปลี่ยนแปลงสองอย่างหลังนี้จะทำให้เกิดความรู้สึกว่าตนเองเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง (gender identity) การเปลี่ยนแปลงมากๆ แบบนี้อาจเป็นสาเหตุของความกังวล หรือความลำบากใจในการปรับตัวของวัยรุ่นได้
การส่งเสริมพัฒนาการ
เปิดโอกาสให้วัยรุ่นได้เข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร ทรัพยากร เพื่อกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น
ให้วัยรุ่นได้ทดลอง ได้เรียนรู้ได้ฝึกฝนในสิ่งที่ตนเองสนใจและมีความถนัด
ชุมชนและหน่วยงานเอกชนควรมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้มีเวทีที่วัยรุ่นได้แสดงออก
และคิดริเริ่มสร้างสรรค
-
พัฒนาการด้านจิตสังคม
ระยะวัยรุ่น (Adolescent period) อายุ 12-20 ปี : ขั้นการเข้าใจอัตลักษณะของตนเองกับไม่เข้าใจตนเอง (Identity vs role confusion) เป็นระยะที่เริ่มสนใจเรื่องเพศ เข้าไปผูกพันกับสังคมและต้องการตำแหน่งทางสังคม ความรู้สึกเป็นอิสระและเป็นตัวของตัวเอง เข้าใจอัตลักษณะของตัวเอง รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร มีความเชื่ออย่างไร และตนเองเป็นใคร หากไม่สามารถรวบรวมประสบการณ์ในอดีตได้ ก็จะไม่สามารถเข้าใจตัวเอง เกิดความสับสน และความขัดแย้ง
การส่งเสริมพัฒนาการ
ผู้ใหญ่ควรให้โอกาสเด็กให้ได้แสดงความคิดเห็น และเป็นแบบอย่างที่ดีของเด็ก วัยรุ่นจะมองคุณค่าของวัฒนธรรม ศาสนา และอุดมคติว่า เป็นสิ่งที่ดีงาม และเป็นสิ่งที่สนับสนุนส่งเสริมพัฒนาการและการแสวงหาอัตลักษณ์ของเขา
พัฒนาการด้านสติปัญญา
พัฒนาการทางความคิดตามแนวคิดของเพียเจท์ (Piaget, 1958 cited in Lefrancois, 1996) เด็กวัยรุ่นพัฒนาความคิดจากความคิดแบบรูปธรรม (concrete) มาจากวัยเด็กมาสู่กระบวนการพัฒนาความคิดแบบเป็นเหตุผล เป็นรูปแบบชัดเจน (Cognitive thought phase หรือ Formal operation period ) ซึ่งมีลักษณะเด่นคือ สามารถคิดอย่างมีเหตุผลโดยไม่ใช้วัตถุเป็นสื่อ มีการคิดแบบใช้ตรรกจากเงื่อนไขที่กำหนด การคิดแบบใช้เหตุผลเชิงสัดส่วน การคิดแบบแยกตัวแปรเพื่อสรุปผล การคิดแบบใช้เหตุผลสรุปเป็นองค์รวม คาดการณ์อนาคตได้โดยมองย้อนอดีต
การส่งเสริมพัฒนาการ
เข้าใจวัยรุ่นเนื่องจากการพัฒนาทางสติปัญญาของวัยรุ่นอยู่ในขั้นสูงสามารถเข้าใจได้ทั้งสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ทำให้เรียนรู้สิ่งต่างๆได้กว้างขวางในลึกซึ้งมากขึ้น
ผู้ใหญ่ควรให้ความเข้าใจโลกเห็นใจและหาทางช่วยเหลือมากกว่าตามนี้เลยลงโทษซึ่งจะทำให้เด็กมีปัญหามากขึ้นและกลายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาด้านสติปัญญาของเด็ก
หาทางสนับสนุนวัยรุ่นเป็นระยะที่ เริ่มพัฒนาความคิดของตนเองโดยใช้วิธีและเหตุผลบ้างอะไรลึกซึ้งมากการจำหรือที่คิดแบบเอาตนเองเป็นศูนย์กลางซึ่งเราจะมองอะไรด้านเดียววัยรุ่นสามารถฟังคำวิจารณ์จากผู้อื่นได้ฉะนั้นผู้ใหญ่จึงควรเปิดโอกาสให้วัยรุ่นได้เรียนรู้และใช้เหตุผล แลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเสรีตลอดจนการเรียนรู้ทางชาการแสดงความคิดเห็นที่ถูกต้องและเหมาะสมกับโอกาสและสถานการณ์
-