Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
4.1 ภาวะอาเจียนอย่างรุนแรง( Hyperemesis gravidarum) - Coggle Diagram
4.1 ภาวะอาเจียนอย่างรุนแรง( Hyperemesis gravidarum)
สาเหตุ
ด้านมารดา
มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง หรือมีระดับ human chorinonic gonadotropin เพิ่มมากกว่าปกติ
มีประวัติการแพ้ท้องอย่างรุนแรงในครรภ์ก่อน
มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่เหมาะสมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์
กระเพาะอาหารมีการเคลื่อนไหวลดลง
มีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
ความเครียด ความวิตกกังวล
ด้านทารก
ทารกมีความผิดปกติเกี่ยวกับโครโมโซม triploidy, trisomy 21
ทารกบวมน้ำ (hydrops fetalis)
ผลกระทบ
ต่อทารกในครรภ์
IUGR
Abortion
เกิดภาวะ Wernicke's encephalopathy
คลอดก่อนกำหนด
Low birth weight
ทารกอาจตายคลอด
ทารกพิการ
ต่อมารดา
เกิดภาวะความเป็นกรดในร่างกาย เกิดภาวะกรดในกระแสเลือด
เกิดการขาดน้ำทําให้อุณหภูมิสูงขึ้นชีพจรเบาเร็วและความดันโลหิตต่ำลง
ถ้ามีอาการรุนแรงมากร่างกายเสียสมดุลของอิเลคโตรลัยท์เกิดภาวะhypokalemia, alkalosis กล้ามเนื้ออ่อนแรง
เกิดภาวะขาดสารอาหารมีผลกระทบต่อตับค่าSGOT เพิ่มขึ้นมีอาการของการขาดวิตามิน ทําให้ซึมและหมดสติและอาจเสียชีวิตได้จากภาวะhepatic coma
แนวทางการรักษา
หากอาการไม่รุนแรงสามารถรับประทานอาหารได้แนะนําให้รับประทานอาหารที่ช่วยทดแทนเกลือแร่ที่สูญเสียไปกับการอาเจียน
การรักษาด้วยยา
วิตามิน ได้แก่ วิตามินบี 6 (Pyridoxine) 10-25 mg. 1 เม็ด รับประทาน 3-4 ครั้งต่อวัน
ยาคลายกังวล และยานอนหลับ ได้แก่Diazepam 2 mg. 1 เม็ด ครั้งต่อวันรับประทาน 2 ครั้งต่อวัน และ/หรือ Diazepam 5 mg. 1 เม็ด รับประทานก่อนนอน
ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ได้แก่ Metoclopramide 5-10 mg. ฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อทุก 6-8 ชั่วโมง หรือให้ยา Promethazine 12.5–25 mg. ฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อทุก 4-5 ชั่วโมง
หลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อม และสิ่งกระตุ้นที่ทําให้คลื่นไส้อาเจียน เ
เมื่ออาการแพ้ท้องรุนแรงดีขึ้น
ให้รับประทานอาหารอ่อนครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้งทุก 2-3 ชั่วโมง ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ขนมปังกรอบ
รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของขิงสามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้
กรณีที่รักษาด้วยวิธีต่างๆ แล้วอาการไม่ดีขึ้น จะต้องทําการวินิจฉัยเพื่อค้นหาสาเหตุของโรคที่แท้จริง
หากอาการรุนแรงมาก ควรงดอาหารและน้ำทางปากโดยการให้สารน้ําทางหลอดเลือดดํา 5% D/NSS 1,000 ml. ทางหลอดเลือดดํา
วินิจฉัยแยกโรคเช่นโรคตับอักเสบโรคกระเพาะอาหารลําไส้อักเสบไส้ติ่งอักเสบครรภ์ไข่ปลาอุก
การพยาบาล
เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
NPO อย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง เพราะเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด เงียบสงบ เหมาะแก่การพักผ่อน
ปรึกษาและส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คําปรึกษา เพื่อแก้ไขปัญหาด้านจิตใจที่อาจส่งผลให้เกิดอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง
เมื่ออาการดีขึ้น ให้เริ่มรับประทานอาหารมื้อละน้อยแต่บ่อยครั้ง
บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าออกจากร่างกาย โดยเฉพาะ urine output ไม่ควรน้อยกว่า 1,000 ml. ต่อวัน
