Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
3.2 การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตในระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต - Coggle Diagram
3.2 การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตในระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต
ภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต (Hypertensive crisis)
Hypertensive crisis
หรือ Hypertensive emergency
หมายถึง
ภาวะความดันโลหิตสูงอย่างเฉียบพลันสูงกว่า 180/120 มมปรอทและทำให้เกิดการทำลายของอวัยวะเป้าหมาย
สาเหตุ
การหยุดยาลดความดันโลหิตทันที (Sudden withdrawal of antihypertensive medications)
Acute or chronic renal disease
Exacerbation of chronic hypertension
การใช้ยาบางชนิดที่มีผลทำให้ความดันโลหิตสูงเช่นยาคุมกำเนิดยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
อาการและอาการแสดง
จะมีอาการปวดศรีษะ การมองเห็นผิดปกติ สับสน คลื่นไส้อาเจียน
กลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน (Acute cardiovascular syndromes)
กล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial infarction)
เจ็บแน่นหน้าอกแบบเฉียบพลัน / แบบไม่คงที่ (Unstable angina)
น้ำท่วมปอด (Pulmonary edema)
ภาวะเลือดเซาะในผนังหลอดเลือดเอออร์ต้า (Aortic dissection)
การตรวจร่างกาย
วัดสัญญาณชีพโดยเฉพาะความดันโลหิตเปรียบเทียบกันจากแขนซ้ายและขวาน้ำหนักส่วนสูงดัชนีมวลกายเส้นรอบเอวรวมถึงตรวจหาความผิดปกติที่เกิดจาก TOD ได้แก่
โรคหลอดเลือดสมองจะมีอาการแขนขาชาหรืออ่อนแรงครึ่งซีกมองเห็นไม่ชัดหรือตามัวชั่วขณะ ระดับความรู้สึกตัวผิดปกติ หมดสติ ตรวจจอประสาทตา
ถ้าพบ Papilledema ช่วยประเมินภาวะ increased intracranial pressure ตรวจ retina
ถ้าพบ cotton-Wool spots and hemorrhages แสดงว่ามีการแตกของ retina blood vessels และ retina nerves ถูกทำลาย
Chest pain บอกอาการของ acute Coronary syndrome or aortic dissection
อาการของ oliguria or azotemia (excess urea in the blood) แสดงถึงภาวะไตถูกทำลายในรายที่สงสัย
มีภาวะเลือดเซาะในผนังหลอดเลือดเอออร์ต้า (Aortic dissection) ให้คลำชีพจรที่แขนและขาทั้ง 2 ข้างและวัดความดันโลหิตที่แขนทั้ง 2 ข้างจะแตกต่างกันอย่างชัดเจนเรียกว่า pseudohypotension
ของแขนข้างที่มี intimal flap ที่ไปอุดหลอดเลือดแดงที่มาเลี้ยงแขนข้างนั้น
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
ตรวจ CBC ประเมินภาวะ microangiopathic hemolytic anemia (MAHA)
การรักษา
ป้องกันอวัยวะต่างๆไม่ให้ถูกทำลายมากขึ้นและไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาคือลดความดันโลหิตเฉลี่ย (mean arterial pressure ระดับเดิม 20-30% ภายใน 2 ชั่วโมงแรกและ 160/100 มม. ปรอทใน 2-6 ชั่วโมง
ยาลดความดันโลหิตที่พึงประสงค์ควรออกฤทธิ์เร็วและหมดฤทธิ์เร็ว
ไม่แนะนำให้ใช้ยา Nifedipine ทั้งทางปากและบีบใส่ใต้ลิ้นเพราะความดันโลหิตอาจลดต่ำลงมากเกินไปจนไม่สามารถควบคุมได้
การพยาบาล
ในระยะเฉียบพลันเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับอาการและอาการแสดงของระบบต่างๆ ได้แก่ neurologic, cardiac, and renal systems
ในระหว่างได้รับยาประเมินและบันทึกการตอบสนองต่อยาโดยติดตามความดันโลหิตอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการลดลงของความดันโลหิตอย่างรวดเร็ว
ควบคุมความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 180/105 มม. ปรอทใน 24 ชั่วโมงแรก แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าความดันโลหิตเริ่มต้น
ประเมินการไหลเวียนเลือกที่มาเลี้ยงส่วนปลาย
ประเมินการไหลเวียนโลหิตมาเลี้ยงไต
การรักษาด้วย short-acting intravenous antihypertensive agents ได้แก่ Sodium nitroprusside
ช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจกรรมเช่นการจัดท่านอนให้สุขสบายการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่างๆและจัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ
Cardiac dysrhythmias
Atrial fibrillation (AF)
ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพริ้วเกิดจากจุดปล่อยกระแสไฟฟ้า (ectopic focus) ใน atrium ส่งกระแสไฟฟ้าออกมาถี่และไม่สม่ำเสมอและไม่ประสานกันทำให้ atrium บีบตัวแบบสั่นพริ้วและคลื่นไฟฟ้าไม่สามารถผ่านไปยัง ventricle ได้ทั้งหมด
สาเหตุ
พบบ่อยในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจ
รูห์มาติก ภาวะหัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตสูง เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ (open heart surgery), hyperthyrodism
การพยาบาล
ประเมินการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพและคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างต่อเนื่อง
สังเกตอาการและอาการแสดงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันสมองปอดแขนและขา
ดูแลให้ได้รับยาควบคุมการเต้นของหัวใจเช่น digoxin, beta-blocker, calcium channel blockers, amiodarone
ดูแลให้ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดตามแผนการรักษาในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ว่ามีลิ่มเลือดเกิดขึ้น
เตรียมผู้ป่วยและอุปกรณ์ในการทำ Cardioversion เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นในจังหวะปกติ
เตรียมผู้ป่วยในการจี้ด้วยคลื่นไฟฟ้าความถี่สูง (Radiofrequency Ablation) ในผู้ป่วยที่เป็น AF และไม่สามารถควบคุมด้วยยาได้
Ventricular tachycardia (VT)
หมายถึง
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดที่ ventricle เป็นจุดกำเนิดการเต้นของหัวใจในอัตราที่เร็วมาก แต่สม่ำเสมอ 150-250 ครั้ง / นาทีซึ่งจุดกำเนิดอาจมีตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่งลักษณะ ECG ไม่พบ P wave
ประเภทของ VT
Nonsustained VT คือ VT ที่เกิดต่อเนื่องกันเป็นเวลาน้อยกว่า 30 วินาที
Sustained VT คือ VT ที่เกิดต่อเนื่องกันเป็นเวลานานกว่า 30 วินาทีซึ่งมีผลทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายลดลง
Monomorphic VT คือ VT ที่ลักษณะของ QRS complex เป็นรูปแบบเดียว
Polymorphic VT หรือ Torsade คือ VT ที่ลักษณะของ QRS complex เป็นรูปแบบเดียว
สาเหตุ
พบบ่อยในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายบริเวณกว้าง (Myocardial infarction) โรคหัวใจรูห์มาติก (Rheumatic heart disease) ถูกไฟฟ้าดูดภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำพิษจากยาดิจิทัลลิส (Digitalis toxicity) และกล้ามเนื้อหัวใจถูกกระตุ้นจากการตรวจสวนหัวใจ
อาการและอาการแสดง
