Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะอาเจียนรุนแรงในระยะตั้งครรภ์ (Hyperemesis gravidarum) - Coggle Diagram
ภาวะอาเจียนรุนแรงในระยะตั้งครรภ์ (Hyperemesis gravidarum)
สาเหตุ
ปัจจัยด้านทารก
ทารกมีความผิดปกติเกี่ยวกับโครโมโซม triploidy, trisomy 21 และ ทารกบวมน้ํา (hydrops fetalis)
ปัจจัยด้านมารดา
การตั้งครรภ์ที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง หรือมีระดับ human chorinoic gonadotropin (hCG) เพิ่มมากกว่าปกติ
เช่น การตั้งครรภ์แฝด มีภาวะ hyperthyroidism ขณะตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก (hydatidiform moles)
มีประวัติการแพ้ท้องอย่างรุนแรงในครรภ์ก่อน หรือเป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรก
มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่เหมาะสมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์
เช่น รับประทานอาหารที่ มีไขมันสูง ขาดวิตามินบางชนิดโดยเฉพาะวิตามินบี 6
มีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
เช่น กระเพาะอาหารหรือลําไส้อักเสบ ถุงน้ําดี อักเสบ ตับอ่อนอักเสบ
กระเพาะอาหารมีการเคลื่อนไหวลดลง จากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรน (progesterone) ขณะตั้งครรภ์ ทําให้หลั่งกรดไฮโดรคลอริค (hydrochloric acid: HCI) ลดลง
สภาพจิตใจ ความเครียด ความวิตกกังวล
อาการและอาการแสดง
มีอาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง เป็นระยะเวลานานอาการรุนแรงอาจเพิ่มมากขึ้น จนไม่สามารถยับยั้งได้
หากอาการอาเจียนไม่รุนแรงมาก น้ําหนักจะลดลงเล็กน้อย ไม่มีอาการขาดน้ําและสารอาหาร
หากอาการอาเจียนรุนแรงมากขึ้น คือมีอาการอาเจียน 5-10 ครั้งต่อวันขึ้นไป เป็นเวลาหลายวัน จะมีอาการ ดังนี้
3.2 มีอาการแสดงของภาวะขาดสารน้ํา (dehydration)
3.3 เกิดภาวะ acidosis หรือ alkalosis และ electrolyte imbalance
3.4 ลมหายใจมีกลิ่นอะซิโตน (acetone) ตรวจพบคีโนในปัสสาวะ (ketonuria)
3.5 มีอาการแสดงของกลุ่มอาการ Wenicke’s encephalopathy จากการขาดวิตามินบี 1 โดยจะมีอาการมองเห็นภาพซ้อน เซ และสับสน
3.1 ขาดสารอาหาร และน้ําหนักลดลงมาก
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อมารดา
ทําให้ร่างกายเกิดการขาดน้ํา ทําให้อุณหภูมิสูงขึ้น ชีพจรเบาเร็วและความดันโลหิตต่ำลง มีไข้ ผิวหนังแห้ง อ่อนเพลีย
เกิดภาวะความเป็นกรดในร่างกาย เกิดภาวะกรดในกระแสเลือด เนื่องจากการสูญเสียด่าง ในน้ําย่อยไปกับการอาเจียน ทำให้กระสับกระส่าย ไม่รู้สึกตัว หมดสติ
ถ้ามีอาการรุนแรงมาก ร่างกายเสียสมดุลของอิเลคโตรลัยท์ เกิดภาวะ hypokalemia, alkalosis กล้ามเนื้ออ่อนแรง
เกิดภาวะขาดสารอาหาร มีผลกระทบต่อตับ ค่า SGOT เพิ่มขึ้น มีอาการของการขาดวิตามิน B1 ขาดวิตามินซี และวิตามินบีรวม
ทารกในครรภ์
1.ทารกในครรภ์เติบโตช้า และน้ําหนักแรก คลอดน้อยกว่าปกติ
หากสตรีตั้งครรภ์เกิดภาวะเป็นกรดในร่างกาย อาจทําให้ทารกมีอาการ ทางสมอง เกิดภาวะ Wernicke’s encephalopathy
อาจทําให้แท้ง คลอดก่อนกําหนด ทารกอาจตายคลอด และทารกพิการ (Fetal anomalies) จากการขาดสารอาหารได
การวินิจฉัย
การซักประวัติ ตรวจร่างกาย ประเมินจากอาการและอาการแสดงและสภาพจิตใจ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
2.1 การตรวจเลือด พบฮีมาโตคริตสูง BUN สูง โซเดียมต่ำ
โปแตสเซียมต่ำ คลอไรด์ต่ำ SGOTสูง LFT สูง และโปรตีนในเลือดต่ำ
2.2 การตรวจปัสสาะ พบว่ามีความถ่วงจําเพาะสูง
