Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แบบประเมินผู้ป่วยตาม กรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพ, FE312C98-75E4-4DB0-8DE3…
แบบประเมินผู้ป่วยตาม
กรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพ
ข้อมูลผู้ป่วย
ชื่อ อิอิ เหลียง เพศหญิง อายุ 42 ปี สถานภาพการสมรส คู่ อาชีพ รับจ้าง เชื้อชาติ เมียนมาร์ หอผู้ป่วย ศัลยกรรมหญิง ข้อมูล วันที่รับไว้ในโรงพยาบาล 29/09/63 แหล่งข้อมูล ผู้ป่วย,ญาติ
ข้อวินิจฉัย
ฝีหนองบริเวณเต้านมข้างซ้าย ( left Breast abscess)
ประวัการเจ็บป่วยในปัจจุบัน
เต้านมข้างซ้าย บวมแดง เจ็บบริเวณเต้านมข้างซ้ายและก็ยกแขนไม่ได้ 5 วันก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
ไส้ติ่งอักเสบ
โรคประจำตัว
โรค SLE โรคแพ้ภูมิในตัวเอง
อาการสำคัญ
เต้านม(R)บวมแดง5วันก่อนมาโรงพยาบาล
การตรวจพิเศษอื่นๆ
-ส่งเพาะเชื้อจากหนองตรวจหาความไวของเชื้อ
-CBC ส่งเพาะเชื้อจากน้ำนมหรือของเหลวที่ออกจากเต้านม -การอัลตราซาวด์เต้านมเพื่อหาตำแหน่งหนองและเจาะดูดหนองหรือสารคัดหลั่งบริเวณที่มีฝีหนอง
ข้อมูลตามแบบแผนสุขภาพ
แบบแผนที่1 การรับรู้สุขภาพและการดูแลสุขภาพ
ข้อมูลอัตนัย
-ปวดบวมที่เต้านมด้านซ้าย
-ไม่มีการสูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์/สารเสพติด
-ไม่แพ้ยา/อาหาร
-อาหารที่ไม่รับประทาน กินได้ทุกอย่าง
-ชอบรับประทานอาหารรสหวาน
ข้อมูลปรนัย
ผู้ป่วยเพศหญิง อายุ42ปี ระดับความรู้สึกตัวดี
สีปกติไม่มีอาการเหนื่อยหอบ
สัญญาณชีพแรกรับ
T=36.2
P=88ครั้ง/นาที
R=20ครั้ง/นาที
BP=110/77mmHg
ข้อวินิจฉัย
ผู้ป่วยไม่สุขสบายเนื่องจากปวดเต้านมของซ้าย
การวางแผนการพยาบาล
1.ผู้ป่วยไม่สุขสบายเนื่องจากปวดเต้านมด้านซ้าย
ข้อมูลปรนัย
ผู้ป่วยมีอาการปวดเต้านมด้านซ้าย
ข้อมูลอัตนัย
มีการอักเสบบริเวณเต้านม ผู้ป่วยเดินหลังค่อมและประคองหน้าอกข้างซ้าย เพราะมีฝีที่เต้านมข้างซ้าย
pain scale 7-10 ใช้การตรวจแบบ Numeric scale
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยสุขสบายและการเจ็บปวดลดลง
เกณฑ์การประเมิน
-ผู้ป่วยปวดแผลเต้านมข้างซ้าย pain scale จาก 7-10 ลดลงเหลือ2-3
-ผู้ป่วยไม่มีอาการแสดงการการเจ็บปวดเช่น มีสีหน้านิ้วคิ้วขมวด
การประเมินผล
1.ผู้ป่วยมีอาการปวดน้อยลง pain scale3
ผู้ป่วยมีสิหน้าสดชื่น แจ่มใส ยิ้มแย้ม ไม่มีอาการหน้านิ้วคิ้วขมวด
การพยาบาล
1.สังเกตลักษณะของแผลว่า มีบวม แดง ร้อน มีหนองหรือมีกลิ่นเหม็น
2.ดูแลให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
3.แนะนำให้ผู้ป่วยระมัดระวังไม่ให้ไปแกะเกาบริเวณแผล อย่าให้แผลโดนน้ำ
4.จัดสิ่งแวดล้อม จัดท่าผู้ป่วยให้อยู่ในท่าที่สุขสบาย
5.ติดตามอาการหลังให้การพยาบาล
เหตุผลการพยาบาล
1.เพื่อประเมินความรุนแรงจากการติเชื้อของแผล
2.เพื่อให้ผู้ป่วยมีอาการปวดลดลง
