Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นายวัฒนะ บุตรสุวรรณ์ รหัส 636322332-03, ทฤษฎีตามสถานการณ์ (Situational…
นายวัฒนะ บุตรสุวรรณ์ รหัส 636322332-03
ทฤษฎีตามสถานการณ์
(Situational or Contingency Leadership)
เฮอร์เซย์ และบลานชาร์ด
รูปแบบของการนำ หรือ สไตล์การนำของผู้บริหาร
1) แบบผู้นำแบบผู้บอกให้ทำ คือ ผู้นำใช้วิธีออกคำสั่ง การบอกให้ทำ การกำหนดขั้นตอนและวิธีการอย่างชัดเจน
แบบผู้นำเป็นผู้ขายความคิดให้ทำ (พฤติกรรมที่เน้น High Relationship, Low Task) คือ ผู้นำประเภทนี้จะให้การชี้แนะ การบอกให้ทำตามผู้สอนงานหรือพี่เลี้ยงให้ในการทำงาน
แบบผู้นำเป็นผู้มีส่วนร่วม (Participating ซึ่งแสดงพฤติกรรมแบบ High Relation, Low Task) ผู้นำให้ความสนใจ รับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะตลอดจนอุปสรรค ปัญหาของผู้ตามอย่างจริงใจ
แบบผู้นำเป็นผู้กระจายงาน (Delegating ซึ่งแสดงพฤติกรรมแบบ Low Task, Low Relationship) ผู้นำเข้าใจธรรมชาติของผู้ตาม ต้องให้เกียรติไว้วางใจ ปล่อยงานให้ทำเองโดยอิสระ มอบอำนาจและการรับผิดชอบในการตัดสินใจ
จัดกลุ่มคนไว้ 4 กลุ่ม
M2 (บัวกลางน้ำ)
คนกลุ่มนี้มีวุฒิภาวะต่ำถึงปานกลางมีความรู้ความสามารถไม่มากนัก แต่มีความเต็มใจในการทำงาน รับผิดชอบงานเป็นผู้ที่มั่นใจแต่ขาดความชำนาญ การบริหารคนกลุ่มนี้ต้องใช้แบบการขายความคิด
M1(บัวใต้น้ำ)
เป็นพวกไม่ค่อยมีความรู้ความสามารถ ขาดความเต็มใจในการทำงาน ไม่ค่อยมีความรับผิดชอบ วุฒิภาวะต่ำ การบริหารคนกลุ่มนี้ต้องใช้แบบของการสั่ง บอกทุกอย่าง
M3 (บัวปริ่มน้ำ)
คนกลุ่มนี้มีวุฒิภาวะปานกลางถึงสูง ทำงานตามที่ผู้นำต้องการ ผู้นำต้องมีการสื่อสารสองทางและรับฟังอย่างสนใจ เพื่อสนับสนุนผู้ตามให้พยายามใช้ความสามารถที่มีอยู่ ให้การสนับสนุน ไม่ออกคำสั่ง ผู้นำและผู้ตามร่วมกัน ในการตัดสินใจ การบริหารคนกลุ่มนี้เน้นการทำงานแบบการมีส่วนร่วม
M4 (บัวพ้นน้ำ)
คนกลุ่มนี้มีวุฒิภาวะสูงมีความรู้ความสามารถมีความเต็มใจและมั่นใจในการปฏิบัติงานมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย การบริหารคนกลุ่มนี้ใช้รูปแบบการมอบหมายงานให้ทำ/มอบอำนาจในการตัดสินใจ
เฮอร์เซย์และแบลนชาร์ด เชื่อว่ารูปแบบผู้นำต้องเหมาะสมกับความพร้อมของผู้ตามได้พัฒนาแนวความคิด โดยเปลี่ยนระดับความพร้อมของผู้ตามเป็นความสามารถและความผูกพัน (Competence and Commitment)
การศึกษารูปแบบของผู้นำที่มุ่งความสัมพันธ์ (Relationship-oriented leader) เป็นผู้นำที่มุ่งความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ผู้นำจะสร้างความไว้วางใจ ความเคารพนับถือ และรับฟังความต้องการของพนักงาน เป็นผู้นำที่คำนึงถึงผู้อื่นเป็นหลัก (Consideration)
ผู้นำที่มุ่งงาน (Task -oriented leader) เป็นผู้นำที่มุ่งความสำเร็จในงาน ซึ่งจะกำหนดทิศทางและมาตรฐานในการทำงานไว้อย่างชัดเจน มีลักษณะคล้ายกับผู้นำแบบที่คำนึงถึงตัวเองเป็นหลัก (Initiating structure style)
แบ่งระดับความพร้อมของผู้ตามเป็น 4 ระดับ
R1 ไม่มีความสามารถ ไม่มีความเต็มใจทำ ความพร้อมต่ำ
R3 มีความสามารถ ไม่มีความเต็มใจทำ ความพร้อมปานกลาง
R2 ไม่มีความสามารถ เต็มใจทำ ความพร้อมปานกลาง
R4 มีความสามารถ และเต็มใจทำ ความพร้อมสูง
ทฤษฎีวิถีทางสู่เป้าหมาย (House’s Path – Goal Leadership Theory)
ผู้นำจะต้องเลือกใช้รูปแบบให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งมีอยู่ 2 กลุ่ม
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม (Environment) อันได้แก่ โครงสร้างของงาน (task - Structure) อำนาจหน้าที่อย่างเป็นทางการ (formal authority system) และกลุ่มงาน (Work group)
