Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะอาเจียนรุนแรงในระยะตั้งครรภ์(Hyperemesis gravidarum), 00, ส, ก, พ, ข,…
ภาวะอาเจียนรุนแรงในระยะตั้งครรภ์(Hyperemesis gravidarum)
สาเหตุ
ปัจจัยด้านมารดา
การตั้งครรภ์ที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) สูง
มีประประติการแพ้ท้องอย่างรุนแรงในครรภ์ก่อน หรือเป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรก
มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่เหมาะสมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์
มีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
กระเพาะอาหารมีการเคลื่อนไหวลดลง
สภาพจิตใจ ความเครียด ความวิตกกังวล
ปัจจัยด้านทารก
ทารกมีความผิดปกติเกี่ยวกับโครโมโซม
triploidy
trisomy 21
ทารกบวมน้ำ (hydrops fetalis)
อาการและอาการแสดง
มีอาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง เป็นระยะเวลานานอาจตลอดทั้งวัน
หากอาเจียนรุนแรงไม่มาก สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติ น้ำหนักจะลดลงเล็กน้อย
หากมีอาการรุนแรง 5-10 ครั้งต่อวัน เป็นเวลาหลายวัน จะมีอาการดังนี้
ขาดสารอาหาร และน้ำหนักลดลงมาก
มีอาการแสดงของภาวะขาดสารน้ำ (dehydration)
อ่อนเพลีย
ทำกิจวัตรประจำวันไม่ได้
ริมฝีปากแห้ง
ผิวหนังแห้งขาดความชุ่มชื้น
มีไข้
ปัสสาวะน้อย
ความดันโลหิตลดลง
เกิดความไม่สมดุลของร่างกาย
เกิดภาวะ acidosis
เกิดภาวะ alkalosis
ความไม่สมดุลของเกลือแร่
ลมหายใจมีกลิ่นอะซิโตน (acetone)
มีอาการแสดงของกลุ่มอาการ Wenicke’s encephalopathy
อาการมองเห็นภาพไม่ชัด(ophthalmoplegia)
เซ (gait ataxia)
สับสน(confusion)
มีอาการแสดงทางด้านจิตใจ
ความเครียด
ความวิตกวังวล
ภาวะซึมเศร้า
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อมารดา
ทำให้ร่างกายเกิดการขาดน้ำ
เกิดภาวะความเป็นกรดในร่างกาย
ร่างกายเสียสมดุลของอิเลคโตรลัยท์
เกิดภาวะ hypokalemia
เกิดภาวะ alkalosis
กล้ามเนื้ออ่อนแรง
เกิดภาวะขาดสารอาหาร
ผลกระทบต่อทารกในครรภ
ทารกในครรภ์เติบโตช้า และน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่าปกติ
เกิดภาวะ Wernicke’s encephalopathy
อาจแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด
ทารกพิการจากการขาดสารอาหาร
การวินิจฉัย
การซักประวัติ ตรวจร่างกาย
ประเมินอาการอาเจียนรุนแรง
การขาดสารน้ำสารอาหาร
น้ำหนักตัว
สภาพจิตใจ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจเลือด
ฮีมาโตคริตสูง
BUN สูง
โซเดียมต่ำ
โปแตสเซียมต่ำ
คลอไรด์ต่ำ
SGOT สูง
LFT สูง
โปรตีนในเลือดต่ำ
การตรวจปัสสาวะ
มีความถ่วงจำเพาะสูง
ไข่ขาวในปัสสาวะเพิ่มขึ้น
พบคีโตในปัสสาวะ
พบน้ำดีในปัสสาวะ
การตรวจพิเศษ
การตั้งครรภ์แฝด
ครรภ์ไข่ปลาอุก
trisomy21
hydrops fetalis
แนวทางการรักษา
ควรวินิจฉัยแยกโรคภาวะอาเจียนอย่างรุนแรงจากอาการของโรคอื่นๆ
แนะนำให้รับประทานอาหารที่ช่วยทดแทน
เกลือแร่ที่สูญเสียไปกับการอาเจียน
หากอาการรุนแรงมาก ควรงดอาหารและน้ำทางปาก และรีบแก้ไขภาวะขาดน้ำ
การรักษาด้วยยา
ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน
Metoclopramide 5-10 mg
Promethazine 12.5–25 mg
วิตตามิน
วิตามินบี 6 (Pyridoxine) 10-25 mg
ยาคลายกังวล และยานอนหลับ
Diazepam 2 mg
Diazepam 5 mg
เมื่ออาการแพ้ท้องรุนแรงดีขึ้น
ให้รับประทานอาหารอ่อน ครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้งทุก 2-3 ชั่วโมง
รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของขิงสามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้
หลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อม และสิ่งกระตุ้นที่ทำให้คลื่นไส้อาเจียน
กรณีที่รักษาไม่หายต้องทำการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของโรคที่แท้จริง
การพยาบาล
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก
อธิบายถึงสาเหตุของการเกิดภาวะอาเจียนรุนแรงและภาวะแทรกซ้อน
แนะนำวิธีการป้องกัน
รับประทานอาหารครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้ง
งดอาหารไขมันเพราะย่อยยาก ควรรับประทานอาหารแข็งเพราะย่อยง่าย
รับประทานอาหารเหลวหรือน้ำระหว่างน้ำอาหารแทนการดื่มพร้อมรับประทานอาหาร
หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดและอาหารที่มีกลิ่นแรง
หลังรับประทานอาหารไม่ควรนอนทันที
ดูแลความสะอาดของปากและฟัน บ้วนปากบ่อยๆ ไม่ควรให้ปากแห้งแตกและสกปรก
แนะนำการพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง
แนะนำให้จิบเครื่องดื่มอุ่นๆ เช่น น้ำขิง
รับประทานอาหารแข็งที่ย่อยง่าย
แนะนำให้รับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว
แนะนำให้รับประทานผลไม้
ลูกพรุน
มะละกอสุก
ส้ม
กล้วย
แคนตาลูป
แนะนำวิธีการรับประทานยาแก้อาเจียนตามแผนการรักษา
สอนวิธีการประเมินโภชนาการ การคำนวณ พลังงานที่ได้รับจากอาหารที่บริโภค
ให้คำปรึกษาในการปรับแบบแผนการรับประทานอาหาร
ช่วยประคับประคองด้านจิตใจ โดยเปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์ได้พูดถึงปัญหา
แนะนำให้มาพบแพทย์เมื่อมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากขึ้น
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ดูแลให้งดอาหารและน้ำทางปาก (NPO) อย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง
หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
ดูแลความสะอาดของช่องปากและฟัน ขณะที่ NPO หรือหลังจากอาเจียน
ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ เพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำ
ดูแลให้ยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ตามแผนการรักษา
บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าออกจากร่างกาย โดยเฉพาะ urine output ไม่ควรน้อยกว่า1,000 ml. ต่อวัน
จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด เงียบสงบ เหมาะแก่การพักผ่อน
เมื่ออาการดีขึ้น ให้เริ่มรับประทานอาหารมื้อละน้อยแต่บ่อยครั้ง โดยเริ่มจากอาหารแข็งย่อยง่าย มีคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนสูง
ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก จำเป็นต้องให้อาหารทางสายยาง หรือให้สารอาหารทดแทนทางหลอดเลือดดำโดยเป็นอาหารเหลวที่มีแคลอรี่และวิตามินสูง
ติดตามชั่งน้ำหนัก
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และรายงานแพทย์ให้ทราบทันที
แนะนำให้คู่สมรสหรือบุคคลในครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือสตรีตั้งครรภ์อย่างใกล้ชิด
ดูแลด้านจิตใจโดยการอยู่เป็นเพื่อน ให้กำลังใจ เปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย
ปรึกษาและส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษา เพื่อแก้ไขปัญหาด้านจิตใจที่อาจส่งผลให้เกิดอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์เมื่อกลับไปอยู่บ้าน
แนะนำการรับประทานอาหาร โดยปรับเปลี่ยนแบบแผนการรับประทานอาหารครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้ง เป็นอาหารที่ย่อยง่ายหรือมีโปรตีนสูง
แนะนำให้ดื่มน้ำอุ่นทันที่ตื่นนอนประมาณครึ่งแก้ว แล้วนอนต่ออีกประมาณ 15 นาทีก่อนที่จะลุกขึ้นปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
แนะนำให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อให้ร่างกายผ่อนคลาย อย่างน้อย 8 ชั่วโมงในเวลากลางคืน และกลางวันอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
แนะนำการออกกำลังกายหรือกายบริหารเบาๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้ผ่อนคลายสามารถลดความเครียด
แนะนำให้หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เกิดความเครียด
อธิบายให้คู่สมรสและครอบครัวเข้าใจถึงภาวะที่เกิดขึ้น และควรให้การช่วยเหลือสตรีตั้งครรภ์อย่างใกล้ชิด
แนะนำให้เห็นความสำคัญของการมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ และสังเกตอาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ก่อนวันนัด