3.เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเพิ่ม
4.เพื่อให้ผู้ป่วยป่วยรู้สึกผ่อนคลายและสุขสบายมากขึ้น
5.เพื่อติดตามผลหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการพยาบาล
ผู้ป่วยขาดความรู้ในการปฏิบัติตัวก่อนและหลังการผ่าตัด
การวางแผนการพยาบาล
4.ผู้ป่วยขาดความรู้ในการปฏิบัติตัวก่อนและหลังการผ่าตัด
ข้อมูลปรนัย
-ผู้ป่วยชอบทานอาหารลดชาติหวาน
ข้อมูลอัตนัย
วัตถุประสงค์
-เพื่อให้ผู้ป่วยวิธีการปฎิบัติตัวก่อนและหลังการผ่าตัด
เกณฑ์การประเมิน
-ผู้ป่วยสามารถบอกวิธีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เช่นการทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบทั้ง 5 หมู่ ไม่ทานอาการรสชาติหวานจัด หรือเผ็ดจัด
การพยาบาล
1.ประเมินระดับความรู้และความเข้าใจของผู้ป่วยเกี่ยวกับ โรคและการรักษาโรคว่ามีมากน้อยเพียงใด
2.ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการดูแลตนเองให้ถูกต้อง 3.ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
4.ดูแลความสะอาดร่างกายผู้ป่วยสิ่งแวดล้อม
5.แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบทั้ง5หมู่ และแนะนำให้ลดการทานอาหารที่มีรสชาติหวานจัด
เหตุผลการพยาบาล
1.เพื่อได้มีความรู้ไปปฏิบัติตนเอง และเข้าใจสาเหตุการรักษาโรค
2.เพื่อป้องการการลุกลามของแผล และภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น
3.เพื่อลดการอักเสบหรือติดเชื้อ
4.เพื่อลดการหมักหมมของเชื้อ
5.เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ
การประเมินผล
ผู้ป่วยบอกวิธีการดูแลตนเองได้ถูกต้องคือ การกินอาหารที่มีประโยชน์ ไม่หวานจัด กินยาให้ครบตามแผนการรักษาและการดูแลตนเองได้ถูกวิธี
การวางแผนจำหน่าย (Discharge Plan)
โดยใช้หลักการ D METHOD ซึ่งประกอบด้วย
D-diagnosis =ฝีที่เต้านม สาเหตุ ฝีเต้านมเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อย ได้แก่ สแตฟีโลค็อกคัสออเรียส (Staphylococcus aureus) โดยเชื้อแบคทีเรียนี้จะเข้าไปในเต้านมผ่านทางหัวนมและลานนมที่ปริหรือแตก และทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อตามมา หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมก็จะกลายเป็นฝีหนองตามมาอาการแสดงคือ เต้านมบวมแดง ร้อน และเจ็บปวดมาก คลำได้ก้อน กดเจ็บบริเวณก้อนการปฏิบัติตน ควรพักผ่อนให้เต็มที่ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และรับประทานอาหารที่ประโยชน์ให้เพียงพอ
ควรใส่ยกทรงที่เหมาะสมไม่รัดรูปและช่วยพยุงเต้านมได้ดีและจะช่วยลดอาการปวดลงได้
M-medicine=ยา
Clindamycinเป็นยาปฎิชีวนะที่ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
ผลข้างเคียง อาจเวียนหัว มีผดผื่น ความดันโลหิตต่ำลง คลื่นไส้ อาเจียน
ปริมาณยา 150-450มิลลิกรัม ทุก6 ชม.