อาการเกิดทันทีผู้ป่วยจะรู้สึกใจสั่นความดันโลหิตต่ำ
หน้ามืด เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก หัวใจหยุดเต้น
การพยาบาล
นำเครื่อง Defibrillator มาที่เตียงผู้ป่วยและรายงานแพทย์ทันทีและเปิดหลอดเลือดดำ เพื่อให้ยาและสารน้ำ
คลำชีพจรประเมินสัญญาณชีพระดับความรู้สึกตัว เจ็บหน้าอก ภาวะเขียว จำนวนปัสสาวะ เพื่อประเมินภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองและอวัยวะสำคัญลดลง
ร่วมกับแพทย์ในการดูแลให้ได้รับยาและแก้ไขสาเหตุหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ในผู้ป่วยที่เกิด VT และคลำชีพจรได้ร่วมกับมีอาการของการไหลเวียนโลหิตในร่างกายลดลงให้เตรียมผู้ป่วยในการทำ synchronized cardioversion
ในผู้ป่วยที่เกิด VT และคลำชีพจรไม่ได้ ให้เตรียมเครื่อง Defibrillator
ทำ CPR ถ้าหัวใจหยุดเต้น
Ventricular fibrillation (VF)
หมายถึง
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดที่ ventricle เป็นจุดกำเนิดการเต้นของหัวใจตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่งเต้นรัวไม่เป็นจังหวะไม่สม่ำเสมอลักษณะ ECG จะไม่มี P wave ไม่เห็นรูปร่างของ QRS complex ระบุไม่ได้ว่าส่วนไหนเป็น QRS complex ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขผู้ป่วยจะหัวใจหยุดเต้นทันที
อาการและอาการแสดง
อาการเกิดทันทีคือหมดสติ ไม่มีชีพจร รูม่านตาขยายเนื่องจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตออกมาได้และเสียชีวิต
การพยาบาล
เตรียมเครื่งมืออุปกรณ์และยาที่ใช้ในการช่วยฟื้นคืนชีพให้พร้อมและทำ CPR ทันทีเนื่องจากการรักษา VF และ Pulseless VT สิ่งที่สำคัญคือการช็อกไฟฟ้าหัวใจทันทีและการกดหน้าอก
ป้องกันภาวะ tissue hypoxia โดยให้ออกซิเจนตามแผนการรักษาในกรณีที่ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงที่วัดจากปลายนิ้ว (O, saturation หรือ Sp03) น้อยกว่า 93% ในผู้ป่วยที่เป็น Stroke หรือ Acute Ml ระดับ SpO2 ที่ปลอดภัยในผู้ป่วยวิกฤตทั่วไปอยู่ระหว่าง 90-94% ในผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการมีคาร์บอนไดออกไซด์คั่งอยู่ระหว่าง 88-92%
ติดตามค่าเกลือแร่ในเลือด เพื่อหาสาเหตุนำของการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ติดตามผลข้างเคียงของยาที่ใช้ในการรักษา
ติดตามและบันทึกอาการแสดงของภาวะอวัยวะและเนื้อเยื่อได้รับเลือดไปเลี้ยง
ติดตามและบันทึกการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพคลื่นไฟฟ้าหัวใจโดยเฉพาะ ST segment
ให้ยา antidysrhythmia ตามแผนการรักษาและเตรียมอุปกรณ์สำหรับทำ synchronized Cardioversion ในผู้ป่วยที่เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดไม่รุนแรง
ทำ CPR ร่วมกับทีมรักษาผู้ป่วยในกรณีเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรง
ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Heart Failure (AHF)
ความหมาย
การเกิดอาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างรวดเร็วจากการทำงานผิดปกติของหัวใจทั้งการบีบตัวหรือการคลายตัวของหัวใจ การเต้นของหัวใจผิดจังหวะหรือการเสียสมดุลของ preload และ afterload โดยอาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจเดิม (decompensated) หรือแสดงอาการครั้งแรกในผู้ที่ไม่เคยมีโรคหัวใจเดิมอยู่ (de novo heart failure) ซึ่งอาจเป็นความผิดปกติได้หลายระบบไม่ จำกัด เฉพาะระบบหัวใจและหลอดเลือด
