Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
3.2 การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตในระบบหัวใจ และการไหลเวียนโลหิต - Coggle Diagram
3.2 การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตในระบบหัวใจ
และการไหลเวียนโลหิต
ภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต (Hypertensive crisis)
หมายถึง ความดันโลหิตที่วัดจากสถานพยาบาล ที่มีค่าความดันโลหิตซิสโตลิก ตั้งแต่ 140 มิลลิเมตรปรอทและ
ความดันโลหิตไดแอสโตลิกตั้งแต่ 90 มิลลิเมตรปรอท
Target organ damage(TOD) หมายถึง ความผิดปกติที่เกิดแก่อวัยวะในร่างกายจากความดันโลหิตสูง
Cardiovascular disease (CVD )หมายถึง โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด
Hypertensive urgency คือ ภาวะความดันโลหิตสูงรุนแรงแต่ไม่มีอาการของอวัยวะเป้าหมายถูกทําลาย
Hypertensive emergency หมายถึง ภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่า 180/120 มม.ปรอท รวมกับมีการทําลายของอวัยวะเป้าหมาย
Hypertensive crisisหรือ Hypertensive emergency หมายถึง ภาวะความดันโลหิตสูงอย่างเฉียบพลันสูงกว่า 180/120 มม.ปรอท และทําให้เกิดการทําลายของอวัยวะเป้าหมาย (target organ damage, TOD)
สาเหตุ
1.การหยุดยาลดความดันโลหิตทันที (Sudden withdrawal of antihypertensive medications)
Acute or chronic renal disease
Exacerbation of chronic hypertension
การใช้ยาบางชนิดที่มีผลทําให้ความดันโลหิตสูง เช่น ยาคุมกําเนิด
ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
อาการและอาการแสดง
ปวดศรีษะ การมองเห็นผิดปกติ สับสน คลื่นไส้ อาเจียน
การซักประวัติ
ซักประวัติการเป็นโรคประจําตัว ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง
ความสม่ําเสมอในการรับประทานยา ผลข้างเคียงของยาที่ใช้ การสูบบุหรี่ ประวัติความดันโลหิตสูงที่เป็นในสมาชิกครอบครัว ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด มีอาการ เจ็บหน้าอก (chest pain) เหนื่อยง่ายแน่นอกเวลาออกแรง ไตวายเฉียบพลัน
การตรวจร่างกาย
โรคหลอดเลือดสมอง
ขนขาชาหรืออ่อนแรงครึ่งซีก มองเห็นไม่ชัดหรือตามัวชั่วขณะ (blurred vision) ระดับความรู้สึกตัวผิดปกติ (change in level of consciousness) หมดสติ (Coma) ตรวจจอประสาทตา
Papilledema
ประเมินภาวะ increased intracranial pressure ตรวจ retina
cotton-wool spots and hemorrhages
มีการแตกของ retina blood vessels และ retina nerves ถูกทําลาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
ตรวจการทํางานของไตจากค่า Creatinine และ Glomerular filtration rate (eGFR)
ประเมินหาความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (12-lead ECG) และ chest X-ray
การรักษา
ลดความดันโลหิตเฉลี่ย (mean arterial pressure) ลงจากระดับเดิม
20-30% ภายใน 2 ชั่วโมงแรก และ 160/100 มม.ปรอท ใน 2-6 ชั่วโมง
sodium nitroprusside, nicardipine, nitroglycerin, labetalol
การพยาบาล
ระยะเฉียบพลัน
เฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับอาการและอาการแสดงของระบบต่างๆ ได้แก่ neurologic, cardiac, and renal systems
ระหว่างได้รับยา
ประเมินและบันทึกการตอบสนองต่อยาโดยติดตามความดันโลหิตอย่างใกล้ชิด
ไม่ควรลด SBP ลงมาต่ำกว่า 120 มม.ปรอท
ความดันโลหิต DBP ที่เหมาะสม คือ 70-79 มม.ปรอท
ประเมินการไหลเวียนโลหิตมาเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนปลาย ได้แก่ ชีพจร capillary refill
ประเมินการไหลเวียนโลหิตมาเลี้ยงไต ได้แก่ ปริมาณปnสสาวะสมดุลกับสารน้ําที่รับเข้าร่างกาย ค่า BUN Cr ปกติ
