Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ใบงานที่ 4 เรื่อง การช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยภาย…
ใบงานที่ 4 เรื่อง การช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยภายใต้ขอบเขตกฎหมาย
สถานการณ์
เกิดสถานการณ์แผ่นดินไหวในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ขนาด 8.6 ริกเตอร์ บ้านเรือนพังเสียหายหลายหลังคนเรือน มีประชาชนได้รับบาดเจ็บ มีผู้ป่วยชายถูกอาคารทับเสียชีวิตที่เกิดเหตุ จำนวน 1 ราย มีผู้ป่วยที่มีบาดแผลขนาดใหญ่ที่ขาเลือดไหลไม่หยุด จำนวน 1 ราย มีผู้ป่วยผู้สูงอายุที่มีบาดแผลเปิดเล็กน้อยทั่วร่างกายจำนวน 3 ราย และมีผู้ป่วยเด็กที่อาการตกใจ หวาดกลัวแต่ยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้จำนวน 1 ราย
1.แนวทางการช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉินในผู้ป่วยแต่ละราย
สีเขียว
ผู้ป่วยผู้สูงอายุที่มีบาดแผลเปิดเล็กน้อยทั่วร่างกาย ผู้ป่วยสามารถรอได้ ให้ล้างทำความสะอาดแผล ณ พื้นที่สีเขียวที่จัดไว้
ผู้ป่วยเด็กที่อาการตกใจ หวาดกลัวแต่ยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ให้การช่วยเหลือโดย
รับฟังเมื่อผู้ป่วยระบายความรู้สึกอย่างสงบ ไม่กระตุ้นให้เล่ามาก
หลีกเลี่ยงการซ้ำเติมทางจิตใจ
จัดให้อยู่ในที่ปลอดภัย สงบ และให้อยู่ร่วมกับครอบครัว
เบี่ยงเบนความสนใจจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
สีแดง
ผู้ป่วยที่มีบาดแผลขนาดใหญ่ที่ขาเลือดไหลไม่หยุด ควรรีบให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน โดยรีบ stop bleed เพื่อป้องกันภาวะ hypovolemic shock และรีบส่งต่อโรงพยาบาลทันที เพื่อเป็นการประหยัดทรัพยากร
สีดำ
ผู้ป่วยชายถูกอาคารทับเสียชีวิตที่เกิดเหตุ ไม่ต้องให้การพยาบาล เนื่องจากเสียชีวิต ณ ที่เกิดเหตุ แต่ควรย้ายผู้เสียชีวิตออกจากที่เกิดเหตุ
2.จำแนกผู้บาดเจ็บตามหลัก Triage
สีดำ
ผู้ป่วยชายถูกอาคารทับเสียชีวิตที่เกิดเหตุ จำนวน 1 ราย
สีแดง
ผู้ป่วยที่มีบาดแผลขนาดใหญ่ที่ขาเลือดไหลไม่หยุด จำนวน 1 ราย
สีเขียว
ผู้ป่วยผู้สูงอายุที่มีบาดแผลเปิดเล็กน้อยทั่วร่างกายจำนวน 3 ราย
ผู้ป่วยเด็กที่อาการตกใจ หวาดกลัวแต่ยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้จำนวน 1 ราย
3.หลักการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยและการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ขั้นตอนการตอบสนองสาธารณภัยโดยใช้หลัก CSCATT
1.Command and control (การสั่งการและควบคุมกำกับสถานการณ์)
การกั้นอาณาเขต
1.เขตปฏิบัติการชั้นนอก คือ เขตที่กั้นประชาชนโดยรอบและผู้ไม่เกี่ยวข้องออกจากเขตปฏิบัติการ เพื่อลดความสับสนและทำงานได้สะดวก
