Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วัยเด็กตอนปลาย, นางสาวสุปรีญา บุญประดิษฐ เลขที่ 127 รหัสนักศึกษา…
วัยเด็กตอนปลาย
พัฒนาการด้านจริยธรรม
ใช้หลักการแสวงหารางวัล (Naively Egoistic Orientation) เกิดกับเด็กในช่วง อายุ7-10 ปีขั้นนี้เด็กจะค่อย ๆ เน้นความสำคัญของการได้รับรางวัลและคำชมเชย การสัญญาว่าจะให้รางวัลจึงเป็นแรงจูงใจให้เด็กกระทำความดีได้มากกว่าการดุว่าหรือขู่ว่าจะลงโทษ
ใช้หลักการกระทำที่คนอื่นเห็นว่าดี(Good-boy Orientation) เกิดกับบุคคลในช่วงอายุ10-13 ปีขั้นนี้ตรงกับวัยที่เด็กย่างเข้าวัยรุ่น เด็กจะให้ความสำคัญแก่กลุ่มเพื่อนมาก จะกระทำเพื่อต้องการให้กลุ่มยอมรับจึงมีการเลียนแบบตัวแบบที่ตนเห็นว่าดี คือ เอาอย่างเด็กดี(Good Boy,Nice Girl) เด็กวัยนี้ส่วนใหญ่จะทำตามในสิ่งที่ตนตัดสินว่าคนอื่นจะเห็นด้วยหรือยอมรับ เพื่อให้เป็นที่ชอบพอและเป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อน
การส่งเสริมพัฒนาการ
ส่งเสริมให้เด็กได้รับการเรียนรู้ และการฝึกฝนทักษะการมีสัมพันธภาพที่ดีกับกลุ่มเพื่อนและกลุ่มบุคคลรอบข้างในชีวิตประจำวัน
พัฒนาการด้านร่างกาย
เด็กในช่วงวัยนี้เจริญเติบโตในอัตราที่ช้ากว่าช่วงวัยเด็กตอนต้น น้ำหนักเพิ่มขึ้น 3-3.5 กิโลกรัมต่อปี ส่วนสูงเพิ่มขึ้น 6-7 เซนติเมตรต่อปี รอบศีรษะเพิ่มขึ้น 2-3 เซนติเมตรตลอดทั้งช่วงอายุ 6-10 ปีฟันน้ำนมเริ่มหลุดเมื่ออายุประมาณ 6 ปี การเคลื่อนไหวโดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ การทรงตัว การใช้สายตา และมือประสานกันทำกิจกรรมต่างๆ มีความคล่องแคล่ว แม่นยำมากขึ้น เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางเพศ โดยเฉพาะเพศหญิงอาจมีการเข้าสู่วัยสาวที่อายุ 7-8 ปี
การส่งเสริมพัฒนาการ
เด็กควรได้รับอาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่ เพื่อให้มีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ อย่างไรก็ตามควรระวังทั้งการขาดสารอาหารและโรคอ้วน ควรดื่มนมรสจืดหรือนมพร่องไขมัน วันละ 2-3 แก้ว และควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มรสหวานหรือน้ำอัดลม
ควรปลูกฝังให้เด็กมีนิสัยการกินที่ถูกต้อง เช่น รับประทานอาหารมื้อเช้าไม่รับประทานจุกจิกเด็กวัยนี้สามารถซื้ออาหารได้เอง ผู้เลี้ยงดูควรเป็นตัวอย่างที่ดีในการรับประทานอาหารและเลือกซื้ออาหาร
-
ควรกำหนดเวลาการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์นอกเหนือจากใช้เพื่อการศึกษาไม่เกิน 1-2 ชั่วโมงต่อวัน ไม่ควรใช้ขณะรับประทานอาหาร และก่อนเข้านอน
พัฒนาการด้านสติปัญญา
ข้ันการคิดอย่างมีเหตุผลเชิงรูปธรรม (Concrete Operational Stage)พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กวัยนี้เด็กสามารถใช้สมองคิดอย่างมีเหตุผลแต่กระบวนการคิดและการใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหายังต้องอาศัยสิ่งที่เป็นรูปธรรมกล่าวคือจะต้องเป็นวัตถุหรือเหตุการณ์ที่เด็กได้พบจริงๆ เด็กวัยนี้สามารถเข้าใจถึงเรื่องความคงที่ของปริมาณ (Conservation of Quantity) ได้แล้ว จุดเด่นของเด็กในวัยนี้คือเด็กเริ่มมีเหตุผล สามารถคิดกลับไปกลับมา (Reversibility) เด็กเริ่มมองเห็นเหตุการณ์ที่จะนำมาใช้แบ่งสิ่งต่างๆ ให้เป็นกลุ่มหรือเป็นหมวดหมู่ได้
การส่งเสริมพัฒนาการ
ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ฝึกให้เด็กแก้ปัญหาด้วยตนเอง ส่งเสริมการอ่าน ค้นคว้าจากการไปศึกษานอกห้องเรียนหรือแหล่งความรู้ต่างๆ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
-
พัฒนาการด้านจิตสังคม
ระยะเข้าโรงเรียน (School period) อายุ 6-12 ปี : ขั้นเอาการเอางานกับความมีปมด้อย (Industry vs Inferiority) ระยะนี้เด็กเรียนรู้ที่จะสร้างสรรค์ มีความคิดและพยายามทำกิจกรรมด้วยตัวเอง หากได้รับการสนับสนุนก็ย่อมทำให้เด็กมีการพัฒนาบุคลิกภาพและมีความมานะเพียรพยายามที่จะแสวงหาสิ่งที่ท้าทายความสามารถ สติปัญญา
การส่งเสริมพัฒนาการ
ใช้หลักการกระทำที่คนอื่นเห็นว่าดี(Good-boy Orientation) เกิดกับบุคคลในช่วงอายุ10-13 ปีขั้นนี้ตรงกับวัยที่เด็กย่างเข้าวัยรุ่น เด็กจะให้ความสำคัญแก่กลุ่มเพื่อนมาก จะกระทำเพื่อต้องการให้กลุ่มยอมรับจึงมีการเลียนแบบตัวแบบที่ตนเห็นว่าดี คือ เอาอย่างเด็กดี(Good Boy,Nice Girl) เด็กวัยนี้ส่วนใหญ่จะทำตามในสิ่งที่ตนตัดสินว่าคนอื่นจะเห็นด้วยหรือยอมรับ เพื่อให้เป็นที่ชอบพอและเป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อน
ใช้หลักการแสวงหารางวัล (Naively Egoistic Orientation) เกิดกับเด็กในช่วง อายุ7-10 ปีขั้นนี้เด็กจะค่อย ๆ เน้นความสำคัญของการได้รับรางวัลและคำชมเชย การสัญญาว่าจะให้รางวัลจึงเป็นแรงจูงใจให้เด็กกระทำความดีได้มากกว่าการดุว่าหรือขู่ว่าจะลงโทษ
-