ไข่ขาวในปัสสาวะเพิ่มขึ้น พบคีโตนในปัสสาวะ
ถ้ามีอาการรุนแรงมาก อาจพบน้ําดีในปัสสาวะได้
การตรวจพิเศษ
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
และการเจาะตรวจน้ําคร่ำ
แนวทางการรักษา
ควรวินิจฉัยแยกโรคภาวะอาเจียนอย่างรุนแรงจากอาการของโรคอื่นๆ
หากอาการไม่รุนแรงสามารถรับประทานอาหารได้ แนะนําให้รับประทานอาหารที่ช่วยทดแทน
เกลือแร่ เช่น น้ําตะไคร้ น้ําใบเตย น้ําผลไม้
อาหารที่มีโปแทสเซียม เช่น กล้วย แคนตาลูป สัปปะรด และผักใบเขียว
อาหารที่มีแมกนีเซียม เช่น ผัก ถั่วชนิดต่างๆ เป็นต้น
หากอาการรุนแรงมาก
ควรงดอาหารและน้ําทางปาก และรีบแก้ไขภาวะขาดน้ํา ความไม่สมดุล ของเกลือแร่ และความเป็นกรด-ด่างของเลือด
การรักษาด้วยยา
4.1 ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ได้แก่ Metoclopramide 5-10 mg. Promethazine 12.5–25 mg.(IM)
4.2 วิตามิน ได้แก่ วิตามินบี 6 (Pyridoxine) 10-25 mg. โดยขนาดสูงสุดในสตรีตั้งครรภ์ไม่ควรเกิน 200 mg/วัน
4.3 ยาคลายกังวล และยานอนหลับ ได้แก่ Diazepam 2 mg. หรือ Diazepam 5 mg.
เมื่ออาการแพ้ท้องรุนแรงดีขึ้น ให้คําแนะนํา
5.1ให้รับประทานอาหารอ่อนครงั้ละน้อยแต่บ่อยครั้ง
ทานอาหารที่มีโปรตีนสูง หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด อาหารมัน อาหารที่มีกลิ่นทําให้คลื่นไส้ อาเจียน
5.2 รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของขิงสามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้ เช่น น้ําขิง ลูกอมรสขิง
หลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อม และสิ่งกระตุ้นที่ทําให้คลื่นไส้อาเจียน เช่น กลิ่น ความร้อน ความชื้น เสียงดัง แสงไฟกะพริบ
กรณีที่รักษาด้วยวิธีต่างๆ แล้วอาการไม่ดีขึ้น จะต้องทําการวินิจฉัยเพื่อค้นหาสาเหตุของโรคที่แท้จริง เพื่อทําการรักษาอย่างเหมาะสม
การพยาบาล
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก
1.1 อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าใจถึงสาเหตุและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
1.2 แนะนําวิธีการป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียน
การรับประทานอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง ไม่ควรให้กระเพาะอาหารว่าง
งดอาหารไขมัน เพราะย่อยยากทําให้คลื่นไส้
ควรรับประทานอาหารแข็งย่อยง่าย เช่น ขนมปังปิ้ง เพื่อลดการอาเจียน
ไม่ควรดื่มพร้อมรับประทานอาหาร เพราะจะทําให้กระเพาะอาหารยืดขยายมาก และกระตุ้นการอาเจียน
หลังรับประทานอาหารไม่ควรนอนทันที เพื่อป้องกันการไหลท้นกลับของน้ําย่อย
ดูแลความสะอาดของปากและฟัน บ้วนปากบ่อยๆ ไม่ควรให้ปากแห้งแตกและ สกปรก เพราะจะทําให้คลื่นไส้ อาเจียน และไม่อยากรับประทานอาหาร ไม่ควรแปรงฟันทันทีหลัง อาหาร
แนะนําการพักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากการนอนไม่เพียงพออาจ เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะอาเจียนอย่างรุนแรง
หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดและอาหารที่มีกลิ่นแรง
1.3 แนะนําให้จิบเครื่องดื่มอุ่นๆ เช่น น้ําขิง เป็นต้น เพื่อได้รับน้ําและเกลือแร่เพียงพอ เครื่องดื่มอุ่นจะช่วยลดการบีบตัวของกระเพาะอาหาร
ทําให้ไม่เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
1.4 รับประทานอาหารแข็งที่ย่อยง่าย เพื่อให้กระเพาะอาหารเก็บอาหารได้นานขึ้น เช่น ขนม ปังกรอบ ขนมปังปิ้ง
