Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงตามวัยผู้สูงอายุ - Coggle Diagram
การเปลี่ยนแปลงตามวัยผู้สูงอายุ
ระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ
ข้อต่อบริเวณกระดูกสันหลัง และหมอนรองกระดูกสันหลังบางลง
ทำให้ความสูงลดลง ข้อเข่าจะมีการเสื่อมของกระดูกอ่อนและจะมีการงอกของกระดูก ทำให้เกิดอาการปวดตามข้อ
ขัดข้อเข่า
ทฤษฎีการเชื่อมตามขวาง
(Cross linkage theory)
เชื่อว่า...สาร Fibrous Protein ( ได้แก่ คอลลาเจน อิลาสติน ฯ)ถูก AGE (จากกระบวนการ Glycation)มาเกาะ เกิดเป็นการ
เชื่อมตามขวางของสารใยโปรตีนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
AGE(Advanceed Glycation End Products) โปรตีน + น้ำตาลเป็นสาร cross link ทำให้ collagen Fiber หดตัว แข็ง ไม่ยืดหยุ่น เหี่ยว แห้งแตก
การแพร่เเละการขนส่งสารจำเป็นภายในเซลล์ ถูกขัดขวาง
Cell ตาย และเสียหน้าที่
พบการเชื่อมตามขวางมากที่สุด ในผิวหนัง เอ็น กระดูก
กล้ามเนื้อ ข้อหลอดเลือดและหัวใจ เลนซ์ตา เอ็นจะแข็ง ข้อติด
ผิวหนังแห้งเหี่ยวยน แตก เปื่อยยุ่ย ฟันหลุดร่วง ริ้วรอย (Wrinkling)อัตราของการเชื่อมตามขวางจะเป็นมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นแต่จะเกิดเร็วในช่วงอายุ 30-50 ปีขึ้นไป
กล้ามเนื้อไม่ยืดหยุ่น ผนังหลอดเลือดเปราะ หลอดเลือดแข็งขาดความยืดหยุ่น ส่งผลให้การลำเลียงเลือดไปยังอวัยวะเสียไป อวัยวะจึงเสียหน้าที่ เช่น ไต หัวใจ ปอด
ปัจจัยเสริม น้ำตาลในเลือดสูง (hyperglycemia)
ㆍ เป็นสาเหตุที่ส่งเสริมให้ cross linkage เกาะกันมากขึ้น
ㆍ สูญเสียความยืดหยุ่นของเซลล์
รังสีอุลตราไว้โอเลต(แสงแดด)ผิวหนังเกิดริ้วรอย
ผิวเปราะเหี่ยว แตกเป็นขุย และเกิดมะเร็งผิวหนัง
ผู้รับบริการ มีผิวหนังเหี่ยวย่น ไม่ยืดหยุ่น ขัดข้อเข่า ซึ่งเกิดจากการที่สายใยโปรตีนมีความผิดปกติจากการมีโมเลกุลของกลูโคส ที่เพิ่มมากขึ้นจากการเป็นโรคเบาหวาน รวมถึงพฤติกรรมการชอบรับประทานอาหารที่มีรสหวาน และการมีสาร AGE เป็นสาร cross link ไปจับกับเซลล์ส่วนใดในร่างกายจะทำให้เซลล์นั้นเสื่อมสภาพ จะพบเยอะใน collagen,Elastic Fiber เกาะกันมากขึ้น ทำให้หดตัว แข็ง ไม่ยืดหยุ่น เหี่ยว แห้งแตก ซึ่งจะพบเยอะในอวัยวะ ผิวหนัง กล้ามเนื้อ หลอดเลือด กระดูกอ่อน
กล้ามเนื้อมีเซลล์ไขมันและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันแทรกมากขึ้น
ทำให้มีกำลังและความแข็งแกร่งลดลง การหดตัวของกล้ามเนื้อลดลง
ความแข็งแกร่งลดลงและการหดตัวของกล้ามเนื้อลดลง
ระบบประสาท
ขนาดสมองลดลง ความจำระยะสั้นของผู้สูงอายุโดยเฉพาะในเรื่องใหม่ๆจะลดลงเนื่องจากความสามารถในการเก็บข้อมูลลดลง แต่ความจำระยะยาวและความจำทันทียังคงปกติระยะในการนอนหลับลดลง
