Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตในระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตในระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต
ภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤติ Hypertensive crisis
Hypertensive crisis หมายถึง ภาวะความดันโลหิตสูงอย่างเฉียบพลันสูงกว่า 180/120 มม.ปรอท และเกิด target organ damage
สาเหตุ
การหยุดยาลดความดันโลหิตทันที
Acute or chronic renal disease
Exacerbation of chronic hypertension
การใช้ยาบาลชนิดที่มีผลทำให้ความดันโลหิตสูง เช่น ยาคุมกำเนิน ยาต้านการอักเสบที่ไ่ม่ใช่สเตียรอยด์
อาการและอาการแสดง
ทำให้เกิดอาการทางสมอง เรียกว่า hypertensive encephalopathy จะมีอาการ ปวดสัรษะ สับสน คลื่นไส้ อาเจียน
กลุ่มอาการหลอดเลือหัวใจเฉียบพลัน
กล้ามเนื้อหัวใจตาย
เจ็บแน่นหน้าอกแบบเฉียบพลัน/ไม่คงที่
น้ำท่วมปอด
ภาวะเลือดเซาะในผนังหลอดเลือดเอออร์ต้า
การซักประวัติ
ซักประวัติการเป็นโนคประจำตัว
ความสม่ำเสมอในการรับประทานยา ผลข้างเคียงของยาที่ใช้
ประวัติความดันโลหิตสูงที่เป็นในสมาชิกครอบครัว
การตรวจร่างกาย
วัดสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิตเปรียบเทียบกันจากแขนซ้ายและขวา
ถ้าพบ Papilledema ประเมิน increased intracranial pressure ตรวจ retina
chest pain บอกอาการของ acute coronary coronary syndrome or aortic dissection
ในรายที่สงสัยเป็น Aortic dissection ให้คลำชีพจรที่แขนและขา ทั้ง 2 ข้าง และวัดความดันโลหิตที่แขนทั้ง 2 ข้าง จะแตกต่างกันอย่างชัดเจน เรียกว่า pseudohypotension
การรักษา
ให้ยาลดความดันโลหิต เช่น sodium nitroprusside ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับและไตบกพร่อง
การพยาบาล
ในระยะเฉียบพลัน เฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับอาการแสดงในระบบต่างๆ
ในระหว่างได้รับยา ประเมินและบันทึกการตอบสนองต่อยาโดยติดตามความดันโลหิตอย่างใกล้ชิด
เก็บยา sodium nitroprusside ให้พ้นแสงและตลอดการให้ยาแก่ผู้ป่วย หากพบว่ายาเปลี่ยนสีเข้มขึ้น หรือเป็นสีส้ม น้ำตาล น้ำเงิน ห้ามให้ยา เนื่องจากเกิดการสลายของตัวยา
ติดตามอาการไม่พึงประสงค์ของยา ได้แก่ความดันโลหิตต่ำอย่างรวดเร็ว หัวใจเต้นช้า ภาวะกรด หลอดเลือดดำอักเสบ
ช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจกรรม เช่น จัดท่านอนให้สุขสบาย การจัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ
ให้ความรู้/ข้อมูลแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการรักษาเพื่อควบคุมความดันโลหิต เหตุผลที่ต้องติดอุปกรณ์ที่ใช้เฝ้าระวังต่างๆ
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ Cardiac dysrhythmias
Atrial fibrillation (AF)
คือ ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพริ้ว
เกิดจากจุดปล่อยกระแสไฟฟ้า ใน Atrium ส่งกระแสไฟฟ้าออกมาถี่และไม่สม่ำเสมอและไม่ประสานกัน ทำให้ atrium บีบตัวสั่นพริ้ว และคลื่นไฟฟ้าไม่สมารถผ่านไปยัง ventricle
ประเภทของ AF
Paroxysmal AF คือ ที่หายได้เองภายใน 7 วัน
Persistent AF คือที่ไม่หายได้เองภายใน 7 วัน
Permanent AF ที่เป็นนานติดต่อกันกว่า 1 ปี
Recurrent AF ที่เป็นมากกว่า 1 8iyh'
