Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตในระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตในระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต
ภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต (Hypertensive crisis)
สาเหตุ
Acute or chronic renal disease
Exacerbation of chronic hypertension
การหยุดยาลดความดันโลหิตทันที (Sudden withdrawal of antihypertensive medications)
การใช้ยาบางชนิดที่มีผลทําให้ความดันโลหิตสูง
ยาคุมกำเนิด
ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
อาการและอาการแสดง
น้ำท่วมปอด (Pulmonary edema)
เจ็บแน่นหน้าอกแบบเฉียบพลัน/แบบไม่คงที่ (Unstable angina)
กล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial infarction)
hypertensive encephalopathy
การมองเห็นผิดปกติ
สับสน
ปวดศรีษะ
คลื่นไส้ อาเจียน
การพยาบาล
การรักษาด้วย short-acting intravenous antihypertensive agents
ช่วยเหลือผู้ป่วยในการทํากิจกรรม
การจัดท่านอนให้สุขสบาย
จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ
ประเมินและบันทึกการตอบสนองต่อยาโดยติดตามความดันโลหิตอย่างใกล้ชิด
ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการรักษาเพื่อควบคุมความดันโลหิต
เฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับอาการและอาการแสดงของระบบต่างๆ
cardiac
renal systems
neurologic
Atrial fibrillation (AF)
สาเหตุ
ภาวะหัวใจล้มเหลว
ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ (open heart surgery)
โรคหัวใจรูห์มาติก
hyperthyrodism
อาการและอาการแสดง
ใจสั่น
อ่อนเพลีย
เหนื่อยเวลาออกแรง
คลําชีพจรที่ข้อมือได้เบา
การพยาบาล
สังเกตอาการและอาการแสดงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน สมอง ปอด แขนและขา
3.ดูแลให้ได้รับยาควบคุมการเต้นของหัวใจ
digoxin
beta-blocker
amiodarone
ประเมินการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพและคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างต่อเนื่อง
4.ดูแลให้ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดตามแผนการรักษา
5.เตรียมผู้ป่วยและอุปกรณ์ในการทํา Cardioversion เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นในจังหวะปกติ
6.เตรียมผู้ป่วยในการจี้ด้วยคลื่นไฟฟ้าความถี่สูง(Radiofrequency Ablation) ในผู้ป่วยที่เป็น AF และไม่สามารถควบคุมด้วยยาได้
Ventricular fibrillation (VF)
สาเหตุ
Hydrogen ion (acidosis)
Hypokalemia
Hypoxia
Hyperkalemia
Hypovolemia
อาการและอาการแสดง
ไม่มีชีพจร
รูม่านตาขยาย เนื่องจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตออกมาได้
หมดสติ
เสียชีวิต
การพยาบาล
ติดตามผลข้างเคียงของยาที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยว่ามียาชนิดใดที่มีผลต่ออัตรา และจังหวะการเต้นของหัวใจ
ติดตามและบันทึกอาการแสดงของภาวะอวัยวะและเนื้อเยื่อได้รับเลือดไปเลี้ยง (Tissue perfusion) ลดลง
ระดับความรู้สึกตัวลดลง
ความดันโลหิตลดลง
สีของผิวหนังเขียว
ติดตามค่าเกลือแร่ในเลือด เพื่อหาสาเหตุนําของการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ติดตามและบันทึกการเปลี่ยนแปลงของ สัญญาณชีพ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ป้องกันภาวะ tissue hypoxia โดยให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา
Ventricular tachycardia (VT)
สาเหตุ
โรคหัวใจรูห์มาติก (Rheumatic heart disease)
พิษจากยาดิจิทัลลิส (Digitalis toxicity)
ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายบริเวณกว้าง (Myocardial infarction)
อาการและอาการแสดง
รู้สึกใจสั่น
ความดันโลหิตต่ำ
หน้ามืด
เจ็บหน้าอก
