Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac Arrhythmia) - Coggle Diagram
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
(Cardiac Arrhythmia)
ความหมาย
การที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามธรรมชาติ โดยอาจเต้นเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าในหัวใจหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องหัวใจ ทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตันเพิ่มมากขึ้น
ชนิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถแบ่งได้เป็นหลายชนิด โดยสามารถแบ่งเป็นชนิดใหญ่ๆ ได้ 2 ชนิด
หัวใจเต้นเร็ว กว่าปกติ
หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ
สาเหตุ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ความผิดปกติแต่กำเนิดหรือความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด ลิ้นหัวใจรั่ว ผนังหัวใจหนาผิดปกติ หลอดเลือดหัวใจตีบ
ความผิดปกติของร่างกายที่มีผลต่อการทำงานของหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ อิเล็กโทรไลต์ในร่างกายผิดปกติ
ยาและสารบางชนิด เช่น ยาที่มีส่วนประกอบของแอมเฟตามีน คาเฟอีนที่อยู่ในชา กาแฟ หรือน้ำอัดลม
ความเครียดและความวิตกกังวล
อาการ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
วิงเวียน
หน้ามืด
ตาลาย
ใจสั่นบริเวณหน้าอก
หายใจขัด
เจ็บแน่นบริเวณหน้าอก
เป็นลม หมดสติ
การตรวจวินิจฉัย
การซักประวัติอย่างละเอียด เช่น การดื่มชา กาแฟ หรือน้ำอัดลม โรคประจำตัวต่างๆ (เช่น เส้นเลือดหัวใจอุดตัน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือภาวะไทรอยด์)
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ในขณะที่มีอาการ
การติดเครื่องบันทึกคลื่นหัวใจไว้ที่ตัวผู้ป่วยเป็นเวลา 24 หรือ 48 ชั่วโมง (Holter monitoring test) ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการบ่อยแต่ไม่ได้เป็นตลอดเวลา
การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะที่ผู้ป่วยออกกำลังกาย (exercise stress test; EST)
การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (echocardiogram)
การตรวจระบบการนำไฟฟ้าภายในหัวใจ (cardiac electrophysiology study)
การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
การใช้ยาควบคุมจังหวะของหัวใจ
ไม่ช่วยให้หายขาด แต่ก็ลดความถี่และความรุนแรงของการได้
การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (pacemaker)
เป็นการฝังเครื่องมือเล็กๆ ไว้ใต้ผิวหนังบริเวณกระดูกไหปลาร้า เพื่อตรวจจับจังหวะการเต้นของหัวใจ และสอดสายนำไฟฟ้าไปยังหัวใจเพื่อควบคุมและกระตุ้นให้หัวใจเต้นตามอัตราที่กำหนด
การใช้ไฟฟ้ากระตุกเพื่อปรับการเต้นของหัวใจ (cardioversion)
กรณีที่หัวใจเต้นเร็วเกินไป โดยแพทย์จะใช้กระแสไฟฟ้าจากเครื่องส่งภายนอกร่างกายซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นแปะที่หน้าอกของผู้ป่วยเพื่อปรับจังหวะการเต้นของหัวใจให
การใช้สายสวนเพื่อจี้กล้ามเนื้อหัวใจที่นำไฟฟ้าผิดปกติ (ablation therapy)
ช่วยให้ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดหายขาดได้ โดยเป็นวิธีการรักษาที่ต่อเนื่องจากการตรวจระบบการนำไฟฟ้าภายในหัวใจ เมื่อสอดสายสวนไปยังตำแหน่งที่เชื่อว่าน่าจะเป็นสาเหตุของความผิดปกติ แพทย์จะปล่อยคลื่นวิทยุความถี่สูงเป็นจุดเล็กๆ เพื่อทำลายเนื้อเยื่อหัวใจที่เป็นสาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้น
การฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ (implantable cardioverter defibrillator)
การฝังเครื่องมือคล้ายกับเครื่องกระตุ้นหัวใจ ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงหัวใจห้องล่างเต้นผิดปกติ (ventricular fibrillation) ซึ่งอาจอันตรายต่อชีวิต โดยเมื่อหัวใจเต้นช้า เครื่องมือจะทำหน้าที่ในการกระตุ้นหัวใจ แต่เมื่อหัวใจเต้นเร็ว เครื่องมือจะปล่อยพลังงานไฟฟ้าในระดับที่เหมาะสมเพื่อกระตุกหัวใจให้กลับมาเต้นปกติทันที
การป้องกันภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียด การสูบบุหรี่
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ตรวจสุขภาพและพบแพทย์สม่ำเสมอ