Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กที่มีความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด โรค pulmonary stenosis …
การพยาบาลเด็กที่มีความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด
โรค pulmonary stenosis
ความหมาย
PS เป็นโรคหัวใจที่มีการตีบของลิ้น pulmonary ซึ่งอาจเกิดที่เนื้อเยื่อใต้ลิ้น ตรงตำแหน่งของลิ้นหรือเหนือตำแหน่งของลิ้นซึ่งเป็นการตีบของ pulmonaryartery ทำให้เลือดดำออกจาก right ventricle ไปปอดลดลงการไหลเวียนคือเลือดดำไม่สามารถผ่านไปปอดได้ทางเวนตริเคิลขวาแต่จะผ่าน foramen ovale ไปเอเตรียมซ้ายเวนตริเคิลซ้ายและออกเอออร์ต้าเลือดไปปอดได้ทาง PDA อาการผู้ป่วยจะมีอาการเขียวในวัยทารกแรกเกิดเขียวมากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของ PDA ถ้า PDA ปิดจะมีอาการเขียวมากทันทีและอาจเสียชีวิตถ้าไม่รับการช่วยเหลือ จะมีอาการเหนื่อยง่าย เวลาเล่น อาการรุนแรงถึงขั้นหมดสติได้
1.Valvular pulmonary stenosis มีการอุดกั้นที่บริเวณ pulmonary valve พบบ่อยที่สุด
2.Infundibular pulmonary stenosis มีการอุดกั้นที่บริเวณ subvalvular area หรือบริเวณ infundibulum พบน้อย
3.Supra valvular pulmonary stenosis มีการอุดกั้นที่บริเวณเหนือกว่า valve พบได้น้อย
สาเหตุ
เกิดจากการที่ลิ้นหัวใจเชื่อมติดกัน หรือไม่แยกจากกันโดยเด็ดขาด ทำให้ลิ้นไม่สามารถเปิดกว้างถ้ามีการตีบแคบมากทำให้เลือดไหลผ่านเข้าปอดได้น้อย ทำให้หัวใจห้องล่างขวาต้องเพิ่มความดันให้สูงขึ้น เพื่อสามารถบีบตัวให้เลือดไปปอดให้เพียงพอ
พยาธิสรีรวิทยาของโรค
การตีบของลิ้นหัวใจไมตรัลทำให้หัวใจห้องบนซ้ายต้องเพิ่มแรงบีบตัวเพื่อให้เลือดไหลผ่านลิ้นที่ตีบเข้าสู่หัวใจห้องล่างซ้าย จึงทำให้ความดันในห้องหัวใจบนซ้ายสูงขึ้น ส่งผลให้ระยะต่อมาจะมีการเพิ่มขึ้นของความต้านทานในระบบไหลเวียนเลือดที่ปอด เกิดภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง (pulmonary hypertension) และปอดบวมน้ำ (pulmonary congestion) ในระยะยาวจะทำให้เกิดภาวะหัวใจด้านขวาล้มเหลวได้ (right-sided herat failure) ขณะที่หัวใจห้องล่างซ้ายแม้ยังมีการหดตัวได้ตามปกติแต่ปริมาณเลือดที่ไหลเข้าจะลดลง ทำให้มีปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงร่างกาย
(cardiac output) ลดลง
การวินิจฉัยโรค
การตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกาย
พบว่าเด็กตัวเล็กไม่เหมาะสม กับอายุ พัฒนาการล่าช้า ไม่อาการเขียว นิ้วมือนิ้วเท้าปุ้ม (clubbing of digit ) ตาขาวแดง(ejected eye) บริเวณ ทรวงอกโดยเฉพาะด้านซ้าย มีการเต้นหรือกระเพื่อมขึ้น ลงตลอดเวลา มีเหงื่อออกมากผิดปกติ
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การเจาะเลือดเพื่อหาฮีมาโตคริท (hematocrit, Hct) ตรวจพบว่า Hct สูงมากกว่าร้อยละ 60 ซึ่งเรียกว่า ภาวะเลือดเข้มข้น (polycythemia) ซึ่งพบในเด็กโรค หัวใจชนิดที่มีอาการเขียวที่มีเลือดไปปอดน้อยเช่น TOF หรือเด็กอายุมากกว่า1 ปีตรวจพบ Hct มากกว่าร้อยละ 40 ให้นึกถึงโรคหัวใจชนิดเขียว เป็นต้น
การตรวจพิเศษ
1.ภาพถ่ายรังสีทรวงอกและหัวใจ (chest x-ray) เพื่อดูขนาดหัวใจ และรูปร่าง ลักษณะหลอดเลือดของปอด ปริมาณและรูปร่าง นอกจากนี้สิ่งตรวจพบอื่น ๆ ที่อาจช่วยในการวินิจฉัย
2.การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram) พบว่า มีหัวใจห้องล่างขวาโตทุกราย รายที่เป็นรุนแรงอาจมีหัวใจห้องบนขวาโตร่วมด้วย แกน QRS เบี่ยงเบนไปทางขวา