รายที่มีอาการรุนแรงมาก จําเป็นต้องให้อาหารทางสายยาง หรือให้สารอาหารทดแทนทางหลอดเลือดดํา
ดูแลให้ยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียน
ติดตามชั่งน้ำหนัก เพื่อประเมินว่าได้รับสารน้ำและสารอาหารเพียงพอหรือไม่
ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดํา เพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำ โดยดูแลให้ได้รับสารน้ำทดแทนประมาณ 3,000 ml. ใน 24 ชั่วโมง
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ดูแลความสะอาดของช่องปากและฟัน
ดูแลด้านจิตใจโดยการอยู่เป็นเพื่อน ให้กําลังใจ เปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย
หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
เมื่อกลับไปอยู่บ้าน
แนะนําการออกกําลังกายหรือกายบริหารเบาๆ อย่างสม่ำเสมอ
อธิบายให้คู่สมรสและครอบครัวเข้าใจถึงภาวะที่เกิดขึ้น และควรให้การช่วยเหลือสตรีตั้งครรภ์อย่างใกล้ชิด
แนะนําให้หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เกิดความเครียด ทําจิตใจให้สบาย และใช้เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ฝึกการหายใจอย่างถูกวิธี
แนะนําให้เห็นความสําคัญของการมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ และสังเกตอาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ก่อนวันนัด
แนะนําให้ดื่มน้ำอุ่นทันที่ตื่นนอนประมาณครึ่งแก้ว แล้วนอนต่ออีกประมาณ 15 นาที ก่อนที่จะลุกขึ้นปฏิบัติกิจวัตรประจําวัน
แนะนําให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อให้ร่างกายผ่อนคลาย อย่างน้อย 8 ชั่วโมงในเวลากลางคืน และกลางวันอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
แนะนําการรับประทานอาหาร โดยปรับเปลี่ยนแบบแผนการรับประทานอาหารครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้ง เป็นอาหารที่ย่อยง่าย หรือมีโปรตีนสูง
ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าใจถึงภาวะการเกิดภาวะอาเจียนอย่างรุนแรง
ลดอาหารไขมัน เพราะย่อยยาก
ดูแลความสะอาดของช่องปาก
พักผ่อนให้เพียงพอ
ไม่นอนทันทีหลังรับประทานอาหารเสร็จ
รับประทานอาหารแข็งย่อยง่าย เช่น แครกเกอร์
รับประทานน้อยบ่อยครั้ง
ดื่มน้ำระหว่างมื้อ
แนะะนำให้ดื่มน้ำขิง
หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดกลิ่นแรง
อาการและอาการแสดง
มีอาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรงเป็นระยะเวลานานอาจตลอดทั้งวัน
หากอาการอาเจียนไม่รุนแรงมากสามารถทํากิจวัตรประจําวันได้ตามปกติ
หากอาการอาเจียนรุนแรงมากขึ้น
ขาดสารอาหาร และน้ำหนักลดลงมาก
เกิดความไม่สมดุลของร่างกาย เกิดภาวะ acidosis และ alkalosis และความไม่สมดุลของเกลือแร่ (electrolyte imbalance)
อาการแสดงของภาวะขาดสารน้ำ (dehydration) เช่น อ่อนเพลียทํากิจวัตรประจําวันไม่ได้ริมฝีปากแห้ง ตาโหลลึก ผิวหนังแห้งขาดความชุ่มชื้น
มีอาการแสดงของกลุ่มอาการ Wenicke’s encephalopathy
ลมหายใจมีกลิ่นอะซิโตน (acetone)
หากไม่ได้รับการรักษาจะทําให้ขาดสารอาหารอย่างรุนแรงตามองเห็นภาพไม่ชัดและอาจทําให้เสียชีวิตได้
ความเครียด ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า
การวินิจฉัย
ซักประวัติ
ตรวจร่างกาย
Signs & Symtoms : อาเจียนรุนแรง dehydration BW สภาพจิตใจ
LAB
Blood
BUN สูง
ฮีมาโตคริตสูง
โซเดียมต่ำ
คลอไรด์ต่ํา
โปแตสเซียมต่ํา
SGOT สูง
โปรตีนในเลือดต่ำ
Urine
มีความถ่วงจําเพาะสูง
ไข่ขาวในปัสสาวะเพิ่มขึ้น
พบคีโตนในปัสสาวะ
อาการรุนแรงมากอาจพบน้ำดีในปัสสาวะได้
การตรวจพิเศษ
ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
การเจาะตรวจน้ำคร่ำ