การรักษาด้วย short-acting intravenous antihypertensive agents
sodium nitroprusside เก็บยาให้พ้นแสงและตลอดการให้ยาแก่ผู้ป่วย หากพบว่ายาเปลี่ยนสีเข้มขึ้น หรือเป็นสีส้ม น้ําตาล น้ําเงิน ห้ามใช้
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงตjอเลือดไปเลี้ยงสมองไมjเพียงพอ (Risk for ineffective cerebral tissue perfusion)
เสี่ยงตjอเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อสjวนปลายไม่เพียงพอ (Risk for ineffective peripheral tissue perfusion)
วิตกกังวล (Anxiety related to threat to biologic, psychologic, or social integrity)
พร่องความรู้ (Deficient knowledge related to lack of previous exposure to information)
Cardiac dysrhythmias
Atrial fibrillation (AF)
คือ ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพริ้ว
สาเหตุ
พบบ่อยในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจรูห์มาติก ภาวะหัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตสูง เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ (open heart surgery), hyperthyrodism
อาการและอาการแสดง
ใจสั่น อ่อนเพลีย เหนื่อยเวลาออกแรง คลําชีพจรที่ข้อมือได้เบา
การพยาบาล
1.ประเมินการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพและคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างต่อเนื่อง
2.สังเกตอาการและอาการแสดงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน สมอง ปอด แขนและขา
3.ดูแลให้ได้รับยาควบคุมการเต้นของหัวใจ เช่น digoxin, beta-blocker, calcium channel blockers, amiodarone
4.ดูแลให้ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดตามแผนการรักษาในผู้ปวยที่มีข้อบ่งชี้ว่ามีลิ่มเลือดเกิดขึ้น
5.เตรียมผู้ป่วยและอุปกรณ์ในการทํา Cardioversion เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นในจังหวะปกติ
6.เตรียมผู้ป่วยในการจี้ด้วยคลื่นไฟฟ้าความถี่สูง (Radiofrequency Ablation) ในผู้ป่วยที่เป็น AF และไม่สามารถควบคุมด้วยยาได้
Ventricular tachycardia (VT)
หมายถึง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิดที่ ventricle เป็นจุดกําเนิดการเต้นของหัวใจ ในอัตราที่เร็วมากแต่สม่ําเสมอ 150-250 ครั้ง/นาที ซึ่งจุดกําเนิดอาจมี
ตําแหน่งเดียวหรือหลายตําแหน่ง ลักษณะ ECG ไม่พบ P wave
ประเภท
1.Nonsustained VT
คือ VT ที่เกิดต่อเนื่องกันเป็นเวลาน้อยกว่า 30 วินาที
2.Sustained VT
คือ VT ที่เกิดต่อเนื่องกันเป็นเวลานานกว่า 30 วินาที ซึ่งมีผลทําให้ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายลดลง
3.Monomorphic VT
คือ VT ที่ลักษณะของ QRS complexเป็นรูปแบบเดียว
4.Polymorphic VT หรือ Torsade
คือ VT ที่ลักษณะของ QRS complex เป็นรูปแบบเดียว
สาเหตุ
ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายบริเวณกว้าง (Myocardial infarction)
โรคหัวใจรูห์มาติก (Rheumatic heart disease)
ถูกไฟฟ้าดูด
ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ํา
พิษจากยาดิจิทัลลิส (Digitalis toxicity)
กล้ามเนื้อหัวใจถูกกระตุ้นจากการตรวจสวนหัวใจ
อาการและอาการแสดง
อาการเกิดทันที ผู้ป่วยจะรู้สึกใจสั่น ความดันโลหิตต่ำ หน้ามืด เจ็บหน้าอก หายใจลําบาก หัวใจหยุดเต้น
การพยาบาล
1.นําเครื่อง Defibrillator มาที่เตียงผู้ป่วยและรายงานแพทย์ทันที และเปิดหลอดเลือดดําเพื่อให้ยาและสารน้ำ
2.คลําชีพจร ประเมินสัญญาณชีพ ระดับความรู้สึกตัว เจ็บหน้าอก ภาวะเขียว จํานวนปัสสาวะ เพื่อประเมินภาวะเลือดไปเลี้ยงสมอง และอวัยวะสําคัญลดลง
3.ร;วมกับแพทย์ในการดูแลให้ได้รับยาและแก้ไขสาเหตุหัวใจเต้นผิดจังหวะ