มีการเปลี่ยนแปลง
ความจำระยะสั้นไม่ค่อยดี ความสามารถในการเก็บข้อมูลเรื่องราวใหม่ๆลดลงแต่ยังจำเรื่องราวเก่าๆในอดีตได้ดี
ทฤษฎีเกี่ยวกับพันธุกรรม ความผิดพลาด (Error theory of aging)
ทฤษฏีความผิดพลาด (Error theory of aging) ภายในนิวเคลียสของเซลล์มีรหัสพันธุกรรมซึ่งเป็น โครงสร้างของโมเลกุลของ DNA รหัสพันธุกรรมจะถูกคัดออก และแปลอีกหลายขั้นตอนจึงจะให้โมเลกุลของโปรตีนหรือเอนไซม์ตัวสุดท้าย โปรตีนที่เกิดขึ้นจะประกอบด้วยกรดอะมิโน ซึ่งจะมีการสร้างบนไรโบโซม (Ribisome) รหัสพันธุกรรมจาก DNA ที่จะถ่ายทอดไปยังไร โบโซมจะต้องอาศัยโมเลกุลของ DNA (Dibonucleic acid) ที่เรียกว่า m-RNA (MessengerRNA) ฉะนั้นถ้ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นในขั้นตอนของการถ่ายทอดข้อความในการสังเคราะห์โปรตีนหรือเอนไซม์ จะทำให้มีการจำลองโปรตีนหรือเอนไซม์ ซึ่งมีลักษณะและคุณสมบัติผิดไปจากเดิม และไม่สามารถทำหน้าที่ดังเดิมได้ เป็นเหตุให้เซลล์ตาย ให้เซลล์ตายในที่สุด นอกจากนี้พบว่าเอนไซม์ส่วนใหญ่จะทำหน้าที่ได้น้อยลง เมื่ออายุมากขึ้นในขณะที่เอนไซม์บางชนิคจะทำหน้าที่ได้มากขึ้น การเปลี่ยนแปลงจะเกิดได้มาก ในวัยหนุ่มสาวอัตราการเกิดจะเป็นเร็วขึ้น ทำให้เซลล์ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ต่อมาเซลล์ก็จะตาย ความสูงอายุเกิดจากการสะสมความผิดพลาด หรือความบกพร่องเกี่ยวกับส่วนประกอบระดับโมเลกุลของเซลล์ซึ่งเกิดในแต่ละขั้นตอนของ
กระบวนการทางชีวเคมีของการสร้างโปรตีนในเซลล์ของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นในวัยหนุ่มสาว ต่อมาเมื่อสูงอายุมากขึ้นอัตราการเกิดจะเป็นเร็วขึ้น ถ้าความผิดพลาดสะสมถึงระดับหนึ่งเซลล์หรือเนื้อเยื่อจะค่อย ๆ เสื่อมสภาพและตายหรือเซลล์อาจไม่ตายแต่การทำหน้าที่อาจจะหยุดชะงักทำให้เสียสมดุลการควบคุมของร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์สำคัญ เช่น เซลล์สมอง เป็นต้น
ระบบทางเดินอาหาร
ฟันหลุดง่าย เนื่องจากเคลือบฟันบางลง ต่อมน้ำลาย
เสื่อมหน้าที่ลง ปากลิ้นแห้ง การรับรสของลิ้นเสียหลอดอาหารมีขนาดกว้างขึ้น ทำให้ระยะเวลาที่อาหาร
ผ่านหลอดอาหารนานขึ้น หูรุดที่ต่อระหว่างหลอดอาหารมีขนาดกว้างขึ้น ทำให้ระยะเวลาที่อาหาร
ผ่านหลอดอาหารนานขึ้น หูรุดที่ต่อระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารหดตัวได้ไม่ดี ทำให้มี
อาหารและน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหาร กระเพาะอาหารมีการเคลื่อนไหว
ลดลง ลำไส้เล็กมีการเคลื่อนไหวลดลง. กล้ามเนื้อผนังลำไส้ใหญ่บางและฝ่อ การบีบตัวของลำไส้ใหญ่ลดลง
ตับมีขนาดและน้ำหนักลดลง
มีปัญหาเรื่องการเคี่ยว มีฟันผุ 5 ซี่ ชอบรับประทานอาหารรสหวาน
ระบบทางเดินหายใจ
