Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลด้วยความเอื้ออาทรในผู้ที่มีความวิตกกังวลและความเครียดผิดปกติ -…
การพยาบาลด้วยความเอื้ออาทรในผู้ที่มีความวิตกกังวลและความเครียดผิดปกติ
โรควิตกกังวลผิดปกติ (Anxiety Disorders)
Panic Disorder
สาเหตุ
ปัจจัยด้านชีวภาพ
พันธุกรรม
กายวิภาคของสมอง
ความสมดุลของสารสื่อประสาท
ปัจจัยด้านจิตใจ
มักจะเกิดขึ้นภายหลังการแยกจาก หรือภาวะสูญเสีย
การบําบัดรักษาพยาบาล
ด้านร่างกาย
รักษาด้วยยา (pharmacotherapy) การบริหารยาในการรักษาโรควิตกกังวลคือให้ยาคลายกังวลควบคู่ไปกับการให้ยาแก้ซึมเศร้า (โดยมากจะเริ่มจากกลุ่ม SSRI เป็นยาขนานแรก
ด้านจิตใจคือการทําจิตบําบัด (psychotherapy)
พฤติกรรมบําบัด (behavioral therapy) มุ่งเปลี่ยนแปลงหรือลดพฤติกรรมที่ไม่พึง ประสงค์ โดยเป็นวิธีการรักษาในระยะสั้นและแก้ปัญหาแบบเฉพาะเจาะจง มีการตั้งเป้าหมายชัดเจนที่ สามารถวัดพได้ บทบาทของผู้บําบัดจะคอยสนับสนุน ให้กําลังใจ ให้การปรึกษา และกระตุ้นให้ฝึก อย่างต่อเนื่อง
จิตบําบัดแบบการปรับความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy) มี จุดมุ่งหมายสําคัญ 2 ประการคือ เพื่อช่วยลดอาการของผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดทักษะในการจําแนก ประเมิน และเปลี่ยนแปลงกระบวนการนึกคิดที่ไม่เหมาะสม และ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจใน ความคิดที่เป็นจุดอ่อนของตนเอง เพื่อนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เป็นการคิด ความเชื่อหรือ ทัศนคติที่เหมาะสม
การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบําบัด (milieu therapy)
การสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจและรู้สึกปลอดภัย
ผู้บําบัดควรมีลักษณะจริงใจ แสดงความยอมรับในอาการของผู้ป่วย การให้ข้อมูลที่เป็น จริงเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น
ลักษณะอาการทางคลินิก
อาการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและถึงระดับสูงสุดภายในไม่กี่นาที และในช่วงระหว่างนั้นจะมีอาการต่อไปนี้เกิดขึ้นอย่างน้อย 4 อาการ
ใจสั่น ใจเต้นแรงคือหัวใจเต้นเร็วมาก
เหงื่อแตก
ตัวสัน
หายใจไม่อิ่มหรือหายใจขัด
รู้สึกอึดอัดหรือแน่นอยู่ข้างใน
เจ็บหน้าอก กลืนแน่นหน้าอก
คลื่นไส้ ท้องไส้ปั่นป่วน
มีนงง วิงเวียน ปวดศีรษะหรือเป็นลม
มีความรู้สึกร้อนๆหนาวๆ
รู้สึกชาหรือเสียวซ่าตามผิวหนัง
รู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมแปลกไปหรือไม่คุ้นเคย คือรู้สึกว่าตนเองแปลกไป เปลี่ยนแปลงไป
กลัวควบคุมตัวเองไม่ได้ หรือกลัวเป็นบ้า
กลัวว่าตนเองก าลังจะตาย
Phobia Disorder
ลักษณะอาการทางคลินิก
Agoraphobia
กลัวการอยู่คนเดียวในที่สาธารณะ กลัวการอยู่ในฝูงชน
Social Phobia
กลัวต่อการต้องไปอยู่ในสถานการณ์ที่ถูกผู้อื่นจ้องมอง หรือตก เป็นเป้า
สายตา กลัวการถูกวิพากษ์วิจารณ์ กลัวการถูกดูถูก กลัวการทำให้อับอาย
Specific Phobia เดิมเรียก simple phobia
กลัวสัตว์ วัตถุหรือสิ่งของเฉพาะ หรือ กลัว
เหตุการณ์บางอย่างเฉพาะ
สาเหตุ
ปัจจัยด้านชีวภาพ
สมดุลปริมาณสารสื่อประสาท
การทำงานของสมอง
ปัจจัยด้านจิตใจ
มีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่สร้างความ สะเทือนใจ
การบำบัดรักษาพยาบาล
ด้านร่างกาย
