Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การคลอดยากจากความผิดปกติของแรง (Abnormality of power) - Coggle Diagram
การคลอดยากจากความผิดปกติของแรง
(Abnormality of power)
มดลูกหดรัดตัวน้อยกว่าปกติ
(Hypotonic uterine dysfunction หรือ uterine inertia)
การที่หดรัดตัวเป็นจังหวะ แต่การหดรัดตัวไม่แรง มดลูกยังนุ่มและไม่สามารถทำให้ปากมดลูกเปิดขยายได้ การหดรัดตัวของมดลูกจะห่างออกไป
พบว่ามักเกิดในระยะ active phase โดยเฉพาะในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว(Phase of maximum slope)รวมทั้งในระยะที่สองของการคลอด
ลักษณะทางคลินิกที่ตรวจพบ ความนาน(duration)น้อยกว่า 40 นาที ระยะห่าง (Interval)
มากกว่า 3 นาที ความถี่น้อยกว่า 3 ครั้งใน 10 นาที ความแรง(intensity)น้อยถึงปานกลาง
มดลูกหดรัดตัวมากผิดปกติ (Hypertonic uterine dysfunction)
การที่มดลูกหดรัดตัวแรงแต่ไม่มีประสิทธิภาพ
กล้ามเนื้อมดลูกในระยะพักมีความตึงตัวมากกว่าปกติ และการหดรัดตัวไม่มีจุดรวมของการหดรัดตัวที่ยอดมดลูก (Fundus) ทำให้มารดามีความเจ็บปวดมาก แต่ปากมดลูกไม่เปิดขยายและส่วนนำของทารกไม่เคลื่อนต่ำ
มักพบในระยะ Latent phase
การหดรัดตัวของมดลูกมากกว่าปกติมี 3 ชนิด
มดลูกหดรัดตัวไม่ประสานกัน
(Uncoordinated contraction)
การที่มดลูกหดรัดตัวถี่และแรงแต่ไม่สม่ำเสมอและใยกล้ามเนื้อ
ทำงานไม่ประสานกันทำให้การหดรัดตัวของมดลูกไม่มีประสิทธิภาพ
มดลูกหดรัดตัวแรงมาก แต่ไม่ได้หดรัดตัวแรงที่บริเวณยอดมดลูก แต่หดรัดตัวแรงบริเวณตอนกลางหรือตอนล่าง นอกจากนี้ยังพบว่ามดลูกหดรัดตัวไม่สม่ำเสมอและในระยะพักกล้ามเนื้อ มดลูกคลายตัวไม่เต็มที่
มดลูกหดรัดตัวมากผิดปกติ
ชนิดหดรัดตัวไม่คลาย
(Tetanic contraction)
การที่มดลูกหดรัดตัวแข็งตึงมากกว่าปกติ ผู้คลอดมีความเจ็บปวดมาก แทบจะไม่มีระยะพักเลย การหดรัดตัวนานมากคือนานกว่า 90 วินาที ระยะห่างของการหดรัดตัวน้อยกว่า 90 วินาที
มดลูกหดรัดตัวเป็นวงแหวนบนรอยคอดของทารก (Constrictionring)
การที่กล้ามเนื้อมดลูกชนิดวงกลม มีการหดรัดตัวไม่คลายเฉพาะที่จนเกิดเป็นวงแหวนโดยรอบตำแหน่งรอยคอดบนตัวทารก
เช่น บริเวณซอกคอ โดยมากแล้วมักจะเกิดเหนือปากมดลูกขึ้นไปประมาณ 7-8 เซนติเมตร มดลูกหดรัดตัวแรงและไม่สม่ำเสมอ
แรงจากการเบ่ง
(Force from voluntary muscle หรือ Bearing down effort)
แรงเบ่งที่ถูกต้องจะสามารถเพิ่มแรงดันในโพรงมดลูกให้เพิ่มขึ้น 2-3 เท่า ดังนั้นจึงมีความสำคัญมากในระยะที่สองของการคลอด
เพราะจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกลไกการคลอดได้ ซึ่งผลการเบ่งไม่ถูกวิธีหรือแรงเบ่งน้อย ทำให้ระยะที่สองของการคลอดยาวนาน เนื่องจากกลไกการเคลื่อนต่ำของทารก (descent) การก้มของศีรษะทารก (Flexion) และการหมุนของส่วนของทารกในช่องเชิงกราน (internal rotation) เกิดขึ้นล่าช้านอกจากนั้นอาจทำให้ผู้คลอดหมดแรง อ่อนเพลียและเกิดภาวะ การขาดน้ำได้
การคลอดยาก
การคลอดที่ไม่ดำเนินไปตามปกติ หรือขบวนการของการคลอดผิดปกติ ไม่มี ความก้าวหน้าของการเปิดขยายของปากมดลูก ความบางของปากมดลูก หรือการเคลื่อนต่ำลงมาของระดับส่วนนำ