ข้อควรระวัง ระวังในโรคตับไต เฝ้าระวังการเกิดลำไส้อักเสบมีไข้ อุจจาระเป็นเลือดแนะนำให้หยุดใช้เมื่อมีอาการท้องเสีย
ยากลุ่ม Penicillin
เป็นยาปฎิชีวนะที่ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย
ผลข้างเคียงที่สำคัญที่สุดของ Penicillin คือเกิดภาวะภูมิแพ้ ซึ่งอาจเกิดผื่นหรือเกิดอาการแพ้รุนแรงอย่างเฉียบพลัน ผู้ป่วยที่แพ้ยา Penicillin ตัวใดตัวหนึ่งจะเกิดอาการแพ้ยา Penicillin ตัวอื่นทั้งหมด นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่แพ้ยา Penicillin ร้อยละ 5-10 อาจเกิดอาการแพ้ยาเซฟาโลสปอริน (Cephalosporins) ร่วมด้วย
อาการและผลข้างเคียงที่ผิดปกติคือ
-หายใจเร็ว มีไข้ เจ็บที่ข้อ เวียนศีรษะและเป็นลม
หน้าหรือหนังตาบวม ผิวแดงและเป็นขุย หายใจสั้น มีผื่นหรือลมพิษขึ้นบริเวณผิวหนัง และอาจมีอาการคันร่วมด้วย
E-environment=การจัดสิ่งแวดล้อม แนะนำให้ผู้ป่วยอยู่ในที่ที่มีอากศสดชื่น อากาศปลอดโปร่งไม่อยู่ในชุมชนที่แออัดหรือสกปรกเพราะอาจจะทำให้แผลผ่าตัดติดเชื้อได้
T-Treatment =การดูแลแผลผ่าตัดเมื่อกลับบ้านคือ เวลาอาบน้ำไม่ควรใช้น้ำราดบริเวณแผลโดยตรงหมั่นไปทำความสะอาดที่สถานีอนามัยใกล้บ้าน หมั่นดูแลรักษาความสะอาดหลีกเลี่ยงการยกแขนสูงสวมใส่เสื้อที่รัดรูป เพราะอาจจะทำให้แผลมีการกดทับหรือฉีดขาดได้ สังเกตอาการบวมแดงบริเวณแผลผ่าตัดหรือมีหนองหหลออกจากแผลต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
H-Health= การฟื้นฟูทางด้านร่างกายและจิตใจแนะนำให้ผู้ป่วยพูดคุยกับสามีเพื่อลดความวิตกกังวล ให้กำลังใจผู้ป่วย
I-Out patient= แนะนำให้ผู้ป่วยมาตรวจตามเวลาที่แพทย์นัดหมายและหากเกิดเหตุฉุกเฉินแนะนำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลจากสถานนีอนามัยใกล้บ้าน หรือสามารถโทรติดต่อได้ที่1669เมื่อมีเหตุเร่งด่วน
D-Diet= แนะนำให้ผู้ป่วยกินอาหารให้ครบทุก 5หมู่ แนะนำให้ทานอาหารเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนม ถั่วเมล็ดแห้ง และไข่เพื่อช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยทำให้ผิวหนังที่สร้างขึ้นใหม่มีความแข็งแรงและช่วยลดความเสี่ยงการเกิดแผลติดเชื้อ
แบบแผนที่2 โภชนาการและการเผาผลาญสารอาหาร
ข้อมูลอัตนัย
ประทานอาหารวันละ3มื้อ ดื่มน้ำวันละ8-10แก้ว
ขณะป่วยรับประทานอาหารได้ปกติ มีการอักเสบตาข้างขวา
ข้อมูลปรนัย
การตรวจร่างกาย
-น้ำหนัก 59 กก.