รักษาด้วยยา (pharmacotherapy)นิยมใช้ต้านอารมณ์เศร้า (antidepressant drugs) กลุ่ม SSRIS ยาคลายกังวลกลุ่ม benzodiazepine
ด้านจิตใจคือการท าจิตบำบัด (psychotherapy)
พฤติกรรมบำบัด (behavioral therapy)
จิตบำบัดแบบการปรับความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy)
การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด (milieu therapy)
ผู้บำบัดควรมีลักษณะจริงใจ
การสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น
ผู้บำบัดควรมีลักษณะจริงใจ
Generalized Anxiety Disorder (GAD)
สาเหต
ปัจจัยสาเหตุด้านชีวภาพ
การลดลงของ GABA (gamma-aminobutyric acid) ซึ่ง GABA จำนวนของกาบาน้อยเกินไป ทำให้สมองไม่ผ่อนคลาย การควบคุมความคิดและอารมณ์ทำได้น้อยลง และท าให้เกิด ความวิตกกังวลมากกว่าเหตุ
การลดลงของระดับ serotonin ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข ช่วยให้คิดในแง่ดี ใจสงบ ผ่อน คลาย ผู้ป่วยโรควิตกกังวลมีระดับserotonin ลดลง ทำให้เกิดอาการคิดในแง่ลบ คิดมาก นอนไม่ หลับ ขาดสมาธิ
การเพิ่มมากเกินไปของ norepinephrine ทำให้มีการตอบสนองต่อ อารมณ์และความเครียดที่เร็วหรือมากเกินไป นำไปสู่ความวิตกกังวลและอาการทางกายต่างๆ
ปัจจัยทางด้านจิตใจ
มีความผิดปกติในแง่ของการรับรู้และการแปลผลต่อเหตุการณ์ในลักษณะมองโลกในแง่ร้าย และยังประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาของตนต่ำเกินจริง จึงทำให้เกิดความรู้สึกกลัวและ วิตกกังวล
การบำบัดรักษาพยาบาล
ด้านร่างกาย
รักษาด้วยยากลุ่ม benzodiazepine บางรายอาจใช้ยากลุ่ม SSRIS
ร่วมด้วย
ด้านจิตใจคือการทำจิตบำบัด (psychotherapy)
จิตบำบัดแบบจิตพลวัต (psychodynamic psychotherapy) ด้วยการพยายามช่วยให้ ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจสาเหตุของความวิตกกังวล
จิตบำบัดแบบการปรับความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy) มุ่งปรับแก้ความคิดที่บิดเบือนคือการมองตนเองด้านลบ
ของผู้ป่วย
การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบบำบัด (milieu therapy)
การสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น
ผู้บำบัดควรมีลักษณะจริงใจ
ส่งเสริมการจัดกิจกรรมและกระตุ้นให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อเบี่ยงเบนความวิตก กังวล จะช่วยให้เกิดความผ่อนคลายความรู้สึกกังวลได้ เช่น การอ่านหนังสือ การวาดภาพ ฟังเพลง
การพยาบาล
1.การประเมินผู้ป่วย 2.ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
3.ปฏิบัติการพยาบาล
Obsessive-Compulsive Disorder (OCD)
ลักษณะอาการทางคลินิก
อาการย้ำคิด (obsessive)
การมีความคิดความรู้สึกหรือแรงกระตุ้นให้กระทำอะไรบางอย่างซ้ำๆโดยไร้เหตุผล คิดหมกมุ่นไปมาโดยไม่มีประโยชน์ ทำให้เกิดความกังวลใจ ความไม่สบายใจอย่างมาก
อาการย้ำทำ (compulsive)
การกระทำอย่างมีเป้าหมายชัดเจนซ้ำๆ เพื่อป้องกันหรือลด ความไม่สบายใจจากการย้ำคิดข้างต้น และเป็นการกระทำที่ไร้เหตุผล พฤติกรรมทำนี้ทำไปเพราะ กลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตัวเอง หรือกลัวว่าตนเองจะเป็นอันตราย
สาเหตุ
ปัจจัยสาเหตุด้านชีวภาพ
พันธุกรรม
ระดับ serotonin มีความผิดปกติ
การทำงานผิดปกติของสมองใหญ่ส่วนหน้า
ปัจจัยทางด้านจิตใจ