การออกกำลังกาย อัตราการหายใจและปริมาตร
อากาศที่หายใจเข้าออกเพิ่มขึ้นน้อย เป็นผลให้เหนื่อยเร็วและมีความทนต่ำ
ปอดยึดขยายและหดตัวได้น้อยลง
เหนื่อยง่าย
ดื่มแอลกอลล์ฮอล ตั้งแต่อายุ15ปี เลิกดื่มตอนอายุ 50ปี เป็นเวลา 35ปี สูบบุหรี่ตั้งแต่อายุ15ปี เลิกสูบตอนอายุ30ปี เป็นเวลา15ปี
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจในหนึ่งนาทีลดลง
การสร้างเม็ดเลือดแดงช้าลง เนื่องจากการขาดสารอาหารเช่น ธาตุเหล็กปริมาณเม็ดเลือดแดงและฮีโมโกลบินลดลง
เนื่องจากไขกระดูกมีไขมันเข้ามาแทนที่มากขึ้นและการดูดซึมวิตามินบี 12 ลดลง ไฟบริ โนเจนมีระดับสูง ทำให้เกิดลิ่ม
เลือด ในร่างกายได้ง่ายขึ้น
ผู้รับบริการเป็นโรคความดันโลหิตสูง ได้รับประทานยา
Hydrochlorothiazide 1x1 oral pc เป็นยาขับปัสสาวะ
Simvastatin (20) 1x1 ยาลดระดับไขมันในเลือด
Enalapril 1x2 oral pc คือยาต้านเอนไซม์เอซีอี
ทฤษฎีการสะสมของเสีย (Accumulative theory)
เชื่อว่าการสูงอายุเกิดจากการสะสมสารที่เป็นอันตรายต่อเซลล์คือ Lipofuscinรงควัตถุที่เปนไขมัน และโปรตีน ทำให้การทำงานของเชลล์ผิดปกติ
พบมากในตับ รังไข่ เชลล์ประสาท กล้ามเนื้อหัวใจ ผิวหนัง
วิตามินอี และSelenium ทำลายโซ่ Lipofuscin พบในผักใบ
เขียว เครืองในสัตว์ ผลไม้และธัญพืช
ผู้รับบริการ สูบบุหรี่ตั้งแต่อายุ15ปี เลิกสูบตอนอายุ40ปี เป็นเวลา25ปี ดื่มแอลกอลล์ฮอล ตั้งแต่อายุ15ปี เลิกดื่มตอนอายุ 60ปี เป็นเวลา 45ปี เป็นโรคความดันโลหิตสูงมา 20ปี ซึ่งโรคความดันโลหิตสูงเกิดจากการสะสมของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและไขมันในผนังหลอดเลือดทำให้ความสามารถในการหดตัวและคลายตัวลดลง และสูญเสียความสามารถในการหดตัวกลับ เมื่อได้รับแรงดันเลือดจากหัวใจ หลอดเลือดจึงมีความต้านทานส่วนปลายมากขึ้น
การดื่มเครื่องดื่มแอลลกอลล์ฮอล และการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยที่ส่งผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
ระบบผิวหนัง ผมขน เล็บ
ผม และ ขน
เส้นผมขนาดเล็กลงและขาดง่าย
เนื่องจากต่อมไขมันของผิวหนังลดลง เส้นผมบางลง และเปลี่ยน
เป็นสีขาวเนื่องจากการเสียหน้าที่ของเซลล์สร้างเม็ดสีของผม
ผมมีขนาดเล็กและบางลง ขาดง่ายผมมีเปลี่ยนเป็นสีขาวส่วนมาก
ผิวหนัง
หนังกำพร้ามีความชื้นลดลง ทำให้ผิวแตกง่าย รอยต่อระหว่างหนังกำพร้าและหนังแท้แบนราบทำให้หลุดได้ง่าย และเมื่อเกิดแผลจะหายยาก ผิวแตกง่ายเกิดแผลกดทับได้ง่ายหรือมีการบาดเจ็บของผิวหนังได้ง่ายเนื่องจากความชื้นของผิวหนังชัน stratum cornerman ลดลง ผิวหนังบริเวณหน้า คอ มือ และแขน จะมีสีคล้ำากว่าบริเวณอื่นจำนวนต่อมไขมันลดลงทำให้สร้างเห่อน้อยลงส่งผลให้ผิวแห้งหยาบและค้น ไขมันชันใต้ผิวหนังบริเวณหน้ามือและหลังมือลดลง ทำให้ผิวหนังเหี่ยวแห้ง
