Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Mental status examination - Coggle Diagram
Mental status examination
การซักประวัติ
ชายไทย อายุ 26 ปี อาชีพ เกษตรกร สถานภาพ โสด
ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน
2 เดือนก่อนมาโรงพยาบาล กลางคืนไม่หลับ พูดคนเดียว หงุดหงิดก้าวร้าว อาละวาด ทำลายข้าวของ ไม่ได้รับการรักษา
2 วันก่อนมาโรงพยาบาลกลางคืนไม่หลับ พูดคนเดียว พูดกวน หงุดหงิดก้าวร้าว อาละวาด ทำลายข้าวของมากขึ้นญาติจึงนำตัวส่งโรงพยาบาลสวนสราญรมย์
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
ปฎิเสธการเจ็บป่วยในอดีต
ประวัติส่วนตัว
ผู้ป่วยชื่อนาย นนท์ศักดิ์ นวลปาน อายุ 26 ปี สัญชาติ ไทย ศาสนา พุทธ
จบชั้นมัธยมศึกษาปีที 6 ปัจจุบันอาศัยอยู่จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้ป่วยเป็นคนอารมณ์ดี ชอบเข้าสังคม พูดคุยสนุกสนาน ประกอบอาชีพ เกษตรกร
ประวัติครอบครัว
ผู้ป่วยเล่าว่าตนเองอาศัยอยู่กับพ่อแม่ มีพี่น้อง 3 คน ตนเป็นบุตรคนที่ 3 สมาชิกในครอบครัวดูแลเป็นอย่างดี ผู้ป่วยและญาติปฏิเสธการเจ็บป่วยในครอบครัว
ประวัติทางสังคม
ผู้ป่วยเล่าว่าตนเรียนจบ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปัจจุบันประกอบอาชีพเกษตรกร ผู้ป่วยเป็นคนอารมณ์ดี ชอบเข้าสังคม พูดคุยสนุกสนาน จึงทำให้ผู้ป่วยมีเพื่อนจำนวนมาก เพื่อนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมใช้สารเสพติดทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมใช้สารเสพติดตามเพื่อน
อาการสำคัญ
2 วันก่อนมาโรงพยาบาลกลางคืนไม่หลับ พูดคนเดียว หูแว่ว อาละวาดทำลายข้าวของ
การตรวจสภาพจิต
ลักษณะท่าทางทั่วไป
General appearance
ผู้ป่วยชายไทย อายุ 26 ปี รูปร่างสมส่วนผิวคล้ำ แต่งกายด้วยเสื้อยืดสีดำ กางเกง 3 ส่วน ผมสั้นใบหน่ามีเคราเล็กน้อย เดินมาในห้อง ER พร้อมกับเจ้าหน้าที่ควบคุม 2 คน และมารดา มาด้วยสีหน้าเคร่งเครียด มีอาการหวาดระแวง สามารถเดินขึ้นเตียงได้เอง ไม่มีอาการก้าวร้าว วุ่นวาย สามารถควบคุมตนเองได้ แต่เนื่องจากมีอาการหวาดระแวงเจ้าหน้าที่จึงผูกยึดผู้ป่วย (Restraint)
การเคลื่อนไหว
ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวร่างกายปกติ แต่มีอาการของหนังตากระตุก (tics) ทั้ง 2 ข้าง ขณะพูด เมื่อนักศึกษาถามว่ารู้ตัวหรือไหม ผู้ป่วยตอบว่าไม่รู้ตัว ลักษณะการเดิน การจับสิ่งของเป็นปกติ
สรุป: ผู้ป่วยไม่มีความผิดปกติของการเคลื่อนไหว
การพูด(Speech)
ผู้ป่วยมีลักษณะ การพูดเสียงดังฟังชัด พูดเร็ว ตะกุกตะกักมีการพูดติดอ่าง(stuttering)เล็กน้อย และหยุดพูดบ่อยครั้ง(blocking) ขณะพูดมีการหัวเราะบ่อยครั้งมีอารมณ์สอดคล้องกับสิ่งที่พูดตอบตรงคำถาม(relevant speech) พูดตอบได้ต่อเนื่อง(coherent speech) พูดในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องกัน
อารมณ์(mood)
ผู้ป่วยมีอารมณ์เฉยเมย(blunted or flat affect) ไม่มีอารมณ์หงุดหงิด(irritable affect) มีอาการกังวล(anxious affect)เล็กน้อย
ความคิด(thought)
ผู้ป่วยมีกระแสความคิด(thought process)และเนื้อหาความคิด(thought content)เป็นปกติ ไม่มีอาการหลงผิด(delusion) ย้ำคิด(obsession though) ความคิดหมกมุ่น(preoccupation though) อาการกลัวที่ผิดปกติ(phobia) และความคิดฆ่าตัวตาย(Suicidal idea)
สรุป:ไม่มีความผิดปกติของความคิด(thought)
การรับรู้ทางประสาท