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะส่วนตัวของผู้ใต้บังคับบัญชา (personal characteristics of follower) ได้แก่ ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และความสามารถในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ
ภาวะผู้นำเกี่ยวข้องกับการจูงใจ ผู้นำขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ผู้นำสามารถให้ความสำคัญทั้งคนและงานได้ในเวลาเดียวกัน โดยใช้อิทธิพลของแรงจูงใจ กล่าวคือ ใช้แรงจูงใจเป็นแรงผลักสู่เป้าหมายทั้งส่วนบุคคลและขององค์การ
ประเภท
ผู้นำแบบสั่งการ (Directive Leadership)
ผู้นำแบบสนับสนุน (Supportive Leadership
ผู้นำแบบร่วมงาน (Participative Leadership)
ผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จของงาน (Achievement – oriented Leadership)
ฟีดเลอร์ (Fiedler Contingency Theory)
แบบภาวะผู้นำ (Leadership style)
แบบทดสอบบุคลิกภาพ เรียกว่า “แบบวัดเพื่อนร่วมงานที่พึงประสงค์น้อยที่สุด” (Least Preferred Co-Worker scale) หรือแบบวัดแอลพีซี (LPC)
คะแนนแอลพีซี ตํ่า แสดงว่า ผู้นั้นเป็นบุคคลที่มีแรงจูงใจมุ่งงาน (Task-motivated) แต่ถ้าได้คะแนนแอลพีซีสูงก็ แสดงว่าผู้ตอบมีแรงจูงใจมุ่งความสัมพันธ์ (Relationship-motivated)
การควบคุมสถานการณ์ (Situation control)
2.1 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับสมาชิก (Leader-member relations) ได้แก่ ระดับของการให้ความนับถือ ความเชื่อมั่น และความไว้วางใจ ที่ผู้ตามมีต่อผู้นำ ซึ่งสะท้อนถึงการยอมรับในตัวผู้นำ
2.2 โครงสร้างของงาน (Task structure) กล่าวคือ งานที่มีโครงสร้างชัดเจน ต้องระบุภารกิจชัดเจน มีวิธีทำงานเพียงวิธีเดียว มีวิธีแก้ป้ญหาที่ชัดเจน สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนโดยแต่ละคนรู้บทบาทหน้าที่แน่นอนว่าต้องทำอะไร ทำด้วยวิธีใด เป็นต้น
2.3 อำนาจในตำแหน่ง (Position power) หมายถึง อำนาจที่มากับตำแหน่งที่ผู้ ดำรงอยู่อย่างเป็นทางการ ซึ่งสามารถดูได้จากการที่ผู้นั้นมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการให้คุณ ให้โทษ ด้วยตนเอง
ความสอดคล้องระหว่างแบบภาวะผู้นำกับสถานการณ์
ในสถานการณ์ที่ต้องควบคุมมาก ผู้นำแบบมุ่งงาน (มีแอลพีซีตํ่า) จะมีประสิทธิผลสูงกว่า ผู้นำแบบมุ่งความสัมพันธ์
ในสถานการณ์ที่ต้องควบคุมปานกลาง ผู้นำแบบมุ่งสัมพันธ์ (หรือมีแอลพีซีสูง) จะมี ประสิทธิผลสูงกว่าผู้นำแบบมุ่งงาน
ในสถานการณ์ที่ควบคุมน้อย ผู้นำแบบมุ่งงาน (มีแอลพีซีตํ่า) จะมีประสิทธิผลสูงกว่า ผู้นำแบบมุ่งความสัมพันธ์
ฟีดเลอร์พัฒนารูปแบบจำลอง “ความเป็นผู้นำตามสถานการณ์”เป็นรูปแบบจำลองภาวะผู้นำซึ่งชี้ให้เห็นถึงผลกระทบของสถานการณ์ที่มีต่อความเป็นผู้นำเสนอว่าตัวแปรผันสถานการณ์ที่สำคัญที่มีผลต่อแบบของผู้นำ
วิธีมุ่งเน้นให้ยอมรับว่าในทางปฏิบัติไม่มีวิธีการบริหารใดที่ดีที่สุด (no one best way) การบริหารขึ้นอยู่กับความจำเป็นของสถานการณ์ ไม่ตายตัว ใช้เทคนิคหลายอย่าง จะเริ่มด้วยการวิเคราะห์ สถานการณ์และจบด้วยการคิดหาทางเลือกเพื่อแก้ปัญหาและให้ข้อเสนอแนะที่ดีที่สุด
วรูม และ เยตัน (Victor Vroom, Phillip Yetton and Jago) เสนอทฤษฎีความเป็นผู้นำเชิงสถานการณ์ Leader Participation Model หลักการสำคัญคือ การเน้นการเพิ่มคุณภาพการตัดสินใจของผู้นำ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ตามมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสิน
การตัดสินใจแบบใช้อำนาจ (Autocratic)
การตัดสินใจโดยผู้บริหารเพียงผู้เดียว แล้วจึงแจ้งให้คนในองค์กรรับรู้
การตัดสินใจแบบปรึกษาหารือ (Participation)
ผู้บริหารตัดสินใจแต่เพียงผู้เดียว ภายหลังจากที่สอบถามข้อมูลความคิดเห็นจากคนในองค์กรแล้ว
การตัดสินใจด้วยกลุ่ม (Group Decision)
สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและลงมือทำไปด้วยกัน