4.ในผู้ป่วยที่เกิด VTและคลําชีพจรได้ร่วมกับมีอาการของการไหลเวียนโลหิตในร่างกายลดลง ให้เตรียมผู้ป่วยในการทํา synchronized cardioversion
5.ในผู้ป่วยที่เกิด VTและคลําชีพจรไม่ได้ (Pulseless VT) ให้เตรียมเครื่อง Defibrillator เพื่อให้แพทย์ทําการช็อกไฟฟ้าหัวใจ ในระหว่างเตรียมเครื่องให้ทําการกดหน้าอกจนกว่าเครื่องจะพร้อมปล่อยกระแสไฟฟ้า
6.ทํา CPR ถ้าหัวใจหยุดเต้น
Ventricular fibrillation (VF)
หมายถึง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิดที่ ventricle เป็นจุดกําเนิดการเต้นของหัวใจตําแหน่งเดียวหรือหลายตําแหน่ง เต้นรัวไม่เป็นจังหวะ ไม่สม่ําเสมอ ลักษณะ ECG จะไม่มี P wave ไม่เห็นรูปร่างของ QRS complex
สาเหตุ
Hypovolemia
Hypoxia
Hydrogen ion (acidosis)
Hypokalemia
Hyperkalemia
Hypothermia
Tension pneumothorax
Cardiac tamponade
Toxins
Coronary thrombosis
Pulmonary thrombosis
อาการและอาการแสดง
อาการเกิดทันที คือ หมดสติ ไม่มีชีพจร รูม่านตาขยาย เนื่องจากหัวใจ
ไม่สามารถสูบฉีดโลหิตออกมาได้ และเสียชีวิต
การพยาบาล
เตรียมเครื่งมือ อุปกรณ์และยาที่ใช้ในการช่วยฟื้นคืนชีพให้พร้้อมและทํา CPR ทันที เนื่องจากการรักษา VFและ Pulseless VTสิ่งที่สําคัญคือ
การช็อกไฟฟ้าหัวใจทันที และการกดหน้าอก
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล :
ปริมาณเลือดออกจากหัวใจในหนึ่งนาทีลดลงเนื่องจากความผิดปกติของ อัตรา และจังหวะการเต้นของหัวใจ
การพยาบาล
ป้องกันภาวะ tissue hypoxia โดยให7ออกซิเจนตามแผนการรักษา
ติดตามค่าเกลือแร่ในเลือด เพื่อหาสาเหตุนําของการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ติดตามผลข้างเคียงของยาที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วย
ติดตามและบันทึกอาการแสดงของภาวะอวัยวะและเนื้อเยื่อได้รับเลือดไปเลี้ยง (Tissue perfusion) ลดลง จาก ระดับความรู้สึกตัวลดลง
ความดันโลหิตลดลง สีของผิวหนังเขียว อุณหภูมิของผิวหนังเย็นลง
จํานวนปnสสาวะลดลง และ capillary refill time นาน
ติดตามและบันทึกการเปลี่ยนแปลงของ สัญญาณชีพ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยเฉพาะ ST segment เพื่อประเมินภาวะ Myocardial tissue perfusion และป้องกันการเกิด Myocardial ischemia
ให้ยา antidysrhythmia ตามแผนการรักษาและเตรียมอุปกรณ์สําหรับทํา synchronized cardioversion ในผู้ป่วยที่เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดไม่รุนแรง (Nonlethal dysrhythmias) ถ้าอัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที ให้เตรียมอุปกรณ์สําหรับใส่ temporary pacing
ทํา CPR ร่วมกับทีมรักษาผู้ป่วย ในกรณีเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรง (lethal dysrhythmias)
ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Heart Failure [AHF])
หมายถึง การเกิดอาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างรวดเร็วจากการทํางานผิดปกติของหัวใจทั้งการบีบตัวหรือการคลายตัวของหัวใจ การเต้นของหัวใจผิดจังหวะ หรือการเสียสมดุลของ preload และ afterload
สาเหตุ
โรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ภาวะหัวใจวาย กลไกการไหลเวียนของเลือดผิดปกติเฉียบพลัน โรคหัวใจใดๆที่ทรุดลงตามการดําเนินโรค ภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความผิดปกติอื่นๆ หลอดเลือดปอดอุดตันเฉียบพลัน
อาการและอาการแสดง
1.Acute decompensated heart failure
หมายถึง กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดขึ้นเฉียบพลันแต่ไม่มีอาการรุนแรงมาก
2.Hypertensive acute heart failure