-ส่วนสูง 162 ซม. BMI= 22.5
-อุณหภูมิใน 24ซม.ที่ผ่านมา 37c ถึง 36.2 -ตาข้างขวาอักเสบ (scleritis)
-ริมฝีปาก ช่องปาก เหงือก ฟัน ลิ้น ทอนซิล และpharynx ปกติดี -Gag reflex ปกติดี
-คอ ธัยรอยด์ ต่อมน้ำเหลือง ท้อง/ขาหนีบ ปกติดี
-ตำแหน่ง ลักษณะของแผล Lt Breast abscess (ฝีที่เต้านม)
ข้อวินิจฉัย
ผู้ป่วยไม่สุขสบายเนื่องจากมีการอักเสบบริเวณตาข้างขวา
วางแผนการพยาบาล
3.ผู้ป่วยไม่สุขสบายเนื่องจากมีการอักเสบบริเวณตาข้างขวา
ข้อมูลสนับสนุน
ข้อมูลอัตนัย
ผู้ป่วยบอกว่ารู้สึกปวดบริเวณตาข้างขวา
ข้อมูลปรนัย
มีการอักเสบที่ตาข้างขวา T=37.8
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยรู้สึกสุขบายและการอักเสบบริเวณตาข้างขวาลดลง
เกณฑ์การประเมิน
1.ผู้ป่วยไม่มีอาการแสดงถึงการเจ็บปวดเช่น ไม่มีสีหน้านิ้วคิ้วขมวด
มีสีหน้าที่ยิ้มแย้ม
2.ผู้ป่วยมีการเจ็บปวดบริเวณตาข้างขวาลดลง
การพยาบาล
สังเกตลักษณะของตาว่ามีการอักเสบ บวม แดง หรือมีหนองออกมาหรือไม่
2.ให้ยาแก้ปวดหรือยาแก้อักเสบตามแผนการรักษา เช่น tobramycin
3.แนะนำไม่ให้ผู้ป่วยใช้นิ้วขยี้บริเวณตา และหลีกเลี่ยงการไอจามแรงๆ
4.ดูแลจัดสิ่งแวดล้อมและจัดท่าผู้ป่วยให้อยู่ในท่าที่สุขสบาย
5.ติดตามอาการหลังการให้การพยาบาล
เหตุผลการพยาบาล
1.เพื่อประเมินความรุนแรงจากการอักเสบ
2.เพื่อลดการอักเสบ การปวดและการระคายเคืองที่ตา
3.เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตาและเพื่อป้องกันการเกิดความดันในลูกตาสูง
4.เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและมีความสุขสบายเพิ่มมากขึ้น
5.เพื่อติดตามผลหลังจากการให้การพยาบาล
การประเมินผล
1.ผู้ป่วยสุขสบายมากขึ้น ไม่แสดงสีหน้านิ้วคิ้วขมวด มีสีหน้าที่ยิ้มแย้มมากขึ้น
2.ผู้ป่วยบอกว่ามีปวดบริเวณตาข้างขวาลดน้อยลง อุณหภูมิของร่างกายอยู่นเกณฑ์ปกติ คือ37.3C
ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากมีการอักเสบบริเวณเต้านมข้างซ้าย
การวางแผนการพยาบาล
2.ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากมีการอักเสบบริเวณเต้านมข้างซ้าย
ข้อมูลสนับสนุน
ข้อมูลปรนัย
ผู้ป่วยมีการอักเสบบริเวณเต้านมข้างซ้าย
น้ำหนัก 59 ส่วนสูง162 BMI 22.5
T=37.8 C
เกณฑ์การประเมิน
1.ผู้ป่วยไม่มีสารคัดหลั่ง หนอง ไหลออกมาจากแผล
2.บริเวณแผลไม่มีการอักเสบ บวมแดง
วัตถุประสงค์
เพื่อไม่ให้มีการติดเชื้อบริเวณเต้านมข้างซ้าย
การพยาบาล
1.สังเกตแผลว่ามีการอักเสบ บวมแดง มีหนอง หรือสิ่งคัดหลั่งไหลออกมาหรือไม่
2.ประเมินสัญญาณชีพทุก4 ชั่วโมง
3.ดูแลล้างแผลผู้ป่วยด้วยเทคนิคปลอดเชื้อตามแผนการรักษา
4.แนะนำไม่ให้ผู้ป่วยแกะหรือเกาะบริเวณแผล และระวังไม่ให้แผลโดนน้ำ
5.ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาปฎิชีวนะและยาแก้อักเสบ เช่น penicillin ตามแผนการรักษา
เหตุผลการพยาบาล
1.เพื่อประเมินความรุนแรงของแผลว่ามีการติดเชื้อหรือไม่
2.เพื่อติดตามการมีไข้จากการติดเชื้อ
3.เพื่อดูแลทำความสะอาดแผล และป้องกันการติดเชื้อ
4.เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