1.5 แนะนําให้รับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว เช่น น้ําหวาน นม น้ําผลไม้ เป็นต้น
1.6 แนะนําให้รับประทานผลไม้ เช่น ลูกพรุน มะละกอสุก ส้ม กล้วย แคนตาลูป เป็นต้น เพื่อเพิ่มโพแทสเซียม
1.7 แนะนําวิธีการรับประทานยาแก้อาเจียนตามแผนการรักษา โดยควรรับประทานก่อนอาหารประมาณ 30 นาที
1.8 สอนวิธีการประเมินโภชนาการ การคํานวณ พลังงานที่ได้รับจากอาหารที่บริโภค และ การชั่งน้ําหนัก
1.9 ให้คําปรึกษาในการปรับแบบแผนการรับประทานอาหารเพื่อให้ได้พลังงานและสารอาหารที่เพียงพอ
1.10 ช่วยประคับประคองด้านจิตหรือช่วยให้สตรีตั้งครรภ์ปรับตัวกับปัญหาได้อย่างเหมาะสม
1.11 แนะนําให้มาพบแพทย์เมื่อมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากขึ้น
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
2.1 ดูแลให้NPOอย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง
เพราะเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
2.2 หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เช่น กลิ่น อาหารมัน อาหารรสจัด เสียงดัง
2.3 ดูแลความสะอาดของช่องปากและฟัน ขณะที่ NPO หรือหลังจากอาเจียน เพราะปากและฟันที่ไม่สะอาดจะทําให้คลื่นไส้ อาเจียน และไม่อยากรับประทานอาหาร
2.4 ดูแลให้ได้รับสารน้ําทางหลอดเลือดดํา เพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ํา
2.5 ดูแลให้ยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ตามแผนการรักษา
2.6 บันทึกปริมาณสารน้ําเข้าออกจากร่างกาย โดยเฉพาะ urine output ไม่ควรน้อยกว่า 1,000 ml. ต่อวัน หากมีภาวะขาดน้ํารุนแรง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการ ทํางานของไต
2.7 จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด เงียบสงบ เหมาะแก่การพักผ่อน เนื่องจากการนอนไม่เพียงพอ อาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะอาเจียนรุนแรง
2.8 เมื่ออาการดีขึ้น ให้เริ่มรับประทานอาหารมื้อละน้อยแต่บ่อยครั้ง โดยเริ่มจากอาหารแข็ง ย่อยง่าย มีคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนสูง
2.9 ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก จําเป็นต้องให้อาหารทางสายยาง หรือให้สารอาหารทดแทน ทางหลอดเลือดดํา โดยเป็นอาหารเหลวที่มีแคลอรี่และวิตามินสูง
2.10 ติดตามชั่งน้ําหนัก เพื่อประเมินว่าได้รับสารน้ําและสารอาหารเพียงพอหรือไม่
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์เมื่อกลับไปอยู่บ้าน
3.1 แนะนํารับประทานอาหารครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้ง
เป็นอาหารที่ย่อยง่ายหรือมีโปรตีนสูงหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันมาก รสเผ็ด หรือมีกลิ่นแรง ไม่ควรนอนทันทีหลังจากรับประทานอาหารแล้ว
3.2 แนะนําให้ดื่มน้ําอุ่นทันที่ตื่นนอนประมาณครึ่งแก้ว แล้วนอนต่ออีกประมาณ 15 นาที ก่อนที่จะลุกพื่อไม่ให้ท้องว่างซึ่งและควรดื่มน้ําหรือเครื่องดื่มต่างๆ ระหว่างมื้ออาหาร เพื่อป้องกันภาวะสูญเสียน้ํา
3.3 แนะนําให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อให้ร่างกายผ่อนคลาย
อย่างน้อย 8 ชั่วโมงในเวลากลางคืนและกลางวัน 1 ชั่วโมง
3.4 แนะนําการออกกําลังกายหรือกายบริหารเบาๆ เพื่อให้ผ่อนคลาย
3.5 อธิบายให้คู่สมรสและครอบครัวเข้าใจถึงภาวะที่เกิดขึ้น และควรให้การช่วยเหลือสตรี ตั้งครรภ์อย่างใกล้ชิด
3.7 แนะนําให้เห็นความสําคัญของการมาตรวจตามนัดและสังเกตอาการ ผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ก่อนวันนัด