Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพบาบาลทารกเเรกเกิดที่มีภาวะเสี่ยงสูง - Coggle Diagram
การพบาบาลทารกเเรกเกิดที่มีภาวะเสี่ยงสูง
การควบคุมอุณหูมิของร่างกาย
การสูญเสียความร้อนในทารกเเรกเกิด
การนำ : เกิดจากผิวของทารกสัมผัสกับวัตถุที่เย็น
2.การพา : เป็นการพาความร้อนจากทารกสู่สิ่งเเวดล้อมที่เย็นกว่า
3.การเเผ่รังสี : การสูญเสียความร้อนไปสู่ที่เย็นกว่าเเต่ไม่สัมผัสโดยตรง
4.การระเหย : การสูญเสียความร้อนเมื่อของเหลวเปลี่ยนไปเป็นไอน้ำ
ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ (Hypothermia)
อุณหภูมิกายต่ำกว่า 36.5 องศาเซลเซียส อาการเเรกเริ่ม คือ มือเท้าเย็น ตัวซีด ผิวหนังลายจากเส้นเลือดขยายตัว ซึม ดูดนมช้า ดูดนมน้อยลง หรือไม่ดูดนม อาเจียน ท้องอืด น้ำหนักไม่ขึ้น
ภาวะอุณหภูมิกายสูง (Hyperthermia)
อุณหภูมิกายสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส อาจเกิดจากการติดเชื้อ การอยู่ในอุณหภูมิสิ่งเเวดล้อมที่ร้อนเกินไป อาการเเรกเริ่ม คือ จะหงุดหงิดเมื่อร้อนขึ้น มีการเคลื่อนไหวลดลง หายใจเร็วเเละเเรง หรือหยุดหายใจ ซึม สัมผัสผิวหนังพบว่าอุ่นกว่าปกติ
การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
จัดให้อยู่ในที่อุณหภูมิเหมาะสม (NTE) 32 - 34 องศาเซลเซียส
วัดอุณหภูมิร่างกายทุก 4 ชั่วโมง ให้อยู่ใน 36.8 - 37.2 องศาเซลเซียล
keep warm ต้องระวัง Cold stress
ปรับอุณหภูมิห้องให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม (25 - 26 องศาเซลเซียส)
ระบบการไหลเวียนโลหิต
การหายใจของทารกเเรกเกิดเปลี่ยนจาก รกเป็นปอด
fetal circulation เป็น Neonatal circulation
ส่งผลให้
Foramen ovale ปิดสมบูรณ์
Ductus arteriosus จะหดตัวเเละปิดกลายเป็นเอ็น
Ductus venosus ปิดเมื่อสายสะดือตัดกลายเป็นเอ็นทีตับ
ภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน (Patent Ductus Arteriosus)
อาการ คือ หายใจเร็ว หอบเหนื่อย รับนมได้น้อย ท้องอืด น้ำหนักไม่ขึ้น
การรักษา
ให้ยาควบคุมอาการถ้ามีภาวะหัวใจวายในการรักษาทั่วไป
ใช้ยา เพื่อช่วยยับยั้งการสร้าง prostaglandin ในการรักษาจำเพาะ
Indomethacin เเละ Ibuprofen
ภาวะตัวเหลืองในทารกเเรกเกิด (Hyperbilirubinemia)
เกิดจากบิลลิรูบินในเลือดสูงกว่าปกติ
การเเตกทำลายของเม็ดเลือดเเดงจากหมู่เลือดเเม่ลูกไม่เข้ากัน
มีความผิดปกติเยื่อหุ้มเม็ดเลือดเเดง ทำให้เม็ดเลือดเเดงเเตกง่ายกว่าปกติ
มีความผิดปกติของเอนไซด์ในเม็ดเลือดเเดง
มีเลือดออกในร่างกาย เม็ดเลือดเเดงเกิน เเละธาลัสซีเมีย
ถ้าระดับบิลลิรูบินในเลือดสูง จะทำให้เข้าไปจับกับเนื้อสมองด้านใน ทำให้เกิดอาการผิดปกติทางสทอง เรียกว่า Kernicterus