อาการย้ำคิดย้ำทำเกิดจากการที่ผู้ป่วยใช้ กลไกการป้องกันตัวเองทางจิตเพื่อจัดการกับความรู้สึกขัดแย้งในระดับจิตไร้สำนึก โดยกลไกการ ป้องกันตัวเองทางจิตที่ใช้ ได้แก่ isolation,undoing และ reaction formation
กลไกการป้องกันตัวเอง (Defensive Machanism)
กลไกการป้องกันตัวเองที่มีวุฒิภาวะ ( Mature Defenses )
การทดเทิด ( Sublimation )
การกดระงับ ( Suppression )
อารมณ์ขัน ( Humor )
กลไกการป้องกันตัวเองแบบโรคประสาท ( Neurotic Defenses )
การเคลื่อนย้าย ( Displacement )
การใช้เชาวน์ปัญญา ( Intellectualization )
กลไกป้องกันตนเองแบบไม่บรรลุวุฒิภาวะ ( Immature Defenses )
การปฏิเสธ ( Denial )
การโทษผู้อื่น ( Projection )
การหาเหตุผลเข้าข้างตน ( Rationalization )
กลไกการป้องกันตัวเองแบบโรคจิต ( Psychotic Defenses )
การโทษผู้อื่นแบบหลงผิด ( Delusional Projection )
การปฏิเสธแบบโรคจิต ( Psychotic Denial )
การบิดเบือนแบบโรคจิต ( Psychotic Distortion )
การบำบัดรักษาพยาบาล
ด้านร่างกาย
ยาที่นิยมใช้รักษาโรคย้ำคิดย้้ำทำ ได้แก่ ยาต้านอารมณ์เศร้า (antidepressant drugs) กลุ่ม SSRIS และกลุ่ม TCAS
ด้านจิตใจ
พฤติกรรมบำบัด (behavioral therapy)
จิตบำบัดแบบการปรับความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy)
การบำบัดทางความคิด (Cognitive therapy)
การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด (milieu therapy)
การสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น
ผู้บำบัดควรมีลักษณะจริงใจ
จัดกิจกรรมอื่นที่น่าสนใจและกระตุ้นให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากความคิดและพฤติกรรมซ้ำๆของผู้ป่วย
Post-traumatic stress Disorder (PTSD)
ลักษณะอาการทางคลินิก
มีอาการหวาดกลัวอย่างรุนแรง รู้สึกสิ้นหวัง การนอนแปรปรวน ตกใจง่าย หงุดหงิด ง่าย กระสับกระส่าย คิดถึงเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนใจบ่อย ๆ ฝันร้ายบ่อย ๆ
สาเหตุ
ปัจจัยสาเหตุด้านชีวภาพ
การทำงานที่ผิดปกติของยีน
การเผชิญความเครียดจากเหตุการณ์นานๆ
ปัจจัยทางด้านจิตใจ
แนวคิดจิตวิเคราะห์ เหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นไปกระตุ้นความขัดแย้งในจิตไร้สำนึกที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ทำให้ผู้ป่วยเกิดพฤติกรรมถดถอยและหันไปใช้กลไกการป้องกันตนเอง
แนวคิด Cognitive model เชื่อว่า ความเครียดหรือความวิตกกังวลเกิดจากการไม่สามารถปรับตัวต่อเหตุการณ์ร้ายแรงนั้นได้อย่างเหมาะสม มักใช้วิธีการหลีกเลี่ยง เปลี่ยนการรับรู้ หรือ เพิกเฉยกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ปัจจัยอื่น
เช่น สิ่งแวดล้อมและสังคม
การบำบัดรักษาพยาบาล
ด้านร่างกาย
ยาที่นิยมใช้รักษา Post-traumatic stress Disorde
ด้านจิตใจ
จิตบำบัดแบบการปรับความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy
การจัดการกับภาวะวิตกกังวล เพื่อช่วยลดความวิตกกังวล
การให้การปรึกษาด้านจิตใจ (counseling) เพื่อส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ความรู้สึกมั่นใจ
การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว
การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด (milieu therapy)
การสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น
ผู้บำบัดควรมีลักษณะจริงใจ