5.เพื่อลดการอักเสบหรือการติดเชื้อ
การประเมินผล
1.ผู้ป่วยไม่มีอาการที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อ เช่น ไม่มีหนองหรือสิ่งคัดหลั่งไหลออกมา
2.แผลของผู้ป่วยไม่มีการอักเสบบวม แดง
อุณหภูมิปกติ=37.3
แบบแผนที่3 การขับถ่าย
ข้อมูลอัตนัย
การขับถ่ายปัสสาวะในโรงพยาบาล
-กลางวัน2ครั้ง-กลางคืน2ครั้ง
ลักษณะของปัสสาวะ -สีเหลืองใส
การขับถ่ายอุจจาระ ปกติวันละ1-2ครั้ง
ลักษณะของอุจจาระปกติ
ข้อมูลปรนัย
การขับถ่ายปัสสาวะใน8ชม./24ชม. 800 ml
ลักษณะของปัสสาวะ สีเหลืองใส
จำนวนอุจจาระเหลว ไม่พบ
ลักษณะอาเจียน ไม่พบ
การตรวจร่างกายบริเวณท้องและทวารหนัก ไต ปกติ
ข้อวินิจฉัย
ไม่พบปัญหา
แบบแผนที่4 กิจวัตรประจำวันและการออกกำลังกาย
ข้อมูลอัตนัย
ปฎิเสธออกกำลังกาย
กิจกรรมที่ทำในแต่ละวันคือ ทำงาน และทำงานบ้าน
ข้อมูลปรนัย
ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในการปฎิบัติกิจวัตรประจำวัน
-สามารถช่วยเหลือตนเองได้ทุกอย่าง
การตรวจร่างกาย
-จมูก คอ รูปร่างสมส่วน ไม่มีรอยโรค
-ระบบหายใจ และหัวใจ การหายใจปกติกไม่มีการเหนื่อยหอบ
การเต้นของหัวใจปกติและสม่ำเสมอ
ข้อวินิจฉัย
ไม่พบปัญหา
แบบแผนที่ 5 การพักผ่อนนอนหลับ
ข้อมูลอัตนัย
การนอนหลับปกตินอนหลับ
-กลางวัน1-2ชม./กลางคืน6-8ชม.
ไม่พบปัญหาในการนอนหลับ
ขณะอยู่โรงพยาบาล
-กลางวัน1-3ชม./กลางคืน8-10ชม.
ไม่พบปัญหาในการนอนหลับ
การพักผ่อนหย่อนใจและง่ายอดิเรก
-ฟังเพลง
ข้อมูลปรนัย
การนอนหลับพักผ่อน(อาการที่แสดงถึงการนอนหลับไม่เพียงพอเช่น อ่อนเพลียขอบตาคล้ำ)
-ไม่พบปัญหาผู้ป่วยสามารถนอนหลับพักผ่อนได้
ข้อวินิจฉัย
ไม่พบปัญหา
แบบแผนที่6 สติปัญญาและการรับรู้
ข้อมูลอัตนัย
การสัมและการเคลื่อนไหวปกติ
การมองเห็นปกติ
การได้ยินปกติ
การได้กลิ่นปกติ
การรับรสปกติ
ผู้ป่วยรู้สึกไม่สุขสบายเนื่องจากปวดบวมบริเวณเต้านมด้านซ้าย
-ผู้ป่วยเดินหลังค่อมและประคองหน้าอกข้างซ้าย เพราะมีฝีที่เต้านมข้างซ้าย -pain scale 7-10 ใช้การตรวจแบบ Numeric scale
ข้อมูลปรนัย
การตรวจ CN1-12
การดมกลิ่นปกติ
การมองเห็นปกติ ลานสายตาปกติ การกรอกลูกตาปกติผู้ป่วยสามารถกรอกตาซ้าย-ขวาไปมาได้
สีหน้าและการรับรสปกติ
การได้ยินปกติ
ตำแหน่งของลิ้นไก่ปกติ
กล้ามเนื้อการยกไหล่เอียงคอได้ปกติ
การเคลื่อนไหวของลิ้นปกติ
ข้อวินิจฉัย
ไม่พบปัญหา
แบบแผนที่ 7 การรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์
ข้อมูลอัตนัย
-ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ -อยากหายจากโรคนี้ อยากกลับบ้าน
-ผู้ป่วยอัธยาศัยดี พูดคุยเก่ง
ข้อมูลปรนัย
-มีความรู้สึกต่อหน้าตารูปร่างของตน -ผู้ป่วยสบตาเวลาพูดคุย พูดชัดถ้อยชัดคำ ถาม ตอบได้ มีสีหน้าเป็นมิตร
ข้อวินิจฉัย
ไม่พบปัญหา
แบบแผนที่8 บทบาทและสัมพันธภาพลักษณ์
ข้อมูลอัตนัย
มีจำนวนสมาชิก 1คน ประกอบด้วย สามี -ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว รักกันดี
ข้อมูลปรนัย
-สัมพัทธภาพกับบุคคลากรในทีม ให้ความร่วมมือใน การทำกิจกรรม
-มีสัมพันธภาพที่ดีกับคนรอบ
ข้อวินิจฉัย
ไม่พบปัญหา