2.เขตปฏิบัติการชั้นใน คือ เขตที่กั้นบุคลากรทางสาธารณภัยออกจากจุดเกิดเหตุในรัศมีที่พ้นจากอันตรายที่อาจเกิดจากเหตุการณ์นั้น จะกั้นรัศมีเท่าไรขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทั่วไป เขตชั้นในจะกั้นประมาณ 100 ฟุต (33 เมตร) จากจุดเกิดเหตุ แต่กรณีที่เหตุการณ์รุนแรงเท่านั้นจะกั้นห่างตามความเหมาะสม โดยเฉพาะในกรณีสารเคมีรั่วไหลต้องกั้นระยะห่างตาม Emergency Response Guide book
3.การกั้นอาณาเขตในกรณีสารเคมีจะแบ่งพื้นที่ดังนี้
เขตล้างตัว คือ พื้นที่จัดเตรียมสำหรับการล้างสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับผู้ป่วย
เขตปฏิบัติการ คือ พื้นที่ปฏิบัติการคัดแยกรักษาพยาบาล
เขตปนเปื้อน คือ จุดเกิดเหตุ ยังมีการปนเปื้อนและรั่วไหลของสารเคมี
4.ทางเข้าออกในแต่ละชั้นเขต ต้องมีเจ้าหน้าที่ Safety คอยควบคุมการเข้าออกของบุคลากร ว่าเหมาะสมหรือไม่ เนื่องจากผู้ปฏิบัติการในแต่ละเขตพื้นที่ ต้องสวมชุดป้องกันสารเคมีตามระดับความรุนแรงของพื้นที่และเหตุการณ์ที่เผชิญ ทางเข้าและทางออกควรแยกกัน
2.การตั้งพื้นที่ปฏิบัติการ
1.พื้นที่คัดแยก
พื้นที่ผู้ป่วยบาดเจ็บปานกลาง (สีเหลือง) ตั้งใกล้พื้นที่สีแดง
พื้นที่ป่วยบาดเจ็บเล็กน้อย (สีเขียว) เป็นผู้ป่วยที่ไม่ต้องการการ รักษาเร่งด่วน ณ จุดเกิดเหตุสามารถนำส่งโรงพยาบาลได้เลย ดังนั้นในบางสถานการณ์ อาจไม่มีการตั้งส่วนนี้แต่จะนำส่งโดยรถพยาบาลขั้นพื้นฐานเมื่อพร้อม
พื้นที่ผู้ป่วยหนัก (สีแดง) ควรตั้งในพื้นที่ที่สะดวกในการเข้าถึงจุดนำส่งแต่ ไม่ห่างจากจุดคัดแยกมากเกินไป
2.จุดนำส่ง ตั้งอยู่ใกล้จุดรักษาพยาบาล อยู่ในบริเวณที่รถพยาบาลเข้าถึงได้
3.จุดจอดรถ อาจอยู่นอกหรือในเขตปฏิบัติการ แต่ต้องมีการจัดการจราจรให้เป็นทางเดียวไม่มีสิ่งกีดขวางจราจรและเข้าถึงจุดนำส่งได้ง่าย
Safety (ทำให้เกิดความปลอดภัย)
ผู้นำหรือผู้ที่รับผิดชอบหน้าที่นี้ต้องเฝ้าระวังความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้บาดเจ็บ รวมถึงการดูแลเรื่องความเหมาะสมของการแต่งกาย ชุดป้องกันตนเองให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ และพื้นที่เขตปฏิบัติการที่จะเข้าไปปฏิบัติการ
Communication (การสื่อสารประสานงานโดยใช้หลัก METHANE)
M = ภัยหมู่: เป็นอุบัติภัยหมู่หรือไม่
E = รู้จุด: เหตุเกิดที่ไหน
T = รู้เหตุ: เหตุอะไร
H = เภทภัย: เป็นเหตุที่มีอันตรายหรือไม่
A = ไปพบ: ทีมสนับสนุนจะต้องใช้เส้นทางไหนที่ปลอดภัยในการเข้าสนับสนุน
N = ผู้ประสบ: มีผู้บาดเจ็บประมาณเท่าไร
E = ครบช่วย: ทีมสนับสนุนในเหตุแล้วเท่าไรและต้องการเพิ่มเท่าไร
7.Transport (ขนย้ายผู้บาดเจ็บ)
เจ้าหน้าที่จุดนำส่ง (Loading officer)
ต้องประสานกับเจ้าหน้าที่รักษาพยาบาล,เจ้าหน้าที่จุดจอดรถและโรงพยาบาลปลายทาง ในการนำส่งผู้ป่วยถูกที่ถูกเวลา และยานพาหนะที่เหมาะสม เจ้าหน้าที่จุดนำส่งจำเป็นต้องมี Surge capacity จะช่วยในการตัดสินใจนำส่งผู้ป่วยออกไปแบบกระจายไม่ไปแออัดที่โรงพยาบาลใดโรงพยาบาลหนึ่งหรือส่งไปยังโรงพยาบาลที่ไม่มีศักยภาพเหมาะสมกับผู้บาดเจ็บ
