Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง, นางสาวภัคนันท์ ภารมาตย์ รหัสนิสิต…
ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง
Sedative and hypnotics
เป็นยากลุ่มที่ออกฤทธิ์กดการทางานของสมอง
ผลของการกดสมองจะสัมพันธ์กับขนาดยาที่ได้รับ หากได้ยาในขนาดต่า จะทาให้มีอาการง่วง สงบ ขนาดสูงขึ้นจะทาให้หลับ หากขนาดสูงมากจะออกฤทธิ์กดสมองมากขึ้นจนหมดสติ และอาจเสียชีวิตจากการหายใจถูกกดได้
ยาระงับประสาท (Sedatives) คือ ยาที่ออกฤทธิ์ลดความตื่นเต้น และทาให้สงบ
ยานอนหลับ (Hypnotics) คือ ยาที่ออกฤทธิ์ทาให้เกิดอาการง่วงและหลับ โดยช่วงเวลาของการหลับจะเหมือนการหลับตามธรรมชาติ ทั้งในลักษณะของคลื่นสมองและการตื่นเมื่อถูกปลุก
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ Benzodiazepines และ Non-Benzodiazepines
Benzodiazepines
ยากลุ่มนี้ เช่น Chlordiazepoxide, Diazepam, Oxazepam, Lorazepam, Midazolam, Alprazolam, Quazepam
ยาแต่ละชนิดมีคุณสมบัติทางเภสัชจลนศาสตร์และคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาแตกต่างกัน แต่ยาทุกชนิดมีฤทธิ์ทาให้สงบและทาให้หลับ
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลาง ทาให้สงบ หลับ คลายกังวล กล้ามเนื้อคลายตัว ลืมเหตุการณ์ขณะยายังออกฤทธิ์อยู่ และระงับอาการชัก
ขนาดที่สูงขึ้นจะทาให้หลับ กล้ามเนื้อคลายตัว
ออกฤทธิ์โดยไปจับกับ Benzodiazepine receptors ส่งเสริมให้ GABA ออกฤทธิ์กระตุ้น GABAA receptors ได้ดีขึ้น ทาให้เซลล์ประสาทเกิด Hyperpolarization หรือถูกกดจึงไม่สามารถทางานได้
ฤทธิ์ต่อการหายใจ ในขนาดทาให้หลับไม่มีฤทธิ์กดการหายใจ แต่ขนาด ชักนาให้สลบหรือคลายกล้ามเนื้อ จะมีฤทธิ์กดการหายใจเล็กน้อย แต่ถ้าใช้ในผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจจะทาให้อาการรุนแรงขึ้น
ฤทธิ์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ในขนาดที่ชักนาสลบ มีผลทาให้ ความดันโลหิตลดลง แต่อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น
ฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร ทาให้อาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหารที่มีสาเหตุจากความกังวลลดลง
เภสัชจลนศาสตร์
Benzodiazepines มีคุณสมบัติละลายในไขมันได้ดี และจับกับโปรตีนในพลาสมาได้ดี
ถูกเปลี่ยนแปลงโดยเอนไซม์ในตับ สารที่ได้ยังมีฤทธิ์และสารบางตัวมีค่าครึ่งชีวิตยาวกกว่ายาเดิม แต่บางชนิดจะถูกจับควบโดยตรงกับกรดกลูคิวโรนิก และถูกขับออกจากร่างกาย โดยไม่ถูกเปลี่ยนแปลงด้วยเอนไซม์ในตับ
ประโยชน์ทางการรักษา : ใช้เพื่อคลายกังวล ใช้เป็นยานอนหลับ รักษาโรคลมชัก ใช้เป็นยาคลายกล้ามเนื้อ
ฤทธิ์ที่ไม่พึงประสงค์ : การได้รับยาเกินขนาด จะทาให้หลับนานขึ้น หากได้รับยาหรือสารอื่นที่ออกฤทธิ์กดสมองร่วมด้วย โดยเฉพาะแอลกอฮอล์ จะทาให้การหายใจถูกกดอย่างรุนแรง นอกจากนี้ยังทาให้การทางานที่ต้องใช้ทักษะเสียไป รวมไปถึงเกิดการทนทานต่อฤทธิ์ยาและการติดยาได้
Non - benzodiazepines
Zolpidem
เป็นยานอนหลับที่กระตุ้น Benzodiazepine receptors แต่ไม่มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อ และไม่มีฤทธิ์ต้านชัก
