Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แผนพัฒนาการศึกษา - Coggle Diagram
แผนพัฒนาการศึกษา
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 12
(พ.ศ.2560 – 2564)
ความหมาย
แผนกำหนดทิศทาง และขอบเขตในการพัฒนาการศึกษาของชาติ ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มักกำหนดเป็นแผนระยะปานกลาง 5 ปี
วิสัยทัศน์
มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้คู่คุณ ธรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขในสังคม
พันธกิจ
เสริมสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาของประชาชนอย่างทั่วถึง เท่าเทียม
ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ/ประเภทสู่สากล
พัฒนาระบบบริหารจัดการการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล
หลักการ
รัฐจะกำหนดกรอบทิศทางการพัฒนากำลังคน
หลักสูตร กระบวนการจัด การเรียนการสอนต้องมีความยืดหยุ่นหลากหลาย
สถานศึกษาต้องบริหารและจัดการที่แสดงความรับผิดชอบ (Accountability) ต่อคุณภาพและมาตรฐานของบริการการศึกษาที่ให้แก่ ผู้เรียน
ทุกภาคส่วนของสังคมต้องมีส่วนร่วมระดมทุน และร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา
รัฐพึงปฏิบัติต่อสถานศึกษาภายใต้กฎกติกา ระเบียบ วิธีปฏิบัติ ที่เป็นมาตรฐาน เดียวกัน
แยกบทบาท อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของรัฐ
รัฐจะประกันโอกาสและความเสมอภาค ในการเข้าถึงบริการการศึกษา
1.รัฐมีหน้าที่จัดการให้พลเมืองทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
เป้าหมายหลัก
คุณภาพการศึกษาของไทยดีขึ้น คนไทยมีคุณธรรมจริยธรรม มีภูมิคุ้มกันต่อการ เปลี่ยนแปลงและการพัฒนาประเทศในอนาคต
2.กำลังคนได้รับการผลิตและพัฒนา เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของประเทศ
3.มีองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม สนับสนุนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
4.คนไทยได้รับโอกาสในเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
5.ระบบบริหารจัดการการศึกษามีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล โดยการมีส่วนร่วม จากทุกภาคส่วน
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
ยุทธศาสตร์ผลิต พัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
ยุทธศาสตร์ผลิตและพัฒนากำลังคน รวมทั้งงานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของ การพัฒนาประเทศ
ยุทธศาสตร์ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษา และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต
ยุทธศาสตร์ส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา
ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
กลไกในการผลักดัน
กระทรวงศึกษาธิการยึดสาระสำคัญมาใช้วิเคราะห์กำหนดการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี
สำนักงานศึกษาธิการภาค/จังหวัด ยึดสาระสำคัญในการใช้เป็นกรอบทิศทางในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญในการใช้เป็นกรอบทิศทางในการบริหารงาน
หน่วยงานส่วนกลางยึดสาระ
สำคัญมาใช้วิเคราะห์กำหนดโครงการในแต่ละปี
แนวทางในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
กำหนดมาตรฐานหลักสูตร วิจัยและพัฒนาหลักสูตร ปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอน ลดวิชาเรียนในชั้นเรียนและบูรณาการวิชาเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีเวลาพัฒนาทักษะการเรียนรู้นอกห้องเรียนให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละระดับช่วงชั้น ออกแบบ วิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย เหมาะสมกับศักยภาพผู้เรียน ส่งเสริมการพัฒนาการดำเนินชีวิตและจิตอาสา ต่อการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติ
กำหนดหลักเกณฑ์ คุณสมบัติของสถาบันการศึกษา ให้สถาบันผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษาในสาขาเฉพาะทางให้มีคุณภาพ มีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องระบบหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ตามหลักสูตรที่กำหนด พัฒนาครูให้มีศักยภาพในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย เหมาะสมกับการพัฒนาผู้เรียน และมีการนำไปใช้อย่างจริงจัง นิเทศติดตาม กำกับ และประเมินผล ภายหลังจากที่มีการพัฒนาครูอย่างเป็นระบบ
ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถ เลือกอาชีพได้ก่อนเลือกวิชาเรียน เพิ่มขีดความสามารถและทักษะการทำงานของประชากรวัยแรงงานร่วมกับผู้ประกอบการ วิจัยและพัฒนาระบบข้อมูลด้านการศึกษา สนับสนุนให้สถาบันอาชีวศึกษาสามารถจ้างผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์ จากสถานประกอบการเข้ามาเป็นอาจารย์ผู้สอนให้มากขึ้น
พัฒนาโรงเรียนให้มีห้องเรียนที่เพียงพอ มีครูครบชั้น มีสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนที่ครบครัน มีโรงอาหารที่ถูกสุขลักษณะ มีบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ พัฒนาระบบจัดสรรทุนการศึกษาให้เพียงพอ และเหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน สนับสนุนค่าใช้จ่ายและปัจจัยพื้นฐานให้เพียงพอกับความต้องการจำเป็นของ สถานศึกษาที่มีความขาดแคลน ส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนจัดแหล่งเรียนรู้ทั้งในพื้นที่ตามภูมิภาคต่างๆ
พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีเครือข่ายเรียนรู้ทางการศึกษาทั้งระบบ ให้ครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่ สนับสนุนทรัพยากรให้โรงเรียนที่ขาดแคลนได้รับอุปกรณ์เครื่องมือ Hardware และ Software ที่ทันสมัยมารองรับการศึกษาทางไกล จัดระบบการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต พัฒนาห้องสมุดอิเลคทรอนิกส์ (e – Library) ให้ได้มาตรฐาน เพื่อการเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิต
เน้นการกำกับดูแลการอำนวยการ และการให้คำแนะนำแก่หน่วยงานสังกัดกระทรวงในส่วนภูมิภาค /จังหวัด ปรับปรุงกฎหมาย กฎกระทรวง กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้มีความทันสมัย เหมาะสม เอื้อต่อการปฏิบัติงาน พัฒนากลไกการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาไปยังสถานศึกษาตามความต้องการจำเป็นและสภาพปัญหาที่แท้จริง วิจัยและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการศึกษา
การประเมินแผนพัฒนาการศึกษาฯ
ติดตามประเมินผลตามตัวชี้วัดที่สะท้อนความก้าวหน้าของผลผลิตและผลลัพธ์ในการดำเนินการ จากนั้นนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายตามตัวชี้วัดจะสามารถบ่งชี้ ระดับการพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการได้อย่างชัดเจน เพื่อการพิจารณาทบทวน ปรับปรุงยุทธศาสตร์ กลยุทธ์/แนวทางการ ดำเนินงานให้มี ความเหมาะสม ที่สำคัญคือผลการประเมินฯ ยังเป็นข้อมูลในการใช้วิเคราะห์ปรับปรุง แผนพัฒนาการศึกษาฯ ตามบริบทที่อาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
แผนการศึกษาชาติพุทธศักราช 2475
ในแผนการศึกษาฉบับนี้เน้นให้การศึกษา 3 ส่วน คือ จริยศึกษา เป็นการอบรมศีลธรรมอันดีงาม พุทธิ ศึกษา ให้ปัญญาความรู้ และพลศึกษา เป็นการฝึกหัดให้เป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์
แผนการศึกษาชาติพุทธศักราช 2479
ในสมัย พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรีแผนการศึกษาฉบับนี้ ได้ปรับปรุงมาจากแผน ปี พ.ศ.2475 เนื่องจากว่าแผนการศึกษาฉบับปี2475 นั้นมีระยะเวลาในการศึกษา สามัญยาวเกินสมควร คือต้องเรียนสายสามัญ 12 ปีและยังต้องเข้าเรียนต่อสายวิสามัญอีก แผนการ ศึกษา 2479 นี้กำหนดระยะเวลาของการเรียนชั้นประถมศึกษาเพียง 4 ปี ทั้งนี้เป็นเพราะต้องการเร่งรัดให้ ประชาชนสำเร็จการศึกษาภาคบังคับถึงกึ่งหนึ่งโดย เร็วโดยปรับปรุงให้เหมาะสมกับกาลสมัยมากขึ้น แต่ยังคง เน้นให้การศึกษาทั้ง 3 ด้าน
แผนการศึกษาชาติพุทธศักราช 2494
ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ในแผนนี้ได้เพิ่ม หัตถกรรม คือการฝึกหัดอาชีพ และการประกอบอาชีพเข้ามาอีกรวมเป็น 4 ส่วน จึงเป็นองค์สี่แห่งการศึกษาคือ พุทธิศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา และหัตถศึกษา (ได้อิทธิพลปรัชญาการศึกษาแบบอเมริกัน) และได้มีการกล่าวถึงการศึกษาพิเศษและ การศึกษาผู้ใหญ่ด้วย แผนการศึกษาฉบับนี้ได้ยกฐานะกองโรงเรียนประชาบาลในกรมสามัญศึกษาขึ้นเป็นกรม ประชาศึกษา เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาพิเศษ นอกจากนี้ยังมีความพยายามขยาย การศึกษาภาคบังคับเป็น 7 ปีอีกด้วย
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 – 2509)
ได้เน้นหนักด้านการเร่งรัดพัฒนาการศึกษาในทุกๆด้าน ทั้งด้านอาชีวศึกษา ซึ่งประเทศไทยยังขาดผู้มี ความรู้ระดับกลาง และขาดกำลังคนในสาขาวิชาต่างๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ แพทยศาสตร์และ สถาปัตยกรรมศาสตร์ เน้นการพัฒนาการศึกษาภาคบังคับให้แก่ประชาชน สร้างกำลังแรงงานในสายอาชีพ เน้นการผลิตครู อาจารย์ จะเห็นได้ว่าหลักสำคัญในแผนฯ ฉบับนี้จะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนอย่างทั่วถึง
แผนการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2503
สมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นนายกรัฐมนตรี แผนนี้ได้นำเอาแผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2494 มา ปรับปรุงใหม่ เพื่อสนองความต้องการของสังคมและบุคคล โดยให้สอดคล้องกับการปกครองประเทศ แผนนี้ร่างโดยคณะกรรมการ 77 คนจากหลายสาขาอาชีพโดยมี หม่อมหลวง ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาในขณะนั้นเป็นประธาน จากแผนฯนี้ได้ขยายการศึกษาภาคบังคับเป็น 7 ปี จัดเน้นให้การศึกษา 4 ส่วน และได้จัดระบบการศึกษา เป็น 7:3:2 (ประถม 7 ปี (ศึกษาภาคบังคับ) มัธยมต้น 3 ปี มัธยมปลาย 2 ปี) แผนนี้ มีอายุการใช้ยาวนานที่สุดถึง 16 ปี
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510 – 2514)
มุ่งที่จะแก้ไขปัญหาการศึกษา เนื่องจากผลการประเมินแผนฯ ด้าน การศึกษาที่ผ่านมา (แผนการศึกษาที่ 1) พบว่า ยังมีเยาวชนอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่มีโอกาสเข้ารับการศึกษา ส่วนการผลิตกำลังคนออกมาจากสถาบันอุดมศึกษา ก็ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม แผนนี้ มุ่งปรับปรุงคุณภาพการศึกษา ทั้งในเรื่องหลักสูตร แบบเรียน อาคารเรียน คุณวุฒิครู ส่งเสริม การศึกษาในโรงเรียนราษฎร์ มุ่งเน้นคุณภาพการศึกษา และประเด็นสำคัญคือ การจัดการศึกษาต้องสอดคล้อง กับความต้องการกำลังคน
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 – 2529)
เน้นเร่งรัดพัฒนาการศึกษาทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ มุ่งเสริมสร้างบุคคลให้มีความรู้ ความคิด และความสามารถในการประกอบอาชีพ มีจริยธรรม คุณธรรม ตลอดจนมีพลานามัยสมบูรณ์
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 – 2524)
ได้ยึดถือเอาความมั่นคงปลอดภัยของชาติเป็นหลักเบื้องต้นในการพัฒนา เพราะมีการเปลี่ยนแปลงทาง การเมือง เศรษฐกิจ สังคมของประเทศอย่างมาก ดังนั้น นโยบายการจัดการศึกษาจึงต้องมุ่งสร้างความเป็นธรรมในสังคม ลดความเหลื่อมล้ำของบุคคล ในทางเศรษฐกิจ
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515 – 2519)
ได้มุ่งเน้นการปรับปรุงคุณภาพและการขยายปริมาณการศึกษา ตลอดจนการผลิตกำลังคนระดับต่างๆ ให้สนองความต้องการของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งแผนพัฒนาการศึกษาฉบับนี้ มุ่งพัฒนาจากแผนการศึกษา 2 เนื่องจากการดำเนินการยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ดังนั้นในแผนพัฒนาการศึกษานี้จึงมุ่งแก้ไขปัญหาจากแผนพัฒนาการศึกษาที่ 2 โดยจัดการศึกษาอย่าง ประหยัด และเกิดประโยชน์มากที่สุด ให้มีการประสานงานกันระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาต่างๆ และ จะต้องสอดคล้องกับความต้องการทางเศรษฐกิจและสังคมด้วย เน้นหนักในการพัฒนาการศึกษาทุกประเภท ทุกระดับ