มี 2 ชนิด
ภาวะตัวเหลืองจากสรีรภาวะ
เกิดจากมีการสร้างบิลิรูบินมากเพราะเม็ดเลือดเเดงอายุสั้นกว่าเเละความไม่สมบูรณ์ในการทำงานของตับจึงทำให้กระบวนการในการขับบิริลูบินออกทำได้ช้า
ภาวะตัวเหลืองจากพยาธิภาวะ
เป้นภาวะที่ทารกมีบิลลิรูบินในเลือดสูงมากผิดปกติเเละเหลืองเร็ว ภายใน 24 ชั่วโมงเเรกหลังเกิดเกิดได้จากหลายสาเหตุ
อาการระยะเเรก ซึม ดูดนมน้อยลง ตัวอ่อนปวกเปียก เกร็งหลังเเอ่น ชัก มีไข้
อาการระยะยาว มีการเคลื่อนไหวผิดปกติของร่างกายเเละเเขนขา มีความผิดปกติของการได้ยินเเละการเคลื่อนไหวลูกตาพัฒนาการช้า ระดับสติปัญญาลดลง
การรักษา
การส่องไฟ (phototherapy) เเละ การเปลี่ยนถ่ายเลือด (exchange transfusion)
ระบบภูมิคุ้มกัน
sepsis
ประเภท
Early onset Sepsis คือ ติดเชื้อในระยะก่อน/ระหว่างการคลอด เเสดงอาการภายใน 2-3 วัน เเรกหลังคลอดภายใน 72 ชั่วโมง
Late onset Sepsis คือ ติดเชื้อที่เเสดงอาการ หลังคลอด 72 ชั่วโมง ถึง 1เดือน
สาเหตุ
ถุงน้ำคร่ำเเตกก่อนกำหนดนานเกิน 18 ชั่วโมง การคลอดล้าช้า มารดามีการติดเชื้อ น้ำคร่ำมีกลิ่น ทารกมีภาวะพร่องออกซิเจนในครรภ์ พบเชื้อ Group B streptococci เเกรมลบ E.coli Klebsiella
อาการจะมี ซึม ร้องนาน ไม่ดูดนม ซีด ตัวลายเป็นจ้ำ ผิวหนังเย็น หายใจเร็ว หายใจลำบาก ท้องอืด อาเจียน สั่นชัก
การรักษา
ให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมตาม sensitivity ส่วนมากให้ Ampicillin iv กับ Gentamycin iv ถ้าไม่ได้ผลนิยมเปลี่ยนเป็นกลุ่ม Cephalosporins iv
การพยาบาล
ประเมินภาวะติดเชื้อในร่างกาย ดูเเลให้ได้รับยาปฏิชีวนะ เเละสังเกตอาการข้างเคียงของยา ควบคุมอุณหภูมิกายให้อยู่ในระดับปกติ ดูเเลวามสะอาดร่างกายเเละสิ่งเเวดล้อม ติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ เเละเเยกทารก
ระบบทางเดินหายใจ
RDS (Respiratory Distress Syndrome)
ภาวะกลุ่มอาการหายใจลำบาก ที่พบบ่อยในทารกคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อยกว่า 1500 กรัม
ปัจจัยเสี่ยงคือ มารดามีเลือดออกทางช่องคลอดก่อนกำหนด ทารกมีภาวะhypothermia เเละ Perinatal asphyxia เเละมารดาเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
เกิดจากการขาดสารลดเเรงตึงผิวที่ผิวของถุงลม โครงสร้างของปอดพัฒนาไม่เต็มที่
การรักษา
การให้ออกซิเจนตามความต้องการของทารก
ป้องกันไม่ให้กิดภาวะเเทรกซ้อนจากการได้รับออกซิเจน เช่นภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง ภาวะจอประสาทพิการจากการเกิดก่อนกำหนด
ให้สารลดเเรงตึงผิวเพื่อทำให้ความยืดหยุ่นของปอดดีขึ้น ลดความรุนเเรงของภาวะหายใจลำบาก
อาการมักจะเกิดภายใน 4-6 ชั่วโมงหลังคลอด รุนเเรงมากขึ้นภายใน 24-36 ชั่วโมง
หายใจเร็วมากกว่า 60 ครั้งต่อนาที หรือหายใจลำบาก ห้าอกกับหน้าท้องไม่สัมพันธ์กัน ซีด ความดันต่ำ หน้าอกบุ๋ม ดูดนมไม่ดี อาเจียน ท้องอืด ซึมกนะหม่อมโปร่งตึง ตัวลาย ผิวหนังเย็น ตัวเหลือง มีจุดเลือดออก มีHypoglycemia ภาวะ acidosis
perinatal asphyxia
ภาวะขาดออกซิเจนของทารกเเรกเกิด
เลือดขาดออกซิเจน
คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง
เลือดเป็นกรด เนื่องจากการระบายอากาศที่ปอดเเละการกำซาบของปอดไม่เพียงพอ
สาเหตุ
ปัจจัยเกี่ยวข้องกับการคลอด
ศีรษะทารกไม่ได้สัดส่วนกับเชิงกรานมารดา คลอดคิดไหล่ ความผิดปกติของสายสะดือ
ปัจจัยทางด้านมารดา
ตกเลือด อายุมาก เบาหวาน รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด
ปัจจัยเกี่ยวกับทารก
คลอดก่อนกำหนด เจริญเติบโตช้า ติดเชื้อในครรภ์
ประเมินจาก APGAR Score
No asphyxia : 8-10 คะเเนน
Mild asphyxia : 5-7 คะเเนน
Moderate asphyxia : 3-4 คะเเนน
Severe asphyxia : 0-2 คะเเนน
ผลของการขาดออกซิเจนเเรกคลอด
ระบบหัวใจ
หัวใจเต้นช้า กล้ามเนื้อหัวใจทำงานมีประสิทธิภาพลดลง ภาวะหัวใจวาย ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท
ระบบหายใจ
หายใจช้าหรือหยุดหายใจ ภาวะปอดคั่งน้ำ
ระบบประสาทกลาง
หายใจไม่สม่ำเสมอ กำลังกล้ามเนื้อลดลงหรืออาจชักได้ ภาวะชักจากคอร์เท็กซ์ของสมองถูกทำลาย ภาวะสมองบวมจากการคั่งของสารน้ำทั้งภายในเเละภายนอกเซลล์ของสมอง
ระบบการขับถ่าย
เนื้อไตเกิดเนื้อตายเฉียบพลัน ปัสสาวะลดลง ปัสสาวะเป็นเลือด
ระบบทางเดินอาหาร
ภาวะลำไส้เน่า ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ บิลิรูบินในเลือดสูง
การรักษาประคับครอง
สังเกตอาการอย่างใกล้ชิดเเละต่อเนื่อง ให้ความอบอุ่นเเละควบคุมทารกให้อุณหภูมิปกติ ดูเเลให้ออกซิเจนให้เหมาะสม NPO ให้สารน้ำเเละสารอาหารทางหลอดเลือดดำ ให้เลือด ระวังภาวะเเทรกซ้อน
Apnea of prematurity (AOP)
ภาวะหยุดหายใจนานกว่า 20 วินาที ร่วมกับมี cyanosis(ตัวเขียว)
ประเภท
central apnea
ภาวะหายใจที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของทรวงอกหรือกระบังลม เเละไม่มีอากาศไหลผ่านรูจมูกโดยมีสาเหตุมาจากศูนย์การหายใจที่บริเวณก้านสมองทำงานได้ไม่ดี
obstruction apnea
ภาวะหยุดหายใจที่มีการเคลื่อนไหวของทรวงอกหรือกะบังลม เเต่ไม่มีอากาศไหลผ่านรูจมูก เกิดจากการงอหรือการเหยียดลำคอเกิน ทำให้ช่องภายในหลอดคอ ไม่เปิดกว้าง เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ
สาเหตุ
การติดเชื้อ ผลจากยา เเละCNs problem
การดูเเล
จัดท่านอนที่เหมาะสม สังเกตอาการพร่องออกซิเจนอย่างเพียงพอ ดูดเสมหะเมื่อจำเป็น ระวังการสำลัก
ต้องระวังภาวะเเทรกซ้อนจากการให้ออกซิเจน
เลือดออกในช่องสมอง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จอประสาทตาผิดปกติ
Intraventricular hemorrhage (IVH)
ภาวะเลือดออกในโพรงสมอง ความรุนเเรงจะเเปรผกผันกับอายุครรภ์เเละน้ำหนักเเรกเกิด
ปัจจัยเสี่ยงคือ ภาวะทารกขาดออกซิเจนขณะอยู่ในครรภ์ภาวะตกเลือดเลือดก่อนคลอด เเละหลังคลอดจะเป็น RDS NEC เเละภาวะชัก
อาการทารกจะทรุดตัวอย่างรวดเร็ว หมดสติชักเกร็ง หยุดหายใจ ซีด บางรายอาจมีกล้ามเนื้ออ่อนเเรงเป็นพักๆ
ความรุนเเรง
Grade 1 มีเลือดออกที่ germinal matrix
Grade 2 มีเลือดออกในโพรงสมอง เเละขนาดของโพรงสมองปกติ
Grade 3 มีเลือดออกในโพรงสมอง เเละขนาดของโพรงสมองใหญ่ขึ้น
Grade 4 มีเลือดออกในโพรงสมอง ร่วมกับเลือดออกในเนื้อสมอง
Retinopathy of Prematurity (ROP)
เป็นความผิดปกติในทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อย ลักษณะสำคัญ คือ มีการงอผิดปกติของเสันเลือด บริเวณรอยต่อระหว่างจอประสาทตาที่มีเลือดไปเลี้ยงเเละจอประสาทตาที่ขาดเลือด
ความรุนเเรง
stage 3 : Ridge with extraretinal fibrovascular proliferation
stage 4 : Subtotal retinal detachment : (a) extrafoveal detachment (b) foveal detachment
stage 2 : Ridge between vascularized and avascular retina
stage 5 : Total retinal detachment
stage 1: Demarcation line between vascularized and avascular retina
การพยาบาล
ดูเเลให้ทารกรับออกซิเจนเท่าที่จำเป็น เเละติดตามค่าออกซิเจนในเลือดให้อยู่ระหว่าง 88-92% ดูเเลให้ได้รับยาวิตามินอีตามเเผนการรักษา ดูเเลให้ได้รับการตรวจ screening ROP
Bronchopulmonary Dysplasia
เป็นโรคปอดเรื้อรัง มีการทำลายของทางเดินหายใจขนาดเล็ก พบในทารกคลอดก่อนกำหนดที่เป็น RDS หรือโรคที่ต้องการออกซิเจนความเข้มข้นสูงเกิน 60% เเละใช้เครื่องช่วยหายใจนานกว่า 24 ชั่วโมง
อาการจะมี หายใจเร็วกว่าปกติ หน้าอกบุ๋ม ออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ คาร์บอนในเลือดคั่ง เเละมีความดันในปอดสูงในรายที่รุนเเรง
การรักษา
ให้ออกซิเจน ให้ยาขยายหลอดลม รักษาภาวะเเทรกซ้อน ฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
ระบบทางเดินอาหาร
Necrotizing Enterocolitis (NEC)
ภาวะลำไส้เน่าอักเสบ เป็นภาวะที่เนื้อเยื่อของระบบทางเดินอาหารตายจากการอักเสบจนขาดเลือด มักเกิดบริเวณลำไส้เล็ก เเละลำไส้ใหญ่ในทารกเเรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อย
สาเหตุ
การใช้ยาของมารดาขณะตั้งครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด การเริ่มรับนมเเละเพิ่มปริมาณนมเร็ว ภาวะขาดออกซิเจน
ปัจจัยเสี่ยง
มารดาใช้สารเสพติด ทารกติดเชื้อเเบคทีเรียในกระเเสเลือด ทารกมีภาวะขาดออกซิเจน ทารกมีภาวะเลือดข้น ทารกมีน้ำหนัดน้อยกว่า 2000 กรัม การให้นมผสมที่เข้มข้น เเละการใส่สายสวนหลอดเลือดทางสะดือ
อาการจะมีเซื่องซึม ดูดนมไม่ดี ตัวเหลือง ร้องกวน อุณหภูมิกายต่ำ หยุดหายใจ มีภาวะกรดเกิด โซเดียมต่ำเเละออกซิเจนต่ำ
อาการจำเพาะมีท้องอืด ถ่ายอุจจาระเหลว อาเจียนเป็นสีน้ำดี มีเลือดออกในทางเดินอาหาร มีอาหารเหลือค้างในกระเพาะอาาหร อาจมีเยื่อบุช่องท้องอักเสบ
การรักษา
NPO ให้ยาปฏิชีวนะชนิดสเปกตรัมกว้าง ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ให้ยากลุ่มกระตุ้นความดันโลหิต การเฝ้าติดตามการเปลี่ยนเเปลงของผู้ป่วย
การผ่าตัดเเบบเปิดสำรวจช่องท้อง เเละการใส่ท่อระบายช่องท้อง เป็นการผ่าตัดอีกวิธี
Hypoglycemia
ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 40 mg%(term) หรือต่ำกว่า 35 mg%(perterm)
อาการจะมี ซึม ไม่ดูดนม มีสะดุ้งผวา อาการสั่น ซีดหรือเขียว หยุดหายใจ ตัวอ่อนปวกเปียก อุณหภูมิกายต่ำ ชักกระตุก
สาเหตุ
การไม่ได้รับกลูโคสจากมารดาอีกต่อไป การสร้างกลูโคสได้น้อย เเละ glycogen ที่ตับสะสมไว้น้อยจึงสร้างกลูโคสได้น้อย หรือมีภาวะเครียดทั้งขณะอยู่ในครรภ์
การดูเเล
ทารกที่มีอาการให้สารละลายกลูโคสทางหลอดเลือด (10% D/W)
ทารกที่ไม่มีอาการ ให้ติดตามระดับนำตาลในเลือดทุก 30 นาที
ให้กินนมหรือสารละลายกลูโคส ถ้ากินไม่ได้จะให้สารละลายกลูโคสทางหลอดเลือดดำ
ควบคุมอุณหภูมิห้องเเละดูเเลให้ความอบอุ่นเเก่ทารก
สังเกตอาการเปลี่ยนเเปลง
Meconium aspiration syndrome (MAS)
เป็นภาวะที่ทารกในครรภ์สูดสำลักขี้เทาที่มีอยู่ในน้ำคร่ำเข้าไปในหลอดลมหรือปอด ส่งผลให้มีปัญหาการหายใจลำบาก มักพบบ่อยในทารกเกินครบกำหนดเเละทารกเกิดเกินกำหนดที่มีภาวะขาดออกซิเจนอยู่ในครรภ์
สาเหตุ
ด้านทารกคือ ทารกมีภาวะเครียด
เนื่องจากทารกมีภาวะขาดออกซิเจน ร่างกายจะปรับตัวเพื่อหาเเหล่งออกซิเจน เเต่เมื่อรับออกซิเจนจากสายสะดือไม่ได้ ก็เลยเครียด
อาการ
รุนเเรงน้อย ทารกจะมีอาการหายใจเร็วระยะสั้นๆ มีค่าความเป็นกรด-ด่างปกติ อาการมักหายไปใน 24-72 ชั่วโมง
รุนเเรงปานกลาง ทารกมีอาการหายใจเร็วมีความรุนเเรงมากขึ้น มีการดึงรั้งของช่องซี่โคร่ง มีความรุนเเรงสูงสุดเมื่ออายุ 24 ชั่วโมง
รุนเเรงมาก ทารกจะมีระบบหายใจล้มเหลวทันที หรือภายใน 2-3 ชั่วโมงหลังเกิด
การรักษา
ให้ได้รับออกซิเจนที่เพียงพอ ให้ยาตามอาการเพื่อให้ผ่อนคลาย ให้ยาขยายหลอดเลือดในปอด กรณีมีภาวะความดันในปอดสูง ให้ยาปฏิชีวนะในกรณีทีภาวะหายใจล้มเหลว เพื่อลดการอักเสบเนื้อเยื่อปอด เเละเฝ้าระวังภาวะเเทรกซ้อนที่สำคัญ สังเกตอาการติดเชื้อ