ยานี้ถูกเปลี่ยนแปลงที่ตับอย่างรวดเร็ว เมื่อให้ยาในขนาดน้อยจะทาให้นอนหลับ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาหลับยาก หากให้ในขนาดที่สูงหรือให้ร่วมกับแอลกอฮอล์ อาจกดการหายใจ หากใช้ไปนานๆอาจเกิดความทนทานต่อฤทธิ์ยาและติดยาได้ แต่มีโอกาสเกิดได้น้อยกว่ายากลุ่ม Benzodiazepine
Zaleplon
มีคุณสมบัติ สามารถจับกับ Benzodiazepine receptors เสริมการออกฤทธิ์ของ GABA
มีประโยชน์สาหรับผู้ที่หลับยาก โดยไม่ทาให้เกิดอาการง่วงนอนในตอนกลางวัน
Zolpicone
มีค่าครึ่งชีวิตยาวกว่า Zolpidem และ Zaleplon
กลไกการออกฤทธิ์เหมือน Zolpidem
ฤทธิ์ข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยานี้ คือ อาการปากขม ปากแห้ง ตื่นยาก ง่วงซึม คลื่นไส้ และฝันร้าย
ยากลุ่ม Barbiturate
ออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง โดยเริ่มด้วยทาให้สงบ จนทาให้สลบ ถูกนามาใช้เป็นยานอนหลับ มีผลกดการนอนหลับในช่วงฝัน (REM sleep) เมื่อหยุดการใช้ยาจะเกิด REM rebound หรือเพิ่มเวลาหลับในช่วงฝันให้นานขึ้น ข้อเสียของยาทาให้เกิดฝันร้ายเกิดขึ้น ซึ่งทาให้ผวาตื่นและกลัวการนอนหลับ
ถูกดูดซึมได้ดีและรวดเร็วจากทางเดินอาหาร กระจายตัวได้ดีและถูกเปลี่ยนแปลงที่ตับ ได้สารที่ไม่มีฤทธิ์ขับออกทางปัสสาวะ
มีฤทธิ์เหนี่ยวนาให้ตับสร้างเอนไซม์ ทาให้ปริมาณเอนไซม์สาหรับทาลายยาเพิ่มขึ้น ต้องใช้ยาในปริมาณสูงขึ้น เพื่อให้ได้ผลการรักษาเท่าเดิม เกิดการทนทานต่อฤทธิ์ยา และเกิดการติดยาและใช้ในทางที่ผิด
ตัวอย่างยา เช่น Amobarbital, Aprobarbital, Butabarbital, Pentobarbital, Secobarbital
ยาอื่นๆ
นอกจากนี้ยังมียาอื่นๆ ที่ใช้เป็นยานอนหลับ เช่น Palaldehyde, Chloral hydrate, Ethchlorvynol, Meprobramate
ปัจจุบันมีการใช้น้อยมาก เนื่องจากมีความเป็นพิษสูง ถูกขับออกค่อนข้างช้า และยาสะสมในร่างกาย แต่ยามีราคาถูก
ยารักษาอาการพิษ
ปัจจุบันมีการสังเคราะห์ยา Flumazenil ออกฤทธิ์ปิดกั้น benzodiazepine receptors เพื่อรักษาอาการพิษที่เกิดจากการใช้ Benzodiazepine เกินขนาด
นอกจากนี้ยังใช้รักษาอาการพิษที่เกิดจากการใช้ Zolpidem, Zaleplon และ Zolpicone เกินขนาดได้เช่นกัน
Psychotherapeutic agents
ยารักษาอาการทางจิต (Antipsychotic drug)
ยารักษาอาการทางจิตกลุ่มเดิม (FGAs) ออกฤทธิ์ยับยั้งการทางานของ Dopamine D2 receptor ในสมอง ตาม Dopamine pathway
Mesolimbic pathway เกี่ยวข้องกับอาการทางจิตด้านบวก
Mesocortical pathway เกี่ยวข้องกับอาการทางจิตด้านลบ รวมไปถึงอาการด้านการรู้คิด (Cognitive)
Nigrostriatal pathway เกี่ยวข้องกับ Extrapyramidal side effect
Tuberoinfundibular pathway ทาให้ prolactin หลั่งมากขึ้น
Histamine H1 receptor ทาให้ง่วงซึม เจริญอาหาร และน้าหนักตัวเพิ่มขึ้น
α1-adrenergic receptor ทาให้หลอดเลือดขยาย เกิด orthostatic hypotension ได้
Muscarinic M1 receptor ทาให้เกิด anticholinergic effects มีน้าลายน้อย ตาพร่า ท้องผูก ปัสสาวะลาบาก
ยารักษาอาการทางจิตกลุ่มใหม่ (SGAs) ออกฤทธิ์ยับยั้ง Serotonin receptor subtype ต่างๆ ส่งผลให้อาการทางจิตด้านลบและอาการด้านการรู้คิดดีขึ้น และยังลดอาการ EPS