ผู้รับบริการมีผิวหนังที่เหี่ยวย่น มีตีนกาที่ใบหน้าและบริเวณหางตา ความยืดหยุ่นลดลง ผิวหนังเหี่ยว และตกกระตามร่างกาย
เล็บ
การเจริญของเล็บมือเล็บเท้าลดลง เล็บ
แข็งและหนาขึ้น มุมโคนเล็บกว้างขึ้นหรือเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
เล็บมีลักษณะแข็ง หนาขึ้น และมีลักษณะเป็นสีเหลือง
ระบบรับความรู้สึก
การได้ยิน
มีการสร้าขึ้หูมากขึ้นเนื่องจากเยื่อบุในรูหูบางลงและแห้ง การขับขี้หูออกจากรูหูลดลงเนื่องจากต่อมเหงื่อทำงานลดลง การส่งผ่านความดังของเสียงลดลง
การได้ยินเสียงหูทั้ง2ข้าง ชัดเจนดี
การรับรส การดมกลิ่น และการรับสัมผัส
การหลั่งน้ำลายลดลง ต่อมรับรส มีจำนวนลดลง ความไวในการรับรสลดลง ทำให้การรับรสเค็ม รสขม เปรี้ยว รสหวาน ลดลง โตยการรับรสหวานและรสเค็มจะเสียก่อนรสเปรี้ยวและร สขม เป็นผล ให้ความสามารถในการรับรู้และแยกแยะอาหารต่างๆลดลง ทำให้เบื่ออาหาร รับประทานอาหารรสเค็มมากขึ้น
ชอบรับประทานอาหารรสหวาน
การมองเห็น
ไขมันรอบดวงตาและหนังตามีปริมาณลดลงทำให้ตา
ลึกเกิดหนังตาตก เลนสัตาขนเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหนาตัวและแข็งขึ้น. รูม่านตาเล็กลง รูม่านตาลดลง
ทำให้ความสามารถในการมองเห็นในที่มืดลดลง
มองเห็นได้ในระยะใกล้ๆ การมองระยะไกลไม่ค่อยชัดเจน ได้ใส่เแว่นสายตายาว
ระบบสืบพันธ์
เพศชาย=การลดลงของแอนโดรเจน ทำให้เกิดการผลิตอสุจิและการหลั่งอสุจิลดลง
ระบบทางเดินปัสสาวะ
กระเพาะปัสสาวะจะมีความจุลดลง มีการคั่งค้างปัสสาวะเพิ่มขึ้นหลังการถ่ายส่งผลทำให้ปัสสาวะบ่อยและอาจมีปัสสาวะราดได้
กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยได้ ไปเข้าห้องน้ำไม่ทัน มีปัสสาวะเล็ดเป็นบางครั้ง
ทฤษฎีความเสื่อมโทรม
(Wear and Tear Theory)
เชื่อว่า การใช้อวัยวะมากจะทำให้เสื่อมได้ง่ายและเร็วขึ้น
เมื่ออายุมากขึ้น เปรียบกับเครื่องจักร
เชื่อว่าการเสื่อมของเซลล์จนกระทั่งซ่อมแซมตัวเองไม่ได้และ
ทดแทนไม่ได้จึงนำไปสู่ความชราและตาย
เซลล์ร่างกายจะถูกทําลายเมื่อถูกใช้งานหนักมากเกินไป เป็นการสร้างสภาพเครียด
ให้กับร่างกาย ซึ่งความเครียดนี้จะเร่งให้เกิดความเสื่อมในอวัยวะต่างๆเร็วขึ้นโดยเฉพาะต่อมต่างๆและโครงสร้างของเซลล์
ความเครียดนั้นจะส่งผลต่อตับ กระเพาะอาหาร ไต ผิวหนัง รวมทั้งระบบชีวเคมีและฮอร์โมนในร่างกายเรา ทําให้เซลล์ทํางานผิดปกติร่างกายจึงทรุดโทรมและแก่ก่อนวัยได้
เซลล์จะซ่อมแซมตนเองได้โดยการสร้างใหม่เพื่อทดแทนเช่น เช่นเซลล์ของผิวหนัง เซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือขาว แต่มีเซลล์บางชนิดไม่สามารถแบ่งตัวได้อีกเช่น เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์กล้ามเนื้อลาย และเซลล์ประสาท
