Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Haemophilus influenzae type b โรคติดเชื้อฮีโมฟีลุสอินฟลูเอนเซ ชนิดบี…
Haemophilus influenzae type b
โรคติดเชื้อฮีโมฟีลุสอินฟลูเอนเซ ชนิดบี (โรคฮิบ)
เด็กชายนำโชค จิตดี อายุ 8 เดือน เชื้อชาติไทย
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน
2 สัปดาห์ก่อนมาโรงพยาบาล มีไข้สูง หายใจเหนื่อยหอบ มารดาซื้อยาลดไข้ที่ร้านค้า ร่วมกับเช็ดตัวลดไข้อาการไม่ดีขึ้น ต่อมา 1 สัปดาห์ก่อนมาโรงพยาบาล ไอ มีเสมหะ และน้ำมูกสีขาว มีไข้ ถ่ายเหลว 4 ครั้ง ไม่มีมูกปนเลือด กินนมได้ดี ไปปรึกษาที่รพสต. ได้ยา ลดไข้ ยาแก้ไอ อาการไม่ดีขึ้น 1 วันก่อนมาโรงพบาล มีไข้สูง หายใจหอบเหนื่อยมากขึ้น มารดาพาไปรักษาที่โรงพยาบาลฝาง แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Pneumonia with sepsis ทำการรักษาโดยการ On ETT เบอร์4 mark 11 ได้ยา กนยฟทรืำ 10 Ug/kg/min อาการไม่ดีขึ้น จึงส่งโรงพยาบาลนครพิงค์เพื่อรักษาต่อ
ประวัติการคลอด
คลอดก่อนถึงโรงพยาบาล อายุครรภ์ครบกำหนด วันที่ 24 ตุลาคม 2561 น้ำหนักแรกคลอด 2410 กรัม Strile cord claping แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น late onset neonatal sepsis ได้รับการรักษาอาการดีขึ้น แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านและนัดติดตามอีก 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยไม่มาตามนัด ไม่มีประวัติรับวัคซีน BCG
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ผิดปกติ
WBC 20.5 %/uL(ค่าปกติ 4.6-10.2 %/uL) สูง
RBC 3.85 %/uL (ค่าปกติ4.7-5.41%/u) ต่ำ
HCT 29.1% (ค่าปกติ 41-51%) ต่ำ
MCH 23.6 pg (ค่าปกติ 27-31 pg ) ต่ำ
Plt 448 K/uL(ค่าปกติ142-424 K/uL) สูง
cloride1.04 (ค่าปกติ98-107 mmol/L) ต่ำ
Albumin 2.6 (ค่าปกติ 3.5-5.20 g/dl) ต่ำ
BUN 4.9 (ค่าปกติ 8.9-20 mg/dl) ต่ำ
Creatinin 0.41 (ค่าปกติ0.72-1.25 mg/dl) ต่ำ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะชักจากไข้สูง
ข้อมูลสนับสนุน
S : -
O : -จากการวัดสัญญาณชีพ
-Temperature 38.9องศาเซลเซียส
-Pulse 162 bpm
-Respiratory 40 bpm
-Blood pressure 102/63 mmHg
-จากการสังเกต ผู้ป่วย อ่อนเพลีย ปลายมือปลายเท้าเย็น Capilary refill time 4 วินาที
-จากการสังเกตผู้ป่วยมีชักเกร็งแขนทั้ง 2 ข้าง รวมเป็น5 นาที
กิจกรรมการพยาบาล
1.ติดตามประเมินภาวะไข้ วัดสัญญาณชีพ ทุก 4 ชะ่วโมง
2.ดูแลเช็ดตัวลดไข้
3.กระตุ้นใฟ้ดื่มน้ำ/นม
4.ดูแลให้ยาลดไข้ตามแผนรักษาของแพทย์
5.ติดตามไข้ทุก 15-30 นาที
6.สังเกตอาการเปลี่ยนแปปลงที่บ่งชี้ว่าจะมีอาการชัก
7.ดูแลให้ยา Valium 3 mg v stat และยา Levetiracetam 30 (MKD) 270 IV drip in 10 min
4.ดูแลให้พักผ่อนมากๆ
เสี่ยงต่อภาวะความดันในกระโหลกศีรษะสูงเนื่องจากพยาธิสภาพของ hydrocephalus
ข้อมูลสนับสนุน
s :-
O : จากผลตรวจ CT brain พบว่า Hypodenity at bilateral frontal at temporal lobe
กิจกรรมการพยาบาล
1.ติดตามและสังเกตค่าความดันในกระโหลกศีรษะอย่างใกล้ชิด
2.ตรวจสอบและบันทึกสัญญาณชีพ หรืออาการทางระบบประสาทอย่างใกล้ชิด
3.ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษา
และสังเกตอาการข้างเคียงของยา
4.ประเมินความปวดทุก 4 ชั่วโมง และดูแลให้ได้รับยาบรรเทาปวดในกลุ่ม NSAIDS ตามแผนการรักษา เนื่องจากอาการปวดจะมีผลเพิ่มอัตราการเผาผลาญในสมอง ส่งผลให้เกิดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงขึ้น
5.จัดท่านอนศีรษะสูง 30 องศา โดยให้ศรีษะและคออยูในแนวเดียวกัน
6.ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง
ข้อมูลสนับสนุน
s :-
O :-จากการสังเกตผู้ป่วย อ่อนเพลีย ปลายมือปลายเท้าเย็น Capilary refill time 4 วินาที
-จากการวัดสัญญาณชีพ Respiratory 40 bpm
-จากผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ HCT 29.1 (ต่ำ)
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินภาวะพร่องออกซิเจน ประเมินอัตราการหายใจ ชีพจร สีของเล็บ ปลายมือปลายเท้า เยื่อบุผิวหนัง ลักษณะการซีด เขียว เพราะอาการหายใจหอบ ชีพจรเร็ว ปลายมือปลายเท้า เยื่อบุผิวหนัง ลักษณะการซีด เขียว แสดงถึงภาวะพร่องออกซิเจน เพื่อรายงานแพทย์พิจารณาการให้ออกซิเจน
