Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบริการสุขภาพในโรงเรียน ดาวน์โหลด, นพร.สิทธิณี สุขสม ชั้นปีที่ 3 เลขที่…
การบริการสุขภาพในโรงเรียน
การตรวจสุขภาพและเฝ้าระวังโรคนักเรียนในโรงเรียน
นักเรียนเข้าใหม่หรือ นักเรียนชั้นป. 1- ป. 4ทุกคน ควรได้รับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ตรวจโดยพยาบาลหรือบุคลากรสาธารณสุข
นักเรียนชั้นป. 5 ขึ้นไปให้ตรวจสุขภาพด้วยตนเอง
เพื่อตรวจคัดกรองสภาวะสุขภาพของนักเรียนที่ปกติและผิดปกติ
เพื่อการรักษาและติดตามผลการรักษาโรคในนักเรียนเกิดเจ็บป่วย
เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนเช่นการให้คำแนะนำ / สุขศึกษา
ผู้ทำการตรวจสุขภาพนักเรียนการตรวจสุขภาพนักเรียน
1) ผู้นำนักเรียนส่งเสริมสุขภาพ / นักเรียนผู้นำเยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียน
2) ครูอนามัย / ครูประจำชั้น / ครูที่ปรึกษา
3) พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
5) การตรวจสุขภาพโดยแพทย์
4) ทันตแพทย์
กิจกรรมการตรวจสุขภาพและการเฝ้าระวังโดยพยาบาลหรือบุคลากรสาธารณสุข
การตรวจสุขภาพนักเรียนและการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมตัวและเตรียมงานก่อนตรวจสุขภาพ
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นดำเนินการตรวจสุขภาพ
1) ติดต่อประสานกับทางโรงเรียนต้องแจ้งไปทางโรงเรียนโดยผ่านผู้อำนวยการ
2) เตรียมอุปกรณ์ในการตรวจ
3) เตรียมสถานที่ห้องที่เหมาะสำหรับตรวจสุขภาพ
4) การเตรียมตัวนักเรียน
การประเมินภาวการณ์เจริญเติบโต
การชั่งน้ำหนัก
ส่วนสูง
ดัชนีบ่งชี้ภาวะการเจริญเติบโต
ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุใช้ประเมินการเจริญเติบโตของร่างกายที่สะท้อนภาวะโภชนาการที่เกิดขึ้น
น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงใช้ประเมินภาวะโภชนาการที่เหมาะสมในปัจจุบันสามารถบอกภาวะอ้วนผอมหรือสมส่วนได้
น้ำหนักตามเกณฑ์อายุเป็นการประเมินน้ำหนักเหมาะสมกับอายุสมส่วนหรือไม่
ประเมินการเจริญเติบโตทุก 6 เดือน (เทอมละ 1 ครั้ง)
การตรวจสุขภาพโดยใช้ 10 ท่า
ท่าที่ 1 ยื่นมือไปข้างหน้าให้สุดแขนทั้งสองข้างคว่ำมือกางนิ้วทุกนิ้ว
ท่าที่ 2 เป็นที่ทำต่อเนื่องจากท่าที่ 1 โดยพลิกหงายฝ่ามือขึ้น
ท่าที่ 3 งอแขนพับข้อศอกขึ้นใช้นิ้วแตะเปลือกตาด้านล่างเบา ๆ ดึงเปลือกตาด้านล่างลงพร้อมกับเหลือกตาขึ้นและลงแล้วกลอกตาไปด้านขวาและซ้าย
ท่าที่ 4 ใช้มือทั้งสองข้างดึงคอเสื้อออกให้กว้างให้หมุนตัวซ้ายและขวาเล็กน้อย
ท่าที่ 5 ให้นักเรียนหญิงใช้มือขวาเปิดผมไปทัดด้านหลัง หูขวาแล้วหันหน้าไปทางซ้าย ส่วนนักเรียนชายตัดผมสั้นให้หันหน้าไปทางซ้ายไม่ต้องเอามือเปิดผม
ท่าที่ 6 เป็นท่าต่อเนื่องจากท่าที่ 5 แต่ใช้มือซ้ายเปิดผมไปทัดไว้ที่ด้านหลังหูซ้ายแล้วหันหน้าไปทางขวา
ท่าที่ 7 ให้กัดฟันและยิ้มกว้างให้เห็นเหงือกเหนือฟันบนและใต้ฟันล่างให้เต็มที่
ท่าที่ 8 ให้อ้าปากกว้างแลบลิ้นยาวพร้อมทั้งร้อง“ อา "ให้เอนศีรษะไปข้างหลังเล็กน้อยแล้วหุบปากกลืนน้ำลายลงคอ