ร่างกายก็ยังถูกทำลายจากการใช้งานในชีวิตประจำวันตาม
ธรรมชาติ ซึ่งเมื่ออายุมากขึ้นความสามารถในการซ่อมแซมร่างกายน้อยลง
ผู้รับบริการ มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ในบางครั้ง ขัดข้อเข่า ความเจ็บป่วยกับการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กับทฤษฎีความเสื่อมโทรม คือ มีอาชีพเป็นช่างยนต์ซ่อมรถทำถนน ตั้งแต่อายุ 16 ปีถึงอายุ 60 ปี ซึ่งเป็นอาชีพที่ต้องใช้แรงงาน ใช้ร่างกายในการซ่อมรถและขับรถทำถนนซึ่งเปรียบกับทฤษฎีได้เป็นการใช้ร่างกายในการทำงานที่ค่อนข้างหนักซึ่งต้องใช้กล้ามเนื้อใช้กระดูกใช้ข้อต่างๆในการประกอบอาชีพช่างยนต์ทำมาตั้งแต่อายุ 16ปี จนถึง 60ปี รวมระยะเวลาทั้งหมดแล้ว 44 ปีซึ่งการทำงานนี้ ตามทฤษฎีบอกว่าร่างกายจะมีการซ่อมแซมใหม่เพื่อทดแทนตลอดระยะเวลาที่ทำมายังไม่เกิดอาการขัดข้อเข่าเนื่องจากร่างกายมีการสร้างทดแทนและรักษาตนเองได้ ตามทฤษฎีนี้มาโดยตลอดแต่หลังจากที่มีภาวะความสูงอายุเกิดขึ้นก็ทำให้การซ่อมแซมลดลง ซึ่งร่างกายได้ใช้หรือทดแทนไปแล้วในช่วงวัยผู้ใหญ่ จึงทำให้เกิดการเสื่อมของอวัยวะ ตามทฤษฎี จึงทำให้เกิดอาการอาการแสดงขึ้นมาคือ ขัดข้อเข่า
ระบบต่อมไร้ท่อ
ฮอร์โมนอินซูลิน = เกิดจากการหลั่งอินซูลิน
จากตับช้าลงและความเสื่อมของตัวรับอินซูลินจึงออกฤทธิ์ไม่เต็มที่ ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
ทฤษฎีระบบประสาท และต่อมไร้ท่อ
(Neuroendocrine theory)
ทฤษฎีนี้เชื่อว่า ความสูงอายุเป็นผลร่วมกันของการเปลี่ยนแปลงทั้ง ระบบประสาทและต่อมไร้ท่อที่ทำหน้าที่ลดลง หรือแตกต่างจากเดิมเมื่ออายุมากขึ้นจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนภายในร่างกาย
ตับอ่อน ผลิตอินซูลินได้น้อยลง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ทำให้เกิดโรคเบาหวาน - ต่อมไทรอยด์ มีขนาดเล็กลงหลังอายุ 50 ปีขึ้นไป
ต่อมใต้สมอง ต่อมใต้สมองส่วนหน้า จะเสื่อมหน้าที่ลงอย่าง
รวดเร็ว ทำให้อ่อนเพลีย ฮอร์โมนต่ำทำให้ผู้สูงอายุเบื่ออาหาร ขนบริเวณรักแร้ และหัวหน่าวร่วง อวัยวะเพศเสื่อมและเล็กลง
ผู้รับบริการ เป็นโรคเบาหวานมา 20ปี ซึ่งโรคเบาหวานเกิดจากการที่เซลล์ร่างกายมีความผิดปกติในขบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน โดยขบวนการนี้เกี่ยวข้องกับอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อนเพื่อใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อน้ำตาลไม่ได้ถูกใช้จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าระดับปกติ ซึ่งตรงกับทฤษฎี โรคประสาทและต่อมไร้ท่อที่เป็นความผิดปกติของ การทำงานของตับอ่อนโดยที่ตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ลดลงในโรคเบาหวาน