นอกจากนี้ยังออกฤทธิ์ยับยั้ง D2 receptor บริเวณ Mesolimbic และ Mesocortical pathway มากกว่าบริเวณ Nigrostriatal หรือ Tuberoinfundibular pathway และยังจับกับ D2 receptor ไม่แน่นมาก และหลุดออกจาก receptor ได้เร็วกว่ายากลุ่มเดิม ทาให้ EPS ลดน้อยลง
เป็นผลข้างเคียงจากยารักษาอาการทางจิตที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะการรักษาอาการทางจิตกลุ่มที่มี Potency สูง
เกิดจากการที่ยาไปยับยั้งการทางานของ Dopamine receptor ที่ Nigrostriatal pathway
ประกอบด้วย Acute dystonia, Akathisia, Parkinsonism และ Tardive dyskinesia
Acute dystonia
มีอาการบิดเกร็งทันทีของกล้ามเนื้อในร่างกาย ทาให้ลิ้นแข็ง พูดหรือกลืนลาบาก ตาเหลือก คอบิด หรือหลังแอ่น บางรายอาจรุนแรงจนกล้ามเนื้อกล่องเสียงหดเกร็ง อาการเป็นๆหายๆ มักเกิดในระยะแรกของการได้รับยา
การรักษา ให้ยา Benztropine 1-2 mg IM/IV, Diazepam 5-10 mg IV, Diphenhydramine 25-50 mg IV เมื่ออาการดีขึ้นควรให้รับประทานยา Trihexyphenidyl 2-5 mg แบ่งรับประทาน 3 มื้อต่อวัน
Akathisia
รู้สึกกระวนกระวายใจ กระสับกระส่าย ไม่สามารถอยู่นิ่งได้ อาจต้องขยับแขนขา เดินไปมา หรือเคลื่อนไหวตลอดเวลา มักเกิดในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกของการได้รับยา
การรักษา แนะนาให้ปรับลดขนาดยาลงหากสามารถทาได้ หรือให้รับประทานยา Propranolol 30-120 mg/day หรือ ยากลุ่ม Benzodiazepine เช่น Diazepam 6-20 mg/day
Parkinsonism
มีอาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็งร่วมกับอาการสั่น (cogwheel rigidity) เคลื่อนไหวช้า พบ Perioral tremor ได้บ่อย มักเกิดในช่วง 4 สัปดาห์แรกของการได้ยา และสัมพันธ์กับขนาดยาที่ได้รับ
การรักษา แนะนาให้ปรับลดขนาดยาลงหากสามารถทาได้หรือเปลี่ยนยา หรือให้รับประทานยากลุ่มแอนตี้โคลิเนอร์จิก เช่น Trihexyphenidyl 2-5 mg แบ่งรับประทาน 3 ครั้ง/day หรือ Diphenhydramine 25 mg แบ่งรับประทาน 4 ครั้ง/day
Tardive dyskinesia
มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่มากกว่าปกติ และเกิดขึ้นซ้าๆโดยไม่ได้ตั้งใจ มีอาการดูดหรือขมุบขมิบปาก ลิ้นม้วนไปมาในปากหรือใช้ลิ้นดุนแก้ม หากให้อ้าปาก ผู้ป่วยจะแลบลิ้นออกมาเอง ขยับนิ้ว บีบมือ คอบิดเอียง พบในผู้ที่ได้รับยาเป็นเวลานานเกิน 6 เดือน
การรักษา แนะนาให้ปรับลดขนาดยาลงหากสามารถทาได้ ส่วนใหญ่อาการจะลดลง ในระยะเวลา 18 เดือนหลังหยุดยา
Neuroleptic Malignant Syndrome (NMS)
เป็นภาวะฉุกเฉินที่ทาให้เสียชีวิตได้
กล้ามเนื้อเกร็ง (Muscle rigidity), อุณหภูมิร่างกายสูง (Hyperthermia) และ Autonomic instability และมักมี Mental status change
Creatinine kinase > 300 U/ml , WBC > 15,000 mm3
มักพบในช่วงแรกของการใช้ยาหรือปรับเพิ่มลดขนาดยา
การรักษา หยุดการใช้ยาทันที ให้รับประทานยากลุ่ม Dopamine agonist และเฝ้าระวังภาวะรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ไตวาย
ยากลุ่มแอนตี้โคลิเนอร์จิก (Anticholinergic drug)
มีฤทธิ์ยับยั้งการทางานของ Acetylcholine
