Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะอาเจียนรุนแรง Hyperemesis gravidarum -…
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะอาเจียนรุนแรง Hyperemesis gravidarum
ความหมาย
อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง (Hyperemesis gravidarum ) หมายถึง ภาวะที่สตรีตั้งครรภ์มีอาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรงและต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน พบตั้งแต่ไตรมาสแรกถึงตลอดการตังครรภ์ มีผลทำให้ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ส่งผลขาดความสมดุลของสารน้ำและสารอาหารในร่างกาย (บังอร ศุภวิทิตพัฒนา,2562 : 45) แตกต่างจากอาการคลื่นไส้ที่เกิดขึ้นในการตั้งครรภ์ปกติ ( morning sickness ) เริ่มเมื่อปลายสัปดาห์ที่ 4-6 อาการดีขึ้นเมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์ แต่ถ้าอาการคลื่นไส้ อาเจียนมากกว่าปกติไม้ดีขึ้น และยังมีอาการ เมื่อสัปดาห์ที่ 14-16 แสดงว่าแพ้ท้องรุนแรง(มาลีวัล เลิศสาครศิริ,2560:35)
ปัจจัยส่งเสริม
ปัจจัยด้านมารดา
การตั้งครรภ์ที่มีระดับฮอร์โมนที่สร้างจากรก คือ estrogen สูง และ hCG : human chorionic gonadotropin เพิ่มมากกว่าปกติเช่น การตั้งครรภ์แฝด (Multiple gestations) มีภาวะ hyperthyroidism ร่วมกับการตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก (hydatidiform mole)
มีประวัติเกิดการแพ้ท้องอย่างรุนแรงในครรภ์ก่อน หรือเป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรก
มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่เหมาะสมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ เช่นรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง (≥ 72 กรัม/วัน) ขาดวิตามินบางชนิด โดยเฉพาะวิตามินบี 6
มีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร เช่น gastroenteritis cholecystitis pancreatitis appendicitis obstructive bowel disease มีการศึกษาพบ การติดเชื้อ Helicobacter pyoli (H.pyoli) เกี่ยวข้องกับอาเจียนอย่างรุนแรง ทำให้เกิดความผิดปกติในการบีบตัวของระบบทางเดินอาหาร ( gastrointestinal dysmotility )
ภาวะเครียด (stress) หรือ ความวิตกกังวล (Anxiety) เช่น การตั้งครรภ์ไม่พึงปรารถนา มีความรู้สึกสองฝักสองฝ่าย มีปัญหาในครอบครัวหรือคู่สมรส ไม่มั่นใจบทบาทการเป็นมารดา ภาพลักษณ์ ฐานะเศรษฐกิจไม่ดี มีประวัติการเจ็บป่วยทางจิต
ปัจจัยด้านทารก
ทารกมีความผิดปกติ เกี่ยวกับโครโมโซม เช่น trisomy 21 และ hydrops fetalis
อาการและอาการแสดง
คลื่นไส้ อาเจียนรุนแรง ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
น้ำหนักลดลงมากเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์ จากการขาดอาหารและน้ำ ท้องผูก
การขาดน้ำ ( dehydration ) อ่อนเพลีย ริมฝีปากแห้ง ผนังขาดความตึงตัว และขาดความชุ่มชื้น ชีพจรเบาเร็ว100-140 ครั้ง/นาที ความดันโลหิตลดต่ำลง เวียนหัว หน้ามืด ซึมร่างกายซูบผอม ขอบตาลึก
สูญเสียการรับรู้เรื่องบุคคล เวลาและสถานที่
เกิดความไม่สมดุลของภาวะกรด–ด่างในร่างกาย เกิด acidosis (คือ ภาวะความผิดปกติของเลือดหรือของเหลวในร่างกายไม่สมดุล ทำให้มีความเป็นกรดสูง) และ alkalosis (ในเลือดมีความเป็นด่าง (arterial pH > 7.4) มีความเข้มข้นของไบคาร์บอเนต (HCO3–) ในเลือดสูงขึ้น คือ มากกว่า 24 มิลลิอิควิวาเลนท์ต่อลิตร (meq/L) ร่วมกับมีความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออน (H+) ลดลง ส่งผลให้ร่างกายชดเชยภาวะเลือดเป็นด่างโดยหายใจช้าลง (hypoventilation) เพื่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด) และความไม่สมดุลของเกลือแร่ เช่นปากแห้ง กระหายน้ำ กล้ามเนื้อกระตุกหรืออ่อนแรง ระดับการรู้ตัวเปลี่ยนแปลง
ลมหายใจมีกลิ่นอะซิโตน ตรวจพบคีโตนในปัสสาวะ และพบว่าปัสสาวะออกน้อย
