Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 การพยาบาลมารดาและทารกที่มีภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมขณะตั้งครรภ์ -…
บทที่ 4 การพยาบาลมารดาและทารกที่มีภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมขณะตั้งครรภ์
4.1 ภาวะอาเจียนรุนแรงในระยะตั้งครรภ์ (Hyperemesis gravidarum)
อาจพบตั้งแต่ไตรมาสแรก และต่อเนื่องไปตลอดการตั้งครรภ์
ส่งผลให้ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ
เป็นภาวะที่สตรีตั้งครรภ์มีอาการคลื่นไส้อย่างรุนแรง และต่อเนื่องเป็นเวลานาน
เป็นสาเหตุของการขาดความสมดุลของสารน้ำและสารอาหารในร่างกาย
อุบัติการณ์ของการแพ้ท้องอย่างรุนแรงพบได้ประมาณร้อยละ 2 ของการตั้งครรภ์
สาเหตุและปัจจัยมารดาทารก
ระดับ Estrogen หรือ มีระดับ hCG เพิ่มมากกว่าปกติ
มีประวัติการแพ้ท้องอย่างรุนแรงในครรภ์ก่อน/เป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรก
มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่เหมาะสมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์
มีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
progesterone ขณะตั้งครรภ์ กระเพาะอาหารมีการเคลื่อนไหวลดลง ทำให้หลั่ง hydrochloric acid: HCI ลดลง
สภาพจิตใจ ความเครียด ความวิตกกังวล ทำให้เกิดการกระตุ้น cerebral cortex และ limbic system
ทารกมีความผิดปกติเกี่ยวกับโครโมโซม triploidy, trisomy 21
ทารกบวมน้ำ (hydrops fetalis)
อาการและอาการแสดง
อาการอาเจียนไม่รุนแรงมาก สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ Body weight (BW) ลดลงเล็กน้อย ไม่มีอาการ dehydration
มีอาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง เป็นระยะเวลานาน อาจตลอดทั้งวัน อาการรุนแรงอาจเพิ่มมากขึ้น จนไม่สามารถยับยั้งได้
อาการอาเจียนรุนแรงมากขึ้น คือมีอาการอาเจียน 5-10 ครั้งต่อวัน หรือมากกว่า เป็นเวลาหลายวัน
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
เกิดภาวะ acidosis , metabolic acidosis เนื่องจากการสูญเสียด่างในน้ำย่อยไปกับการอาเจียน ทำให้มีผลกระทบต่อระบบสมองส่วนกลาง มีอาการกระสับกระส่าย ไม่รู้สึกตัว หมดสติ
ถ้ามีอาการรุนแรงมาก เกิด electrolyte imbalance, hypokalemia, alkalosis กล้ามเนื้ออ่อนแรง
Dehydration: Body temp. สูง, BP ต่ำม PR เบาเร็ว, มีผลกระทบต่อการทำงานของไต ปัสสาวะออกน้อย มีไข้ ผิวหนังแห้ง มีอาการอ่อนเพลีย
Malnutrition: กระทบต่อตับ, SGOT เพิ่มขึ้น, มีอาการของการขาดวิตามิน; ชาปลายมือปลายเท้าจากการขาดวิตามิน B1 ขาดวิตามินซี และวิตามินบีรวม การแข็งตัวของเลือดเสีย มีเลือดออกตามไรฟัน จุดเลือดออกทั่วไปทั่วสมอง ทำให้ซึมและหมดสติ และอาจเสียชีวิตจากภาวะ hepatic coma
การวินิจฉัย
LAB:
2.1 Blood:
Hct. สูง, BUN สูง, SGOT สูง, LFT สูง Na ต่ำ, K ต่ำ, Cl. ต่ำ , Protein ต่ำ
2.2 Urine : ความถ่วงจำเพาะสูง, albumin เพิ่มขึ้น, ketonuria, ถ้าอาการรุนแรงมาก อาจพบน้ำดีในปัสสาวะได้
HX., PE, signs & symptoms : การอาเจียนรุนแรง, dehydration, BW, สภาพจิตใจ
การตรวจพิเศษ : U/S, amniocentesis
แนวทางการรักษา
วินิจฉัยแยกจากอาการอื่น: hepatitis, PU, enteritis, appendicitis, molar pregnancy
อาการไม่รุนแรงสามารถรับประทานอาหารได้ แนะนำให้ได้รับอาหารทดแทนการสูญเสียเกลือแร่ อาหารที่มี K และ Mg
หากอาการรุนแรงมาก
NPO แก้ไขภาวะขาดน้ำ ความไม่สมดุลของเกลือแร่ และความเป็นกรด-ด่างของเลือด
การพยาบาลที่ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการรักษาแบบ OPD case
หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดและอาหารที่มีกลิ่นแรง
หลังรับประทานอาหารไม่ควรนอนทันที เพื่อป้องกันการไหลท้นกลับของน้ำย่อย
ดูแลความสะอาดของปากและฟัน บ้วนปากบ่อย ๆ ไม่ควรให้ปากแห้งแตกและสกปรก เพราะจะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน และไม่อยากรับประทานอาหาร ไม่ควรแปรงฟันทันทีหลังอาหาร
แนะนำการพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง เนื่องจากการนอนไม่เพียงพออาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะอาเจียนอย่างรุนแรง
แนะนำให้จิบเครื่องดื่มอุ่นๆ เช่น น้ำขิง เป็นต้น เพื่อได้รับน้ำและเกลือแร่เพียงพอ เครื่องดื่มอุ่นจะช่วยลดการบีบตัวของกระเพาะอาหาร ไม่เกิดอาการคลื่นไส้
รับประทานอาหารแข็งที่ย่อยง่าย เพื่อให้กระเพาะอาหารเก็บอาหารได้นานขึ้น : ขนมปังกรอบ ขนมปังปิ้ง แครกเกอร์ ขนมผิง ข้าวตัง ข้าวแตน