Lone AF คือ AF ที่เป็นในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 60 ปี
สาเหตุ
พบบ่อยในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจรูห์มาติก ภาะหัวใจล้มเหลว ความกันโลหิตสูง เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ
อาการ
ใจสั่น อ่อนเพลีย เหนื่อยเวลาออกแรง คลำชีพจรที่ข้อมือไม่ได้
การพยาบาล
ประเมินการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพและคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างต่อเนื่อง
สังเกตอาการและอาการแสดงของการเกิดลิ่มเลือดอุดคัน สมอง ปอด แขนและขา
ดูแลให้ได้รับยาควบคุมการเต้นของหัวใจ
ดูแลให้ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดตามแผนการรักษาในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ว่ามีลิ่มเลือดเกิดขึ้น
เตรียมผู้ป่วยและอุปกรณ์ในการทำ Cardioversion เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นในจังหวะปกติ
เตรียมผู้ป่วยจี้ด้วยคลื่นไฟฟ้าความถี่สูง ในผู้ป่วยที่เป็น AF และไม่สามารถควบคุมด้วยยาได้
Ventricular tachycardia (VT)
คือ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิดที่ ventricle เป็นขุดกำเนิดการเต้นของหัวใจ ในอัตราที่เร็วมากแต่สม่ำเสมอ 150-250 ครั้ง/นาที
ประเภทของ VT
Nonsustained VT คือ VT ที่เกิดต่อเนื่องกันเป็นเวลาน้อยกว่า 30 วินาที
Sustained VT คือ VT ที่เกิดต่อเนื่องกันเป็นเวลานานกว่า 30 วินาที ซึ่งมีผลทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายลดลง
Monomorphic VT คือ VT ที่ลักษณะของ QRS complex เป็นรูปแบบเดียว
Polymorphic VT หริอ torsade คือ VT ที่ลักษณะของQRS complex เป็นรูปแบบต่างกัน
สาเหตุ
พบบ่อยในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายบริเวณกว้าง โนคหัวใจรูห์มาติก ถูกไฟฟ้าดูด ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ พิษจากยาดิจิทัลลัส และกล้ามเนื้อหัวใจถูกกระตุ้นจากการตรวจสวนหัวใจ
อาการและอาการแสดง
อาการเกิดทันที ผู้ป่วยรู้สึกใจสั่น หน้ามืด เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก หัวใจหยุดเต้น
การพยาบาล
นำเครื่อง Defibrillator มาที่เตียงผู้ป่วยและรายงานแพทย์ทันที และเปิดหลอดเลือดดำเพื่อให้ยาและสารน้ำ
คลำชีพจร ประเมินสัญญาณชีพ ระดับความรู้สึกตัว เจ็บหน้าอก ภาวะเขียว จำนวนปัสสาวะ เพื่อประเมินภาวะเลือดไปเลี้ยงสมอง และอวัยวะสำคัญลดลง
ร่วมกับแพทย์ในการดูแลให้ได้รับยาและแก้ไขสาเหตุหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ในผู้ป่วยที่เกิด VT และคลำชีพจรได้ร่วมกับมีอาการของการไหลเวียนโลหิตในร่างกายลดลง ให้เตรียมผู้ป่วยในการทำ Synchonized cardioversion
ในผู้ป่วยที่เกิด VT และคลำชีพจรไม่ได้ ให้เตรียมเครื่อง Defibrillator เพื่อให้แพทย์ทำการช็อกไฟฟ้า
ทำ CPR ถ้าหัวใจหยุดเต้น
Ventricular fibrillation (VF)
คือ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิดที่ ventricle เป็นจุดกำเนินการเต้นของหัวใจตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่ง เต้นรัวไม่เป็นจังหวะ ไม่สม่ำเสมอ
ลักษณะ ECG จะไม่มี P wave ไม่เห็นรูปร่างของ QRS complex ระบุไม่ได้ว่าส่วนไหนเป็น QRS complex ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขผู้ป่วยจะหัวใจหยุดเต้นทันที