หมายถึง กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีปอดบวมน้ำ โดยมีความดันโลหิตสูงรุนแรงร่วมด้วย แต่การทํางานของหัวใจห้องล่างซ้ายยังอยู์ในเกณฑ์ดี
3.Pulmonary edema
หมายถึง ภาวะที่มีอาการและอาการแสดงของปอดบวมน้ำร่วมด้วยอย่างชัดเจน
4.Cardiogenic shock
หมายถึง ภาวะที่ร่างกายมี poor tissue perfusion ถึงแม้จะมีการแก้ไขภาวะขาดน้ำแล้วก็ตาม โดยมีความดันโลหิต systolic ต่ำกว่า 90 mmHg หรือ MAP < 60 mmHg ร่วมกับมีปัสสาวะออกน้อยกว่า 0.5 ml/kg/hr.
5.High output failure
หมายถึง ภาวะหัวใจล้มเหลวโดยมีปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อนาทีสูงกว่าปกติ
6.Right heart failure
หมายถึง ภาวะที่หัวใจด้านขวาทํางานล้มเหลว มีปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต้อนาทีลดลง ร้วมกับมีการเพิ่มขึ้นของความดันหลอดเลือดดําที่คอ มีการบวมของตับ ร้วมกับมีภาวะความดันโลหิตต่ำ
อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยที่พบบ่อย
หายใจเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ อ่อนเพลีย บวมตามแขนขา ความดันโลหิตปกติหรือ ต่ำ/สูง ท้องอืดโต แน่นท้อง ปัสสาวะออกน้อย/มาก
หัวใจเตันเร็ว หายใจเร็ว เสันเลือดดําที่คอโป่งพอง
การรักษา
1.การลดการทํางานของหัวใจ (Decrease cardiac workload)
ได้แก่ Intra-aortic balloon pump, การให้ออกซิเจน
2.การดึงน้ำและเกลือแร่ที่คั่งออกจากร่างกาย (Negative fluid balance)
3.การใช้ยา
ยาเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ เช่น digitalis (digoxin)
ยารักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น amiodarone
ยาขยายหลอดเลือดหัวใจ เช่น nitroglycerine/isodril(NTG)
ยาขยายหลอดเลือด เช่นsodium nitroprusside (NTP)
ยาที่ใช้ในช็อค เช่น adrenaline, dopamine, dobutamine, norepinephrine (levophed)
ยาบรรเทาอาการเจ็บหน้าอก เช่น morphine
ยาละลายลิ่มเลือด เช่น coumadin
ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด เช่น aspirin, plavix, clopidogrel
4.การรักษาสาเหตุ ได้แก่ การขยายหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี, การเปลี่ยนลิ้นหัวใจในโคโรนารี, การรักษาภาวะติดเชื้อ
การประเมินสภาพ
1.การซักประวัติและตรวจร่างกายเพื่อประเมินอาการทางคลินิกที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อาการเจ็บหน้าอก อาการหอบเหนื่อย ภาวะบวม การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
2.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ CBC, biochemical cardiac markers, ABG
3.การตรวจพิเศษ ได้แก่ CXR, echocardiogram, CT, coronary artery angiography (CAG)
กิจกรรมการพยาบาล
1.การลดการทํางานของหัวใจ
2.การลดความต้องการใช้ออกซิเจนของร่างกาย
3.การเพิ่มประสิทธิภาพการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
4.ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
5.ดูแลให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับการไหลเวียนเลือด ได้แก่ ให้ยาขยายหลอดเลือดหัวใจ ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด หรือดูแลให้ได้รับการทําหัตถการหลอดเลือดหัวใจ
6.ดูแลการทํางานของเครื่องกระตุ้นจังหวะหัวใจ
7.ดูแลให้ได้รับสารน้ําและอาหารอย่างเพียงพอตามแผนการรักษา
8.ดูแลให้ได้รับการตอบสนองตามความต้องการพื้นฐาน
9.ดูแลติดตามการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ประเมินสัญญาณชีพทุก 1-2 ชั่วโมง
10.ดูแลติดตามและบันทึกค่า CVP, PCWP
11.สังเกต/บันทึกปริมาณปnสสาวะทุก 1ชั่วโมง (keep urine output >= 0.5 ml/kg/hr.)