สัมผัสทั้ง 5 ด้าน
ผู้ป่วยมีอาการภาพหลอน(visual hallucinations)โดยผู้ป่วยเห็นเป็นผู้หญิง สาวงามและรูปภาพวาด เงาดำ
มีอาการหูแว่ว(auditory hallucinations) โดยผู้ป่วยเล่าว่าตนได้ยินเสียงสาวๆมาพูดคุยด้วยและเสียงข่มขู่บางครั้ง
มีอาการกลิ่นหลอน(olfactory hallucinations)โดยผู้ป่วยเล่าว่าตนได้กลิ่นน้ำหอมผู้หญิงในเวลากลางคืนบ่อยครั้งโดยที่บริเวณนั้นไม่มีใคร
สัมผัสหลอน(tactile hallucinations)โดยผู้ป้วยเล่าว่าตนรู้สึกเหมือนมีเเมลงมาไต่ตอมตนเองตลอดเวลาโดยที่ไม่ได้มีอะไรมาไต่ตอมเลย
การรับรส(gastatory hallucinations)โดยผู้ป่วยปฏิเสธอาการการรับรสที่ผิดปกติ
การรับรู้วัน เวลา สถานที่ บุคคล
(orientation)
ผู้ป่วยสามารถบอกว่า วันนี้วันที่ 26 มีนาคม 2564 เวลา 15.00 น. สามารถบอกได้ว่าตนเองอยู่ที่โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ และสามารถบอกได้ว่าวันนี้มากับแม่ พี่สาวและพี่ชาย สามารถบอกชื่อสมาชิกในครอบครัวได้ ซึ่งถูกต้องตามความจริง
การรับรู้การเจ็บป่วย
ผู้ป่วยตระหนักรู้ถึงความเจ็บป่วยของตน โดยยอมรับว่าตนป่วย เนื่องจากได้ยิน เห็น และได้กลิ่นที่ผู้อื่นไม่ได้ยิน ไม่เห็น และไม่ได้กลิ่น แต่สามารถดูแลตนเองให้เหมาะสมได้
สรุป:ผู้ป่วยยอมรับและรับรู้การเจ็บป่วบทางจิตของตนเอง
การตัดสินใจ(judgment)
จากการทดสอบถามคำถามดังต่อไปนี้
Q:พบจดหมายจ่าหน้าซองปิดสแตมป์ไม่ได้เป็นชื่อของผู้ป่วยตกอยู่บนถนนจะทำอย่างไร
ผู้ป่วยตอบว่า:ไม่สนใจไว้ที่เดิม
Q:ออกจากบ้านแล้วลืมกุญแจทิ้งไว้ในบ้านจะทำอย่างไร
ผู้ป่วยตอบว่า:หาเครื่องมือช่างเปิดประตู
Q:เห็นไฟไหม้ขณะดูภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์จะทำอย่างไร
ผู้ป่วยตอบว่า:รีบบอกเจ้าหน้าที่
ซึ่งผู้ป่วยมีการตัดสินใจได้พอสมควร โดยแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม 2 ใน 3 ข้อ ที่นักศึกษาถาม
แปลผลได้ว่า fair judgment
ความจำ memory
ความจำในอดีต(remote memory):ผู้ป่วยสามารถบอกวัน เดือน ปีเกิด และภูมิลำเนาของตนเองได้ถูกต้อง
ความทรงจำระยะกลาง(recent memory):ผู้ป่วยสามารถบอกได้ว่าตนเองรับประทานอาหารมื้อล่าสุดได้ตรงตามที่ญาติให้ข้อมูล
ความทรงจำระยะใกล้(immediate memory and recall):จากการทดสอบโดยให้ผู้ป่วยจำสิ่งของ 3 สิ่ง ที่ไม่สัมพันธ์กัน คื เก้าอี้ ดอกไม้ นาฬิกา ซึ่งผู้ป่วยสามารถพูดทวนทันทีหลังนักศึกษาพูดจบได้ถูกต้อง ซึ่งหมายความว่าผู้ป่วยมี immediate recall memory ดี และบอกว่าให้ผู้ป่วยจำไว้ หลังจากนั้น 3-5 นาที นักศึกษาได้ถามใหม่อีกครั้งผู้ป่วยสามารถตอบได้ตรงทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าผู้ป่วยมี immediate recall memory ดี
สมาธิ concentration
นักศึกษาได้ทดสอบโดยการให้ผู้ป่วย ลบเลขในใจเป็นชุดต่อเนื่องไป โดยให้ 100 - 7 = 93(ผู้ป่วยตอบได้) 93-7= 86(ผู้ป่วยตอบได้) 86- 7= 79 (ผู้ป่วยไม่สามารถตอบได้) ซึ่งผลเป็น concentration: 100-7 : 2 on serial’s seven
สติปัญญาและเชาว์ปัญญา
(intellectual functions)
จากการทดสอบนักศึกษาได้ถามคำถามประเมินสติปัญญาและเชาว์ปัญญาดังนี้
Q:นายกรัฐมนตรี ของประเทศชื่ออะไร ผู้ป่วยตอบว่า: ชื่อประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งหมายความว่า ผู้ป่วยมีระดับสติปัญญาและเชาว์ปัญญาเหมาะสมกับวัย
จัดทำโดย นางสาวเบญจมาศ เพชรเจริญ รหัสนักศึกษา 6111431060 ห้อง 34/1