Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
4.1 ภาวะอาเจียนรุนแรงในระยะตั้งครรภ์ Hyperemesis gravidarum, image, image,…
4.1 ภาวะอาเจียนรุนแรงในระยะตั้งครรภ์ Hyperemesis gravidarum
ความหมายภาวะอาเจียนรุ่นแรงในระยะตั้งครรภ์
ภาวะที่มีอาการคลื่นไส้อย่างรุนแรง และต่อเนื่องเป็นเวลานาน
อาจพบตั้งแต่ไตรมาสแรก และต่อเนื่องไปตลอดการตั้งครรภ์
ส่งผลให้ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ
เป็นสาเหตุของการขาดความสมดุลของสารน้ำและสารอาหารในร่างกาย
อุบัติการณ์ของการแพ้ท้องอย่างรุนแรงพบได้ประมาณร้อยละ 2 ของการตั้งครรภ์
สาเหตุ
ปัจจัยด้านมารดา
การตั้งครรภ์ที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง
มีประวัติการแพ้ท้องอย่างรุนแรงในครรภ์กอน
มีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์
มีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
5.กระเพาะอาหารมีการเคลื่อนไหวลดลง
สภาพจิตใจ ความเครียด และความวิตกกังวล
ปัจจัยด้านทารก
ทารกมีความผิดปกติเกี่ยวกับโครโมโซม Triploidy, Trisomy 21
ทารกบวมน้ำ
อาการและอาการแสดง
มีอาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง เป็นระยะเวลานาน อาจตลอดทั้งวัน อาการรุนแรงอาจเพิ่มมากขึ้น จนไม่สามารถยับยั้งได้
อาการอาเจียนไม่รุนแรงมาก สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ Body weight (BW) ลดลงเล็กน้อย ไม่มีอาการ dehydration
อาการอาเจียนรุนแรงมากขึ้น คือมีอาการอาเจียน 5-10 ครั้งต่อวัน หรือมากกว่า
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อมารดา
1.ทำให้ร่างกายเกิดการขาดน้ำ ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น
2.เกิดภาวะความเป็นกรดในร่างกาย เกิดภาวะกรดในกระแสเลือด
3.ถ้ามีอาการรุนแรง ร่างกายจะเสียสมดุลของอิเลคโทรลัยท์ และเกิดภาวะ hypokalemie, alkalosis และกล้ามเนื้ออ่อนแรง
4.เกิดภาวะขาดสารอาหาร มีผลกระทบต่อตับ ค่า SGOT เพิ่มขึ้น
ผลกระทบต่อทารก
1.หากสตรีตั้งครรภ์มีน้ำหนักลดลงมาก จะทำให้ทารกในครรภ์เติบโตช้า และน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่าปกติ
2.หากสตรีตั้งครรภ์มีอาการรุนแรงมาก จะเกิดภาวะเป็นกรดในร่างกาย อาจทำให้ทารกเกิดภาวะ Wernicke's encephalopathy
3.อาจทำให้แท้ง หรือคลอดก่อนกำหนดได้
การวินิจฉัย
1.ซักประวัติ ตรวจร่างกาย ประเมินจากอาการและอาการแสดง การอาเจียน น้ำหนักตัว รวมไปถึงสภาพจิตใจ
2.การตรวจทางห้องปฏิบัติ เช่น การตรวจเลือด พบค่าฮีมาโตคริต BUN สูง โซเดียมต่ำ โปแตสเซียมต่ำ คลอไรค์ต่ำ SGOTสูง LFTสูง โปรตีนในเลือดต้ำ รวมไปถึงการตรวจปัสสาวะ
3.การตรวจพิเศษ เช่น การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง และการตรวจเจาะน้ำคร่ำ
แนวทางการรักษา
1.ควรวินิจฉัยแยกโรคภาวะอาเขียนอย่างรุนแรงจากอาการของโรคอื่นๆ เช่น โรคตับอักเสบ โรคกระเพาะอาหาร เป็นต้น
2.หากอาการไม่รุนแรงสามารถรับประทานอาหารได้ แนะนำให้รับประทาน น้ำตะไคร้ น้ำใบเตย น้ำกระเจี๊ยบ เป็นต้น
3.หากอาการรุนแรงมาก ควรงดน้ำและอาหารทางปาก และรีบแก้ไขภาวะขาดน้ำ โดยการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ 5% D/NSS 1,000 ml
4.การรักษาด้วยยา ได้แก่ ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน, วิตามินบี 6, ยาคลายวิตกกังวลหรือยานอนหลับ
5.ถ้าอาการดีขึ้นให้รับประทานอาหารอ่อน ครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้งทุก 2-3 ชั่วโมง
6.หลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นทำให้คลื่นไส้อาเจียน
การพยาบาล
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD)
1.อธิบายสาเหตุของการเกิดภาวะอาเจียนรุนแรง และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
2.แนะนำวิธีการป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียน เช่น รับประทานอาหารครั้งละน้อย แต่บ่อยครั้ง ไม่ควรให้กระเพาะอาหารว่าง งดอาหารไขมัน เพราะย่อยยาก ควรรับประทานอาหารแข็ง ย่อยง่าย เพื่อลดอาการอาเจียน รับประทานอาหารเหลว อาหารน้ำ หรือดื่มน้ำระหว่างมื้ออาหาร แทนการดื่มพร้อมรับประทานอาหาร