เจ้าหน้าที่จุดจอดรถ (Parking officer)
มีหน้าที่ควบคุมความเป็นระเบียบของรถพยาบาลและพาหนะ อื่น ๆ ที่จำเป็นต้องเข้ามาในจุดจอดรถ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้งานพาหนะนำส่งผู้ป่วยและต้องควบคุมพลขับรถแต่ละคันให้สามารถเรียกใช้งานได้ทันทีที่มีการร้องขอจากเจ้าหน้าที่นำส่ง
Assessment (ประเมินจุดเกิดเหตุและทรัพยากร)
การประเมินสถานการณ์ต้องทำโดยเจ้าหน้าที่ทุกระดับชั้น และมีการประเมินอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเหตุการณ์มักจะเปลี่ยนแปลงได้เสมอ บทบาทในการประเมินทรัพยากร จะเด่นชัดในบทบาทของผู้นำและเจ้าหน้าที่แต่ละส่วน เพื่อจะจัดสรรทรัพยากรที่มีและขอเพิ่มทรัพยากรจากหน่วยงานภายนอกได้ โดยส่วนมากจะมีการโยกย้ายทรัพยากร ที่ปฏิบัติการสำเร็จแล้วไปช่วยในส่วนที่ยังมีการปฏิบัติการอยู่
5.Triage (คัดแยกผู้บาดเจ็บ)
Triage Sieve ปฏิบัติการ ณ จุดเกิดเหตุทันที
แดง คือ ผู้เจ็บป่วยที่ต้องการการดูแลรักษาเพื่อช่วยชีวิตอย่างเร่งด่วน
เหลือง คือ ผู้เจ็บป่วยที่ต้องการการดูแลรักษาภายใน 2 – 4 ชั่วโมง มิฉะนั้นจะเป็นอันตรายถึงชีวิต
เขียว คือ ผู้เจ็บป่วยที่อาการไม่รุนแรงสามารถรอได้นานไม่เกิน 24 ชั่วโมง
ดำ คือ ผู้เจ็บป่วยที่มีอาการหนักมีโอกาสรอดชีวิตน้อย อาจเสียชีวิตได้แม้ให้การรักษา อย่างเต็มที่ โดยใช้บุคลากรจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้ผู้เจ็บป่วยที่มีโอกาสรอดชีวิตมากกว่าต้องเสียโอกาสในการรักษา
Triage Sort ปฏิบัติการที่จุดรักษาพยาบาล
เมื่อผู้เจ็บป่วยถูกเคลื่อนย้ายจากจุดเกิดเหตุ หรือจากจุดที่ได้พบผู้เจ็บป่วยครั้งแรก จะต้องทำการคัดแยกโดยละเอียดอีกครั้ง ซึ่งในขั้นตอนนี้ต้องอาศัยการใช้ Trauma score มาใช้ในการจัดกลุ่มผู้เจ็บป่วย ซึ่งวิธีการประเมิน 3 อย่าง ได้แก่ การประเมินอัตราการหายใจ ความดันโลหิต systolic blood pressure และ Glasgow coma score แล้วปรับค่าที่วัดได้แต่ละตัวมีค่าเป็น 0 – 4 โดย 4 เป็นค่าในเกณฑ์ปกติ ลดหลั่นลงไปจนถึง 0
Treatment (การรักษา ณ จุดเกิดเหตุ )
ให้การรักษาแค่เพียงการนำส่งผู้บาดเจ็บไปถึงยังสถานพยาบาลที่เหมาะสมอย่างปลอดภัย โดยเบื้องต้นเป็นที่การรักษาตาม Primary Survey (Save and run) อย่างไรก็ดีไม่มีกฎตายตัวในการรักษา ณ จุดเกิดเหตุขึ้นอยู่กับความยืดเยื้อของสถานการณ์ หรือยานพาหนะในการนำส่ง บางครั้งถ้ามีการตั้ง รพ.สนาม อาจมีการรักษาขั้นสูงเพื่อรักษาชีวิตผู้บาดเจ็บต่อได้
การจัดพื้นที่ในการรักษาพยาบาลตามความรุนแรงของการบาดเจ็บ
พื้นที่สีเหลือง : ควรมีหัวหน้าเป็นเวชกิจฉุกเฉินระดับกลางเป็นอย่างน้อย
พื้นที่สีเขียว : ควรมีหัวหน้าเป็นเวชกิจฉุกเฉินระดับพื้นฐานเป็นอย่างน้อย บางครั้งอาจไม่มีการรักษาผู้ป่วยสีเขียว ณ จุดเกิดเหตุ อาจนำส่งโรงพยาบาลปลายทางได้เลย
พื้นที่สีแดง : ควรมีหัวหน้าเป็นแพทย์
นางสาวอารียา มั่นวงศ์ รหัส 61121301107 เลขที่ 103