สาเหตุ
Hypovolemia Hypoxia Hydrogen ion
Hypokalemia Hyporkalemia
Hypothermia Tension pneumothorax
อาการและอาการแสดง
หมดสติ ไม่มีชีพจร รูม่านตาขยาย เนื่องจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตออกมาได้ และเสียชีวิต
การพยาบาล
เตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์และยาที่ใช้ในการช่วยฟื้นคืนชีพให้พร้อมและทำ CPR ทันที เนื่อจากการรักษา VF และ Pulseless VT สิ่งสำคัญคือ การช็อกไฟฟ้าหัวใจทันที และการกดหน้าอก
ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน Acute Heart Failure (AHF)
หมายถึง การเต้นของหัวใจผิดจังหวะหรือการเสียสมดุลของ preload และ afterload โดยอาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจเดิม หรือ แสดงอาการครั้งแรกในผู้ที่ไม่เคยมีโรคหัวใจเดิมอยู่ก็ได้ ซึ่งอาจเป็นความผิดปกติได้หลายระบบไม่จำกัดเฉพาะระบบหัวใจและหลอดเลือด
พยาธิสรีรวิทยา
การเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันเกิดได้จากหลายภาวะซึ่งจะทำให้มีปริมาณเลือดในหัวใจมากเกินไป ทำให้หัวใจทำงานหนัก มีการปรับตัวของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจเป็นผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลง
ร่างกายจึงมีการปรับสมดุล โดยการกระตุ้น baroreceptor reflex ทำให้กระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเธติก เกิด peripheral vasoconstripheral ทำให้มี peripheral resistance เพิ่มมากขึ้นเนื่องากการกดตัวของหลอดเลือดแดง เพิ่ม total peripheral resistance หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเนื่องจาก afterload เพิ่มขึ้นความดันในหลอดเลือดดำเพิ่มขึ้น หัวใจจึงต้องทำงานหนักขึ้นเนื่องจากมี preload เพิ่มขึ้นทำให้เกิดกสรคั่งของน้และเกลือในร่างกายทั้งในปอดและ systemic venous เกิดการคั่งของเลือดที่ปอด ความดันในหลอดเลือดฝอยเพิ่มขึ้นสารเหลวซึมเข้าสู่ถุงลมปอด เกิดน้ำท่วมปอด เกิด congastive heart failure
สาเหตุ
โรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ภาวะหัวใจวาย ภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความผิดปกติอื่นๆ หลอดเลือดปอดอุดตันเฉียบพลัน
เกิดได้จากปัจจัยกระตุ้น คือ ความผิดปกติทางหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลิอด ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่พอ ความผิดปกตินอกระบบหัวใจและหลอดเลือด
อาการและอาการแสดง
Acute decompensated heart failure เป็นกลุ่มที่มีอาการภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดขึ้นเฉียบพลันแต่ไม่มีอาการรุนแรงมาก
Hypertensive acute heart failure คือกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีปอดบวมน้ำ โดยมรความดันโลหิตสูงรุนแรงร่วมด้วย
Pulmonary edema เป็นภาวะที่มีอาการและอาการแสดงของปอดบวมน้ำร่วมด้วยอย่างชัดเจนสามารถเห็นได้ชัดเจนจากภาพถ่ายรังสีทรวงอก
Cardiogenic shock คือภาวะที่ร่างกายมี poo tissue perfusion โดยมีความดันโลหิต systolic ต่ำกว่า 90 mmHg หรือ MAP < 60 mmHg ร่วมกับปัสสาวะออกน้อยกว่า 0.5 ml/kg/hr.