แบบแผนที่ 9 การเผชิญและการทนต่อความเครียด
ข้อมูลอัตนัย
ความเชื่อด้านสุขภาพ ฟังเพลง -สิ่งที่มีค่าที่สุดในชีวิต สามี
ข้อมูลปรนัย
ไม่มีสีหน้าท่าทางวิตกกังวล
ข้อวินิจฉัย
ไม่พบปัญหา
แบบแผนที่10 ค่านิยมและความเชื่อ
ข้อมูลอัตนัย
-ความเชื่อด้านสุขภาพ ฟังเพลง -สิ่งที่มีค่าที่สุดในชีวิต สามี
ข้อมูลปรนัย
-มีการอธิษฐาน ให้หายการเป็นโรค
ข้อวินิจฉัย
ไม่พบปัญหา
แบบแผนที่11 เพศและการเจริญพันธุ์
ข้อมูลอัตนัย
ปฏิเสธ การมีปัญหาทางเพศ สัมพันธ์ -ไม่มีความผิดปกติของอวัยวะเพศ
ข้อมูลปรนัย
-พัฒนาการตามเพศในวัยเจริญพันธุ์ ปกติ
ข้อวินิจฉัย
ไม่พบปัญหา
พยาธิสภาพ
ฝีเต้านมเกิดการจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งแบคทีเรียที่พบบ่อยๆได้แก่ สแตฟีโลค็อกคัสออ เรียส (Staphylococcus aureus)โดยเชื้อแบคทีเรียนี้จะเข้าไปในเต้านมผ่านทางหัวนมและ ลานนมที่ปริหรือแตก และทำให้การเกิดการอักเสบติดเชื้อตามมา หากไม่ได้รับการรักษา ที่ เหมาะสมก็จะกลายเป็นฝีหนองตามมา
ยาที่ผู้ป่วยได้รับ
Augmentin
กลุ่มยาปฏิชีวนะ กลุ่มเพนิซิลลิน(Penicillin)
ใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียได้แก่ การติดเชื้อที่หู ปอด ไซนัส ผิวหนัง และทางเดิน ปัสสาวะ amoxicillin เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลิน ทำหน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย clavulonic acid เป็นยาที่ยับยั้งเอนไซม์ beta-lactamase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้แบคทีเรีย ถูกทำลายโดย amoxicillin ยาปฏิชีวนะไม่สามารถรักษาโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ หรือการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ
ผลข้างเคียง
แพ้ยาพบมากในผู้ที่เคยมีประวัติแพ้ยากลุ่มเพนนิซิลิน(Penicillin) จะมีอาการไข้ ผื่นตามตามบางคนผิวลอก หากเป็นรุนแรงจะมีอาการแพ้ แบบรุนแรง Anaphylaxis
Clindamycin
กลุ่มยาปฏิชีวนะ
ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย มักใช้รักษาสิว อักเสบ ผิวหนังอักเสบ การติดเชื้อในข้อต่อกระดูก ระบบทางเดินหายใจ ช่องปาก ช่องท้อง หรือรักษาแบคทีเรียในช่องคลอด เป็นต้น อาจใช้เป็นยารักษา เพียงอย่างเดียว ใช้ควบคู่กับยาปฏิชีวนะตัวอื่น หรือใช้เมื่อใช้ยาตัวอื่นแล้วไม่ได้ผล
ผลข้างเคียง
ผื่นขึ้น หายใจติดขัด หน้าบวม หรืออาจ เกิดผลข้างเคียงจากตัวยาได้ ควรหยุดใช้ ยาแล้วรีบไปพบแพทย์ทันที
บางรายอาจรู้สึกขมปากมีอาการคลื่นไส้อาเจียน มีไข้ เจ็บคอ แสบตา
Hista-oph
ชื่อสามัญ ANTAZOLINE+ TETRYZOLINE
กลุ่มยาต้านฮีสตามีน (antihistamine)
ผลข้างเคียง
อาการตาแห้ง ความดันในลูกตาสูงขึ้น จึงเป็นข้อห้ามใช้ในคนที่เป็นต้อหิน อย่างไรก็ตามยา Hista-Oph ถือว่าเป็นยา ที่มีผลข้างเคียงน้อยและมีความปลอดภัยมาก
รักษาอาการตาแดงที่เกิดจากการแพ้ อาการระคายเคือง จากสาเหตุต่างๆ น้ำตาไหลเนื่องจากการแพ้หรือ เยื่อบุตาขาวอักเสบ ขนาดใช้ยาโดยทั่วไป คือ หยอดตาวันละ 1-2 หยด ทุก 4-6 ชม. และสามารถหยุด ใช้ยาได้เมื่อหายจากอาการแพ้หรือระคายเคือง
Gentamicin
กลุ่มยาปฏิชีวนะ