ท่าที่ 9 สำหรับนักเรียนหญิงให้แยกเท้าทั้งสองข้างห่างกัน 1 ฟุต ใช้มือทั้งสองข้างจับกระโปรงดึงขึ้นเหนือเข่าทั้งสองข้าง ส่วนนักเรียนชายเพียงแค่แยกเท้าทั้งสองข้างห่างกัน 1 ฟุต
ท่าที่ 10 เป็นท่าต่อเนื่องจากท่าที่ 9 ให้นักเรียนหญิงและชายหุบขาและให้กลับหลังหันและเดินไปข้างหน้าประมาณ 4-5 ก้าวแล้วจึงกลับหลังหันเดินมาหาผู้ตรวจ
การทดสอบสายตา
นักเรียนชั้นป. 1, ป. 3, ป. 5 ควรได้รับการทดสอบสายตาปีละ 1 ครั้ง
ใช้วิธีวัดระยะทางไกลวัดสายตา (Visual activity)
1) แบบ Lea chart
เป็นสัญลักษณ์ที่ง่ายๆใช้สำหรับเด็กที่ยังอ่านหนังสือไม่ออก
2) แบบสเนลเลน (Snellen's chart)
ใช้กับเด็กที่อ่านหนังสือออกแล้ว
แผ่นทดสอบสายตาสัญลักษณ์ตัวอักษร E
แผ่นทดสอบสายตาชนิดตัวเลขหรือตัวอักษรหรือสัญลักษณ์
การทดสอบการได้ยิน
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรทำได้อย่างถูกต้อง
เพื่อแนะนำครูและนักเรียนให้ทำได้
และควรตรวจในห้องที่เงียบสงบปราศจากเสียงรบกวน
ควรตรวจในนักเรียนชั้นป. 1, ป. 3, ป. 5 ปีละ 1 ครั้ง
การบันทึกสุขภาพนักเรียน
การบันทึกผลการตรวจสุขภาพทุกครั้งลงในแบบบันทึกการตรวจสุขภาพด้วยตนเองบัตรบันทึกสุขภาพประจำตัวนักเรียน (บัตรสศ. 3) หรือระเบียนสะสมซึ่งโรงเรียนต้องจัดให้มีไว้ประจำตัวนักเรียนทุกคน
การสร้างภูมิคุ้มกันโรค
โดยพยาบาลหรือบุคลากรสาธารณสุขเป็นผู้ให้บริการส่วนครูอนามัย / ครูพยาบาล / ครูเป็นครูประจำชั้นเป็นผู้ประสานงานดังนี้
จัดให้นักเรียนได้รับภูมิคุ้มกันโรคตามที่กำหนดที่ควรได้รับ
-แจ้งให้ผู้ปกครองให้ทราบและขออนุญาตล่วงหน้ากรณีผู้ปกครองไม่อนุญาตให้ฉีดวัคซีนควรแนะนำให้นำนักเรียนไปรับบริการที่สถานบริการสาธารณสุขโรงพยาบาลหรือคลินิกใกล้บ้าน
-เตรียมนักเรียนก่อนฉีดวัคซีนโดยอธิบายให้ทราบว่าฉีดวัคซีนป้องกันโรคอะไรพร้อมให้สุขศึกษาเรื่องนั้นเพื่อลดความกลัวจากการฉีดยาของพยาบาลหรือบุคลากรสาธารณสุข
การจัดบริการรักษาพยาบาลเบื้องต้น
การป้องกันการระบาดของโรคจากโรงเรียนสู่บ้านและชุมชนโดยการดำเนินการแยกนักเรียนที่ป่วยและนักเรียนที่สัมผัสโรคเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด
1) การแยกนักเรียนป่วยที่มีอาการอยู่ในระยะติดต่อ โดยการแยกนักเรียนป่วยไม่ให้คลุกคลีและใช้สิ่งของร่วมกับนักเรียนปกติ
2) การแยกนักเรียนที่สัมผัสโรค คือกลุ่มนักเรียนผู้สัมผัสเชื้อ แต่ยังไม่แสดงอาการหรือกลุ่มที่เป็นพาหะต้องแยกไว้เพื่อสังเกตอาการจนกว่าจะพ้นระยะฟักตัวของโรค
โรคหวัดและไข้หวัดใหญ่
ติดต่อกันโดยการหายใจไอจามรดกันหรือจากการสัมผัสเชื้อโรคทางมือแล้วเข้าสู่ทางเดินหายใจ
การป้องกันและควบคุมโรค ควรแยกนักเรียนป่วยออก
ควรให้นักเรียนป่วยหยุดอยู่บ้านจนกว่าจะหายอย่างน้อย 3- 7 วันหรือจนกว่าจะหาย
โรคมือ เท้า ปาก
ควรตรวจคัดกรองและแยกนักเรียนป่วยออกจาก หรือให้หยุดพักรักษาตัวที่บ้านประมาณ 1 สัปดาห์หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ
ติดต่อกันโดยการรับเชื้อไวรัสทางช่องปาก ซึ่งติดมากับมือที่ปนเปื้อน อุจจาระ น้ำลาย น้ำมูก น้ำ จากตุ่มพองหรือแผลของผู้ป่วย