High output failure คือภาวะหัวใจล้มเหลวโดยมีปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อนาทีสูงกว่าปกติ มักมีหัวใจเต้นเร็ว ปลายมือ เท้าอุ่น ร่วมกับการมีภาวะน้ำท่วมปอด
Right heart failure คือภาวะที่หัวใจด้สนขวาทำงานล้มเหลว มีปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อนาทีลดลง ร่วมกับมีการเพิ่มขึ้นของความดันหลอดเลือดดำที่คอ มีการบวมของตับ
การรักษา
การลดการทำงานของหัวใจ การให้ออกซิเจน การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ
การดึงน้ำและเกลือแร่ที่คั่งออกจากร่างกาย ได้แก่ การให้ยาขับปัสสาวะ การจำกัดสารน้ำและเกลือโซเดียม การเจาะระบายน้ำ
การใช้ยา ยาเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ ยารักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ยาขยายหลอดเลือดหัวใจ ยาขยายหลอดเลือด ยาบรรเทาอาการเจ็บหน้าอก ยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด
การพยาบาล
เป้าหมายที่สำคัญคือ การลดการทำงานของหัวใจ และส่งเสริมการไหลเวียนเลือดไปยังเซลล์ให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ การคงไว้ซึ่งความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกายและความผิดปกติทางด้านจิตใจ
กิจกรรมการพยาบาล
ลดการทำงานของหัวใจ โดยดูแลให้ได้รับยาขับปัสสาวะ ยาขยายหลอดลม ดูแลจำกัดสารน้ำและเกลือโซเดียม ดูแลจัดท่านอนศีรษะสูง ดูแลจำกัดกิจกรรมแบบสมบูรณ์
การลดความต้องการการใช้ออกซิเจนของร่างกายโดยดูแลจำกัดกิจจกรมแบบสมบูรณ์ ดูแลควบคุมอาการปวด ดูแลช่วยให้ได้รับการใส่เครื่องพยุงหัวใจ
การเพิ่มประสิทธิภาพการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ดูแลให้ได้รับยาช่วยเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ โดยประเมินอัตราการเต้นของหัวใจก่อน หากอัตราการเต้นของหัวใจ ต่ำกว่า 60 ครั้ง/นาที งดให้ยาและรายงานแพทย์
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
ดูแลให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับการไหลเวียนเลือด
ดูแลติดตามการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟ้ฟ้าหัวใจ ประเมินสัญญาณชีพ ทุก 1-2 ชั่วโมง
สังเกต/บันทึกปริมาณปัสสาวะทุก 1 ชั่วโมง (keep urine output >=0.5 ml/kg/hr.
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาและการเปลี่ยนแปลงของอาการที่เกิดขึ้นไปในทางที่ดี เพื่อให้ผู้ป่วยมีกลังใจและลดความวิตกกังวลได้
ภาวะช็อก
เป็นภาวะที่ร่างกายเกิดความผิดปกติจากกลุ่มอาการต่างๆหรือความผิดปกติ จากทางสรีรวิทยาเป็นผลให้เกิดการไหลเวียนโลหิตไปยังอวัยวะต่างๆไม่เพียงพอ ทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ส่งไปเลี้ยงเนื้อเยื่อไม่เพียงพอ เสียสมดุลของการเผาผลาญระดับเซลล์อวัยวะต่างๆขาดออกซิเจน และสูญเสียหน้าที่
พยาธิ
เมื่อการทำงานของสรีรวิทยาของการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลง องค์ประกอบใดประกอบหนึ่ง ทำให้ Stoke volume และ Cardiac output ลดลง เป็นผลให้ความดันโลหิตต่ำกว่า 90/40 mmHg เป็นปัจจัยที่ส่งต่อการนำออกซิเจนสู่เนื้อเยื่อส่วนปลาย และทำให้เกิดการขาดออกซิเจนในระดับเซลล์ร่างกายจะตอบสนองต่อความผิดปกตินี้โดยการกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเธติกโดยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและบีบตัวเพื่อเพิ่มปริมาตรของเลือดที่ออกจากหัวใจเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