สับสนและยูโฟริค(Euphoric)เห็นภาพซ้อน (Diplopia) การกระตุก (Nystagmus) เลือดออกที่เรตินาสุดท้ายเกิดอาการของเวอร์นิค เอนเซฟฟาโลพาที ( Wernicke’s encephalopathy
ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลต่อสตรีตั้ครรภ์
ด้านร่างกาย
เกิดการสารอาหารและขาดน้ำ ร่วมกับเกิดความไม่สมดุลของเกลือแร่ ทำให้
โปรแตสเซียมต่ำ เกิดความไม่สมดุลกรดด่างในร่างกายหากไม่สามารถควบคุมได้เกิด กลุ่มอาการWernicke’s encephalopathy รายที่รุนแรงต้องรักษาตัวในรพ.เป็นเวลานาน อาจส่งผลให้เกิด ปวดศีรษะ น้ำหนักลด ท้องอืด ท้องผูก การนอนหลับเปลี่ยนแปลง
ด้านจิตสังคม
เครียด วิตกกังวล ซึมเศร้าเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ภาวะที่กำลังเผชิญอยู่ และเกิดความรู้สึกสูญเสียการควบคุมตนเอง
ผลต่อทารก
การแท้ง คลอดก่อนกำหนด การเจริญเติบโตในครรภ์ช้า ทารกน้ำหนักน้อย ทารกพิการ ละทารกเสียชีวิตในครรภ์
การรักษา
1.แก้ไขภาวะขาดน้ำ ความไม่สมดุลของอีเล็กโตร
ลัยม์ และความเป็นกรด-ด่าง ของเลือดโดยการให้ 5% D/NSS/2 1,000 ml + Vit B.co 1 amp. หยดเข้าทางหลอดเลือดดำ 120 ml./hr.(มาลีวัล เลิศสาครศิริ,2560: 43) ร่วมกับแก้ไขความผิดปกติของเกลือแร่ในเลือด
2.การรักษาด้วยยา
ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ได้แก่ Metoclopramide 5-10 mg. ฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อทุก 6-8 ชั่วโมง หรือ promethazine 12.5-25 mg. ทางกล้ามเนื้อ 4-6 ชั่วโมง อาการดีขึ้นเปลี่ยนเป็นยารับประทาน
ยากลุ่มวิตามิน วิตามินบี 6 (Pyridoxine) 10-25 mg. 1 รับประทาน 3-4 ครั้งต่อวัน ในสตรีตั้งครรภ์รับประทานสูงสุด 200 mg. ต่อวัน
ยาคลายกังวล และยานอนหลับ ได้แก่ Diazepam 2 mg. 1 เม็ด รับประทาน 2-3 ครั้งต่อวัน หรือ Diazepam 5 mg. 1 เม็ด รับประทานก่อนนอน
3.อากรแพ้ท้องรุนแรงดีขึ้น ให้คำแนะนำ
รับประทานอาหารครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง ทุก 2-3 ชั่วโมง รับประทานอาหารโปรตีนสูง ขนมปังกรอบ หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด มัน มีกลิ่น จะทำให้อาเจียน
รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของขิงสามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้เช่นลูกอมขิง น้ำขิง ขิงแบบแคบซูล ดื่มน้ำอุ่น
การพยาบาล
1.การดูแลขณะที่เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน
อธิบายเกี่ยวกับสาเหตุ ปัจจัยส่งเสริม อาการและผลกระทบ
ประเมินสัญญาณชีพ ความตึงตัวของผิวหนัง กลิ่นลมหายใจและชั่งน้ำหนักตัวทุกวัน
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษาของแพทย์ เพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำ
ให้ยาแก้อาเจียนตามแผนการรักษา
งดอาหารและน้ำทางปากจนกว่าหยุดอาเจียน ใน 48 ชม. และดูแลทำความสะอาดปากและฟัน
บันทึกน้ำเข้า-ออก สังเกตลักษณะอาเจียน ปัสสาวะ
ดูแลให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ สิ่งแวดล้อมสงบ ปราศจากกลิ่นรบกวน
ติดตามผล Lab และรายงานแพทย์
อาการบรรเทาดูแลให้จิบน้ำอุ่น น้ำขิง รับประทานขนมปังกรอบ ครั้งละน้อย
แนะนำครอบครัวช่วยดูแล
ดูแลด้านจิตใจอยู่เป็นเพื่อน ให้กำลังใจ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ก่อความเครียด
ปรึกษาและส่งต่อผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านจิตใจ
2.ให้คำแนะนำกลับบ้าน
แนะนำการรับประทานอาหารครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้ง
ดื่มน้ำอุ่นทันทีตื่นนอน ครึ่งแก้ว แล้วนอนต่ออีก 15 นาที ก่อนลุกทำกิจวัตรประจำวัน เพื่อไม่ให้ท้องว่าง
นอนพักผ่อนกลางคืน 8 ชม. กลางวัน 1 ชม. เพื่อให้ร่างกายผ่อนคลาย
ออกกำลังกายเบา ไอย่างสม่ำเสมอช่วยผ่อนคลาย ลดความเครียด
สอนเทคนิคการผ่อนคลาย เช่น การฟังเพลง ฝึกการหายใจอย่างถูกวิธี
แนะนำมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