Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
รูปแบบการจัดสัมมนาแบบ Panel discussion - Coggle Diagram
รูปแบบการจัดสัมมนาแบบ Panel discussion
ความหมาย
เป็นการอภิปรายที่แยกคณะผู้อภิปรายจากผู้ฟัง โดยคณะผู้อภิปรายจะประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุมิหรือผู้เชี่ยวชาญจากสาขาวิชาต่างๆในเรื่องที่จะอภิปรายประมาณ 3-6 คนมาร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและนำเสนอองค์ความรู้ต่างๆจากประสบการณ์หรือความเชี่ยวชาญในเรื่องหรือหัวข้อที่กำหนดต่อผู้ฟัง
วิธีการดำเนินงาน
มีผู้มีดำเนินการอภิปราย (Moderator) จำนวน 1 คน ทำหน้าที่เชื่อมโยงความคิดเห็น ซักถาม ควบคุมและสรุปผลการอภิปราย พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถามหรือแสดงความคิดเห็น วิธีการอภิปรายจะแบ่งเป็นรอบ ส่วนใหญ่ไม่เกิน 2 รอบโดยมักจะกำหนดเวลารอบแรกมากกว่ารอบที่สอง รอบแรกจะให้ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญนำเสนอองค์ความรู้ในเวลาที่กำหนดให้ ส่วนรอบที่สองให้สรุปประเด็น หรือเติมเต็มความรู้จากรอบแรก หรือแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม จากนั้นจึงเปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถามและถ้าตรงกับเรื่องใดผู้เชี่ยวชาญท่านั้นจะเป็นผู้ตอบ และตอนท้ายผู้ดำเนินการอภิปราย (Moderator) จะเป็นผู้สรุปความคิดเห็นของผู้สรุปความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ
ลักษณะการจัดโต๊ะเก้าอี้ มักจัดเป็นแบบห้องเรียนหรือแบบโรงละคร
ข้อดี
ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ วิจารณ์ ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น
ส่งเสริมให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ
ส่งเสริมให้ผู้เรียนกล้าคิด กล้าพูด กล้าตัดสินใจและกล้าแสดงออก
ฝึกความเป็นประชาธิปไตย เคารพสิทธิและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ช่วยให้ผู้สอนรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคลมากขึ้น
ข้อจำกัด
จะใช้เวลามากพอสมควร ถ้าให้โอกาสผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึง
ผู้เรียนบางส่วนอาจไม่กล้าแสดงความคิดเห็นจะทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้เท่าที่ควร
ผู้เรียนบางคนอาจผูกขาดการอภิปราย ทำให้ผู้อื่นไม่ได้แสดงความคิดเห็น
ในระยะเวลาที่กำหนด ผู้อภิปรายอาจไม่สามารถเสนอความคิดเห็นหรือตอบปัญหาได้อย่างเต็มที่
อ้างอิง
อรุณกมล อินทร์จันทร์. (2558). เทคนิคการฝึกอบรม. สืบค้นวันที่ 19 พฤษภาคม 2564. จาก
https://trainingaem.wordpress.com/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9D%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1/
ประโยชน์ที่ได้รับ
จากการทำงานชิ้นนี้
ได้รู้จักการจัดสัมมนาแบบอภิปราย (Discussion) มากขึ้น