Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคหลอดเลือดหัวใจ CORONARY ARTERY DISEASE: CAD, ไอ เสมหะปนเลือด,…
โรคหลอดเลือดหัวใจ
CORONARY ARTERY DISEASE: CAD
Acute Coronary Syndrome
กลุ่มอาการโรคหัวใจขาดเลือดที่เกิดขึ้นชนิดเฉียบพลัน สาเหตุ เกิดจากหลอดเลือดแดงโคโรนารีอุดตันจากการแตกของคราบไขมัน ร่วมกับมีลิ่มเลือดอุดตัน
Acute Coronary Syndrome แบ่งเป็น 2 ชนิด
1 ST- elevation acute coronary syndrome ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ที่พบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีลักษณะ ST segment ยกขึ้นอย่างน้อย 2 leads ที่ต่อเนื่องกัน หรือเกิด left bundle branch block (LBBB)
2 Non-ST-elevation acute coronary syndrome ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดที่ไม่พบ ST elevation มักพบลักษณะ ของคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็น ST segment depression และ/หรือ T wave inversion ร่วมด้วย หากมีอาการนานกว่า 30 นาที อาจจะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด non-ST elevation MI
สาเหตุ
เส้นเลือดอุดตันหลอดเลือดหัวใจตีบ ความผิดปกติของการไหลเวียน (ช็อก,หัวใจล้มเหลว) หลอดเลือดแดงอักเสบ หัวใจหดตัวอย่างรุนแรง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
สูบบุหรี่ อายุ คอเรสเตอรอล โรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดัน โลหิตสูง ไตรกลีเซอไรด์เครียด
อาการเจ็บหน้าอก angina pectoris แบ่งได้ 2 ชนิด
อาการเจ็บหน้าอกชนิดคงที่ (Stable angina)
อาจเกิดจาก การออกกำลังกาย เกิดอารมณ์รุนแรง
อาการจะดีขึ้นเมื่อได้นอนพัก
ระยะเวลาที่เจ็บประมาณ 0.5-20 นาที
อาการเจ็บหน้าอกชนิดไม่คงที่ (Unstable angina)
เจ็บนานมากกว่า 20 นาที
การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ
1.ซักประวัติอย่างละเอียดรวมถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
จากการตรวจร่างกาย
3.การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 12 (Lead)
4.ตรวจหาระดับเอนไซม์ของหัวใจ (Cardiac enzyme)
5.การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise stress test )
การตรวจสวนหัวใจโดยการฉีดสารทึบแสง (Coronary angiography)
การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ
หลีกเลี่ยงสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก
ลดการทำงานของหัวใจ
การรักษาทางยา เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยากลุ่มไนเตรต การสวนหัวใจขยายเส้นเลือดหัวใจโคโรนารี การผ่าตัด CABG CPB
บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยกลุ่ม ACS
ประเมินสภาพผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว
ประสานงานตามทีมผู้ดูแลผู้ป่วยกลุ่มหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
ให้ออกซิเจนเมื่อมีภาวะ hypoxemia
พยาบาลต้องตัดสินใจตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจทันที โดยทำพร้อมกับการ
ซักประวัติและแปลผลภายใน 10 นาที
เฝ้าระวังอาการและอาการแสดงของการเกิด cardiac arrest
การพยาบาลกรณี EKG show ST elevation ต้องเตรียมผู้ป่วยเพื่อ
เข้ารับการรักษาโดยการเปิด หลอดเลือดโดยเร่งด่วน
พยาบาลต้องประสานงานจัดหาเครื่องมือประเมินสภาพและดูแล
รักษาผู้ป่วยให้เพียงพอ
การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด 3 ระยะ
ระยะก่อนให้ยา เตรียมผู้ป่วยและญาติประเมินการให้ยา ดูแลให้ผู้ป่วยและ/หรือญาติ เซ็นยินยอมในการให้ยา ติดตามค่า BP, PT, PTT, platelet count, hematocrit และ signs of bleeding
ระยะที่ 2 การพยาบาลระหว่างให้ยาเฝ้าติดตามอาการต่างๆอย่างใกล้ชิด
ระยะที่ 3 การพยาบาลหลังให้ยา ประเมินระดับความรู้สึกตัว ประเมินสัญญาณชีพMonitoring EKG ไว้ตลอดเวลาจนครบ 72 ชั่วโมง บันทึกสารน้ำระวังไม่ให้เกิดแผล
การเปลี่ยนแปลงหัวใจที่ขาดเลือดไปเลี้ยงมีความรุนแรง 3 ลักษณะ
Ischemiaกล้ามเนื้อหัวใจได้รับ o2 น้อย มีคลื่น T ลักษณะหัวกลับ
Injury กล้ามเนื้อหัวใจขาด o2 แต่ยังทำงานได้คลื่นไฟฟ้าหัวใจมี ST ยกขึ้นหรือต่ำลง
Infarction กล้ามเนื้อหัวใจขาด o2 มาก ปรากฎคลื่น Q ที่กว้าง มากกว่า 0.04 วินาที
ไอ เสมหะปนเลือด
นางสาวสุรัญญา คงแก้ว รหัส 6217701001073 ห้อง 2