นิยมใช้เพื่อการรักษาผลข้างเคียงของยาจากการรักษาอาการทางจิต โดยเฉพาะ EPS
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย คือ ปากคอแห้ง ตาพร่า ท้องผูก ปัสสาวะลาบาก
ยาต้านซึมเศร้า (Antidepressant)
ใช้เพื่อรักษาอาการของโรคซึมเศร้าและใช้รักษาโรคทางจิตเวชอื่นๆ
ออกฤทธิ์ยับยั้งการ Reuptake ของสารสื่อประสาทในเฉพาะ โดยเฉพาะ Serotonin, Norepinephrine และ Dopamine
ผลข้างเคียง
Tricyclic antidepressant : ง่วงซึม (เฝ้าระวังในผู้สูงอายุมีโอกาสหกล้ม) มีน้าลายน้อย ตาพร่า ท้องผูก ปัสสาวะลาบาก มีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต เกิด Intraventricular conduction delay, Atrioventricular block และ QT prolongation (ระวังในผู้ป่วยเสี่ยงโรคหัวใจ)
Selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI) : ปวดศีรษะ นอนไม่หลับหรือง่วงซึม แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หากได้รับยาระยะเวลานาน จะมีผลต่อ Sexual dysfunction และอาจเกิด Serotonin syndrome ที่เป็นภาวะฉุกเฉิน ทาให้เสียชีวิตได้ ซึ่งมีอาการท้องเสีย กระสับกระส่าย สั่นสัญญาณชีพไม่คงที่และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
Venlafaxine ผลข้างเคียงเหมือน SSRIs แต่ในขนาดสูงอาจมีผลด้านความดันโลหิตสูง
Mirtazapine และ Trazodone มีผลข้างเคียงง่วงซึม นิยมให้กับผู้ป่วยที่นอนไม่หลับ
Bupropion ในขนาดสูง อาจทะให้เกิดชักได้
Vertioxetine พบอาการคลื่นไส้อาเจียนได้
Agomelatine อาจพบปัญหา Hepatotoxicity เฝ้าระวังในผู้ป่วยที่มีปัญหาทางตับ
ยาควบคุมอารมณ์ (Mood stabilizer)
เป็นยาที่ใช้ในการควบคุมอารมณ์ของผู้ป่วย โดยปรับจากอารมณ์ขั้ว Depression หรือขั้ว Mania ให้กลับสู่สภาวะอารมณ์ปกติ รวมทั้งการป้องกันการเข้าสู่ขั้วดังกล่าวด้วย
แบ่งยาชนิดนี้ ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ Lithium, กลุ่มยากันชัก (Anticonvulsants) และยารักษาอาการทางจิตกลุ่มใหม่ (SGAs)
Lithium
ออกฤทธิ์โดยยับยั้งการทางานของเอนไซม์ Inositol monophosphate phosphatase (IMP) และเอนไซม์ Glycogen synthase kinase-3 beta (GSK-3β) ส่งผลให้ลดการกระตุ้น gene transcription, ion channel, โครงสร้างของเซลล์ประสาท และ Synaptic function และช่วยให้วงจรของเซลล์ประสาทในสมองดีขึ้น มี Neuroprotective effect และช่วยคุมอารมณ์ผู้ป่วยให้คงที่
อาการข้างเคียงที่พบได้บ่อย คือ กระหายน้าบ่อย ปัสสาวะบ่อย มือสั่นแบบสั่นพลิ้วเบาๆ (fine tremor) น้าหนักตัวเพิ่มขึ้น มีสิว ผมร่วง คลื่นไส้ ท้องเสีย
อาจพบ Hypothyroidism มี TSH สูง
มีการเปลี่ยนแปลงของ T wave แบบชั่วคราว และกดการทางานของ Sinus node ได้
หากได้รับในระยะเวลานาน อาจทะให้เกิดภาวะไตวายได้
การได้รับยาในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ทารกอาจเกิด Ebstein’s anomaly
Valproate
ออกฤทธิ์โดย
ยับยั้ง Voltage-gated sodium
เพิ่ม GABA ที่ synapse ของเซลล์ประสาท
ยับยั้งการทางานของ histone deacetylase
ยับยั้ง phosphoinositol pathway
ลดการทางานของ Protein kinase C (PKC)
เอนไซม์ Glycogen synthase kinase-3 beta (GSK-3β)