Somatoform disorders
Somatic Symptom Disorder
ลักษณะอาการทางคลินิก
อาการปวด ซึ่ง ไม่ได้บ่งถึงโรคทางกายที่ร้ายแรง ทำให้ต้องมาหา
แพทย์เป็นประจำ โดยที่แพทย์ก็ตรวจไม่พบความ ผิดปกติของร่างกาย อาการมักเป็นมากขึ้นเมื่อมีความเครียดหรือปัญหาในชีวิต
มีอาการปวดเป็นอาการนำมาพบแพทย์
Conversion Disorder
ลักษณะอาการทางคลินิก
ด้านการเคลื่อนไหว
โยกตัวไปมา พูดไม่ได้ทั้งๆที่ เคยพูดได้ (mutism) เป็นอัมพาต(paralysis) แขนขาไม่มีแรง แต่น่าสังเกตคือไม่ล้ม หรือถ้าล้มก็ บาดเจ็บไม่มาก
ด้านประสาทสัมผัส
แสดงออกโดยมีอาการชา (parenthesis) หรือความรู้สึกเปลี่ยนไป มักพบที่มือ เท้า มีลักษณะคล้ายการสวมถุงมือหรือถุงเท้า
อาการชัก
เรียกว่าอาการชักเทียม คือผู้ป่วยมีอาการชักเกร็ง ดิ้นไปมา และมักจะรู้สึกตัวดี ระหว่างชัก และไม่พบอาการบาดเจ็บจากการชัก
การรับสัมผัสพิเศษ
รหูไม่ได้ยิน ตามองไม่เห็น หรือมองเห็น เฉพาะหน้าตรงๆ พูดไม่มีเสียง การตรวจไม่พบความผิดปกติของอวัยวะดังกล่าว แต่จะพบอาการจาก เหตุกระตุ้นทางจิตใจ
อาการร่วมการเคลื่อนไหวและการรับความรู้สึก
Primary gain ช่วยปกป้องตัวผู้ป่วยให้ไม่ต้องไปรับรู้ความยุ่งยาก ความทุกข์ใจ ความกังวลใจ หรือความขัดแย้งต่างๆ
Secondary gain ช่วยให้ได้รับแรงเสริมหรือได้รับประโยชน์จากคนรอบข้าง เช่น ได้รับการ ช่วยเหลือจากผู้อื่น ได้รับความเห็นใจ ความสนใจมากขึ้น
ที่มีความผิดปกติของร่างกายเกี่ยวกับอวัยวะที่มีหน้าที่ในการ เคลื่อนไหว หรือความผิดปกติในประสาทสัมผัส
Illness Anxiety Disorder
ลักษณะอาการทางคลินิก
มีความคิดหมกมุ่นว่าตนเองเป็นโรคร้ายแรง ทั้งนี้เพราะผู้ป่วยมีความเข้าใจไม่ถูกต้องเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยทางกาย มักไปพบแเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยทางกาย มักไปพบแพทย์หลายแห่ง ได้รับการตรวจหลายอย่าง และได้รับการพทย์หลายแห่ง ได้รับการตรวจหลายอย่าง และได้รับการพบว่าผู้ป่วยมีอารมณ์ซึมเศร้า และวิตกกังวลร่วมด้วย
Body Dysmorphic Disorder
ลักษณะอาการทางคลินิก
หมกมุ่นกับความคิดที่ว่า ส่วนของร่างกายตนเองน่าเกลียด ไม่สมส่วน แม้ตามความ เป็นจริงผู้ป่วยไม่ได้น่าเกลียด หรือมีรูปร่างสมส่วนดีอยู่แล้ว ผู้ป่วยมักจะคอยสังเกตดูอวัยวะนั้นอยู่ บ่อยๆ
สารเคมีในสมองที่สำคัญ
แอซิติลโคลีน (Acetylcoline)
ต่ำ สมาธิสั้น ความจำไม่ดี
โดยเฉพาะความจำระยะสั้น
โดพามีน (Dopamine)
ต่ำ จะทำกล้ามเนื้อเกร็งกระตุก และมีอาการสั่น เช่น ในโรคพาร์กินสัน รวมถึงรู้สึกซึมเศร้า
สูง จะทำให้เกิดโรคทางจิตเภท มีความคิดฟุ้งซ่าน ควบคุมสติไม่ได้ คลุ้มคลั่ง เหมือนการเสพยาบ้า
นอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine)
ต่ำ เซื่องซึม ขาดความตื่นตัว
ไม่กระตือรือร้น
สูง จะทำให้กระวนกระวาย
วิตกกังวล และนอนไม่หลับ
ซีโรโทนิน (Serotonin)
ต่ำ ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล ย้ำคิดย้ำทำ ขาดความเชื่อมั่น อารมณ์แปรปรวน และอาจถึงขั้นทำร้ายตัวเองได้ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักพบว่าเกิดจากการมีซีโรโทนินต่ำ
มากเกิน อาจมีอาการทางจิต คลุ้มคลั่ง ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ซึ่งหากเป็นในเด็ก อาจเกิดภาวะปัญญาอ่อน หรือออทิสติกได้
กาบา (GABA)
เอนดอร์ฟิน (Endorphin)