สาเหตุ
ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันภาวะหัวใจเต้นผิดปกติภาวะหัวใจวายลไกการไหลเวียนของเลือดผิดปกติเฉียบพลันโรคหัวใจใด ๆ ที่ทรุดลงตามการดำเนินโรคภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤตกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความผิดปกติอื่น ๆ หลอดเลือดปอดอุดตันเฉียบพลันนอกจากนี้พบว่าภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
ปัจจัยกระตุ้น
1) ความผิดปกติทางหัวใจและหลอดเลือดเช่นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่พอ
2) ความผิดปกตินอกระบบหัวใจและหลอดเลือดเช่นการใช้ยาไม่สม่ำเสมอการควบคุมปริมาณเกลือในอาหารไม่เพียงพอภาวะน้ำเกินหลอดเลือดปอดอุดตันโรคติดเชื้อภาวะโลหิตจางโรคปอดเรื้อรังยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs,
ยาที่ออกฤทธิ์ต่อหัวใจ, ภาวะทุพโภชนาการ, สารออกฤทธิ์เป็นพิษต่อหัวใจ
อาการและอาการแสดง
ของผู้ป่วยที่พบบ่อย ได้แก่ หายใจเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ อ่อนเพลีย บวมตามแขนขา ความดันโลหิตปกติ หรือต่ำ / สูง ท้องอืดโต แน่นท้อง ปัสสาวะออกน้อย / มากหัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เส้นเลือดดำที่คอโป่งพอง ฟังได้ยินเสียงปอดผิดปกติ (Lung crepitation) จากการที่มีเลือดคั่งในปอด (Pulmonary congestion) ในผู้ป่วยบางรายอาจมีเสียงหายใจว็ด (Wheezing) เนื่องจากมีการหดตัวของหลอดลม (Bronchospasm) เมื่อมีเลือดคั่งในปอดที่เรียกว่า Cardiac wheezing อาจตรวจพบเสียงหายใจลดลงจากการมีน้ำในเยื่อหุ้มปอด (Pleural effusion) ตรวจพบหัวใจโตตับโต
การรักษา
การลดการทำงานของหัวใจ (Decrease cardiac workload)
การดึงน้ำและเกลือแร่ที่คั่งออกจากร่างกาย (Negative fluid balance) ได้แก่ การให้ยาขับปัสสาวะการ จำกัด สารน้ำและเกลือโซเดียมการเจาะระบายน้ำ
การใช้ยา
การรักษาสาเหตุ ได้แก่ การขยายหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี, การเปลี่ยนลิ้นหัวใจในโคโรนารี, การรักษาภาวะติดเชื้อ
การประเมิน
การซักประวัติและตรวจร่างกายเพื่อประเมินอาการทางคลินิกที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อาการเจ็บหน้าอกอาการหอบเหนื่อยภาวะบวมการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ CBC, biochemical cardiac markers, ABG
การตรวจพิเศษ ได้แก่ CXR, echocardiogram, CT, coronary artery angiography (CAG)
กิจกรรมการพยาบาล
การลดการทำงานของหัวใจกิจกรรมการพยาบาล
การลดความต้องการใช้ออกซิเจนของร่างกายกิจกรรม
การเพิ่มประสิทธิภาพการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจกิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
ดูแลให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับการไหลเวียนเลือด
ดูแลการทำงานของเครื่องกระตุ้นจังหวะหัวใจ
ดูแลให้ได้รับสารน้ำและอาหารอย่างเพียงพอตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับการตอบสนองตามความต้องการพื้นฐาน 9. ดูแลติดตามการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจประเมินสัญญาณชีพทุก 1-2 ชั่วโมง
ดูแลติดตามและบันทึกค่า CVP, PCWP
สังเกต / บันทึกปริมาณปัสสาวะทุก 1 ชั่วโมง (keep urine output> = 0.5 m \ / kg / hr.)
จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการนอนหลับพักผ่อน
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญกับความเจ็บป่วยโดยประเมินความรู้สึกและปัญหาต่างๆของผู้ป่วย
สอนและแนะนำเทคนิคการผ่อนคลายที่สอดคล้องกับความสนใจของผู้ป่วย
กระตุ้นและส่งเสริมให้ครอบครัวญาติหรือบุคคลใกล้ชิดมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาและการเปลี่ยนแปลงของอาการที่เกิดขึ้นไปในทางที่ดี
ภาวะช็อก (Shock)
ความหมาย
ภาวะช็อกเป็นภาวะที่เกิดความผิดปกติทางสรีรวิทยาส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนที่ส่งไปเลี้ยงเนื้อเยื่อทั่วร่างกายลดต่ำลงกว่าความต้องการใช้ออกซิเจนของเนื้อเยื่อและอวัยวะนำไปสู่ความผิดปกติของการทำงานของอวัยวะต่างๆจากการขาดออกซิเจนในระดับเซลล์ (Cellular dysoia)
ระยะของช็อกการดำเนินของช็อก
ภาวะช็อกที่สามารถชดเชยได้ในระยะแรก (Compensated shock)
ภาวะช็อกที่สามารถชดเชยได้ในระยะท้าย (Decompensated shock)
ภาวะช็อกที่ไม่สามารถชดเชยได้ (Irreversible shock)
ประเภทของช็อกการ
ภาวะช็อกจากการขาดสารน้ำ (Hypovolemic shock) เกิดจากการลดลงของปริมาณของเลือดหรือสารน้ำในร่างกาย (การสูญเสียมากกว่า 30-40% ของปริมาตรเลือด) สาเหตุ ได้แก่ การสูญเสียเลือด และการสูญเสียสารน้ำ
ภาวะช็อกจากภาวะหัวใจล้มเหลว (Cardiogenic shock) เป็นภาวะช็อกที่เกิดจากหัวใจไม่สามารถส่งจ่ายเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย สาเหตุ ได้แก่ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ ความผิดปกติของลิ้นหัวใจและผนังหัวใจ และภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ภาวะช็อกจากหลอดเลือดมีการขยายตัว (Distributive shock, vasogenic / vasodilatory shock, Inflammatory shock) เป็นภาวะช็อกที่มีสาเหตุจากหลอดเลือดส่วนปลายขยายตัวทำให้เกิดการลดลงของแรงต้านทานของหลอดเลือด (SVR) ร่วมกับมีการไหลเวียนเลือดในระบบลดลงจากการไหลเวียนของเลือดลัดเส้นทาง Maldistribution หรือ shunt)
3.1 ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ (Septic shock)
3.2 ภาวะช็อกจากการแพ้ (Anaphylactic shock)
3.3 ภาวะช็อกจากการทำงานผิดปกติของต่อมหมวกไต (Hypoadrenal / adrenocortical shock)
ภาวะช็อกจากการอุดกั้นการไหลเวียนของเลือดเข้าสู่หัวใจ (Obstructive shock) เกิดจากการอุดกั้นการไหลเวียนของโลหิตไปสู่หัวใจห้องข้ายจากสาเหตุภายนอกหัวใจส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจลดลง
ภาวะซอกจากความผิดปกติของระบบประสาท (Neurogenic shock) ความบกพร่องในการควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมการขยายตัวและการหดตัวของหลอดเลือด (Vasomotor tone) เป็นผลให้มีการขยายตัวของหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงขึ้นทันใดส่งผลให้เลือดมีการกระจายตัวไปยังหลอดเลือดส่วนปลายมากขึ้นหัวใจมีการเต้นช้าลง
อาการและอาการแสดง
ประสาทส่วนกลาง กระสับกระส่าย ซึม หมดสติ เซลล์สมองตาย
หัวใจและหลอดเลือด ชีพจรเบาเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดส่วนปลายหดตัวผิวหนังเย็น
หายใจ เร็วลึ กระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ ระบบหายใจล้มเหลว
ไตและการขับปัสสาวะ ปัสสาวะออกน้อย
ทางเดินอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้ขาดเลือด ตับอ่อนอักเสบ ดีซ่านการย่อยและดูดซึมอาหารผิดปกติ ตับวาย
เลือดและภูมิคุ้มกัน การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ภาวะลิ่มเลือดกระจายทั่วร่างกาย เม็ดเลือดขาวทำงานบกพร่อ
ต่อมไร้ท่อ น้ำตาลในเลือดสูง หรือต่ำภาวะร่างกายเป็น กรด
การรักษา
การแก้ไขระบบไหลเวียนโลหิตให้ได้ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อนาที่เพียงพอโดยกำหนดเป้าหมายให้ค่าความดันโลหิตเฉลี่ย (MAP) มากกว่าหรือเท่ากับ 65 mmHg
การให้สารน้ำ ได้แก่ Crystaloid solution เพื่อเพิ่มปริมาตรของสารน้ำในหลอดเลือดเช่น Ringer's lactate solution (RLS), 0.9% NSS
การให้ยาที่มีผลต่อการบีบตัวของหัวใจ (Inotropic agent) และการหดตัวของหลอดเลือด
การแก้ไขภาวะพร่องออกซิเจนของเนื้อเยื่อและการลดการใช้ออกซิเจน
การรักษาที่เฉพาะเจาะจงตามสาเหตุของภาวะช็อกเช่นการให้ยาปฏิชีวนะ
การแก้ไขความผิดปกติของภาวะกรดด่าง
การประเมินสภาพ
. 1. การซักประวัติ เพื่อหาสาเหตุของภาวะซื้อกที่เกิดจากการเจ็บป่วย เช่น ประวัติโรคหัวใจ การสูญเสียสารน้ำ การติดเชื้อ การได้รับการบาดเจ็บอุบัติเหตุการใช้ยา ประวัติการแพ้ เป็นต้น
การตรวจร่างกาย ได้แก่ การประเมินทางเดินหายใจการประเมินลักษณะและอัตราการหายใจการประเมินการไหลเวียนโลหิตและการทำงานของหัวใจและการประเมินระดับความรู้สึกตัว
การตรวจทางห้องปฏิบัติการเช่น CBC, BUN, Cr, electrolyte, lactic acid, arterial blood gas, coagulation, specimens culture
การตรวจพิเศษเช่น X-ray, CT, echocardiogram, ultrasound.
กิจกรรมการพยาบาล
การป้องกันเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน
ประเมินภาวะขาดออกซิเจน
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
การส่งเสริมการไหลเวียนโลหิตอย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
ดูแลให้สารน้ำและอิเล็กโตรไลท์ทดแทนตามแผนการรักษา
ดูแลให้ยา (Dopamine, Dobutamine, Epinephrine Norepinephrine) เพื่อส่งเสริมการไหลเวียนโลหิตตามแผนการรักษา
ดูแลจัดท่านอนหงายราบยกปลายเท้าสูง 20-30 องศา
ประเมินสัญญาณชีพรวมถึงค่า MAP ทุก 1 ชั่วโมง
ติดตามค่า CVP (ปกติ 8-12 cmH2O)
บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าออกจากร่างกาย
ติดตามการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกตัวลักษณะผิวหนังเย็นชื้นซีดหรือเขียวคล้ำ
ดูแลให้ได้รับการช่วยเหลือ
การแก้ไขสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะช็อก
ดูแลเตรียมให้ได้รับการตรวจเพื่อหาสาเหตุ
เตรียมผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับการทำ PTCA, CABG
แลให้ยาละลายลิ่มเลือดตามแผนการรักษาเพื่อแก้ไขภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ดูแลให้ยา Chlorpheniramine 1 amp V เพื่อแก้ไขภาวะแพ้
ส่งเสริมการปรับตัวของผู้ป่วยและครอบครัวต่อภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นกิจกรรมการพยาบาล
ให้ข้อมูลอธิบายเหตุผลก่อนทำกิจกรรมการพยาบาล
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้ระบายความรู้สึกวิตกกังวลและซักถามข้อข้องใจ
ให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวลให้เกียรติผู้ป่วย
ให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมในการวางแผนการพยาบาล
ให้กำลังใจและสนับสนุนทางด้านจิตใจ