ภาวะช็อก (Shock)
ภาวะช็อกเป็นภาวะที่ร่างกายเกิดความผิดปกติจากกลุ่มอาการต่างๆ หรือความผิดปกติจากทางสรีรวิทยาเป็นผลให้เกิดการไหลเวียนโลหิตไปยังอวัยวะต่างๆไม่เพียงพอทําให้ปริมาณออกซิเจนที่สูงไปเลี้ยงเนื้อเยื่อไม่เพียงพอ (poor tissue perfusion) เสียสมดุลของการเผาผลาญระดับเซลล์อวัยวะต่างๆขาดออกซิเจนและสูญเสียหน้าที่ (Organ dysfunction)
ระยะของช็อก
1.ภาวะช็อกที่สามารถชดเชยได้ในระยะแรก (Compensated shock)
2.ภาวะช็อกที่สามารถชดเชยได้ในระยะท้าย (Decompensated shock)
3.ภาวะช็อกที่ไม่สามารถชดเชยได้ (Irreversible shock)
ประเภทของช็อก
1.ภาวะช็อกจากการขาดสารน้ำ (Hypovolemic shock)
เกิดจากการลดลงของปริมาณของเลือดหรือสารน้ำในร่างกาย ทําให้ปริมาณเลือดที่กลับเข้าสู่หัวใจ(Venous return หรือ preload) ลดลง
สาเหตุ
การสูญเสียเลือดจากอุบัติเหตุ
การสูญเสียน้ำจาก diarrhea severe vomiting
2.ภาวะช็อกจากภาวะหัวใจล้มเหลว (Cardiogenic shock)
สาเหตุ
ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ
ความผิดปกติของลิ้นหัวใจและผนังหัวใจ
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
เป็นภาวะช็อกที่เกิดจากหัวใจไม่สามารถส่งจ่ายเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย โดยที่มีปริมาตรเลือดในระบบไหลเวียนโลหิตอย่างเพียงพอ
3.ภาวะช็อกจากหลอดเลือดมีการขยายตัว (Distributive shock)
เป็นภาวะช็อกที่มีสาเหตุจากหลอดเลือดส่วนปลายขยายตัว ทําให้เกิดการลดลงของแรงต้านทานของหลอดเลือด (SVR) ร่วมกับมีการไหลเวียนเลือดในระบบลดลงจากการไหลเวียนของเลือดลัดเส้นทาง (Maldistribution หรือ shunt
ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ (Septic shock)
ภาวะช็อกจากการแพ้ (Anaphylactic shock)
ภาวะช็อกจากการทํางานผิดปกติของตAอมหมวกไต (Hypoadrenal hock)
4.ภาวะช็อกจากการอุดกั้นการไหลเวียนของเลือดเข้าสู่หัวใจ (Obstructive shock)
5.ภาวะช็อกจากความผิดปกติของระบบประสาท (Neurogenic shock)
การรักษา
1.การแก้ไขระบบไหลเวียนโลหิตให้ได้ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อนาทีเพียงพอ โดยกําหนดเป้าหมายให้ค่าความดันโลหิตเฉลี่ย (MAP) มากกว่าหรือเท่ากับ 65 mmHg
การให้สารน้ำ Crystalloid solution เพื่อเพิ่มปริมาตรของสารน้ําในหลอดเลือด เช่น Ringer's lactate solution (RLS), 0.9% NSS
Colloid solution เพื่อทดแทนพลาสมา เพิ่ม oncotic pressure สารน้ําชนิดนี้มีโมเลกุลใหญ่ไม่สามารผ่านผนังหลอดเลือดออกไปได้ง่าย เช่น Dextran, Haemaccel, Albumin
Blood component เพื่อทดแทนการเสียเลือดและเพิ่มปริมาตรในเลือดเช่น Whole blood, PRC, FFP
การให้ยาที่มีผลต่อการบีบตัวของหัวใจ (Inotropic agent) และการหดตัวของหลอดเลือด (Vasopressor agent) เช่น Dopamine, Dobutamine, Epinephrine Norepinephrine
2.การแก้ไขภาวะพร่องออกซิเจนของเนื้อเยื่อและการลดการใช้ออกซิเจน
3.การรักษาที่เฉพาะเจาะจงตามสาเหตุของภาวะช็อก เช่น การให้ยาปฏิชีวนะ
4.การแก้ไขความผิดปกติของภาวะกรดด่าง