3.การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (echocardiography) บ พบว่ามีหัวใจห้องล่างขวาหนา เอออร์ตาใหญ่คร่อม VSD บริเวณ infundibu หนาตัวขนาด pulmonary valve เล็ก aortic root โต
4.การสวนหัวใจ (cardiac catheterization) พบความดันเลือดในหัวใจห้องล่างขวาผ่าน VSD ไปยังเอออร์ตาได้
5.ภาพสารทึบรังสี โดยฉีดสารทึบรังสีเข้าไปใน right ventricleแล้วถ่ายภาพ biplane หรือ right anterior oblique หรือ lateral จะเห็นลักษณะลิ้นหัวใจพัลโมนารี
อาการและอาการแสดง
โดยทั่วไป การตีบแคบของหัวใจนี้ไม่ทำให้เกิดอาการ ยกเว้นในรายที่มีการตีบแคบมาก จะมีอาการเหนื่อยง่ายเวลาออกกำลังกาย มีอาการหน้ามืด เป็นลม บางรายอาจเห็นอาการเขียวได้ ในรายที่เป็นระยะยาวและรุนแรงอาจมีอาการหัวใจห้องล่างขวาวายได้
การวินิจฉัยพยาบาล
วินิจฉัยการพยาบาล ๑
ข้อมูลสนับสนุน
ประวัติเป็นหวัดบ่อย และตรวจพบว่าเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
ซีด เป็นลมบ่อย เหนื่อยหอบง่าย
การตรวจวัดสัญญาณชีพมีการเปลี่ยนแปลงทั้งอัตราและจังหวะ
ฟังเสียงหัวใจพบว่ามีเสียงผิดปกติ เช่น เสียงฟู่ สังเกตสีผิว ซีด ลักษณะหน้าอกนูนผิดปกติ มีอาการบวม
ภายถ่ายรังสีหัวใจ การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจมีความผิดปกติ
อิเล็กโทรไลท์ผิดปกติ เป้าหมาย ปริมาณเลือดออกจากหัวใจต่อนาทีปกติ / การกำซาบเลือดของเนื้อเยื่อเพียงพอ
ปริมาณเลือดออกจากหัวใจต่อนาทีลดลง /การกำซาบเลือดของเนื้อเยื่อลดลงเนื่องจากหัวใจล้มเหลว / ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลงจากโรคหัวใจแต่กำเนิด
ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
การตรวจวัดสัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติทั้งอัตราและจังหวะ
ผิวหนังปลายมือปลายเท้าอุ่น ไม่มีอาการอ่อนเพลีย/บวม
ปัสสาวะไม่น้อยกว่า ๑ มิลลิลิตร/กิโลกรัม/ชั่วโมง โซเดียม=๑๓๕-๑๔๕ mEg/L โปแตสเซียม=๓.๕-๕ mEg/L
กิจกรรมการพยาบาล
สังเกตและประเมินการทำงานของหัวใจและปอด โดยการตรวจวัดสัญญาณชีพ นับชีพจรและฟังเสียงการเต้นของหัวใจ
นับการหายใจและฟังเสียงปอด สังเกตลักษณะการหายใจช้าหรือเร็ว
มีภาวะหายใจลำบาก
ให้เด็กได้พักผ่อนเพื่อลดการทำงานของหัวใจ โดยจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมและควรปล่อยให้เด็กร้องไห้ หรือออกกำลังกายมาก
จำกัดจำนวนเกลือในอาหารเพื่อป้องกันการคั่งสะสมของโซเดียม
จำกัดจำนวนน้ำที่เข้าสู้ร่างกายปกติจะให้น้ำประมาณ ๕๐ –๘๐ เปอร์เซ็นต์ของปริมาตรน้ำที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน
5.. รักษาอุณหภูมิร่างกายให้คงที่ โดยการสวมเสื้อผ้าที่เหมาะสม สังเกตสีผิว ความอบอุ่นของปลายมือ ปลายเท้า
6.ให้ยาตามแผนการรักษา ให้ยาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ
7.ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ค่าอิเล็กโทรไลท์
วินิจฉัยการพยาบาล ๒
รูปแบบการหายใจขาดประสิทธิภาพ หรือ การแลกเปลี่ยนก๊าซขาดประสิทธิภาพ เนื่องจาก น้ำ เลือดคั่งในปอด/ปอดชื้น / มีการติดเชื้อที่ปอด
ข้อมูลสนับสนุน
คำบอกเล่าของบิดามารดาเกี่ยวกับอาการมีเสมหะคั่งของเด็ก มีประวัติเป็นหวัด ปอดอักเสบบ่อยหายใจลำบาก เหนื่อยง่าย
การวัดสัญญาณชีพมีการเปลี่ยนแปลง อัตราการหายใจช้าหรือเร็ว ลักษณะการหายใจลำบาก ฟังปอดพบเสียงผิดปกติ เช่น เสียง crepitation ลักษณะสีผิวซีด เขียว
ผลการตรวจนับเม็ดเลือดขาว ผลการเพาะเชื้อจากเลือด เสมหะ ผลการถ่ายภาพรังสีปอดผิดปกติ เป้าหมายรูปแบบการหายใจมีประสิทธิภาพ
ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
1.การหายใจปกติทั้งอัตราและจังหวะ
เด็กแรกเกิด (0 – 2 เดือน)อัตราการหายใจไม่เกิน 60 ครั้ง/นาทีและสม่ำเสมอ
เด็กเล็ก (2เดือน – 1ปี)อัตราการหายใจไม่เกิน 50 ครั้ง/นาทีและสม่ำเสมอ
เด็กโต (1 – 5 ปี) อัตราการหายใจไม่เกิน 40ครั้ง/นาทีและสม่ำเสมอ
เด็กโต (5 – 8 ปี) อัตราการหายใจไม่เกิน 30 ครั้ง/นาทีและสม่ำเสมอ
2.ไม่มีภาวะหายใจลำบาก / เหนื่อยหอบ
3.ฟังเสียงปอดทั้งสองข้างปกติ
4.ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่พบเชื้อ
5.ผลการถ่ายภาพรังสีปอดปกติ
กิจกรรมการพยาบาล
1.สังเกตและประเมินภาวการณ์ทำงานของปอด โดยการตรวจวัดสัญญาณชีพ อาการเหนื่อยหอบ ภาวะหายใจลำบาก ประเมินระดับการรับรู้สติของเด็ก
2.จัดท่านอนให้ศีรษะสูง (semi fowler’s position) หรือใช้เก้าอี้นั่ง (cardiac chair) เพื่อให้ปอดขยายดีขึ้น
3.ให้เด็กได้พักผ่อนโดยจัดสภาพแวดล้อมและการจัดกิจกรรม ไม่ปล่อยให้เด็กร้องไห้หรือออกกำลังมาก
4.ดูแลให้ออกซิเจนอย่างเหมาะสมตามแผนการรักษา
5.ในรายที่มีเสมหะอาจต้องดูดโดยใช้ลูกยางแดงหรือใช้เครื่องดูดเสมหะ
6.การให้นม ให้ดูดครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง ให้พักระหว่างการดูดแต่ละมื้อ กรณีให้นมผสม เลือกหัวนมที่นุ่ม มีขนาดรูพอเหมาะ เพื่อไม่ใช้แรงในการดูดนมมากเกินไป ถ้าเด็กมีอาการเหนื่อยหอบอาจต้องให้นมโดยการใส่สายยางเข้าสู่กระเพาะอาหาร (nasogastric drip)
แนวทางการให้การพยาบาลและข้อแนะนำ
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจที่มีภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิดที่ไม่ต้องอยู่โรงพยาบาล ผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจที่ไม่มีภาวะหัวใจวาย มักไม่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล บิดา มารดามักได้รับคำแนะนำให้ดูแลบุตรอยู่กับบ้าน สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งคือคำแนะนำของพยาบาลเกี่ยวกับการดูแลบุตรโรคหัวใจที่ถูกต้องและครอบคลุมในเรื่องต่อไปนี้
1.ดูแลให้อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ มีโปรตีนและแคลอรี่เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโต
2.ดูแลให้น้ำในปริมาณที่จำกัด หรือจำกัดปริมาณนมต่อวันตามแผนการรักษา เพื่อป้องกันการคั่งของน้ำในร่างกาย
3.ดูแลให้ยาตามแผนการรักษาซึ่งส่วนใหญ่ยาที่ได้รับจะเป็นกลุ่มยา lanoxin ง เน้นว่ายาที่เป็นยาอันตรายมาก ต้องระมัดระวังในการให้ ต้องให้ถูกขนาดถูกเวลา ไม่เพิ่มขนาดยาเองอันตรายอย่างยิ่งถ้าเด็กอาเจียนหลังใช้ยาเกิน 10 นาที ไม่ควรให้ยาซ้ำ ไม่ควรผสมยาในนมหรืออาหารเพราะอาจทำให้เด็กได้ยาไม่ครบ ควรใช้กระบอกฉีดยาดูดยาจากขวดในปริมาณที่ถูกต้อง
4.ดูแลเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ปอด โดยดูแลเรื่องความสะอาดของช่องปาก หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับบุคคลที่เป็นหวัดไอ เจ็บคอ หรือหลีกเลี่ยงการพาบุตรไปที่ชุมชน หรือถ้าบุตรเริ่มเป็นหวัดควรรีบรักษาให้หายโดยเร็ว
5.ส่งเสริมสนับสนุนให้บุตรได้ออกแรง หรือออกกำลังกาย แต่จะต้องคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
6.มาตรวจตามนัด มาพบแพทย์แต่ละครั้งเด็กจะได้รับการประเมินปัญหาของโรคหัวใจ และจะได้รับคำแนะนำการดูแลที่อาจปรับเปลี่ยนไปบ้างในแต่ละครั้ง หรืออาจจะได้รับการปรับ
ขนาดของยาที่ได้รับหรือปรับปริมารน้ำหรือนมที่ได้