ผลข้างเคียง พบอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ง่วงซึม มือสั่น เดินเซ ผมร่วง น้าหนักตัวเพิ่มขึ้น
อาจทาให้เกิด Hepatitis, Hepatic failure, pancreatitis
อาจทาให้เกิด reversible thrombocytopenia หรือ platelet dysfunction
หากได้รับยาในไตรมาสแรก ทารกอาจเกิด Neural tube defect
Carbamazepine
ออกฤทธิ์โดยยับยั้ง Voltage-gated sodium channels บริเวณ Presynaptic และบนเซลล์ประสาท ทาให้เกิดการยับยั้งกระบวนการ Depolarization และการส่งผ่านของกระแสประสาท ทาให้ Calcium channel ถูกยับยั้งไปด้วย ส่งผลให้การส่งผ่านกระแสประสาทลดลง รวมไปถึงยับยั้งกระบวนการ Kindling
ผลข้างเคียง ได้แก่ ง่วงซึม เวียนศีรษะ ตาพร่า เดินเซ มือสั่น คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย และอาจเกิดพิษต่อตับและผิวหนังได้
Lamotrigine
ยับยั้งการทางานของ Glutamate
ยับยั้งการทางานของ Voltage-gated sodium channel
ยับยั้งการทางานของ 5-HT3 receptor
มีผลต่อการ reuptake ของ serotonin และ dopamine ที่ปลายประสาท
ทาให้เกิด down regulation ของ beta-adrenergic receptor
มี neuroprotective effect
ผลข้างเคียง ได้แก่ ง่วงซึม วิงเวียน ปวดศีรษะ เดินเซ คลื่นไส้ ตาพร่า เห็นภาพซ้อน และยังเกิดผื่นได้
หากเกิดระยะรุนแรง อาจทาให้เกิด Stevens-Johnson syndrome หรือ Toxic epidermal Necrosis
ยากลุ่มเบนโซไดอีซีบีน (Benzodiazepine)
Antiparkinsonism
โรคพาร์กินสัน
เป็นโรคทางสมองที่เกิดจาการตายของเซลล์ประสาท บริเวณ Subatantia nigra ซึ่งมีหน้าที่ผลิตสารสื่อประสาท Dopamine
อาการสาคัญ คือ เคลื่อนไหวช้าลง กล้ามเนื้อเกร็ง อาการสั่นขณะพัก และสูญเสียการทรงตัว
Levodopa (L-dopa)
Levopoda เป็นสารที่เซลล์ประสาทใช้สังเคราะห์ Dopamine โดยเอนไซม์ Dopa decarboxylase
นอกจากนี้ยังออกฤทธิ์กระตุ้น αและ β-adrenergic receptors ทาให้เพิ่มอัตราการเต้นและเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ
อาการที่ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ความดันเลือดต่า จังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่าเสมอ ใบหน้าและลิ้นกระตุก กล้ามเนื้อใบหน้าเกร็ง ฝันร้าย ประสาทหลอน ระแวง นอนไม่หลับ กังวล ซึมเศร้า
ข้อห้ามใช้ยา : ผู้ป่วยโรคจิต โรคต้อหิน โรคมะเร็งผิวหนัง โรคกระเพาะอาหาร
แนะนาให้ผู้ป่วยหยุดรับประทานวิตามินบี 6 เมื่อเริ่มใช้ยา Levodopa เนื่องจากทาให้ประสิทธิภาพลดลง
นอกจากนี้ยังมีการใช้ Levodopa ร่วมกับยายับยั้งเอนไซม์ Dopa decarboxylase นอกสมอง เพื่อทาให้ Levodopa เข้าสู่สมองได้มากขึ้น และลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ แต่มีข้อเสียคือทาให้การเคลื่อนไหวผิดปกจิมากขึ้น
Levopoda เป็นสารที่เซลล์ประสาทใช้สังเคราะห์ Dopamine โดยเอนไซม์ Dopa decarboxylase
นอกจากนี้ยังออกฤทธิ์กระตุ้น αและ β-adrenergic receptors ทาให้เพิ่มอัตราการเต้นและเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ
อาการที่ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ความดันเลือดต่า จังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่าเสมอ ใบหน้าและลิ้นกระตุก กล้ามเนื้อใบหน้าเกร็ง ฝันร้าย ประสาทหลอน ระแวง นอนไม่หลับ กังวล ซึมเศร้า
Amantadine
มีฤทธิ์น้อยกว่า Levodopa แต่มีฤทธิ์บรรเทาอาการของโรคได้ดีกว่ายา กลุ่ม Anticholinergics
ออกฤทธิ์ทาให้ระดับของ Dopamine เพิ่มขึ้น
ถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วจากทางเดินอาหาร และถูกขับออกทางไต
ยานี้ทาให้เกิดความผิดปกติทางพฤติกรรม เช่น กระสับกระส่าย พลุ่งพล่าน นอนไม่หลับ สับสน ประสาทหลอน หลังได้รับยานานๆจะทาให้เกิดผิวหนังลายเนื่องจากเลือดคั่ง เกิดอาการบวมน้า และมีผลต่อทารกในครรภ์
Dopaminergic agonists
ยาออกฤทธิ์กระตุ้น Dopamine receptors ได้โดยตรง มีประสิทธิภาพในการเสื่อมและตายของเซลล์ประสาท และเสริมสร้างเซลล์ประสาท
ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ Bromocriptine, Pergolide, Lisuride, Piribedil, Pramipexole, Ropinirole
Bromocriptine และ Pergoline
เป็นอนุพันธ์ของ ergot เมื่อใช้เป็นยาเดี่ยวจะมีประสิทธิภาพต่า มักใช้ร่วมกับ Levodopa
Bromocriptine ถูกดูดซึมได้เร็วจากทางเดินอาหารแต่ไม่สมบูรณ์ และถูกทาลายที่ตับก่อนเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด ส่วนใหญ่ถูกขับออกทางน้าดี
Pergoline จะถูกดูดซึมจากทางเดินอาหารได้รวดเร็ว และถูกขับออกทางปัสสาวะและอุจจาระ
อาการที่ไม่พึงประสงค์ คล้ายกับ Levodopa แต่อาการผิดปกติทางจิตจะรุนแรงกว่า
Pramipexole และ Ropinirole
ไม่ใช่อนุพันธ์ของ ergot เป็นยาที่ความแรงสูง ออกฤทธิ์กระตุ้น Dopamine receptor ชนิด D2
ใช้เป็นยาเดี่ยวในการรักษาผู้ที่เริ่มมีอาการ และใช่รวมกับ Levodopa ในผู้ที่มีอาการรุนแรง
อาการไม่พึงประสงค์ คือ ความดันเลือดลดลงเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ อ่อนเพลีย ง่วงนอนหรือนอนไม่หลับ บวมน้า คลื่นไส้ ท้องผูก เคลื่อนไหวผิดปกติ และสับสน
ยายับยั้งการทางานของเอนไซม์ทาลาย Dopamine
ยายับยั้งการทางานเอนไซม์ Catechol-O-methyltransferase (COMT) เป็นการให้ยาร่วมกับ Levodopa และ Carbidopa เพื่อทาให้ Levodopa เข้าสู่สมองมากขึ้น อาการไม่พึงประสงค์ คือ เคลื่อนไหวผิดปกติ คลื่นไส้ สับสน ท้องเดิน ปวดในท้อง
ยายับยั้งการทางานเอนไซม์ Monoamine oxidase ชนิด B (MAO-B) เมื่อใช้ร่วมกับ Levodopa ทาให้ Levodopa ออกฤทธิ์นานขึ้น และไม่ทาให้เกิดภาวะความดันเลือดสูง อาการไม่พึงประสงค์ คือ เคลื่อนไหวผิดปกติ หรือประสาทหลอนได้
ยาปิดกั้น Muscarinic receptor
เหมาะสาหรับผู้ป่วยพาร์กินสันที่เริ่มมีอาการหรือไม่สามารถทนต่อฤทธิ์ของ Levodopa ได้ และเมื่อกับ Levodopa จะทาให้ประสิทธิภาพดีขึ้น
ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการทางานของระบบ Cholinergic ในสมองส่วน Striatum
ออกฤทธิ์บรรเทาอาการสั่นได้ดีกว่าอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อและเคลื่อนไหวช้า
มีประสิทธิภาพในการรักษาน้อยกว่า Levodopa แต่สามารถบรรเทาอาการร่วม เช่น ลดน้าลายไหลได้ดี
Antimigraine
Antiepileptic agents
General and Local anesthetics
นางสาวภัคนันท์ ภารมาตย์ รหัสนิสิต 6305010136