เนื่องจากภาวะช็อกเป็นภาวะที่เิกดจากความไม่สมดุลระหว่างปริมาณออกซิเจนที่ขนส่งไปยังเนื้อเยื่อจึงเกิดความผิดปกติของปัจจัยด้านสรีรวิทยา ได้แก่ การขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคกล้ามเนื้อหัวใจทำให้ประสิทธิภาพของการบีบตัวของหัวใจลดลง อัตราการเต้นของหัวใจช้าหรือเร็วเกินไป ทำให้ Cardiac output ลดลง หากไม่ได้รับการแก้ไขภาวะช็อกจะทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ส่งไปเลี้ยงเนื้อเยื่อไม่เพียงพอ อวัยวะขาดออกซิเจนและสูญเสียหน้าที่ อวัยวะล้มเหลว และนำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด
ระยะช็อก แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
ภาวะช็อกที่สามารถชดเชยได้ในระยะแรก Compensated shock คือ ภาวะช็อกที่ได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่เริ่มต้น ได้รับการรักษาทั้งการให้สารน้ำและยาที่เหมาะสม ผลการรักษารัหษาจะดีและมีภาวะแทรกซ้อนเพียงเล็กน้อย
ภาวะช็อกที่สามารถชดเชยได้ในระยะท้าย Decompensated shock คือ ภาวะช็อกที่ได้รับการวินิจฉัยล่าช้า เซลล์ในร่างกายเริ่มตาย การทำงานของอวัยวะต่างๆลดลง ก่อนได้รับการรักษาที่เหมาะสมการรักษาจะใช้เวลามากขึ้นและมีภาวะแทรกซ้อนจากอวัยวะล้มเหลว
ภาวะช็อกที่ไม่สามารถชดเชยได้ Irreversible shock คือภาวะช็อกที่ได้รับการวินิจฉัยช้าเกินไป จนทำให้เซลล์หรืออวัยวะต่างๆในร่างกายได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก
ประเภทของช็อก
ภาวะช็อกจากการขาดสารน้ำ Hypovolemic shock
เกิดจากการลดลงของปริมาณของเลือดหรือสารน้ำในร่างกาย การสูญเสียมากกว่า 30-40% ของปริมาณเลือด ทำให้ปริมาณเลือดที่กลับเข้าสู่หัวใจลดลง
หากร่างกายมีการสูญเลือดและน้ำเพิ่มมากขึ้น ร่างกายจะทำให้มีกาหดตัวของหลอดเลือดส่วนปลาย ส่งผลให้ความต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลายสูง เพื่อเพิ่ม Cardiac output
สาเหตุ เกิดจากการสูญเลือดและสูญเสียออกจากร่างกาย
ภาวะช็อกจากหัวใจล้มเหลว Cardiogenic shock
เป็นภาวะช็อกที่เกิดจากหัวใจไม่สามารถส่งจ่ายเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย โดยมีปริมาณเลือดในระบบไหลเวียนโลหิตอย่างเพียงพอ
สาเหตุ ได้แก่ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ ความผิดปกติของลิ้นหัวใจและผนังหัวใจ และภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ภาวะช็อกจากหลอดเลือดมีการขยายตัว Distributive shock
เป็นภาวะช็อกที่มีสาเหตุจากหลอดเลือดส่วนปลายขยายตัว โดยมีสาเหตุเกิดจาก
ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ Septic shock
เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุของการตายในอันดับต้นๆ
กลไกการเเกิด เกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งเชื้อโรคจะมีการหลั่งชีวพิษในตัว ร่างกายจึงมีการตอบสนองโดยการหลั่งสาร cytokines ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันของร่างกายซึ่งจะออกฤทธิ์ให้กล้ามเนื้อเรียบของลอดเลือดขยายตัวก่อน ร่วมกับการมีไนตริกออกไซด์ในเลือดสูงจากการหลั่งชีวพิษทำให้ความต้านทานของหลอดเลือดลดลง ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ไหลกลับเข้าสู่หัวใจลดลง
เรียกว่าระยะอุ่น มีความดันโลหิตลดลง หัวใจเต้นเร็วขึ้น หายใจเร็วลึก มีไข้สูง หนาวสั่น ผิวหนังแดงอุ่น ร่างกายมีการปรับชดเชยทำให้หลอดเลือดเกิดการหดตัว เกิดการทำลาย endothelial cell ของหลอดเลือด สูญเสียความสามารถในการซึมผ่าน ปริมาณสารน้ำในระบบลดลง เนื้อเยื่อและเซลล์ขาดเลือดเกิดอวัยวะล้มเหลวหลายระบบ
ภาวะช็อกจากการแพ้ Anaphylactic shock
