Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบริการเด็กที่มีภาวะสุขภาพดี การให้วัคซีนและคำแนะนำ - Coggle Diagram
การบริการเด็กที่มีภาวะสุขภาพดี การให้วัคซีนและคำแนะนำ
เทคนิคการฉีด
(1) การฉีดวัคซีนเข้าในหนัง (Intradermal) เป็นการนำวัคชื่นผ่านเข้าไปเพียงแค่ในหนังเท่านั้น ขนาดวัคซีนที่ฉีดมีปริมาณน้อย จึงควรใช้เข็มเบอร์ 26 ความยาว 1 นิ้ว
(2) การฉีดวัคซีนเข้าใต้ชั้นผิวหนัง (Subcutaneous) เป็นการนำวัคซีนผ่านเข้าไปใน fatty tissue อยู่ใต้ชั้นผิวหนังและอยู่เหนือชั้นกล้ามเนื้อปกติ
(3) การฉีดวัคซีนเข้าชั้นกล้ามเนื้อ (Intramuscular) เป็นการนำวัคซีนเข้าสู่ muscle tissue ซึ่งเป็นชั้นเนื้อเยื่อที่อยู่ใต้ผิวหนังและ fatty tissue บริเวณที่ใช้ในการฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อมี 2 แห่ง คือ บริเวณกล้ามเนื้อต้นขาส่วนหน้า( vastus lateralis) และบริเวณกล้ามเนื้อต้นแขน (deltoid)
คำแนะนำและวิธีสังเกตอาการที่อาจเกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน
หลังฉีดวัคซีนควรพักรอประมาณ 30 นาที เพื่อสังเกตุอาการแพ้แบบรุนแรง (Anaphylaxis)ได้แก่ ปากบวม ผื่น หายใจลำบาก ช็อก ซึ่งมักจะเกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนภายในเวลาเป็นนาที
ตุ่มหนอง มักเกิดจากวัคซีนป้องกันวัณโรค หรือ บีซีจี (BCG) ที่ฉีดบริเวณสะโพกซ้าย ตุ่มหนองมักจะเกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนไปแล้วประมาณ 2-3 สัปดาห์ และจะพองๆ ยุบๆ อยู่ประมาณ 3-4 สัปดาห์ ก็จะหายไปเองแต่ต้องระวังรักษาความสะอาดอย่าให้ตุ่มหนองเกิดการติดเชื้อ
อาการปวด บวม แดงร้อน บริเวณที่ฉีดวัคซีน เด็กอาจจะร้องกวนงอแงได้ ถ้ามีอาการปวดบวมให้ใช้เจลเย็น หรือผ้าชุบน้ำเย็นประคบบริเวณที่ปวดให้ทำทันที
อาการไข้ ตัวร้อน มักเกิดในวัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ซึ่งฉีดเมื่ออายุ 2 เดือน, 4 เดือน, 6 เดือน, 18 เดือน และ 4 ปี ผู้ปกครองควรช่วยเช็ดตัวเด็กด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นบิดหมาดๆ พักผ้าตามซอกคอ, ข้อพับต่างๆ
ไอ น้ำมูก ผื่น อาการไอ น้ำมูก หรือผื่น อาจพบหลังฉีดวัคซีนในกลุ่มของวัคซีนป้องกันหัด หัดเยอรมัน ไปแล้วประมาณ 5 วัน โดยมากอาการจะไม่รุนแรง
อาการชัก สาเหตุของการชักมักไม่ได้เกิดจากผลของวัคซีนโดยตรง แต่มักจะเกิดจากการที่มีไข้สูงหลังฉีดวัคซีน วิธีป้องกันคือหลังจากฉีดวัคซีนแล้วผู้ปกครองต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด
การตรวจและประเมินพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก
การได้รับอาหารของเด็ก (feeding history)
การให้อาหารเสริม (supplementary food)
การตรวจร่างกายทั่วไปและการตรวจคัดกรองที่เน้นในแต่ละช่วงอายุ
การให้คำแนะนำล่วงหน้าในวัยต่างๆ
มีประโยชน์ในการค้นหาปัญหาสุขภาพเด็กและแก้ไขได้อย่างทันท่วงที ป้องกันความพิการความสูญเสียสุขภาพได้อย่างมาก
การให้คำแนะนำล่วงหน้า
แพทย์และบุคลากรทางสาธารณสุขควรให้คำปรึกษาแนะนำล่วงหน้าเกี่ยวกับสุขภาพเด็ก โดยรวมในเรื่องความสัมพันธ์ของพ่อแม่และเด็ก การเลี้ยงดู อาหาร การเล่นของเด็ก การป้องกันภยันตรายในเด็ก พัฒนาการด้านต่างๆ ทั้งร่างกายและจิตใจ อารมณ์ สังคม คำแนะนำล่วงหน้าในแต่ละวัยของเด็กจะช่วยให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองเด็ก เข้าใจปัญหาและสามารถเผชิญปัญหาต่างๆได้