หายใจลำบาก
การพยาบาล
2.คลําชีพจร ประเมินสัญญาณชีพ ระดับความรู้สึกตัว เพื่อประเมินภาวะเลือดไปเลี้ยงสมอง และอวัยวะสําคัญลดลง
ร่วมกับแพทย์ในการดูแลให้ได้รับยาและแก้ไขสาเหตุหัวใจเต้นผิดจังหวะ
1.นําเครื่อง Defibrillator มาที่เตียงผู้ป่วยและรายงานแพทย์ทันที และเปิดหลอดเลือดดําเพื่อให้ยาและสารน้ำ
4.ในผู้ป่วยที่เกิด VT และคลําชีพจรได้รวมกับมีอาการของการไหลเวียนโลหิตในร่างกายลดลง
ในผู้ป่วยที่เกิด VT และคลําชีพจรไม่ได้ (Pulseless VT) ให้เตรียมเครื่องDefibrillatorเพื่อให้แพทย์ทําการช็อกไฟฟ้าหัวใจ
ให้ยา antidysrhythmia ตามแผนการรักษาและเตรียมอุปกรณ์สําหรับทํา synchronized cardioversion ในผู้ป่วยที่เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดไม่รุนแรง (Nonlethal dysrhythmias)
ทํา CPR ร่วมกับทีมรักษาผู้ป่วย ในกรณีเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรง (lethal dysrhythmias)
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตในระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต
ภาวะช็อก (Shock)
พยาธิสรีรวิทยา
ในภาวะปกติการไหลเวียนโลหิตและการนําออกซิเจนสู่เนื้อเยื่อส่วนปลาย(DO2) ที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านสรีรวิทยาของการไหลเวียนโลหิต และปริมาณของออกซิเจนในเลือด (Oxygen content, CaO2) โดยปัจจัยด้านสรีรวิทยาของการไหลเวียนโลหิตประกอบด้วย
ความดันโลหิต (Blood pressure: MAP)
ความต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลาย (Systemic vascular resistance, SVR) ปัจจัยด้านสรีรวิทยายังหมายรวมถึง
ความสามารถของการบีบตัวของหัวใจ (Ejection fraction, EF หรือ contractility)
ปริมาณเลือดในหัวใจในช่วงคลายตัว (End diastolic volume, EDV) และ
อัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate) ขณะเดียวกันปริมาณของออกซิเจนในเลือด (CaO2)พิจารณาได้จากความเข้มข้นของระดับ hemoglobin (Hb) ความอิ่มตัวของออกซิเจน (Oxygen saturation, SaO2) และปริมาณของออกซิเจนที่ละลายอยู้ในพลาสมา (Partial arterial oxygen pressure, PaO2)
ระยะของช็อก
ภาวะช็อกที่สามารถชดเชยได้ในระยะท้าย (Decompensated shock) คือ ภาวะช็อกที่ได้รับการวินิจฉัยล่าช้า เซลล์ในร่างกายเริ่มตาย การทํางานของอวัยวะต่างๆลดลง ก่อนได้รับการรักษาที่เหมาะสม การรักษาจะใช้เวลามากขึ้นและมีภาวะแทรกซ้อนจากอวัยวะล้มเหลว
ภาวะช็อกที่ไม่สามารถชดเชยได้ (Irreversible shock) คือ ภาวะช็อกที่ได้รับการวินิจฉัยช้าเกินไป จนทําให้เซลล์ หรืออวัยวะต่างๆในร่างกายได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก การรักษาในระยะนี้มักจะไม่ได้ผล ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตสูง
ภาวะช็อกที่สามารถชดเชยได้ในระยะแรก (Compensated shock)คือ ภาวะช็อกที่ได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่เริ่มต้น ได้รับการรักษาทั้งการให้สารน้ำและยาที่เหมาะสม ผลการรักษาจะดีและมีภาวะแทรกซ้อนเพียงเล็กน้อย
ความหมาย
ภาวะช็อก เป็นภาวะที่เกิดความผิดปกติทางสรีรวิทยาส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนที่ส่งไปเลี้ยงเนื้อเยื่อทั่วร่างกายลดต่ำลงกว่าความต้องการใช้ออกซิเจนของเนื้อเยื่อและอวัยวะ นำไปสู่ความผิดปกติของการทํางานของอวัยวะต่างๆจากการขาดออกซิเจนในระดับเซลล์ (Cellular dysoxia)
1.ภาวะช็อกจากการขาดสารน้ำ (Hypovolemic shock)
เกิดจากการลดลงของปริมาณของเลือดหรือสารน้ำในร่างกาย (การสูญเสียมากกว่า 30-40% ของปริมาตรเลือด) ทําให้ปริมาณเลือดที่กลับเข้าสู่หัวใจ(Venous return หรือ preload) ลดลง ระยะแรกร่างกายอาจสามารถรักษาระดับของปริมาตรของเลือดให้สามารถสูบฉีดไปเลี้ยงส่วนต่างๆให้อยู่ในระดับปกติ ได้ด้วยการเพิ่มระดับการเต้นของหัวใจ หากยังมีการสูญเสียเลือดและสารน้ําเพิ่มมากขึ้น ร่างกายจะทําให้มีการหดตัวของหลอดเลือดส่วนปลาย ส่งผลให้ความต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลาย (SVR)สูงขึ้น เพื่อเพิ่ม Cardiac output
