Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วัยเด็กตอนต้น, นางสาวสุปรีญา บุญประดิษฐ เลขที่ 127 รหัสนักศึกษา…
วัยเด็กตอนต้น
พัฒนาการด้านจิตสังคม
วัยเริ่มต้น (Toddler period) อายุ 2-3 ปี : ขั้นที่มีความเป็นอิสระกับความละอายและสงสัย (Autonomy vs Shame and doubt) ขั้นนี้เด็กเริ่มเรียนรู้ที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง หากได้รับการสนับสนุนและกระตุ้นให้เด็กได้กระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองตามสมควร เด็กจะมีการพัฒนาตัวเองไปในลักษณะที่มีโอกาสเลือกลอง และอยู่ในระเบียบวินัยไปในตัว ถ้าพ่อแม่เคร่งครัดเจ้าระเบียบให้เด็กอยู่ในระเบียบตลอดเวลาหรือเลี้ยงดูแบบปกป้องมากเกินไป (over protective) ไม่ยอมรับสิ่งที่เด็กทำขึ้นมาด้วยตนเอง เด็กจะพัฒนาตัวเองไปในรูปแบบที่ไม่แน่ใจในตนเองหรือไม่กล้าที่จะทำอะไรด้วยตนเอง
ส่งเสริมการพัฒนาการ
เด็กวัยนี้มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบลองอะไรใหม่ๆ สนับสนุนและกระตุ้นให้เด็กได้กระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองตามสมควร มอบความรักความเข้าใจและได้รับการสนับสนุนในการทำกิจกรรมต่างๆ จากทั้ง พ่อและแม่
ระยะก่อนไปโรงเรียน (Preschool period) อายุ 3-6 ปี : ขั้นมีความคิดริเริ่มกับความรู้สึกผิด (Initiative vs Guilt) เป็นระยะที่เด็กมีการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง มีความสัมพันธ์กับเพื่อนที่โรงเรียน เพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบลองอะไรใหม่ๆ ในขั้นนี้เด็กจะย่างเข้าสู่ความรู้สึกไวในบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ ฉะนั้น เด็กจะติดอยู่ที่ปมออดิปุส ถ้าเด็กได้รับความรักความเข้าใจและได้รับการสนับสนุนในการทำกิจกรรมต่างๆ จากทั้งพ่อและแม่ เด็กย่อมมีความมั่นใจในตนเอง ถ้าพ่อแม่เข้มงวดควบคุมความประพฤติตลอดเวลา เด็กจะเกิดความรู้สึกว่าตนเองทำผิดเมื่อพยายามทำอะไรด้วยตัวของตัวเอง
พัฒนาการด้านร่างกาย
ส่งเสริมการพัฒนาการ
เด็กวัยนี้จะมีการเลียนแบบพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือแม้แต่ตัการ์ตูนควรส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ รู้จักใช้เหตุและผลในการพูดคุยเพราะเด็กวัยนี้สามารถรับรู้อารมณ์ของคนรอบข้าง
พัฒนาการเด็กวัยนี้จะเป็นไปอย่างช้า ๆ การเจริญเติบโตจะเป็นไปในลักษณะเพื่อให้อวัยวะต่าง ๆ สามารถทำงานได้เต็มที่ตามหน้าที่ เด็กวัยนี้เริ่มมีทักษะการเคลื่อนไหวและสามารถใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น ระบบกล้ามเนื้อและประสาทสัมผัสทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนั้นเด็กจะชอบช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เช่น การป้อนข้าวเอง แต่งตัว ใส่รองเท้า อาบน้ำ ชอบเล่นกับเพื่อนๆ ไม่รู้จักเหนื่อย
-
พัฒนาการด้านสติปัญญา
ข้ันเตรียมสำหรับความคิดที่มีเหตุผล (Preopertional or Preconceptual Stage) เพียเจต์ (Piaget) ได้แบ่งการพัฒนาการขั้นนี้ออกเป็นขั้นย่อย ๆ 2 ขั้น
Preconceptual Thought
เด็กในวัยนี้มีความคิดรวบยอด (Concept) ในเรื่องต่าง ๆ แล้วเพียงแต่ยังไม่สมบูรณ์ เด็กในวัยนี้มีความคิดรวบยอด (Concept) ในเรื่องต่าง ๆ แล้วเพียงแต่ยังไม่สมบูรณ์เด็กในช่วงวัยนี้ชอบสมมุติโดยใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น ก้านกล้วยแทนม้า หรือสมมุติให้ตุ๊กตาเป็นสิ่งมีชีวติ พูดคุยกันได้ความคิดความเข้าใจของเด็กวัยนี้ขั้นอยู่กับการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ เด็กยังไม่สามารถใช้เหตุผลอย่างสมเหตุสมผล เด็กยังไม่เข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับความคงที่ของปริมาณ (conservation of Quantity) ในแง่ที่ว่าของจำนานเท่ากันแม้จะเปลี่ยนรูปร่างไปแต่จำนวนของก็จะยังมีเท่าเดิม
Intuitive Thougth
พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กช่วงนี้ยังคงอยู่ในขั้น Preconceptual Thought กล่าวคือการคิดของเด็กวัยนี้แม้ว่าจะเริ่มมีเหตุผลขึ้น แต่การคิดและการตัดสินใจก็ยังขึ้นอยู่กับการรับรู้มากกว่าความเข้าใจ พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กในช่วงนี้จะต่างจาก Preconceptual Thought ตรงที่เด็กวัยนี้เริ่มมีปฏิกิริยาต่อสิ่งแวดล้อมมาก มีความสนใจอยากรู้อยากเห็น และมีการซักถามมากขึ้น และมีการเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ที่อยู่รอบข้าง
ส่งเสริมการพัฒนาการ
มีการพัฒนาทางภาษาและสติปัญญามากขึ้นตามลำดับทำให้เด็กยิ่งสนใจและอยากรู้อยากเห็นในสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นทำให้เด็กชอบถามคำถามอยู่เรื่อยๆ ว่าอะไร ทำไม เพราะอะไร ในสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น ทำไมถึงมีต้นไม้ ทำไมพระจันทร์ถึงเดินตามเรา ดวงดาวคืออะไร กลางคืนทำไมมืด คนคนแรกมาจากไหน ฯลฯ ผู้ใหญ่ควรตอบง่ายๆ พอที่เด็กจะเข้าใจไม่ควรแสดงความรำคาญหรือดุว่าเด็กเป็นอันขาด
พัฒนาการด้านจริยธรรม
เด็กวัยนี้ใช้หลักการหลบหลีกการลงโทษ (Obedience and Punishment Orientation) เกิดขึ้นกับเด็กในช่วงอายุแรกเกิดถึง 7 ปีขั้นนี้เด็กชอบใช้การหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ เลือกกระทำในทางที่เกิดประโยชน์แก่ตนเองมากกว่า เด็กมักเข้าใจว่าความดีหมายถึง สิ่งที่ทำแล้วไม่ถูกลงโทษหรือถูกตำหนการตัดสินว่าอะไรถูกหรือผิด เด็กจะมองที่ผลของการกระทำว่าถ้าทำเสียหายมากก็ตัดสินว่า การกระทำนั้นผิด ไม่ได้มองที่สาเหตุของการกระทำ
ส่งเสริมพัฒนาการ
ให้รางวันเป็นคำชมสำหรับการทำความดีแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย และลงโทษสำหรับการทำผิดหรือไม่ดีด้วยเหตุผลไม่ควรใช้อารมณ์
-