3.หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดและอาหารที่มีกลิ่นแรง
4.หลังรับประทานอาหารไม่ควรนอนทันที
5.ดูแลความสะอาดของปากและฟัน บ้วนปากบ่อย ๆ ไม่ควรให้ปากแห้งแตกและสกปรก เพราะจะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน
6.แนะนำการพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง
7.แนะนำให้จิบเครื่องดื่มอุ่นๆ เช่น น้ำขิง
8.แนะนำให้รับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว เพื่อให้ร่างกายได้รบพลังงานอย่างเพียงพอ เข่น น้ำหวาน
9.แนะนำให้รับประทาน น้ำตะไคร้ น้ำใบเตย น้ำผลไม้ น้ำกระเจี๊ยบกล้วย แคนตาลูป สัปปะรด ฝรั่ง
10.แนะนำวิธีการรับประทานยาแก้อาเจียนตามแผนการรักษา
11.ให้คำปรึกษาในการปรับแบบแผนการรับประทานอาหาร
12.ช่วยประคับประคองด้านจิตใจ โดยเปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์ได้พูดถึงปัญหา ให้การปรึกษาเพื่อการแก้ไข
13.แนะนำให้มาพบแพทย์เมื่อมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากขึ้น
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
1.ดูแลให้งดอาหารและน้ำทางปาก (NPO) อย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง
2.หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
3.ดูแลความสะอาดของช่องปากและฟัน
4.ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ เพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำ ประมาณ 3,000 ml. ใน 24 ชั่วโมง
5.ดูแลให้ยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ตามแผนการรักษา
6.บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าออกร่างกาย (I/O)ไม่ควรน้อยกว่า 1,000 ml ต่อวัน
7.ดูแลสิ่งแวดล้อมให้สะอาด เงียบสงบ เหมาะแก่การพักผ่อน
8.เมื่ออาการดีขึ้น ให้เริ่มรับประทานอาหารมื้อละน้อยแต่บ่อยครั้ง โดยเริ่มจากอาหารแข็ง ย่อยง่าย
9.รับประทานอาหารครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้ง ไม่ควรให้กระเพาะอาหารว่าง
10.งดอาหารไขมัน เพราะย่อยยากและทำให้คลื่นไส้
11.ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก จำเป็นต้องให้อาหารทางสายยาง หรือให้สารอาหารทดแทนทางหลอดเลือดดำ โดยเป็นอาหารเหลวที่มีแคลอรี่และวิตามินสูง
12.ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และรายงานแพทย์ให้ทราบทันที
13.แนะนำให้คู่สมรสหรือบุคคลในครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือสตรีตั้งครรภ์อย่างใกล้ชิด
14.ดูแลด้านจิตใจโดยการอยู่เป็นเพื่อน ให้กำลังใจ เปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย
15.ปรึกษาและส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษา เพื่อแก้ไขปัญหาด้านจิตใจ
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์เมื่อกลับไปอยู่บ้าน
1.แนะนำการรับประทานอาหาร โดยให้ปรับเปลี่ยนแบบแผนการรับประทานอาหารครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้ง
2.แนะนำให้ดื่มน้ำอุ่นทันทีที่ตื่นนอนประมาณครึ่งแก้ว แล้วนอนต่ออีก 15 นาทีก่อนที่จะลุกไปปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
3.แนะนำให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ นอนอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมงในเวลากลางคืน และ 1 ชั่วโมงในเวลากลางวัน
4.แนะนำให้ออกกำลังกายเบาๆ อย่างสม่ำเสมอ
5.แนะนำให้หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เกิดความเครียด ทำจิตใจให้สบาย และใช้เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น ดูหนัง ฟังเพลง
6.อธิบายให้คู่สมรสและครอบครัวเข้าใจถึงภาวะที่เกิดขึ้น และควรให้การช่วยเหลือสตรีตั้งครรภ์อย่างใกล้ชิด
7.แนะนำให้เห็นความสำคัญของการมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
สรุป
อาการคลื่นไส้อาเจียนรุนแรงในสตรีตังครรภ์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ และการปรับตัวด้านจิตสังคม อาการคลื่นไส้อาเจียนที่รุนแรงจะส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของสตรีตั้งครรภ์ และสุขภาพของทารกในครรภ์