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530 – 2534)
มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคคลให้มีความรู้ ความคิด คุณธรรม พลานามัยที่สมบูรณ์ มีทักษะในการ ประกอบอาชีพ เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม และเป็นกำลังในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ มีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาในด้านต่างๆไว้อย่าง มากมาย ได้แก่ การศึกษาเพื่อชีวิตและพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ความเสมอภาคทางการศึกษา การศึกษา ตลอดชีวิต คุณภาพการศึกษา การบริหารการศึกษา การศึกษาเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี การศึกษากับการวิจัย การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการบริการทางวิชาการ
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 – 2539)
เน้นให้พลเมืองมีคุณธรรม จริยธรรม ปัญญา และมีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ มีความรู้และทักษะใน การประกอบอาชีพ สามารถพึ่งตนเองและดำรงชีวิตได้อย่างเป็นสุขภายใต้การปกครองตามระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เป็นการดำเนินการตามแผนพัฒนาการศึกษา 6 เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการพัฒนามากขึ้น ในแผนนี้จะเน้นการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากร การประกอบอาชีพ ต่างๆ เน้นการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ การศึกษาเพื่ออาชีพ รวมไปถึงระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาด้วย
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 – 2544)
แผนพัฒนาการศึกษานี้จุดเน้นไม่ต่างจากแผนที่ 6-7 นัก แต่มีข้อแตกต่างคือ การเน้นสร้าง ความก้าวหน้าและมั่นคงของเศรษฐกิจไทยในประชาคมโลกบนฐานแห่งความเป็นไทย
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549)
มุ่งเน้นให้ผู้เรียน เก่ง ดี มีสุข โดยพัฒนาคนอย่างรอบด้าน สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรมภูมิปัญญา และการเรียนรู้ พัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคม
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2552 – 2559)
ยึดหลักปรัชญาพอเพียง ยึดทางสายกลางอยู่บนพื้นฐานของ ความสมดุล พอดี รู้จักพอประมาณ มีความรอบรู้เท่าทันโลก เพื่อมุ่งให้เกิดการพัฒนาที่ ยั่งยืน ความเสมอภาคทางการศึกษา โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รับ การศึกษาอย่างทั่วถึง แต่มาถึงแผนพัฒนาการศึกษาฉบับที่ 6 เป็นต้นมา จะเน้นการเสริมสร้างอาชีพมากขึ้น โดยจะเห็นได้ว่า เน้นการนำความรู้ไปใช้มากกว่าการที่เรียนเพื่อรู้อย่างเดียว หากแต่ต้องเป็นการเรียนรู้ เพื่อ นำไปใช้ชีวิต เพื่อนำไปประกอบอาชีพได้ด้วย
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 11 ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552 – 2559)
ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงยึดทางสายกลางอยู่บนพื้นฐานของความสมดุลพอ ดี รู้จักพอประมาณ อย่างมีเหตุผล มีความรอบรู้เท่า ทันโลก มุ่งให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย พัฒนาคนอย่างรอบด้าน และสมดุล สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม พัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคม เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน และสร้างสังคม แผนนี้ ให้ความสำคัญต่อประชาคมอาเซียนมาก วิชาชีพที่สามารถเคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรี ตามกรอบความร่วมมือของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มี 7 สาขา คือ วิศวกรรม พยาบาล สถาปัตยกรรม ช่างสำรวจ แพทย์ ทันตแพทย์ และนักบัญชี และกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการรับรอง สาขาบริการท่องเที่ยว