โรคอุจจาระร่วง
ติดต่อกันได้โดยการรับประทานอาหารและน้ำ ที่ปนเปื้อนเชื้อโรคอาหารที่เก็บไว้ไม่ถูกสุขลักษณะ
ควรแยกนักเรียนป่วยและให้หยุดรักษาตัวจนกว่าจะหาย
สอนให้นักเรียนล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารหลังขับถ่ายและเล่นของเล่น
ใช้มาตรการกินร้อนช้อนกลางล้างมือ
โรคไข้เลือดออก
มียุงลายเป็นพาหะนำโรค
แนะนำให้ทายากันยุง เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อผู้อื่น
ควรให้นักเรียนหลีกเลี่ยงไม่ให้ยุงลายกัด
ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำในบริเวณที่มีน้ำขัง
ควรแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้องในพื้นที่รับผิดชอบทราบโดยเร็วเพื่อดำเนินการสอบสวนและควบคุมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค
โรคคางทูม
ติดต่อโดยการหายใจเอาละอองฝอยที่มีเชื้อของผู้ป่วยที่ไอหรือจามของผู้ป่วยออกมาและสัมผัสโดยตรงกับน้ำลายของผู้ติดเชื้อ
ควรให้หยุดพักรักษาตัวอย่างน้อย 5 วันหลังต่อมน้ำลายโตหรือจนกว่าจะหาย
ควรแยกนักเรียนป่วยและแยกสิ่งของเครื่องใช้จากผู้อื่น
หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลล้างมือให้สะอาด
การป้องกันทำได้โดยฉีดวัคซีนป้องกันโรคคางทูม
โรคตาแดงหรือเยื่อบุตาอักเสบ
ติดต่อโดยตรงจากมือสัมผัสขี้ตา น้ำตาของผู้ป่วยแล้วมาสัมผัสตาตัวเอง
ควรหยุดเรียนจนกว่าที่จะหายและไม่เอามือขยี้ตา
หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลล้างมือให้สะอาด
ไม่ควรคลุกคลีกับคนป่วยไม่ใช้สิ่งของและเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน
โรคหัด
ติดต่อโดยจากการหายใจเอาเชื้อไวรัสในฝอยละอองน้ำมูก น้ำลายที่ฟุ้งกระจายในอากาศ
ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย
แยกผู้ป่วยที่สงสัยเป็นโรคหัดจนถึงผื่นขึ้นครบ 4 วันและให้หยุดรักษาตัวจนกว่าจะหาย
โรคสุกใส
ติดต่อกันโดยทางตรงจากการหายใจเอาเชื้อเข้าสู่ร่างกายจากการไอหรือจามรดกัน
ควรแยกนักเรียนป่วยออกเด็กอื่นให้อยู่ห่างกันมากกว่าปกติ
ให้ผู้ปกครองมารับกลับบ้านระหว่างรอควรให้อยู่ห้องแยกและให้หยุดเรียนประมาณ 1 สัปดาห์หรือจนกว่าแผลจะแห้ง
ห้ามใช้สิ่งของและภาชนะร่วมกับผู้อื่นและผู้ที่ยังไม่ป่วยควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสตามคำแนะนำแพทย์
ทางอ้อมการใช้ของร่วมกันหรือสัมผัสพื้นที่ผิวหนังหรือน้ำเหลืองจากตุ่มน้ำของผู้ป่วย
กรณีที่มีโรคติดต่อร้ายแรง
การแจ้งความหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคอย่างทันที
ติดตามสอบสวนโรคพยาบาล ต้องร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรีบดำเนินการสอบสวนหาสาเหตุของโรคและแหล่งโรค แล้วดำเนินการแก้ไขโดยด่วน
จัดกิจกรรมเพื่อยับยั้งการแพร่และการติดต่อของโรคเช่น การปรับสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมการกำจัดสัตว์นำโรคแหล่งเพาะพันธ์โรค
นพร.สิทธิณี สุขสม ชั้นปีที่ 3 เลขที่ 50