กลุ่ม Aminoglycosides (อะมิโนไกลโคไซด์) ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย มักใช้ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียอย่าง รุนแรง ทั้งการติดเชื้อที่ดวงตา หู ผิวหนัง หรือทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น การใช้ยาอาจส่งผลเสียต่อ การทำงานของไตและการได้ยิน
ผลข้างเคียง
อาการแพ้ยา เช่น มีผื่นคันตาม ผิวหนัง หายใจลำบาก มีอาการบวม ที่บริเวณใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือ ลำคอ
สูญเสียการได้ยิน หรือมีเสียงดังในหู
Prednisone
กลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์( corticosteroids) หรือสเตียรอยด์ ( steroids)
ช่วยยับยั้งสารในร่างกายที่ถูกสร้างขึ้นมาในภาวะอักเสบ ยาตัวนี้มีการใช้ใน การรักษาโรคอย่างหลากหลาย เช่น โรคทางภูมิคุ้มกัน โรคหอบหืด โรคลำไส้ อักเสบ หรือโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและข้อต่อ
ผลข้างเคียง
มีอาการนอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน
มีสิวขึ้น ผิวแห้ง มีรอยช้ำที่ผิว บาดแผลหายช้า
มีเหงื่อออกมาก ปวดหัว เวียนหัว
Meropenem
ยาปฏิชีวนะ
กลุ่มคาร์บาพิเนม (Carbapenems) มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย ใช้รักษาหรือป้องกันโรคที่เกิด จากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อที่ผิวหนังหรือเยื่อบุช่อง ท้องและโรคซิสติกไฟโบรซิส โดยยานี้ไม่สามารถรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ได้ แต่อาจใช้รักษาโรคอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ตามดุลพินิจของแพทย์
ผลข้างเคียง
ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูก มีอาการปวดบวมหรือ แดงบริเวณที่ฉีดยา มีแผลในปากหรือลำคอ เป็นเหน็บ นอนยากหรือ ง่วงนอนตลอดเวลา เป็นต้น
Tobramycin
กลุ่มยาปฎิชีวนะ
รักษาโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) ภาวะทางเดินปัสสาวะอักเสบ (UTI)ภาวะติดเชื้อในดวงตา เป็นต้น tobramycin มีรูปแบบการ ใช้ที่หลากหลาย อย่างยาสูดพ่น ยาฉีด และยาหยอดตา
ผลข้างเคียง
รูปแบบสูดดม
เลือดกำเดาไหล เป็นไข้ หายใจลำบาก น้ำมูกเปลี่ยนสี เสียงเปลี่ยน จาม และคัดจมูก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังอาจเกิด ผลข้างเคียงอื่นซึ่งพบได้น้อย อย่างเจ็บหน้าอก สั่น มีปัญหาทางการได้ยิน มีเสียงในหู ต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บคอ เหนื่อยล้า ไม่มีแรง แผลในปาก มีเลือดออกหรือรอยช้ำ
รูปแบบยาฉีด
เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง เบื่ออาหาร ปวดบริเวณที่ฉีดยา หากอาการเหล่านี้รุนแรงขึ้นหรือไม่หายควรแจ้งเภสัชกร แต่ถ้าเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เช่น รู้สึกชา เป็นเหน็บ กล้ามกระตุก กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือมีอาการชัก
รูปแบบยาหลอดตาและขี้ผึ้ง
ระคายเคืองตา น้ำตาไหล ตาแดง คันเปลือกตา ซึ่งหากอาการเหล่านี้รุนแรงขึ้นหรือไม่หายควรไปพบแพทย์