Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะตกเลือด Antepratum bleeding in pregnancy -…
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะตกเลือด
Antepratum bleeding in pregnancy
การทำแท้ง
( Induced abortion )
การทำแท้งเพื่อการรักษา
(therapeutic abortion)
การทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลงก่อนที่ทารกในครรภ์จะสามารถมีชีวิตรอดเป็นการทำแท้งที่ถูกกฎหมาย เพราะเป็นการรักษาชีวิตมารดา
การทำแท้งเพื่อการรักษากระทำโดยแพทย์ วิธีทำแท้งมีหลายวิธีด้วยกันการจะเลือกทำวิธีใดอาศัยอายุครรภ์หรือขนาดของมดลูกเป็นหลัก แบ่งได้ 6 วิธีใหญ่ ๆ คือ
การปรับประจำเดือน
ใช้ในครรภ์ไม่เกิน 6 สัปดาห์ วิธีทำโดยสอดท่อพลาสติกเล็ก ๆ ขนาดเส้นรอบวง 4-8 มม. เข้าในโพรงมดลูกผ่านช่องคลอดและปากมดลูก ต่อปลายท่อพลาสติกด้านนอกเข้ากับ syringe ปลดล็อค แรงดูดจะดูดเอารกและเด็กออกหมด
การขูดมดลูก
อายุครรภ์ 14 สัปดาห์
การใช้เครื่องดูดสูญญากาศ
อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ ใช้ท่อพลาสติกสอดผ่านช่องคลอดเข้าโพรงมดลูก แต่ท่อพลาสติกด้านนอกยาวกว่า เมื่อต่อกับเครื่องดูดสุญญากาศไฟฟ้าก็จะดูดสิ่งต่าง ๆ ออก
การแีดน้ำเกลือเข้มข้นเข้าถุงน้ำหล่อเด็กอายุครรภ์ประมาณ 16 สัปดาห์ขึ้นไป
การผ่าตัดเอาเด็กออกทางหน้าท้อง
ไม่นิยม
การใช้ยาพวก prostaglandins
การทำแท้งผิดกฎหมาย (illegal abortion)
เป็นการทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลงภายในสถานที่ที่ไม่เหมาะสมในการให้บริการด้านสุขภาพ
วิธีทำแท้งที่ผิดกฏหมาย
การสอดน้ำยาเข้าโพรงมดลูก
การทำให้ถุงน้ำหล่อเด็กแตก
การสอดใส่วัสดุแปลกปลอมไว้ในโพรงมดลูก
การกระตุ้นอย่างรุนแรงที่มดลูก
การใช้ยาบีบมดลูก
ฉีดหรือรับประทานยาพวก ergot ขนาดมากและติดต่อกันหลายวัน เช่น Primolute - N
อันตรายที่เกิดกับผู้ทำแท้ง
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดทันที เกิดขณะทำแท้งหรือภายใน 3 ชั่วโมงหลังทำมีการตกเลือด มดลูกทะลุ ปากมดลูกฉีกขาด เลือดไม่แข็งตัวตกเลือดมาก
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดล่าเกิดหลังทำแท้ง 3 ชั่วโมงถึง 28 วัน ได้แก่ ภาวะแท้งไม่ครบ หรือแท้งค้าง อักเสบติดเชื้อ
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดในระยะหลัง
หลังการทำแท้ง 28 วันไปแล้ว ได้แก่ การอักเสบเรื้อรังในอุ้งเชิงกราน ปวดประจำเดือน ปวดขณะร่วมเพศ เป็นหมันเพราะโพรงมดลูกติดกันจนตัน ท่อนำไข่อุดตันจากการอักเสบ ตั้งครรภ์นอกมดลูก แท้งซ้ำครรภ์หลังบ่อย septic condition ได้แก่ มีไข้สูง ปวดท้อง tachycardia vaginal bleeding และ shock
การรักษา
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำและอาจให้เลือด
ทำ blood cervical uterine culture
ทำ gram stain หาเชื้อ clostridium
ให้ยาปฏิชีวนะ ในขนาดสูง เช่น Ampi 1 gm ทุก 6 ชม. / Genta 240 mg. OD / Metronidazole 500 mg. ทุก 8 ชม.
อาการดีทำ D&C or hysterectomy หลังให้ Antibiotic 8-12 ชั่วโมง
Psychological support
การตั้งครรภ์นอกมดลูก
( Ectopic pregnancy )
มีการฝังตัวของ blastocyst ภายนอกโพรงมดลูกหรือที่ใดก็ตามที่ไม่ใช่ endometrium ที่บุภายในโพรงมดลูก ส่วนมากเกิดที่ fallopian tubes พบบ่อยที่สุดคือ ส่วนของ ampullar
สาเหตุ
การที่ท่อนำไข่แคบลง ไข่เดินทางได้ช้า มดลูก เช่น ปีกมดลูกอักเสบเรื้อรัง มี adhesion รอบ ๆ
พยาธิสภาพ
บริเวณที่ฝังตัวมากที่สุดคือ ampular part ของท่อนำไข่ ท่อนำไข่มีเลือดมาเลี้ยงมาก หลอดเลือดขยายตัว ท่อนำไข่ยืดออกมากแตกเฉียบพลัน ปวดท้องรุนแรง เลือดออกจำนวนมากขังอยู่ในช่องท้อง บริเวณสะดือเขียวช้ำ เรียก Cullen’s sign
ส่วน contraceptive product จะเข้าสู่ช่องท้องอาจหาที่เกาะ เช่นลำไส้ เลือดมาเลี้ยงเพียงพอการตั้งครรภ์สามารถเจริญเติบโตจนครบกำหนด เรียกว่า secondary abdominal pregnancy
อาการและอาการแสดง
อาการปวด
ปวดแบบตื้อๆ (dull pain) เปลี่ยนเป็นปวดบิด (colicky pain)ไข่ที่ฝังตัวดันท่อนำไข่โป่งตึง
อาการขาดระดู
ขาดระดู ทำให้เข้าใจผิดว่าภาวะเลือดออกทางช่องคลอดจากการตั้งครรภ์นอกมดลูกนั้นเป็นระดู เลือดจะเป็นสีคล้ำหรือน้ำตาลเก่าๆออกมากหรือเป็นหยดๆ
เลือดออกกะปริดกะปรอยทางช่องคลอด
ถ้าไข่ที่ฝังตัวตายแล้วจะผลิตฮอร์โมนน้อยลงหรือหยุดผลิตทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกลอกตัว เลือดที่ออกมีจำนวนน้อย ลักษณะสีน้ำตาลเข้ม มากหรือเป็นหยดๆ(spotting)
อาการหน้ามืดและช็อค
เนื่องจากกระทบกระเทือน subdiaphragmatic phrenic nerve
อาการปวดเมื่อเคลื่อนไหวปากมดลูก
อาการเจ็บปวดและหน้าท้องเกร็ง
ก้อนในอุ้งเชิงกราน
คลำพบก้อนลักษณะนุ่มขนาดประมาณ 5 – 15 ซ.ม.ในอุ้งเชิงกราน ถ้าหลอดมดลูกแตกจะคลำได้ก้อนลักษณะแข็ง
การเปลี่ยนแปลงที่ตัวมดลูกมดลูกจะถูกดันไปด้านข้าง จะดึงปากมดลูกสูงขึ้นไปด้วย
การตรวจทางห้องทดลอง
Hb และ Hct ต่ำ
Leukocyte levels สูง
HCG Serum progesterone จะต่ำกว่าการตั้งครรภ์ปกติ
การรักษา
การผ่าตัดหลอดมดลูกและรังไข่