กิจกรรมการพยาบาล
1.การป้องกันเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน
1.1ประเมินภาวะขาดออกซิเจน โดยการติดตามสัญญาณชีพทุก 1ชั่วโมง ประเมินระดับความรู้สึกตัว อาการเขียวจากริมฝีปาก เล็บมือ เล็บเท้า ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน ABG
1.2ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง มีการระบายอากาศที่ดี โดยการดูดเสมหะ จัดท่านอนศีรษะสูง กระตุ้นให้หายใจลึกๆ
1.3ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ โดยให้ออกซิเจนตามความเหมาะสมและแผนการรักษา
2.การส่งเสริมการไหลเวียนโลหิตอย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
2.1ดูแลให้สารน้ำและอิเล็กโตรไลท์ทดแทนตามแผนการรักษา
2.2ดูแลให้ยา (Dopamine, Dobutamine, Epinephrine Norepinephrine) เพื่อส่งเสริมการไหลเวียนโลหิตตามแผนการรักษา
2.3ดูแลจัดท่านอนหงายราบ ยกปลายเท้าสูง 20-30 องศา เพื่อให้เลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจได้ง่ายขึ้น (จัดท่านอนศีรษะสูงไม่เกิน 30องศา กรณีมีการบาดเจ็บของศีรษะเพื่อป้องกันความดันในกะโหลกศีรษะสูง และช็อกจากการทํางานของหัวใจให้เพื่อป้องกันเลือดคั่งที่หัวใจมากขึ้น)
2.4ประเมินสัญญาณชีพ รวมถึงค่า MAP ทุก 1 ชั่วโมงเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย บ่งบอกความก้าวหน้าของการรักษา หากพบความผิดปกติต้องรายงานแพทย์ทันที
2.5ติดตามค่า CVP (ปกติ 8-12 cmH2O) เพื่อประเมินความเพียงพอของสารน้ำภายหลังการได้รับการรักษา
2.6บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าออกจากร่างกาย และ ติดตามปริมาณปัสสาวะทุก 1-2 ชั่วโมง (keep urine output >= 0.5 ml/kg/hr.)
2.7ติดตามการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกตัว ลักษณะผิวหนังเย็นชื้น ซีด หรือเขียวคล้ํา
2.8ดูแลให้ได้รับการช่วยเหลือโดยใช้อุปกรณ์พิเศษต่างๆเพื่อเพิ่มให้เลือดไปเลี้ยงเซลล์ได้อย่างเพียงพอ ได้แก่ เครื่องช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบีบตัวของหัวใจ (Intra-Aortic balloon pump, IABP) เครื่องช่วยพยุงการทํางานของหัวใจและปอด (Extracorporeal membrane oxygen, ECMO)
3.การแก้ไขสาเหตุที่ทําให้เกิดภาวะช็อก
3.1ดูแลเตรียมให้ได้รับการตรวจเพื่อหาสาเหตุ เช่น การทํา gastric lavage การทํา EGD (กรณีช็อกจากการสูญเสียเลือด)
3.2เตรียมผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับการทํา PTCA, CABG
3.3ดูแลให้ยาละลายลิ่มเลือดตามแผนการรักษาเพื่อแก้ไขภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย (กรณีช็อกจากภาวะหัวใจล้มเหลว)
3.4ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา รวมถึงการเตรียมผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับการผ่าตัดเพื่อแก้ไขสาเหตุของการติดเชื้อ
3.5ดูแลให้ยา Chlorpheniramine 1 amp V เพื่อแก้ไขภาวะแพ้
ส่งเสริมการปรับตัวของผู้ป่วยและครอบครัวต่อภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น