สาเหตุ
การสูญเสียเลือด
การสูญเสียสารน้ำ
ภาวะช็อกจากภาวะหัวใจล้มเหลว(Cardiogenic shock)
เป็นภาวะช็อกที่เกิดจากหัวใจไม่สามารถส่งจ่ายเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย โดยที่มีปริมาตรเลือดในระบบไหลเวียนโลหิตอย่างเพียงพอ
สาเหตุ
ความผิดปกติของลิ้นหัวใจและผนังหัวใจ
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ
ภาวะช็อกจากหลอดเลือดมีการขยายตัว(Distributive shock)
เป็นภาวะช็อกที่มีสาเหตุจากหลอดเลือดส่วนปลายขยายตัว ทําให้เกิดการลดลงของแรงต้านทานของหลอดเลือด (SVR) ร่วมกับมีการไหลเวียนเลือดในระบบลดลงจากการไหลเวียนของเลือดลัดเส้นทาง (Maldistribution หรือ shunt)
3.2 ภาวะช็อกจากการแพ้(Anaphylactic shock)
3.3 ภาวะช็อกจากการทํางานผิดปกติของต่อมหมวกไต(Hypoadrenal /adrenocortical shock)
3.1 ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ(Septic shock)
ภาวะช็อกจากความผิดปกติของระบบประสาท(Neurogenic shock)
4.ภาวะช็อกจากการอุดกั้นการไหลเวียนของเลือดเข้าสู่หัวใจ(Obstructive shock)
อาการและอาการแสดง
ประสาทส่วนกลาง
กระสับกระส่าย
ซึม
หมดสติ
เซลล์มองตาย
หัวใจและหลอดเลือด
ชีพจรเบาเร็ว
หัวใจเต้นผิดจังหวะ
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
หลอดเลือดส่วนปลายหดตัว
ผิวหนังเย็นซีด
หายใจ
หายใจเร็วลึก
ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ
ระบบหายใจล้มเหลว
ไตและการขับปัสสาวะ
ปัสสาวะออกน้อย
ทางเดินอาหาร
กระเพาะอาหารและลําไส้ขาดเลือด
ตับอ่อนอักเสบ
ดีซ่าน
การย่อยและดูดซึมอาหารผิดปกติ
ตับวาย
เลือดและภูมิคุ้มกัน
การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
ภาวะลิ่มเลือดกระจายทั่วร่างกาย
เม็ดเลือดขาวทํางานบกพร่อง
ต่อมไร้ท่อม
น้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ
ภาวะร่างกายเป็นกรด
การพยาบาล
การป้องกันเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน
ประเมินภาวะขาดออกซิเจน โดยการติดตามสัญญาณชีพทุก 1ชั่วโมง ประเมินระดับความรู้สึกตัว อาการเขียวจากริมฝีปาก เล็บมือ เล็บเท้า ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน ABG
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง มีการระบายอากาศที่ดี โดยการดูดเสมหะ จัดท่านอนศีรษะสูง กระตุ้นให้หายใจลึกๆ
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ โดยให้ออกซิเจนตามความเหมาะสมและแผนการรักษา
การส่งเสริมการไหลเวียนโลหิตอย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
ดูแลให้สารน้ำและอิเล็กโตรไลท์ทดแทนตามแผนการรักษา
ดูแลให้ยา (Dopamine, Dobutamine, Epinephrine Norepinephrine) เพื่อส่งเสริมการไหลเวียนโลหิตตามแผนการรักษา
ดูแลจัดท่านอนหงายราบ ยกปลายเท้าสูง 20-30 องศา เพื่อให้เลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจได้ง่ายขึ้น (จัดท่านอนศีรษะสูงไม่เกิน 30องศา กรณีมีการบาดเจ็บของศีรษะเพื่อป้องกันความดันในกะโหลกศีรษะสูง และช็อกจากการทํางานของหัวใจให้เพื่อป้องกันเลือดคั่งที่หัวใจมากขึ้น)
ประเมินสัญญาณชีพ รวมถึงค่า MAP ทุก 1ชั่วโมงเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย บ่งบอกความก้าวหน้าของการรักษา หากพบความผิดปกติต่องรายงานแพทย์ทันที
ติดตามค่า CVP (ปกติ 8-12 cmH2O)เพื่อประเมินความเพียงพอของสารน้ำภายหลังการได้รับการรักษา
บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าออกจากร่างกาย และ ติดตามปริมาณปัสสาวะทุก 1-2 ชั่วโมง (keep urine output >= 0.5 ml/kg/hr.)
ติดตามการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกตัว ลักษณะผิวหนังเย็นชื้น ซีด หรือเขียวคล้ำ
ดูแลให้ได้รับการช่วยเหลือโดยใช้อุปกรณ์พิเศษต่างๆเพื่อเพิ่มให้เลือดไปเลี้ยงเซลล์ได้อย่างเพียงพอ ได7แก่ เครื่องช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบีบตัวของหัวใจ(Intra-Aortic balloon pump, IABP) เครื่องช่วยพยุงการทํางานของหัวใจและปอด (Extracorporeal membrane oxygen, ECMO)
3.การแก้ไขสาเหตุที่ทําให้เกิดภาวะช็อก
ดูแลเตรียมให้ได้รับการตรวจเพื่อหาสาเหตุ เช่น การทําgastric lavage การทํา EGD
เตรียมผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับการทํา PTCA, CABG
ดูแลให้ยาละลายลิ่มเลือดตามแผนการรักษาเพื่อแก้ไขภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา รวมถึงการเตรียมผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับการผ่าตัดเพื่อแก้ไขสาเหตุของการติดเชื้อ
ดูแลให้ยา Chlorpheniramine 1 amp V เพื่อแก้ไขภาวะแพ้
ส่งเสริมการปรับตัวของผู้ป่วยและครอบครัวต่อภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น
ให้ข้อมูล อธิบายเหตุผลก่อนทํากิจกรรมการพยาบาล
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้ระบายความรู้สึก วิตกกังวล และซักถามข้อข้องใจเกี่ยวกับการเจ็บป่วย
ให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวล ให้เกียรติผู้ป่วย
ให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมในการวางแผนการพยาบาล
ให้กําลังใจและสนับสนุนทางด้านจิตใจ ดูแลเอาใจใส่สม่ำเสมอทั้งผู้ป่วยและครอบครัว
ช่วยเหลือในการติดต่อสื่อสาร เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ป่วย ครอบครัวและทีมรักษา
เตรียมความพร้อมก่อนการย้ายออกจากหอผู้ป่วยวิกฤต
ประเมินระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยและครอบครัวอย่างต่อเนื่อง
ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Heart Failure [AHF])
ความหมาย
ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน หมายถึง การเกิดอาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างรวดเร็วจากการทํางานผิดปกติของหัวใจทั้งการบีบตัวหรือการคลายตัวของหัวใจ การเต้นของหัวใจผิดจังหวะ หรือการเสียสมดุลของpreload และafterloadโดยอาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจเดิม (decompensated) หรือแสดงอาการครั้งแรกในผู้ที่ไม่เคยมีโรคหัวใจเดิมอยู่ก็ได้ (de novo heart failure) ซึ่งอาจเป็นความผิดปกติได้หลายระบบไม่จํากัดเฉพาะระบบหัวใจและหลอดเลือด
พยาธิสรีรวิทยา
การเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เกิดได้จากหลายสมมติฐาน ทั้งการคั่งของน้ำและเกลือแร่ ความผิดปกติของการไหลเวียนโลหิต ความผิดปกติทางระบบประสาทและฮอร์โมน ภาวะที่มีการอักเสบเรื้อรัง ภาวะที่มีความผิดปกติของหัวใจ ภาวะเหล่านี้ล้วนมีการเปลี่ยนแปลงอาการที่แย่ลง ทําให้มีปริมาณเลือดในหัวใจมากเกินไป ในระยะเวลานานทําให้หัวใจทํางานหนักมากขึ้น มีการปรับตัวของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ (heterometric