เป็นภาวะช็อกที่เกิดในภาวะ anaphylaxis เกิดปฏิกิริยา antigen กับ antibody ของร่างกาย ทำให้เกิด hypersensitivity thype l ซึ่ง IgE จะไปกระตุ้น mast cell และ basophil แตกตัว มีการปล่อย mediator หลายชนิด ทำให้เกิดการขยายตัว เป็นผลให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณนั้นมากขึ้น ปริมาณเลือดนระบบไหลเวียนลดลง ทำให้มีอาการร้อนแดง ตัวแตง ความดันต่ำ ผิวหนังเกิดผื่นแดง
ภาวะช็อกจากการทำงานผิดปกติของต่อมหมวกไต Hypoadrenal
เป็นภาวะช็อกที่ร่างกายไม่สามารถผลิต cortisol ในปริมาณมากพอกับความต้องการในการประคับประคองความดันโลหิตในขณะที่ร่างกายเกิดความเครียด มักพบในผู้ป่วย adrenal insufficiency
ภาวะช็อกจากการอุดกั้นการไหลเวียนของเลือดเข้าสู่หัวใจ
เกิดจากการอุดกั้นการไหลเวียนของโลหิตไปสู่หัวใจห้องซ้ายจากสเหตุภายนอกหัวใจ ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจลดลง สาเหตุที่พบบ่อยได้แก่ Cardiac tamponade tension pneumothorax ผู้ป่วยมักมีความดันต่ำลง ร่วมกับมีระดับความดันในหัวใจห้องขวาเพิ่มมากขึ้น มีหลอดเลือดดำที่คอโป่งพอง CVP มีระดับสูงขึ้น
ภาวะช็อกจากความผิดปกติของระบบประสาท Neurogenic shock
เกิดจากความบกพร่องในการควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติ ที่ควบคุมการขยายตัวและการหดตัวของหลอดเลือด เป็นผลให้มีการขยายตัวของหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงขึ้นทันใด ส่งผลให้เลือดมีการกระจายตัวไปยังหลอดเลือดส่วนปลายมากขึ้นหัวใจมีการเต้นช้าลง
อาการและอาการแสดงเนื้อเยื่อต่างๆได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ความดันโลหิตต่ำ ร่วมกับอาการที่แสดงถึงประเภทและสาเหตุของภาวะช็อก
ประสาทส่วนกลาง กระสับกระส่าย ซึม หมดสติ เซลล์สมองตาย
หัวใจและหลอดเลือด ชีพจรเบาเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ผิวหนังเย็นซีด
หายใจ หายใจเร็วลึก ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ ระบบหายใจล้มเหลง
ไตและการขับปัสสาวะ ปัสสาวะออกน้อย
ทางเดินอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้ขาดเลือด ตับอ่อนอักเสบ ดีซ่าน การย่อยและการดูดซึมอาหารผิดปกติ
เลือดและภูมิคุ้มกัน การแข็งตัวของเลือดปกติ ภาวะลิ่มเลือดกระจ่ายทั่วร่างกาย เม็ดเลือดขาวทำงานบกพร่อง
ต่อมไร้ท่อ น้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ ภาวะร่างกายเป็นกรด
การรักษา
แก้ไขระบบไหวเวียนโลหิตให้ได้ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อนาทีเพียงพอ โดยการให้สารน้ำ การให้ยาที่มีผลต่อการบีบตัวของหัวใจ
การแก้ไขภาวะพร่องออกวิเจนของเนื้อเยื่อและการลดการใช้ออกซิเจน
การรักษาที่เฉพาะเจาะจงตามสาเหตุของภาวะช็อก เช่น การให้ยาปฎิชีวนะ
การแก้ไขความผิดปกติของภาวะกรดด่าง
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินภาวะขาดออกซิเจน โดยการติดตามสัญญาณชีพทุก 1 ชั่วโมง ประเมินระดับความรู้สึกตัว
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง โดยการดูดเสมหะ จัดท่านอนศีรษะสูง
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ โดยให้ออกซิเจนตามความเหมาะสม
ดูแลให้สารน้ำและอิเล็กโตรไลท์ทดแทน
ประเมินสัญญาณชีพรวมถึงค่า MAP ทุก 1 ชั่วโมง และติดตามค่า CVP
บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าออกร่างกาย และติดตามปริมาณปัสสาวะทุก 1-2 ชั่วโมง
ส่งเสริมการปรับตัวของผู้ป่วยและครอบครัวต่อภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น โดยให้ข้อมูล อธิบายเหตุก่อนทำกิจกรรมการพยาบาล และเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้ระบายความรู้สึก