2.จัดท่านอนศีรษะสูง เพราะทำให้กระบังคมเคลื่อนต่ำลง ปอดขยายตัวได้เต็มที่เพิ่มพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซมากขึ้น
ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนบนเตียง
สอนการไออย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการไออย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้ลดการคั่งค้างของเสมหะที่ปอดทำให้ปอดขยายตัวได้เพิ่มขึ้น
Vital sign ทุก 4 ชม เพราะการประเมินสัญญาณชีพจะช่วยให้ทราบความรุนแรงของภาวะพร่องออกซิเจน
ประเมิน O2 saturation ทุก 4 ชม
เชื้อก่โรค
พยาธิกําเนิด
เชื้อฮิบอยู่ในระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ และ แพร่กระจายจากคนสู่คนผ่านทางละอองในอากาศและ การสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งของทางเดินหายใจ เชื้อ ฮิบจะจับกับเซลล์เยื่อบุผิวชนิด nonciliated columnar epithelium ของนาโซฟาริงซ์แล้วแทรกผ่านเนื้อเยื่อเข้าสู่เลือด กระจายไปอวัยวะต่างๆ ทําให้เกิดอาการแสดงของ อวัยวะต่างๆ ที่พบบ่อยได้แก่เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบ ปอดอักเสบ เป็นต้น
อาการทางคลินิก
ไข้สูง เจ็บคอ กลืนลําบาก ทางเดินหายใจส่วนบนอุดกลั้น ถ้าได้รับการรักษาที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ทันท่วงทีโรคจะ ลุกลามอย่างรวดเร็ว และเสียชีวิตได้
เด็กที่เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อฮิบถึง แม้จะได้รับการรักษาที่เหมาะสมยังมีอัตราการเสียชีวิตสูง และพบมีภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น พัฒนาการช้า cerebral palsy การได้ยินลดลง และมีปัญหาการชักตามมา
ภาวะแทรกซ้อน
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
การติดเชื้อบริเวณเยื่อหุ้มสมอง (อาการคือมีไข้ คอแข็ง เซื่องซึม หงุดหงิดและไม่ยอมทานอาหาร)
ฝากล่องเสียงอักเสบ
ฝาปิดและหลอดลมส่วนบนมีการอักเสบ ซึ่งอาจไปปิดกั้นการหายใจในเด็ก (อาการคือ หายใจไม่ออกอย่างรุนแรง มีไข้ นอนไม่หลับและหงุดหงิด)
โรคปอดบวม
คือปอดมีอาการอักเสบ (อาการคือมีไข้ ไอ เจ็บหน้าอกและการหายใจมีปัญหา เช่นหายใจสั้นถี่)
โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ
ข้อต่อมีการติดเชื้อ (อาการคือ ปวดข้อ ข้อบวม ความสามารถในการเคลื่อนไหวข้อต่อลดน้อยลง)
โรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ
มีการติดเชื้อที่เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง มักพบบริเวณใบหน้า
การวินิฉัย
การตรวจร่างกาย
การซักประวัติสุขภาพและสอบถามอาการจากผู้ป่วย
การตรวจเลือด
การตรวจแอนติเจน วิธีที่นิยมได้แก่ latex
particle agglutination และ countercurrent immunoelectrophoresis
การตรวจน้ำจากไขสันหลัง โดยการใช้เข็ม
การเก็บตัวอย่างอื่นๆไปตรวจ
การย้อมสีกรัมจากสิ่งส่งตรวจต่างๆ ของผู้ป่วย เช่น น้ำไขสันหลัง น้ำจากเยื่อหุ้มปอด หนองจากที่ต่างๆ จะพบแบคทีเรียรูปแท่งสั้นๆลักษณะเป็น pleomorphic coccobacilli ย้อมติดสีกรัมลบ
การรักษาโรคฮิบ
ยาปฏิชีวนะ
โดยทั่วไปให้ยาต้านจุลชีพกลุ่ม beta - lactam (เช่น amoxicillin หรือ 2nd หรือ 3rd generation cephalosporins) ขึ้นกับความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพ ยาตัวอื่นที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อฮีโมฟิลุสอินฟลูเอนเซด์ได้แก่ ยากลุ่ม fluoroquinolones, macrolides, tetracyclines และ aminoglycosides
ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การป้องกัน
การฉีดวัคซีนป้องกัน
เด็กทารกทุกคนในช่วงอายุ 2เดือน 4เดือน 6เดือน
3 เข็มแรกที่ฉีดวัคซีนฮิบจะฉีดรวมกับวัคซีนชนิดอื่นๆคือวัคซีนป้องกันคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ไวรัสตับอักเสบ บี (Hepatitis B) โปลิโอและฮิบ (หกตัวในเข็มเดียว)
ในเด็กอายุ 18 เดือน
เข็มที่สี่เพื่อเป็นการกระตุ้นวัคซีนฮิบ
ในเด็กอายุ 18เดือนถึง 59เดือน
รับวัคซีนแบบรวม ในรายที่ไม่เคยได้รับแบบทีละเข็มมาก่อน
เด็กอายุตั้งแต่ 9 ปีขึ้นไป
สามารถมารับวัคซีนแบบเข็มรวมได้ (คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ไวรัสตับอักเสบบี โปลิโอและฮิบ)