compensation)เกิดพังผืด เซลล์ตาย กล้ามเนื้อหัวใจหนา เป็นผลให้ประสิทธิภาพการทํางานของหัวใจลดลง ร่างกายจึงมีการปรับสมดุล (compensatory mechanism) เพื่อที่จะรักษาปริมาณเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย โดยการกระตุ้น baroreceptor reflex ทําให้เกิดการกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเธติก เกิดperipheral vasoconstriction ทําให้มี peripheral resistance เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการหดตัวของหลอดเลือดแดง เพิ่ม total peripheral resistance (TPR) หัวใจต้องทํางานหนักขึ้นเนื่องจาก afterload เพิ่มขึ้น ขณะที่การหดตัวของหลอดเลือดดําทําให้ความดันในหลอดเลือดดําเพิ่มขึ้น หัวใจจึงต้องทํางานหนักขึ้นเนื่องจากมีpreload เพิ่มขึ้นขณะเดียวกันมีการเพิ่มของneurohormonal activation ได้แก่ renin-angiotensin-aldosterone, vasopressin, aldosterone มีผลต่อเนื่องให้เกิดการคั่งของน้ำและเกลือในร่างกาย preload เพิ่มขึ้นทั้งในปอดและ systemic venous ทําให้เกิดการคั่งของเลือดที่ปอด ความดันหลอดเลือดฝอยที่ปอดเพิ่มขึ้น สารเหลวจากหลอดเลือดซึมเข้าสู่ถุงลม ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำท่วมปอดเกิด congestive heart failure หากหัวใจห้องล่างขวาวาย(right heart failure)จะทําให้เกิดการคั่งของเลือดในหลอดเลือดทั่วร่างกาย เกิดภาวะน้ำเกิน หัวใจทํางานหนักมากขึ้น
สาเหตุ
ความผิดปกติทางหัวใจและหลอดเลือด
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่พอ
ความผิดปกตินอกระบบหัวใจและหลอดเลือด
การใช้ยาไม่สม่ำเสมอ
การควบคุมปริมาณเกลือในอาหารไม่เพียงพอ
ภาวะน้ำเกิน
หลอดเลือดปอดอุดตัน
อาการและอาการแสดง
นอนราบไม่ได้
อ่อนเพลีย
หายใจเหนื่อยหอบ
บวมตามแขนขา
ความดันโลหิตปกติหรือ ต่ำ/สูง
ท้องอืดโต แน่นท้อง
กิจกรรมการพยาบาล
การลดการทํางานของหัวใจ
1.3 ดูแลจํากัดสารน้ำและเกลือโซเดียม
1.4 ดูแลจัดท่านอนศีรษะสูง
1.2 ดูแลให้ได้รับยาขยายหลอดเลือดตามแผนการรักษา
1.5 ดูแลจํากัดกิจกรรมแบบสมบูรณ์ (Absolute bed rest) หรือช่วยในการทํากิจกรรม
1.1 ดูแลให้ได้รับยาขับปัสสาวะตามแผนการรักษา
การลดความต้องการใช้ออกซิเจนของร่างกาย
2.2 ดูแลจํากัดกิจกรรมแบบสมบูรณ์ (Absolute bed rest) หรือช่วยในการทํากิจกรรม
2.3 ดูแลควบคุมอาการปวดโดยให้ยาตามแผนการรักษา
2.1 ดูแลให้ได้รับยาลด/ควบคุม จังหวะหรืออัตราการเต้นของหัวใจ
2.4 ดูแลช่วยให้ได้รับการใส่เครื่องพยุงหัวใจ
3.การเพิ่มประสิทธิภาพการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
3.2 ดูแลให้ได้รับยาเพิ่มประสิทธิภาพการบีบตัวของหัวใจตามแผนการรักษา
3.1 ดูแลให้ได้รับยาช่วยเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ โดยประเมินอัตราการเต้นของหัวใจก่อน หากอัตราการเต้นของหัวใจ ต่ำกว่า 60 ครั้ง/นาที งดให้ยาและรายงานแพทย์
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
ดูแลให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับการไหลเวียนเลือด
ให้ยาขยายหลอดเลือดหัวใจ
ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด