Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Coronary heart disease - Coggle Diagram
Coronary heart disease
-
ความหมาย
โรคหัวใจที่เกิดการการอุดกั้น (partial occlusion) หรือการอุดตัน (complete occlusion) ของหลอดเลือดแดงโคโรนารี ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากไขมัน และ เนื้อเยื่อสะสมอยู่ในผนังของหลอดเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (mycocardium) น้อยส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือออกซิเจน
สาเหตุ
บุหรี่
โดยสารนิโคตินในบุหรี่เป็นสารที่มีลักษณะคล้ายคราบน้ำมันไม่มีสีเมื่อเข้าสู่ปอดจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดมีผลกระตุ้นระบบประสาทและต่อมหมวกไตให้หลั่ง epinephrine ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นอัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้นหลอดเลือดเกิดการหดตัวและเพิ่มปริมาณไขมันในเลือด
ภาวะความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงเกิดจากผนังหลอดเลือดใช้แรมบีบตัวแรงเพราะมีแรงดันการไหลของหลอดเลือดแดงเพิ่มขึ้นจนเลือดไหลไปยังอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆได้ไม่สะดวกโดยแรงกระแทกนี้เป็นอันตรายต่อผนังหลอดเลือดและทำให้เกิดกระบวนการทางชีวเคมีจึงเกิดเกร็ดเลือดไปจับบริเวณนั้นทำให้กล้ามเนื้อของหลอดเลือดเกิดการขยายตัวและในระยะหลัง ๆ ทำให้มีสารพวกไขมันไปเกาะติดได้ง่าย
ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ
ระดับไขมันในเลือด (Serum total cholesterol) ที่มากกว่า 200 มิลีกรัมต่อเดซิลิตรหรือไขมันที่มีความหนาแน่นต่ำ (low density ipoprotein cholesterol: LDL-0 สูงกว่า 130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีได้
-
-
-
ความเครียด
ทำให้มีการหลั่ง catecholamine ไปกระตุ้น sympathetic activity จึงเพิ่มการเกาะของเกร็ดเลือดเร่งกระบวนการแข็งตัวของเลือดเพิ่มการสะสมไขมันเพิ่มความดันโลหิตและเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ
ลักษณะบุคลิกภาพแบบเอ
เป็นบุคคลที่มีลักษณะเอาจริงเอาจังกับงานมุ่งมั่นเคร่งเครียดฉุนเฉียวและหงุดหงิดง่ายตรงเวลาทะเยอทะยานหวังในความสำเร็จมากจึงจัดได้ว่าผู้มีบุคลิกภาพแบบเอคือผู้ที่ภาวะเครียดได้โดยจะเป็นแบบเรื้อรังซึ่งจะมีผลต่อหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีเช่นเดียวกับความเครียด
-
-
ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน
ทำให้เกิดภาวะเลือดแข็งตัวได้เร็วกว่าปกติและรบกวนกระบวนการเผาผลาญไขมันเพิ่มความดันโลหิตรวมทั้งทำให้หลอดเลือดหัวใจแข็ง
การรักษา
การรักษาด้วยยา
- การรักษาระยะก่อนมาถึงโรงพยาบาลเน้นการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการนำส่งผู้ป่วยมาโรงพยาบาลให้เร็งที่สุดโดยยึดหลัก MOWA (Morphine, Oxyge ษา, Nitroglycerine, และ Aspirin)
- การรักษาระยะเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายที่ห้องฉุกเฉินซึ่งต้องให้การวินิจฉัยและรักษาทันทีตามแนวปฏิบัติ
- การรักษาระยะ 24 ชั่วโมงแรกของการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายในโรงพยาบาลผู้ป่วยทุกรายต้องได้รับยาแอสไพรินออกซิเจนน้ำเกลือทางหลอดเลือดดำและ monits EKG ตลอดเวลานอกจากนี้ต้องได้พักและได้ยาแก้ปวดเช่นมอร์ฟินจนอาการเจ็บหายไปมีการตรวจ EKG ซ้ำและตรวจเลือดเพื่อติดตาม Hematocrit Hect), Cholesterol, Fasting Blood sugar (FBS), BUN, creatinine, uas Electrolyte
- การรักษาระยะหลังเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในโรงพยาล 24 ชั่วโมงซึ่งจะเน้นการตรวจสอบภาวะแทรกซ้อนของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเพราะยังต้องให้ผู้ป่วยรับประทานยา aspirin ในขนาด 160-325 มิลลิกรัมต่อวันตลอดไปส่วนยากลุ่ม beta-blocker นั้นก็ยังต้องให้ตลอดไปเช่นกันนอกจากนี้ยังควรให้ยากลุ่ม ACE-inhibtors เป็นเวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์และมีการเตรียมผู้ป่วยเพื่อทดสอบการออกกำลังกายก่อนกลับบ้านด้วย
การรักษาด้วยการผ่าตัด
- การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูน (Prataneous Transluminal Coronary Angioplasty. PTCA)
- การทำหัตถการหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน (percutaneous coronary intervention: PCI)
- การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artsy Bypass Graft CABG) เป็นการผ่าตัดรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบ
-
การวินิจฉัยโรค
• สอบถามอาการเบื้องต้น เกี่ยวกับอาการเจ็บหน้าอกบริเวณที่เจ็บ ระยะเวลาที่เจ็บและอาการเจ็บร้าว สอบถามโรคประจำตัว จับชีพจร วัดความดันโลหิต การฟังเสียงหัวใจ
• การตรวจเลือดช่วยวินิจฉัยระดับความรุนแรง ของภาวะหัวใจขาดเลือดและเพื่อหาปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือด
• การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography , ECG) สามารถบอกจังหวะการเต้นของหัวใจ บอกโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย กรณีที่พบคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ หมายถึงโรคหัวใจรุนแรง แต่หากพบว่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติ ก็ไม่ได้หมายถึงว่าจะไม่มีความผิดปกติของหัวใจ อาจต้องอาศัยการตรวจวิธีอื่นๆประกอบ
• การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test) เป็นการตรวจขณะออกกำลังกายโดยการเดินสายพานหรือวิ่ง ซึ่งเป็นช่วงที่หัวใจต้องการเลือดหรือออกซิเจนมากขึ้น หากมีหลอดเลือดหัวใจตีบ จะเกิดอาการแน่นอกหรือคลื่นไฟฟ้าหัวใจเปลี่ยนแปลง เพราะเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ
• การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiography) โดยการใส่สายสวนผ่านหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบ หรือ ข้อพับแขน หรือข้อมือ ใส่สายสวนไปจนถึง รูเปิดของหลอดเลือดโคโรนารี ฉีดสารทึบรังสี และเอกซเรย์ดูหลอดเลือดว่าตีบแคบ มากน้อยเพียงได้
• การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนของหัวใจ (Echocardiography) สามารถดูโครงสร้างของหัวใจ และการทำงานของหัวใจได้
-
-