แนะนำให้รับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว เพื่อให้ร่างกายได้รบพลังงานอย่างเพียงพอ เข่น น้ำหวาน นม น้ำผลไม้ เป็นต้น
แนะนำให้รับประทาน
แนะนำวิธีการรับประทานยาแก้อาเจียนตามแผนการรักษา โดยยาแก้อาเจียนควรรับประทานก่อนอาหารประมาณ 30 นาที
สอนวิธีการประเมินโภชนาการ การคำนวณ พลังงานที่ได้รับจากอาหารที่บริโภค และการชั่งน้ำหนัก
ให้คำปรึกษาในการปรับแบบแผนการรับประทานอาหาร เพื่อให้ได้พลังงานและสารอาหารที่เพียงพอ 2,000 กิโลแคลอรี่ต่อวัน
ช่วยประคับประคองด้านจิตใจ โดยเปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์ได้พูดถึงปัญหา ให้การปรึกษาเพื่อการแก้ไข หรือช่วยให้สตรีตั้งครรภ์ปรับตัวกับปัญหาได้อย่างเหมาะสม
แนะนำให้มาพบแพทย์เมื่อมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากขึ้น หรือไม่ทุเลาลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหากมีอาการ abdominal pain, dehydration หรือน้ำหนักลดลงอย่างมาก
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่ Admission
NPO อย่างน้อย 24-48 hr. เพราะเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน : กลิ่น อาหารมัน อาหารรสจัด เสียงดัง แสง
ดูแลความสะอาดของช่องปากและฟัน
ให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ เพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำ ประมาณ 3,000 ml. ใน 24 ชั่วโมง โดยอาจผสม glucose, vitamins, electrolyte ต่างๆ ในสารน้ำ เพื่อช่วยรักษาสมดุลของ electrolyte และชดเชยสารอาหาร ตามแผนการรักษาของแพทย์
ดูแลให้ยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ตามแผนการรักษา
บันทึก I&O โดยเฉพาะ urine output ไม่ควรน้อยกว่า 1,000 ml. /d เพื่อประเมินการทานของไตหากมีภาวะขาดน้ำรุนแรง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของไต
จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด เงียบสงบ เหมาะแก่การพักผ่อน
เมื่ออาการดีขึ้น ให้เริ่มรับประทานอาหารมื้อละน้อยแต่บ่อยครั้ง โดยเริ่มจากอาหารแข็ง ย่อยง่าย มีคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนสูง
รับประทานอาหารครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้ง ไม่ควรให้กระเพาะอาหารว่าง เพราะจะทำให้กระเพาะบีบรัดตัวมาก ทำให้คลื่นไส้อาเจียน
งดอาหารไขมัน เพราะย่อยยากและทำให้คลื่นไส้ ควรรับประทานอาหารแข็ง ย่อยง่าย เช่น ขนมปังปิ้ง ขนมปังกรอบ แครกเกอร์ เป็นต้น เพื่อลดการอาเจียน นอกจากนี้กระเพาะอาหารจะสามารถเก็บอาหารแข็งได้ดีกว่าอาหารเหลว
ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก จำเป็นต้องให้อาหารทางสายยาง หรือให้สารอาหารทดแทนทางหลอดเลือดดำ โดยเป็นอาหารเหลวที่มีแคลอรี่และวิตามินสูง
ติดตามชั่งน้ำหนัก เพื่อประเมินว่าได้รับสารน้ำและสารอาหารเพียงพอหรือไม่
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์เมื่อกลับไปอยู่บ้าน
แนะนำการรับประทานอาหาร ครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้ง อาหารย่อยง่าย หรือมีโปรตีนสูง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันมาก รสเผ็ด หรือมีกลิ่นแรง
ควรนั่งพักประมาณ 45 นาที ไม่ควรนอนทันที หลังจากรับประทานอาหาร
แนะนำให้ดื่มน้ำอุ่นทันที่ตื่นนอนประมาณครึ่งแก้ว แล้วนอนต่ออีกประมาณ 15 นาที ก่อนที่จะลุกขึ้นปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เพื่อไม่ให้ท้องว่างซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
ควรดื่มน้ำ หรือเครื่องดื่มระหว่างมื้ออาหาร เพื่อป้องกันภาวะสูญเสียน้ำ
แนะนำให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อให้ร่างกายผ่อนคลาย อย่างน้อย 8 ชั่วโมงในเวลากลางคืน และกลางวันอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เนื่องจากการพักผ่อนที่ไม่เพียงพออาจทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนรุนแรงได้
แนะนำการออกกำลังกาย หรือกายบริหารเบาๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้ผ่อนคลาย สามารถลดความเครียด ความวิตกกังวล และช่วยให้นอนหลับดีขึ้น
แนะนำให้หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เกิดความเครียด ทำจิตใจให้สบาย และใช้เทคนิคการผ่อนคลาย
ดูหนัง ฟังเพลง ฝึกการหายใจอย่างถูกวิธี การอ่านหนังสือ สวดมนต์ และการทำสมาธิ
อธิบายให้คู่สมรสและครอบครัวเข้าใจถึงภาวะที่เกิดขึ้น และควรให้การช่วยเหลือสตรีตั้งครรภ์อย่างใกล้ชิด
แนะนำให้เห็นความสำคัญของการมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ และสังเกตอาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ก่อนวันนัด